กรุงเทพฯ 21 มกราคม 2025 - เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) ผู้นำอันดับหนึ่งของโลกด้านระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI วันนี้ ได้เผยแนวโน้มในการพัฒนา AI ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจไทยสำหรับปี 2025
โดยปี 2024 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการก้าวสู่คลื่นลูกที่สามของ AI ด้วยความก้าวหน้าในการพัฒนาเจ้าหน้าที่เอเจนต์อัจฉริยะ (AI Agent) ซึ่งทำงานได้ด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ (Autonomous) สามารถตัดสินใจและดำเนินงานโดยที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องคอยกำกับการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างแท้จริง โดยปี 2025 นี้จะเป็นปีที่ AI จะสร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นจริง และจะมีการออกแบบ AI Agent ซึ่งเน้นทำงานที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกระบวนการทำงานในองค์กรแต่ละแบบ และมอบผลลัพธ์ที่ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาก้าวไปเกินกว่าการทดลองใช้งาน AI เท่านั้น
คุณเดวิด โมลด์ (David Mould) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และผู้อำนวยการด้านโซลูชัน ของ Salesforce ประจำประเทศไทยและเวียดนาม กล่าวว่า "AI Agent คือการพัฒนาความสามารถขององค์กรธุรกิจให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น เป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มอบประสบการณ์เฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละคน และขับเคลื่อนการเติบโตให้กับองค์กร" พร้อมเสริมว่า "ปี 2025 นี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวิวัฒนาการของ Autonomous AI เนื่องจากองค์กรธุรกิจทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยซึ่งได้เริ่มลงทุนใน AI Agent จะเริ่มได้รับประโยชน์จากการใช้งานที่สามารถจับต้องและวัดผลได้จากเทคโนโลยีนี้"
เทรนด์ด้าน AI ที่สำคัญสำหรับปี 2025
1. Autonomous Agents จะสร้างโอกาสการเติบโตทางรายได้ให้กับธุรกิจ
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจต่างมุ่งเน้นมาตรการลดต้นทุนเพื่อตอบสนองต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและการเติบโตที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม การพัฒนา Autonomous Agent ในปัจจุบันได้เพิ่มโอกาสเพื่อสร้างการเติบโตของรายได้ในช่องทางใหม่ ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากองค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบมีที่โครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง (Structured and Unstructured Data) จากทั่วทั้งองค์กร ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างแนวทางรูปแบบใหม่เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาช่องทางรายได้ใหม่ให้กับธุรกิจ
Autonomous Agent จะส่งผลต่อทิศทางการเติบโตของบริษัทเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น หากธนาคารที่ทำงานร่วมกับลูกค้าธุรกิจหลายพันราย ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้จ่ายเบื้องต้นและเข้าใจว่าลูกค้าที่เป็นธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่นั้นมีระดับการใช้จ่ายต่ำ แต่หากวิเคราะห์ลงลึกมากยิ่งขึ้นข้อมูลอาจเผยให้เห็นว่าธุรกิจเหล่านี้ได้กระจายการใช้จ่ายและธุรกรรมไปยังธนาคารหลาย ๆ แห่ง ในกรณีนี้การปรับเปลี่ยนทีมพนักงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทุก ๆ รายให้ครอบคลุมและลึกซึ้งยิ่งขึ้นนั้นอาจทำได้ยาก แต่หากธนาคารนำ Autonomous Agent มาใช้พัฒนาการมีส่วนร่วมกับลูกค้าและสร้างการปฏิสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์เข้ามาควบคุมดูแลตลอดเวลา การพัฒนาการบริการในลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามาก นอกจากนี้ Agent ยังสามารถทำงานได้ทุุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ธนาคารจึงสามารถมอบการบริการให้ลูกค้าได้ในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะช่วยยกฐานการสร้างรายได้ขององค์กรให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งธนาคารอาจต้องสูญเสียโอกาสให้กับคู่แข่งหากไม่สามารถมอบการบริการลักษณะเช่นนี้ได้
AI Agent ยังสามารถช่วยคัดกรองโอกาสการขายจากผู้ที่มีแนวโน้มหรือความสนใจในสินค้า (Lead) เบื้องต้นให้กับพนักงานของบริษัทได้แบบอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งต่อให้ทีมขายซึ่งเป็นมนุษย์ให้บริการต่อไป ช่วยให้พนักงานไม่เสียเวลาไปกับโอกาสการขายที่ไม่มีการตอบสนอง การตอบคำถามพื้นฐานทั่ว ๆ ไป หรือการใช้เวลาไปกับโอกาสการขายที่มีปฏิสัมพันธ์ต่ำ AI Agent จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและปรับปรุงผลการดำเนินงานทางธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ
2. โซลูชันด้าน AI และ Agentic AI ที่สร้างสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน และการผสานรวมข้อมูล จะเป็นพื้นฐานความสำเร็จของการใช้งาน AI
ในโลกที่องค์กรต่างแข่งขันเพื่อพัฒนาการใช้งาน AI อย่างเต็มรูปแบบ ผู้ชนะจะเป็นองค์กรที่สามารถละทิ้งแนวทางการใช้งาน AI แบบ DIY (Do It Yourself) หรือ AI ที่สร้างขึ้นมาเองเพื่อใช้งานภายในองค์กร และหันมาใช้โซลูชันสำเร็จรูปที่มีทั้งความรวดเร็ว ความสะดวกในการติดตั้งและใช้งาน พร้อมทั้งให้ความแม่นยำถูกต้องที่เหนือกว่า ธุรกิจที่ใช้งานโซลูชันแบบสำเร็จรูป จะสามารถเน้นใช้ทรัพยากรขององค์กรกัยบการติดตั้งและใช้งานระบบ AI เพื่อบรรลุเป้าหมายการทำงานและสร้างคุณค่าให้เกิดกับองค์กรได้ในทันที ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่พยายามสร้าง AI ด้วยตัวเองมักจะพบกับปัญหาเรื่องต้นทุนแฝงซึ่งไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้าและความล่าช้าในสร้างผลลัพธ์ได้อย่างเต็มศักยภาพของเทคโนโลยี AI
การพัฒนา AI บนพื้นฐานของการมีข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม ถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสำหรับการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนใน AI ขององค์กร โดยระบบจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบที่มีโครงสร้าง เช่น บันทึกธุรกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง เช่น อีเมลบทสนทนาของลูกค้า ข้อมูลสินค้า และเอกสารนโยบายต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อร่วมกันสร้างมุมมองข้อมูลลูกค้าที่มีความครบถ้วนรอบด้านและพร้อมสำหรับการทำงาน หากไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วน AI จะไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและสัมพันธ์กับบริบทในการทำงานได้ รวมทั้งไม่สามารถสร้างผลการทำงานที่องค์กรและลูกค้าสามารถเชื่อถือได้ โดยความสามารถในการทำสำเนาเป็นศูนย์ (Zero-Copy) ของ Salesforce นั้นจะทำให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลข้ามระหว่างระบบ
และแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องทำสำเนาข้อมูลขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้องค์กรใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดต้นทุนในการเตรียมข้อมูลเพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ถูกต้อง
3. AI ที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อประเทศไทย กับระบบนิเวศการพัฒนา AI ที่กำลังเติบโต
AI ได้กำลังนำพาทุกภาคส่วนสู่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยได้สร้างทั้งรูปแบบการบริการ บทบาทการทำงาน และอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกับการที่สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เคยสร้างระบบนิเวศที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องให้กับนักพัฒนาแอปพลิเคชันมาแล้ว การเติบโตของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี AI นั้นได้กำลังสนับสนุนให้เกิดนักพัฒนา AI รุ่นใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเปิดโอกาสให้นักพัฒนาชาวไทยร่วมกันสร้างเครื่องมือ AI ที่ตอบสนองต่อความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของประเทศ เช่น โมเดลภาษาขนาดเล็ก (Small Language Models: SLMs) ที่สนับสนุนภาษาไทย หรือโมเดลเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถแก้ปัญหาธุรกิจแบบเฉพาะทางสำหรับอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ของประเทศ เช่น การท่องเที่ยวและการคมนาคม เป็นต้น
การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ในภูมิภาคนี้ไม่เพียงแต่จะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทระดับโลกเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของสตาร์ทอัพในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้บทบาทเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนา AI ที่มักเกิดขึ้นในโลกตะวันตกนั้นย้ายมาสู่ในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับแรงงานในอนาคต
4. AI Agent พลิกโฉมรูปแบบการบริการแบบเดิม ด้วยการขยายขีดความสามารถ เสริมความชาญฉลาด และสร้างประสบการณ์เฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละบุคคล
ในประเทศที่มีต้นทุนแรงงานไม่สูงมากอย่างเช่นประเทศไทย องค์กรธุรกิจมักใช้วิธีเพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อปรับปรุงการบริการและพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าให้ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจำนวนพนักงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา หรือนำไปสู่ความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่สูงขึ้นเสมอไป
AI Agent ได้มอบแนวทางใหม่ในการปรับปรุงการทำงานให้กับองค์กรอย่างแท้จริง ด้วยการจัดการกับคำขอรับบริการจากลูกค้าได้แบบอัตโนมัติ และช่วยปรับปรุงการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น มากไปกว่าการเพิ่มปริมาณพนักงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแต่ยังเป็นการมอบบริการที่มีคุณภาพสูงให้กับลูกค้า เนื่องจาก AI Agent จะใช้ข้อมูลที่เชื่อมโยงจากแหล่งต่าง ๆ ในระบบแบบเรียลไทม์ เพื่อมอบการบริการที่ถูกต้องและสัมพันธ์กับเรื่องที่ลูกค้าขอรับบริการ สามารถตัดสินใจและลงมือดำเนินการได้ตามความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (London Heathrow Airport) ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในโลก มีเที่ยวบินเฉลี่ยมากถึงวันละ 1,300 เที่ยวบิน เดินทางสู่จุดหมาย
ปลายทางมากกว่า 230 แห่งทั่วโลก และต้องจัดการกับผู้เดินทางระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลในช่วงเทศกาลต่าง ๆ
สนามบินได้ใช้ Agentforce ซึ่งสามารถดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์จากฐานความรู้และระบบเชื่อมต่อ API ที่นำข้อมูลเที่ยวบินมาใช้ตอบคำถามให้กับผู้โดยสารได้หลายพันคำถามในเวลาเดียวกันได้ในทันที ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องเสียเวลาค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่พบบ่อยครั้ง หรือรอสายเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และสามารถรับทราบข้อมูลสถานะเที่ยวบิน การนำทาง และสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงบริการต่าง ๆ ในสนามบินได้ในทันที ช่วยให้เจ้าหน้าที่ของสนามบินได้เน้นใช้เวลาเพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางที่มีความซับซ้อน จากการประมาณการณ์พบว่า Agentforce มีความแม่นยำในการตอบสนองมากถึง 95% และช่วยลดความเครียดของผู้โดยสารที่กำลังเดินทางผ่านสนามบินฮีทโธรว์ได้เป็นอย่างมาก
Agentforce ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์การบริการลูกค้าในแบบใหม่ซึ่งมอบคำตอบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มความซับซ้อนในกระบวนการทำงานหรือเพิ่มการฝึกอบรมพนักงานที่ใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมาก Agent จะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยก้าวข้ามโมเดลการให้บริการแบบเดิม สร้างประสบการณ์ที่มีความเฉพาะสำหรับแต่ละลูกค้าแต่ละบุคคล ได้รับความสะดวกง่ายดายในการใช้งาน พร้อมมอบคุณค่าที่จะคงอยู่ยืนยาวต่อไปให้กับลูกค้า ผ่านการให้บริการแบบเรียลไทม์ที่มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น
5. การให้ Agent ช่วยสร้าง Agent และการที่ Agent สนทนากันเอง จะกลายเป็นเรื่องปกติ
เช่นเดียวกับการที่องค์กรมีพนักงานซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในแต่ละหน้าที่ ในปี 2025 นี้เราจะได้เห็น AI Agent ได้รับมอบบทบาทเฉพาะเพื่อทำงานภายในเครือข่ายขององค์กร Agent เหล่านี้จะทำงานร่วมมือกับพนักงานที่เป็นมนุษย์ พร้อมกับสื่อสารพูดคุยกับ Agent ต่าง ๆ และสร้าง Agent ขึ้นมาใหม่ตามความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแต่ละ Agent จะมีหน้าที่เฉพาะซึ่งองค์กรกำหนดไว้อย่างชัดเจน ช่วยให้ระบบเครือข่ายสามารถจัดการงานที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภายในเครือข่ายการทำงานของ Agent นี้ Meta-Agent จะมีบทบาทสำคัญในการประสานงานระหว่าง Agent ต่าง ๆ เพื่อให้กระบวนการทำงานมีความราบรื่น ตัวอย่างเช่น Agent ที่เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาหรือ Concierge Agent อาจทำงานร่วมกับผู้ใช้งาน เพื่อให้คำแนะนำในฟังก์ชันงานที่ Agent สามารถให้ความช่วยเหลือได้ และส่งอัปเดตความคืบหน้าของการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะ ส่วน Agent ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหรือ Orchestration Agent จะทำหน้าที่ประเมินความต้องการของผู้ใช้งาน และส่งคำร้องต่อไปยัง Agent ที่เหมาะสมกับหน้าที่นั้น ๆ เพื่อให้จัดการกับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานในรูปแบบเครือข่ายนี้จะยิ่งเสริมสร้างการทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้นบนแพลตฟอร์มการสื่อสารเช่น Slack ซึ่งเป็นระบบที่มนุษย์สามารถทำงานร่วมกับ AI Agent ได้แบบผสานรวมเป็นทีมเดียวกัน เพิ่มทั้งความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการประสานงานที่ดียิ่งขึ้นโลกยุคใหม่ซึ่งเป็นยุคแห่ง Agent จะเปลี่ยนแปลงนิยามของการทำงานร่วมกัน ด้วยการสร้างพื้นที่ซึ่งทั้งมนุษย์และ Agent ทำงานเคียงคู่กันในสภาพแวดล้อมที่ผสานรวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อร่วมกันยกระดับผลการทำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ ผ่านกระบวนการดำเนินงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ประกาศขยายขีดความสามารถด้าน GenAI ครอบคลุมทั่วกลุ่มผลิตภัณฑ์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยด้วย AI อีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวการผสานรวม FortiAI ไว้ในสองโซลูชันใหม่ ซึ่ง FortiAI คือผู้ช่วยด้านความปลอดภัยตัวจริงที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง AI ของฟอร์ติเน็ต โดยนำ GenAI มาช่วยสนับสนุนการทำงานของนักวิเคราะห์ความปลอดภัย ทั้งแนะนำ ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น อีกทั้งดำเนินการได้แบบอัตโนมัติ
ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “ฟอร์ติเน็ต มุ่งมั่นด้านนวัตกรรม AI มาตลอดเป็นเวลานานเกิน 10 ปี และเราถือเป็นผู้ให้บริการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ รายแรกๆ ที่มีการสร้างเครือข่ายประสาทเทียม หรือ Artificial Neural Network เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างภัยคุกคาม จนกลายเป็นต้นแบบของ FortiAI ในปัจจุบัน และในตอนนี้ เราได้ขยายการใช้ GenAI เพื่อเสริมประสิทธิภาพสายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในแต่ละประเภทรวม 7 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการมอบนวัตกรรมโซลูชันรักษาความปลอดภัยขั้นสุดให้กับลูกค้า”
“การผสานรวม FortiAI เข้ากับโซลูชันได้หลากหลายดังที่กล่าวมา คือเครื่องมือปรับเปลี่ยนการทำงานที่ทรงพลัง ที่เรากำลังมอบให้ลูกค้าเพื่อช่วยปฏิรูปการบริหารจัดการพร้อมตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความเสี่ยงทางไซเบอร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราก็จะยังคงเสริมสร้างศักยภาพให้กับลูกค้าเรามากขึ้น ด้วยโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรักษาความปลอดภัย ช่วยให้ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเสริมความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยคุกคามที่พัฒนาตลอดเวลา”
การผสานรวมใหม่ของ FortiAI
FortiAI for FortiNDR Cloud ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจจับภัยคุกคามสามารถจับสังเกตและดูผลการตรวจจับที่เชื่อมโยงกับการค้นหาได้อย่างง่ายดาย นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยสามารถค้นหาข้อมูลจาก FortiAI และตระหนักถึงความสามารถที่ครอบคลุมของ FortiNDR Cloud ในการรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น อีกทั้งยังเข้าใจกลยุทธ์และเทคนิคของผู้โจมตี รวมถึงช่องโหว่ที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างง่ายดาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการค้นหาและเสริมศักยภาพให้กับนักวิเคราะห์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจจับภัยคุกคามเข้าใจถึงความสามารถในการรับมือกับผู้โจมตีได้ดียิ่งขึ้น
FortiAI for Lacework FortiCNAPP มุ่งเน้นช่วยให้ทีม SOC เข้าใจการแจ้งเตือนได้เร็วขึ้น รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการดำเนินการที่ถูกต้อง ซึ่งการค้นหาโดยใช้ภาษาธรรมชาติ (natural language queries) จะช่วยให้ทีมสามารถเข้าใจสาเหตุของการแจ้งเตือนได้ง่ายขึ้น เข้าใจความเสี่ยง เช่น วิธีที่ผู้โจมตีอาจใช้ในการเจาะระบบ พร้อมให้คำแนะนำในอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในการตรวจสอบและตอบสนองการโจมตี จึงช่วยแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยโค้ดที่ถูกต้อง
FortiAI ในสายผลิตภัณฑ์ของฟอร์ติเน็ต
การขยายความสามารถด้าน AI นับเป็นการยืนยันความเป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยด้วย AI ซึ่งยังเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของฟอร์ติเน็ต ในสร้างนวัตกรรม AI ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการผสานรวม GenAI ในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่
· FortiAI for FortiAnalyzer ช่วยวิเคราะห์ภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์ ช่วยจัดลำดับความสำคัญในการตอบสนองพร้อมดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ
· FortiAI สำหรับ FortiManager ช่วยให้สร้างสคริปต์การตั้งค่าเครือข่ายได้ง่ายขึ้น สามารถแก้ไขปัญหา และดำเนินการแก้ไขช่องโหว่และปัญหาเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ
· FortiAI for FortiSIEM ให้ข้อมูลข้อมูลเชิงลึกตามบริบท พร้อมให้คำแนะนำในการตรวจสอบและตอบสนองการแจ้งเตือนความปลอดภัย
· FortiAI for FortiSOAR ให้คำแนะนำและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบภัยคุกคาม ดำเนินการแก้ไข และสร้าง playbook ได้โดยอัตโนมัติ
· FortiAI for FortiDLP ช่วยสรุปและจัดบริบทข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงที่ตรวจพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราเชื่อว่า AI เป็นรากฐานสำคัญสำหรับอนาคตของการทำงาน และพลังการเปลี่ยนแปลงของ AI ควรเข้าถึงได้สำหรับทุกธุรกิจและพนักงานทุกคนในราคาที่เหมาะสม นั่นเป็นเหตุผลที่วันนี้เราตัดสินใจที่จะรวม AI ที่ดีที่สุดของ Google ไว้ในแพ็กเกจ Google Workspace Business และ Enterprise โดยนำความสามารถของ Generative AI ล่าสุดมามอบให้ลูกค้าธุรกิจของเรา โดยไม่จำเป็นต้องซื้อส่วนเสริมใด ๆ
การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้วย AI ในที่ทำงาน
กว่า 20 ปีที่ Google Workspace ไม่ได้เป็นแค่ชุดเครื่องมือ แต่เป็นสถานที่ที่ทีมได้คิดค้น สร้างสรรค์ และเติบโตไปด้วยกัน เราได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 10 ล้านรายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ตั้งแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ไปจนถึงองค์กรระดับโลก เพื่อพลิกโฉมวิธีการทำงานของพวกเขาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันเมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคของการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI จึงมีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายสำหรับลูกค้าของเรา รวมทั้งช่วยสนับสนุนพันธกิจของเราในการช่วยให้ลูกค้าเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
เราเชื่อว่า AI ไม่ใช่แค่เครื่องมืออีกชิ้นหนึ่ง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงรากฐานในวิธีการทำงาน ตลอดปีที่ผ่านมา เราได้เห็นลูกค้ากว่า 1 แสนรายใช้ Generative AI เพื่อปลดล็อกประสิทธิภาพการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของพนักงาน โดย AI เข้ามาช่วยลดภาระของงานที่น่าเบื่อ เช่น การจดบันทึกการประชุม การจัดทำเอกสารและวิดีโอขนาดยาว และยังทำหน้าที่เป็นคู่คิดเชิงกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนไอเดียที่ดีที่สุดของพวกเขาให้กลายเป็นจริง ธุรกิจที่ใช้ AI กำลังได้รับความ
ได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญ แต่หลายคนไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร หรือประสบปัญหาด้านต้นทุนในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้
การเสริมพลังให้กับทุกธุรกิจด้วย AI ที่ดีที่สุดของ Google
เพื่อตอบสนองความต้องการนี้ เรายินดีที่จะประกาศให้ทราบว่าตอนนี้ AI ที่ดีที่สุดของ Google ได้รวมอยู่ในแพ็กเกจ Google Workspace Business และ Enterprise แล้ว ทำให้ทุกธุรกิจมีเครื่องมือที่พวกเขาต้องการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ สำหรับอนาคต
AI ที่ดีที่สุดของ Google ผสานรวมอย่างลงตัวกับการทำงานในแต่ละวัน
ความสามารถด้าน AI ต่อไปนี้จะเริ่มทยอยเปิดตัวให้กับลูกค้า Workspace Business ในวันนี้ และสำหรับลูกค้า Enterprise ในปลายเดือนนี้
· รับความช่วยเหลือจาก AI ใน Gmail, Docs, Sheets, Meet, Chat, Vids และอื่นๆ: ทำงานให้ดีที่สุดได้เร็วขึ้นด้วย AI ที่ฝังอยู่ในเครื่องมือที่คุณใช้ทุกวัน Gemini ปรับปรุงการสื่อสารของคุณโดยช่วยคุณสรุป ร่าง และค้นหาข้อมูลในอีเมล แชท และไฟล์ของคุณ AI สามารถเป็นคู่คิดและมอบแรงบันดาลใจ ช่วยคุณสร้างเอกสาร สไลด์ สเปรดชีต และวิดีโอระดับมืออาชีพตั้งแต่เริ่มต้น Gemini ยังสามารถช่วยให้การประชุมของคุณราบรื่นขึ้น โดยการจดบันทึก ปรับปรุงคุณภาพเสียงและวิดีโอของคุณ และช่วยให้คุณตามทันการสนทนาหากคุณเข้าร่วมช้า
· แชทกับ Gemini Advanced ซึ่งเป็น AI รุ่นถัดไปของ Google: เริ่มต้นการเรียนรู้ การระดมความคิด และการวางแผนด้วยแอป Gemini บนแล็ปท็อปหรืออุปกรณ์มือถือของคุณ Gemini Advanced สามารถช่วยคุณจัดการกับโปรเจ็กต์ที่ซับซ้อน รวมถึงการเขียนโค้ด การวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล และช่วยให้คุณสร้าง Gems ที่เป็นเหมือนทีม AI ผู้เชี่ยวชาญของคุณเพื่อช่วยในการทำงานซ้ำ ๆ หรืองานเฉพาะทาง · ปลดล็อกพลังของ NotebookLM Plus: เรากำลังนำผู้ช่วยวิจัย AI ที่ปฏิวัติวงการมาสู่พนักงานทุกคน เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจหัวข้อที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น อัปโหลดแหล่งข้อมูลเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกทันทีและภาพรวมของเสียงที่เหมือนกับพอดแคสต์ จากนั้นแชร์ Notebooks ที่กำหนดเองกับทีมเพื่อเร่งกระบวนการเรียนรู้และการเริ่มต้นทำงาน
ราคาแพ็กเกจ AI ที่เข้าใจง่ายขึ้น
เรากำลังลดความซับซ้อนของแพ็กเกจและราคาของเราเพื่อให้ลูกค้า Google Workspace ทุกรายมีโอกาสเข้าถึงประโยชน์จาก AI ของ Google ได้มากขึ้น โดยตอนนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าส่วนเสริมเพื่อเข้าถึงความสามารถ Generative AI ล่าสุดของเราอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่สมัครแพ็กเกจ Workspace Business Standard พร้อมส่วนเสริม Gemini Business แต่เดิมจะต้องจ่าย 1,210 บาท ต่อผู้ใช้ต่อเดือน ตอนนี้ ลูกค้ารายเดียวกันนี้จะจ่ายเพียง 550 บาท ต่อผู้ใช้ต่อเดือน ซึ่งแพงกว่าราคาแพ็กเกจ Workspace แบบไม่มี Gemini เพียง 96 บาท เท่านั้น คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาที่อัปเดตของเราและความพร้อมใช้งานของฟีเจอร์ตามรุ่นได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือ (Help Center) ราคานี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้สำหรับลูกค้าใหม่ ส่วนลูกค้าปัจจุบันนั้น ราคาการสมัครสมาชิกรายเดือนจะได้รับการอัปเดตตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2025 หรือในวันที่ต่ออายุพร้อมแพ็กเกจรายปี/แพ็กเกจตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วแต่ว่าวันใดจะเกิดขึ้นทีหลัง ทั้งนี้ลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กมากจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาในขณะนี้
การปกป้องการสนทนาของคุณกับ AI ให้ปลอดภัย
เรารู้ว่าความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับผู้นำธุรกิจเมื่อใช้ AI และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยคุณรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัย
· ข้อมูลของคุณยังคงเป็นของคุณ: เราจะไม่ใช้ข้อมูล พรอมต์ หรือคำตอบที่สร้างขึ้นของคุณเพื่อฝึกโมเดล Gemini ภายนอกโดเมนของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งจะไม่ขายข้อมูลของคุณหรือใช้ในการกำหนดเป้าหมายโฆษณาด้วย
· คุณสามารถควบคุมได้: เราสร้าง Gemini ด้วยการควบคุมระดับองค์กรเพื่อช่วยคุณเริ่มใช้ Gemini ในขณะที่ปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของคุณ Gemini จะดึงเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง นอกจากนี้ มาตรการควบคุมความปลอดภัยและความเป็นเจ้าของข้อมูล Workspace ที่มีอยู่ของคุณจะถูกนำไปใช้โดยอัตโนมัติ
· คุณสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้: Gemini สำหรับ Workspace และแอป Gemini เป็นหนึ่งในโซลูชันเพิ่มประสิทธิภาพ Generative AI กลุ่มแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยที่ครอบคลุม รวมถึงมาตรฐาน SOC 1/2/3, ISO 27001/17/18 และ ISO 42001
Cr: Google
สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร่วมมือกับ 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย จัดงาน AI Engineering & Innovation Summit 2024 นำโดย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนการดำเนินงานของอาจารย์ และนักวิจัยในเครือข่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตที่มีความ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและตอบสนอง ความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ สถาบัน AIEI ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ณ ห้อง Grand Ballroom, The Ritz-Carlton Bangkok
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล กล่าวถึง บทบาทของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ในการเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทย รวมถึงงานวิจัยต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในด้านต่าง ๆ อาทิ การเกษตร การยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะสำหรับผู้พิการ การแพทย์ และการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ทั้งยังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยและเครือข่ายในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือกับโรงพยาบาลเจ้าคุณทหารฯ ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI แห่งแรกของประเทศไทย
รศ.ดร. สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดี มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล กล่าวว่า ในการจัดงานครั้งนี้ ยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับอีก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) รวมกันเป็นเครือข่าย 9 มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมพัฒนางานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ และเปิดโอกาสให้ใช้ทรัพยากรระหว่างมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาอย่างสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับอีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thai Industries - FTI) เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการใช้งาน และพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับ SME ในเครือข่ายของ FTI และสยาม เอไอ คอร์เปอเรชั่น (Siam AI Cloud) เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการวิจัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ เหล่านี้ ล้วนนับเป็นอีกก้าวสำคัญของความร่วมมือด้านวิชาการและนวัตกรรม AI อีกด้วย
ผศ.ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร ผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล กล่าวว่า งาน AI Engineering & Innovation Summit 2024 จัดขึ้นโดยสถาบัน AI Engineering Institute (AIEI) เป็นครั้งที่ 2 สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ DELL Technologies ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำระดับโลกด้าน AI โดยอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภายใต้สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน AI Engineering & Innovation Summit 2024 ในครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มปัจจุบันในด้าน AI ผ่านการบรรยายและอภิปรายจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา พร้อมทั้งนำเสนอผลงานวิจัย และพัฒนาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ภายใต้เครือข่าย AIEI ซึ่งเป็นโอกาสที่ประชาชนทั่วไปจะได้ค้นพบความก้าวหน้าของ AI และเทคโนโลยีในประเทศไทย และเรียนรู้ว่าเรากำลังทำงานเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำภารกิจของ AIEI ในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคส่วนสาธารณะ มาร่วมกันเพื่อความก้าวหน้าของ AI
โดยการจัดกิจกรรมสำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ด้วยการสนับสนุนของ PMU-C ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ MHESI/TSRI นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Innovation Fund เพื่อสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนการเติบโตของภาค AI และนวัตกรรมของไทย ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมแนวคิดธุรกิจสตาร์ทอัพ ผ่านโครงการของนักศึกษาภายใต้ AIEI ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแกนกลางในการช่วยประสานงานระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันจัดการศึกษาแบ่งปันทรัพยากร และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผน AI แห่งชาติ โดยการสร้างทรัพยากรบุคคลของประเทศ ที่มีศักยภาพตามสาขาความต้องการด้านปัญญาประดิษฐ์ และสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศสู่ระดับโลก
สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมของสถาบัน AIEI ได้ทาง www.facebook.com/CMKLUniversity และ www.cmkl.ac.th/aiei/ai-summit/ai-summit-2024
· 35% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ยินดีจ่ายค่าบริการกับการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพแตกต่างกัน
· ผลวิจัยฉบับนี้เป็นตัวแทนผู้บริโภค 1.1 พันล้านราย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G อยู่ 750 ล้านราย
· รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP)
ผลวิจัยล่าสุดจาก Ericsson (NASDAQ: ERIC) ConsumerLab เผยการใช้แอปพลิเคชัน Generative AI กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นความสนใจกับการเชื่อมต่อที่แตกต่างตามการใช้งานที่จำเป็นของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ทั่วโลก พร้อมรับประกันว่าการเชื่อมต่อจะมีคุณภาพอยู่ในระดับไฮเอนด์และไม่สะดุดในเวลาที่ต้องการใช้งานมากที่สุด
จากจำนวนเจ้าของสมาร์ทโฟนที่ใช้แอป Generative AI อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้สอดคล้องกับยูสเคสการใช้งานเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันเช่นวิดีโอคอล สตรีมมิ่ง และการชำระเงินออนไลน์ ที่ผู้ใช้ระบุว่าพวกเขาเต็มใจจ่ายเพิ่มกับบริการในระดับพรีเมียม
บริการเชื่อมต่อที่มีความแตกต่างและผู้บริโภคที่เต็มใจจ่ายค่าบริการให้กับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) เพื่อรับประกันว่าจะได้รับการเชื่อมต่อประสิทธิภาพสูงในการใช้งานแอปที่จำเป็น เป็นหัวข้อในรายงานระดับโลกล่าสุดจาก Ericsson ConsumerLab ในชื่อว่า Elevating 5G with Differentiated Connectivity ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
เกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้ Gen AI ระบุว่ายินดีจ่ายค่าบริการเพิ่ม 35% กับบริการที่รับประกันว่าจะได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและปลอดภัยระหว่างที่ใช้แอปพลิเคชันที่มีความจุสูง
ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า 35% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G สนใจที่จะจ่ายค่าบริการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันสำหรับใช้งานแอปพลิเคชันที่จำเป็นต่าง ๆ
รายงานฉบับนี้ ยังระบุถึงโอกาสต่าง ๆ ในการสร้างรายได้สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารอีกด้วย
แจสมีต เซธิ หัวหน้าฝ่ายวิจัย ConsumerLab ของอีริคสัน กล่าวว่า “ผลการวิจัยล่าสุดในรายงาน Ericsson ConsumerLab เผยว่า เมื่อแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น ความคาดหวังของผู้ใช้ต่อประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ดีก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคคาดหวังความสามารถในอนาคตของแอปพลิเคชัน AI ที่อาจเกี่ยวข้องกับ การสร้างภาพ เสียง หรือวิดีโอ และพวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการเพื่อให้ได้ความสามารถเหล่านั้นมาใช้ทำงานที่ได้ความรวดเร็วและมีคุณภาพสูง
นี่เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโอกาสของผู้ให้บริการทั่วโลกที่จะสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ด้วยการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ปรับแต่งได้”
เซธิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อผู้ให้บริการปรับใช้โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ จะมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากบริการเชื่อมต่อที่แตกต่าง รวมถึงการนำเสนอแพ็กเกจบริการที่สามารถปรับแต่งและการรับประกันคุณภาพการเชื่อมต่อที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในตลาด”
“การเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU) ของบริการ 5G เพิ่มขึ้น 5-12% เนื่องจากผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้และมีการรับประกันสำหรับแอปพลิเคชันเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ยังมีโอกาสปลดล็อกช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ จากความต้องการอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มผู้ใช้บริการ 5G ที่ต้องการใช้แอปประสิทธิภาพสูง โดย 1 ใน 3 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ยินดีจัดสรรงบประมาณ 10% จากค่าใช้จ่ายแอปมือถือในปัจจุบัน เพื่อมาซื้อแอปที่มีคุณภาพการเชื่อมต่อสูงอยู่ในตัว ด้วยการเปิดให้นักพัฒนาเข้าถึง Network APIs แบบ Quality on Demand (QoD) ทำให้ผู้ให้บริการฯ สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ และช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำเสนอประสบการณ์ระดับพรีเมียมที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมปลดล็อกช่องทางรายได้ใหม่ ๆ ในกระบวนการนี้ได้” เซธิ กล่าวเพิ่ม
ประเด็นสำคัญ:
· พร้อมจ่ายค่าบริการเพิ่ม: 35% ของผู้ใช้ 5G ทั่วโลก ยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อรับบริการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพแตกต่างกัน เพื่อรับประกันประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกับงานที่มีความสำคัญ
· กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความมั่นใจ หรือ Assurance Seekers: แม้จะมีความเชื่อว่าผู้ใช้จะไม่ยอมจ่ายค่าบริการเครือข่ายเพิ่ม แต่ผลสำรวจพบว่า 20% ของผู้ใช้งาน ซึ่งเรียกว่า 'Assurance Seekers' กำลังมองหาการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อใช้แอปพลิเคชันสำคัญและพวกเขาเต็มใจจะจ่ายเพิ่ม
· ความต้องการใช้แอป Gen AI: คาดว่าจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ใช้แอป Gen AI รายสัปดาห์จะเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โดย 1 ใน 4 ของผู้ใช้ AI ในปัจจุบัน เต็มใจจ่ายค่าบริการเพิ่มถึง 35% เพื่อแลกกับบริการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพแตกต่าง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับประสิทธิภาพที่รวดเร็วและตอบสนองเป็นอย่างดีเมื่อใช้แอป AI
· ความสนใจระดับภูมิภาค: ตลาดอินเดีย ประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย มีสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่สนใจบริการเชื่อมต่อที่แตกต่างหรือ Differentiated Connectivity มากกว่าฝรั่งเศสและสเปนถึง 2 เท่า
· 5 ขั้นตอนสำหรับผู้ให้บริการ: รายงานฉบับนี้ยังได้นำเสนอการวางแนวทางสำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร เพื่อเปลี่ยนจากการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มือถือทั่วไป ไปสู่โมเดลที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพและแพลตฟอร์ม ซึ่ง Network APIs จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างประสบการณ์การใช้แอปที่ปรับแต่งเฉพาะได้
การสำรวจนี้เป็นการสำรวจทางออนไลน์กับผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมากกว่า 23,000 ราย และมากกว่า 17,000 รายเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G โดยมีอายุระหว่าง 15-69 ปี ครอบคลุมใน 16 ตลาดสำคัญทั่วโลก นักวิจัยของอีริคสันยังระบุว่าการสำรวจนี้เสมือนเป็นตัวแทนผู้ใช้บริการมือถือ 1.1 พันล้านคนโดยในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G 750 ล้านราย
ผู้ใช้บริการ 5G ที่ร่วมการสำรวจมาจาก: ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, จีน, ฝรั่งเศส, ฮ่องกง, อินเดีย, ซาอุดีอาระเบีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, สเปน, ไต้หวัน, ไทย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา