January 22, 2025

มนุษย์เราอยู่รอดได้ด้วย 3 สิ่ง คือ อาหาร น้ำ และพลังงาน

ที่เหลือมนุษย์ล้วนผลิตขึ้นมาได้  ยิ่งพลังงานด้วยแล้ว ถ้ามีมากและใช้ให้เป็น ก็จะนำมาช่วยผลิตอาหารและน้ำได้จนเพียงพอแก่การบริโภค

 

ประเทศไทยเราโชคดีที่มีอาหารและน้ำเหลือเฟือ แต่พลังงานนั้นเป็นปัญหามาโดยตลอด 

เพราะเราต้องนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าส  และราคาของเหล่านี้ มักขึ้นต่อ Geopolitics หรือการเมืองของโลก  รัสเซียบุกยูเครน ราษฏรของเราก็ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น

OPEC ลดการผลิต เราก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปีหน้าก็ต้องเติมน้ำมันแพงขึ้นอีก

นี่ยังไม่รู้ว่าฮามาสรบกับอิสราเอล จะส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อราคาพลังงาน

แต่เชื่อเถอะ ไม่ดีต่อเราแน่ๆ !

คงไม่เฉพาะแต่เรา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ผลิตพลังงานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอใช้ ย่อมต้องเจอผลกระทบทางลบทั้งสิ้น

แล้วทำไมเรายังต้องแขวนชะตากรรมของเรากับ Geopolitics แบบนี้ ซึ่งวุ่นวายอยู่ได้ด้วยน้ำมือผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่า แหล่งพลังงานมักเป็นเป้าหมายของการรบพุ่งกัน และมันก็คงจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันไปไม่สิ้นสุดในอนาคต

แต่ละครั้ง พวกเราก็ต้องพลอยลำบากไปด้วย เหมือนถูกเขาจับเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่หาได้เกี่ยวข้องได้เสียอันใดไม่

เราต้องปลดแอก! 

เราต้องวางแผนให้การผลิตพลังงานของเราในอนาคต มีลักษณะไม่รวมศูนย์ หรือ Decentralize ตีตัวออกห่างจากการเมืองในลักษณะ Geopolitics ของโลก ซึ่งในอนาคตจะเข้มข้นขึ้นเมื่อจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มตัว

 ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหันไปหาพลังงานนิวเคลียร์ เพราะมันสะอาด สอดคล้องกับการแก้ปัญหาโลกร้อน อีกทั้งยังผลิตได้ทีละมากๆ และเริ่มจะถูกลงและปลอดภัยขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอุดมคติคือ Nuclear Fusion ซึ่งขณะนี้มนุษย์สามารถพัฒนา Reactor ขึ้นมาได้แล้วในระดับห้องทดลองแต่ในระดับ Commercial นั้นยังต้องรอต่อไป

Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้

 นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

 

ส่วนพัฒนาการของ Nuclear Fission Reactor นั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor ก็ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยที่สูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง  ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ และผลิตได้ทีละมากๆ ขนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งผู้พัฒนา (NuScale) ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..

เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off

 สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าไทยเรายังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และทุกข์ของเราจะไม่หมดไป ถ้ายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

09/10/2566

เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท Guangzhou Auto Group (GAC) Aion เพื่อผนึกความร่วมมือแบบครอบคลุมทุกมิติในการเข้ามาทำธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยธนาคาร ยูโอบี ประเทศจีน และ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจะร่วมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินสำหรับการขยายธุรกิจ การพัฒนาตลาดและ การลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ของบริษัท

ข้อตกลงในครั้งนี้เป็นการสานต่อความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กับ GAC Aion ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ลำดับที่ 3 ภายในประเทศจีนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ GAC Aion และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลล์ (ประเทศไทย) จะได้รับประโยชน์จากบริการ Global Credit Services เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายกิจการและดำเนินธุรกิจ บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ บริการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย และการเข้าถึงสินเชื่อสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนของธนาคารในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบีขอร่วมแสดงความยินดีกับ GAC Aion กับก้าวแรกแห่งความสำเร็จในการเข้ามาสู่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าประเทศไทย จากความสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นอย่างยาวนาน ยูโอบีรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บริษัทเลือกธนาคารเป็นสถาบันทางการเงินหลักเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจนอกประเทศ ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคที่มีรากฐานที่มั่นคงในประเทศไทย ยูโอบีได้ช่วยเหลือให้ GAC Aion ได้เข้ามาทำตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเติบโตในประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จเพราะธนาคารมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นอย่างดี ยูโอบีพร้อมมอบความช่วยเหลือเพิมเติมให้แก่บริษัทเพื่อสนับสนุนความต้องการในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค และการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ยานยนต์สีเขียวต่อไปในอนาคต

บันทึกความเข้าใจนี้สืบเนื่องจากที่ GAC Aion ได้เปิดตัว Aion Y Plus รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายในต่างประเทศเป็นที่แรกในประเทศไทย โดยเมื่อปี 2565 บริษัทได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในต่างประเทศ และเลือกภูมิภาคอาเซียนที่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเทศไทยเป็นจุดหมายแรกในการปักธงธุรกิจ ธนาคารยูโอบีนำโดยหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment Advisory Unit) พร้อมด้วยผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ และ หน่วยบริการธุรกิจจีนได้ร่วมให้คำแนะนำในการขยายธุรกิจแก่บริษัทในทุกมิติ ทำให้ Gac Aion สามารถจัดตั้งบริษัทย่อย จดทะเบียนลงทุนทางตรงในต่างประเทศ และส่งออกรถยนต์รุ่น Y Plus มาทำตลาดในไทย นอกจากนี้ธนาคารยังให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท และโอนเงินโดยตรงให้แก่บริษัทที่จีนเป็นสกุลเงินหยวนได้ทันที”

โอเชียน หม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วหลังจากที่บริษัทได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจต่างประเทศ เราได้เรียนรู้และสานสัมพันธ์กับธุรกิจในประเทศต่างๆ ผ่านเครือข่ายระดับภูมิภาคที่เข้มแข็งของธนาคารยูโอบีทำให้เรามีข้อมูลและรับทราบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาขยายธุรกิจออกนอกประเทศ อีกทั้งธนาคารยังช่วยเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างบริษัทกับตัวแทนจากภาครัฐทั่วภูมิภาคอาเซียนที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางโจว และตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ยูโอบีจึงไม่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินแต่เป็นคู่คิดที่อยู่เคียงข้างเราในทุกๆ ก้าวของการเดินทาง”

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่น Y Series ทุกรุ่น Gac Aion มีแผนที่จะตั้งโรงงานและใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยและประเทศอื่นๆ

กู่ ฮุ่ยหนาน กรรมการผู้จัดการบริษัท GAC Aion New Energy Automotive Co., Ltd กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทมีแผนจะใช้ประเทศไทยเป็นที่แรกเพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายในการขยายธุรกิจส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศ ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบีในการเข้ามาทำตลาดในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี บริษัทพร้อมจะเติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องและยินดีที่จะร่วมงานกับธนาคารเพื่อเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่ทุกคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซินเทีย ซิง, Head of Corporate Banking, ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กล่าวว่า “ยูโอบีรู้สึกยินดีที่ได้รับความไว้วางใจจาก GAC Aion พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นว่าการลงนามในข้อตกลงร่วมครั้งนี้จะกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการตอกย้ำจุดยืนของธนาคารในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินหลักของ Aion และ GAC Aion ที่พร้อมสนับสนุนการขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างครอบคลุมทั่วภูมิภาคอาเซียนผ่านการให้สินเชื่อหมุนเวียนทางธุรกิจ โซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืน รวมทั้งการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน (global markets)และกิจกรรมในตลาดทุน (capital markets)”

แอลพีเอ็นเดินหน้าผลักดันเป้าหมายการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะมิติของสิ่งแวดล้อม

นายอรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด  และนายอิทธิ ทองแตง รองประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 5  ในเครือโรงพยาบาลพญาไท และ เครือโรงพยาบาลเปาโล   ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานสีเขียวของกลุ่มโรงพยาบาล ทั้ง 12 แห่งในเครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล มุ่งสู่การเป็น Green Hospital (โรงพยาบาลสีเขียว)  ปัจจุบันกลุ่มโรงพยาบาลโดยมีเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 40% ภายปี พ.ศ. 2570   และปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

X

Right Click

No right click