×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

ยกย่องพันธมิตรในการให้บริการโซลูชัน นำเทคโนโลยีสร้างความเป็นไปได้เพื่อตอบทุกโจทย์ให้กับทุกองค์กร

มุ่งขยายโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี เพื่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคน

การเปิดตัวโครงการ “1st JobberHack Challenge ติดอาวุธเสริมทักษะด้านดิจิทัล” จัดขึ้นที่บริษัทเอไอเอส เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนระดับชั้นอุดมศึกษาด้วย

ทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21 พร้อมสนับสนุนการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงผ่านการนำเสนอไอเดียโซลูชั่นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับธุรกิจได้จริง โดยต่อยอดจากการฝึกอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams ซึ่งครอบคลุมหัวข้อพื้นฐาน ได้แก่ การประมวลผลของชุดคำสั่ง (documenting) การสื่อสาร (communication) การเก็บข้อมูลและเว็บไซต์ (data collecting and website) การจินตนาการภาพจากข้อมูล (data visualization) ระบบควบคุมอัตโนมัติและการสร้างแอปพลิเคชัน (automation and building application) และการสร้างแอปพลิเคชันผลิตภัณฑ์ (create product application) 

ในงานเปิดตัวโครงการที่ผ่านมา มีนิสิตนักศึกษาให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 29 ทีม จาก 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนอกจากนิสิตนักศึกษาเหล่านี้จะได้รับความรู้จากเวิร์คช็อปการออกแบบความคิดและนำเสนอไอเดีย พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมในงานเปิดตัวที่ผ่านมาแล้ว พวกเขายังได้รับโอกาสในการฝึกอบรมทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นและมีประโยชน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ Microsoft Teams เป็นระยะเวลา 1 เดือน จนถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ด้วย

 Image preview

นายสุกฤษ ฉัตรไชยเดช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกว่าโครงการ 1st JobberHack Challenge มีความน่าสนใจตรงที่เป็นโครงการที่เกิดความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่งอย่างไมโครซอฟท์และเอไอเอส ผมจึงเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ผมได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากทั้งสองบริษัทที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรม จากการเรียนรู้ทักษะความรู้ระดับพื้นฐานที่สำคัญในการจัดกระบวนการคิดเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจต่าง ๆ”

 Image preview

นางสาวยุภาภรณ์ วันนา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสารสนเทศสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 จึงรู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลองนำความรู้เชิงทฤษฎีที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงทดสอบศักยภาพของตนเอง ก่อนที่จะออกไปเจอกับสนามแข่งจริง หนูเชื่อว่าทักษะและความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มชีวิตการทำงานในอนาคต ทั้งจากการแบ่งปันประสบการณ์และคำแนะนำโดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จ และจากการฝึกคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจร่วมกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม”

 

หลังจากการฝึกอบรมทางออนไลน์แล้ว ทีมนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะนำเสนอไอเดียโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจในรูปแบบวิดีโอที่มีความยาว 1-2 นาที และทีมผู้ชนะเลิศของการแข่งขันจะถูกประกาศขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 หลังจากการนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการซึ่งล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โดยทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับ Surface Go จำนวน 3 เครื่อง รางวัลละ 25,900 บาท บาท พร้อมการฝึกอบรมการใช้งาน PowerApp และ PowerPlatform สำหรับนักศึกษาจำนวน 50 คนจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ ในขณะที่ทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลเป็น Surface Go จำนวน 3 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท และทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลเป็นหูฟัง Logitech G933s จำนวน 3 รางวัล มูลค่า กว่า 6,000 บาท นอกจากนี้มหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศจะได้รับคอร์สสอนการใช้งาน Office 365 จำนวน 50 ที่นั่งฟรี

ฟอร์ติเน็ตและบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ ทรานสฟอร์เมชั่นส์ เซอร์วิสเซส จำกัด (Tata Communications Transformation Services Limited หรือ TCTS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัดจับมือกับไมโครซอฟท์อาชัวร์ (Microsoft Azure) เพื่อเปิดตัวบริการเอสดีแวนที่มีการจัดการ (Managed SD-WAN) ให้กับเครือข่ายอาชัวร์เวอร์ชวลแวน (Azure Virtual WAN)

บริการเอสดีแวนจาก TCTS จะช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถสร้างโซลูชันในการช่วยให้องค์กรต่างๆ ย้ายไปยังแพลทฟอร์มอาชัวร์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นการช่วยเร่งสร้างรายได้แก่ผู้ให้บริการในการช่วยย้ายระบบไอทีไปสู่คลาวด์สาธารณะ ทั้งนี้ โซลูชั่นครั้งนี้เป็นการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างสาขาให้กับลูกค้าที่ใช้ไมโครซอฟท์เป็นแพลทฟอร์มหลัก และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ทำงานบนอาชัวร์ได้อย่างปลอดภัยและรักษาระดับบริการ SLA ได้ตามต้องการ  โซลูชั่นนี้นับเป็นหนึ่งในโซลูชั่นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่เสนอเอสดีแวนพร้อมกับระบบความปลอดภัยให้แก่ทราฟฟิคที่ทำงานบนแพลทฟอร์มคลาวด์ของอาชัวร์

ทั้งนี้ TCTS ได้ยกระดับเครือข่ายอาชัวร์เวอร์ชวลแวนให้สูงขึ้นได้ จากศักยภาพในการกำหนดค่าบริหารนโยบายของแอปพลิเคชันได้จากส่วนกลางโดยใช้เทคโนโลยีเอสดีแวนของฟอร์ติเน็ตเข้ากับเทคโนโลยีเครือข่ายเอจ (Network Edge) ของอิควินิกซ์ เพื่อสร้างบริการเครือข่ายเสมือนจริงที่มีประสิทธิภาพการทำงานและปลอดภัยระดับสูง นอกจากนี้ บริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ (Cloud Networking-as-a-Service: CNaaS) ของ TCTS ถือเป็นส่วนหนึ่งของบริการคลาวด์ที่มีนวัตกรรมมากที่สุดและได้รับรางวัลของ TCTS จึงส่งให้บริการนี้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมจากคู่ค้าของ TCTS จากการยอมรับเป็นอย่างดีในธุรกิจให้คำปรึกษา การติดตั้งและการบริหารงานด้านเวอร์ชวลไลเซชั่น

มาดุสุดาน ไมซอร์ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TCTS กล่าวว่า “TCTS พัฒนาบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการโยกย้ายระบบไอทีขององค์กรที่ซับซ้อนที่สุด สามารถให้ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกนำไปเปิดบริการประเภทแมนเน็จเซอร์วิสที่มีการจัดการ (MSP) ที่ดีที่สุดให้กับฐานลูกค้าองค์กรของไมโครซอฟต์ที่มึอยู่ทั่วโลกได้ทันที จึงเป็นวิธีการสร้างกระแสรายได้สูงสำหรับผู้ให้บริการ  ทั้งนี้ TCTS มีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาทางเทคนิคที่เกี่ยวกับโซลูชั่นบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์นี้ จึงช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถเปิดบริการรองรับอาชัวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว”

ในขณะที่ระบบคลาวด์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่างยิ่งต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของอุปกรณ์ที่หลากหลาย อุปกรณ์เกตเวย์ การกำหนดค่า การจัดเซ็คเม้นต์ และการตรวจสอบระบบ Virtual Private Clouds (VPCs) ที่ทำงานอยู่ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้บริการโครงข่าย Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ในระดับภูมิภาคและทั่วโลก จึงทำให้การกำหนดค่าของเอสดีแวน วีพีเอ็น ตารางเร้าติ้ง ระบบความปลอดภัย เกตเวย์และการเชื่อมต่อแบบไฮบริดภายในพับลิคคลาวด์ยังคงเป็นปัญหาสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ เมื่อคลาวด์ขยายไปถึงส่วนเอจ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีการจัดการระหว่างคลาวด์และผู้ให้บริการ (เช่น Azure ExpressRoute และอื่นๆ ) แล้ว คลาวด์จึงมีความซับซ้อนในขั้นตอนการกำหนดค่าและใช้งานมาก

รอส โอเตก้า ผู้จัดการ ฝ่ายโปรแกรมสำหรับพันธมิตร หน่วยธุรกิจเครือข่ายไมโครซอฟต์อาชัวร์  แห่งไมโครซอฟต์ ได้กล่าวว่า “ความต้องการใช้งานเครือข่ายแวน (WAN) โน้มไปทางคลาวด์มากขึ้น ซึ่ง Microsoft Azure Virtual WAN (VWAN) สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ดี เนื่องจากเป็นเครือข่ายที่เอื้อให้อุปกรณ์และไซต์ต่างๆ เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์สาธารณะของอาชัวร์ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ บริการเอสดีแวนที่มีการจัดการของ TCTS บนเครือข่าย VWAN ของอาชัวร์จะช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถส่งให้บริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ที่มีการจัดการได้”

ด้วยความร่วมมือกันนี้ จึงทำให้องค์กรที่ไซต์ใดๆ สามารถสลับใช้สื่อประเภท MPLS และอินเทอร์เน็ต เพื่อหลีกเลี่ยงการรับส่งข้อมูลระหว่างภารกิจสำคัญในการรับส่งข้อมูล (ผ่านสื่อ MPLS และ Carrier Ethernet) และภารกิจที่ไม่สำคัญ (ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับอาชัวร์ผ่าน Azure ExpressRoute ได้  ทั้งนี้ การเชื่อมต่อเหล่านี้สามารถสร้างได้จากศูนย์ 'Virtual Cloud exchange' ของ TCTS ที่ใช้สร้างสภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการเดิมหรือสร้างบริการใหม่โดยทำงานร่วมกับศูนย์ Equinix' Cloud Exchange Fabric™ (ECX Fabric™) และโซลูชั่น Network Edge ในดาต้าเซ็นเตอร์ของอิควินิกซ์ที่มีอยู่ทั่วโลก

จอห์น แมดดิสัน รองประธานอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์และซีเอ็มโอแห่งฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า “การที่องค์กรปรับใช้คลาวด์กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายแวนขึ้นทั่วโลกโดยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเอสดีแวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้นด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตได้นำเสนอโซลูชั่นซีเคียวเอสดีแวน (Secure SD-WAN) ซึ่งมาพร้อมกับเอสดีแวนที่ดีที่สุด ไฟร์วอลล์ประเภทเน็กซ์เจเนอเรชั่นอันทรงประสิทธิภาพ คุณสมบัติด้านการจัดเร้าติ้งขั้นสูงและการเพิ่มประสิทธิภาพแวนรวมอยู่ในโซลูชั่นเดียว จึงส่งให้บริการเอสดีแวนที่มีการจัดการของ TCTS สามารถช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีโซลูชั่นแบบเบ็ดเสร็จในการมอบบริการเชื่อมต่อที่มีความปลอดภัยเชื่อถือได้และมีความหน่วงต่ำได้"

ศูนย์ Virtual Cloud exchange ของ TCTS (อยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา) ทำการเชื่อมต่อและการจัดการกับอาชัวร์และระบบคลาวด์สาธารณะอื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติผ่านทางโซลูชันที่ใช้เปิดบริการใหม่สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลก ซึ่งบริการจาก TCTS ส่งให้ผู้ให้บริการสามารถให้ลูกค้าองค์กรของอาชัวร์สามารถเลือกข้อเสนอมาตรฐานที่ไม่ต้องการฟังก์ชั่นเครือข่ายเอสดีแวนเสมือน (SD-WAN Virtual Network Function: VNF) ในอาชัวร์ หรือเลือกการทำงานขั้นสูง SD-WAN VNF ในอาชัวร์ที่ป้องกันทราฟฟิคของแอพลิเคชั่นให้ปลอดภัย

ทั้งนี้ TCTS จะให้บริการระดับมืออาชีพสำหรับโซลูชั่นบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ แก่ลูกค้า ดังนี้:

การวางแผน – ความต้องการทางธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์คลาวด์ การประเมินการรับประกันคลาวด์ การวางแผนการย้ายระบบคลาวด์ และการวางแผนความปลอดภัยของคลาวด์ การกำกับดูแลข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเสี่ยง

การเริ่มใช้งาน - พิสูจน์แนวคิด การทดสอบใช้งานของ Cloud SaaS, IaaS และ PaaS การกำหนดค่า VPC บนคลาวด์ การฝึกอบรมด้านคลาวด์ การย้ายระบบคลาวด์ การเพิ่มประสิทธิภาพและนโยบายสำหรับคลาวด์

การดำเนินงาน - การดำเนินงานด้วยนโยบาย 365X7X24 การสนับสนุนด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหา การบริหารการเปลี่ยนแปลง การจัดการสิทธิ์การเข้าถึง การตรวจสอบระบบคลาวด์ การจัดการกับอุปกรณ์ การรวมผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

หมายเหตุ: TATA COMMUNICATIONS และ TATA เป็นเครื่องหมายการค้าของ Tata Sons Private Limited ในบางประเทศ

 

การทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลจากหลากหลายเพศสามารถนำมาซึ่งโซลูชันที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ด้วยมุมมองที่แตกต่างจะส่งผลให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการเหมารวมว่าวงการเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมสำหรับผู้ชายเป็นหลักนั้นอาจ

Page 4 of 5
X

Right Click

No right click