นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Mr. Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer, Kiatnakin Phatra Financial Group) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 3.25 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท จะมีอัตราเงินปันผลคงเหลือในงวดนี้เท่ากับหุ้นละ 1.5 บาท นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร ‘วอร์แรนท์’ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5 (KKP-W5) และครั้งที่ 6 (KKP-W6) อายุ 10 เดือนและ 2 ปี 10 เดือน ตามลำดับ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราการจัดสรร 12 หุ้นเดิมต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ KKP-W5 และ KKP-W6 อย่างละ 1 หน่วย โดยใบสำคัญแสดงสิทธิแต่ละหน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารได้ 1 หุ้น ที่ราคาการใช้สิทธิ 70 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายธุรกิจในอนาคตของธนาคาร ตั้งเป้าขยายพอร์ตสินเชื่อร้อยละ 13 ในปีนี้

ผลประกอบการในระยะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจฯ ที่มุ่งเติบโตโดยระมัดระวัง (Smart Growth) โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การจัดกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Segmentation) ตลอดจนการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งในธุรกิจตลาดทุนของบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจฯ ส่งผลให้สินเชื่อในภาพรวมของธนาคารเติบโตอย่างน่าพึงพอใจ เช่น ปี 2565 ที่สินเชื่อของธนาคารขยายตัวถึงร้อยละ 21.4 จากปีก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจฯ จึงมุ่งเตรียมความพร้อมในด้านทุน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจ รองรับการขยายสินเชื่อให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ อีกทั้งยังสามารถรักษาการปันผลในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตั้งเป้าโตสินเชื่ออีกร้อยละ 13” นายอภินันท์ กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของธนาคาร โดยเฉพาะการรุกหน้าบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่ว่าผ่านแอป KKP Mobile ของธนาคาร หรือบริการ Edge (เอดจ์) และ Dime (ไดม์) ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยขยายฐานลูกค้าของธนาคารไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยอีกเป็นจำนวนมากที่มองหาเงินฝากดอกเบี้ยสูง ควบคู่ไปกับบริการด้านการลงทุนที่สะดวก ตอบโจทย์ และมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับของเกียรตินาคินภัทร โดยบริการเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น New S-Curve หรือหน่วยธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจฯ

ในโอกาสเดียวกัน คณะกรรมการธนาคารยังได้มติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร KKP ESOP Warrants หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของธนาคาร และบริษัทย่อยที่กำหนดโดยไม่คิดมูลค่าจำนวนไม่เกิน 60,000,000 หน่วย ซึ่งมีราคาการใช้สิทธิ 72 บาทต่อหุ้น และมีอายุ 4 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ เพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับบุคลากรในการสร้างการเติบโตและผลกำไรที่ดี ตลอดจนสร้างความผูกพันกับองค์กรในระยะยาวอีกด้วย

 

CPL ดันบริษัทย่อย “ซีพีแอล เวนเจอร์ พลัส” ผนึกความร่วมมือพันธมิตร ตั้งบริษัทใหม่ “นาว เอนด์ออฟเวสท์” รุกธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องย่อยเศษอาหาร ภายใต้แบรนด์ NOW สอดรับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่ต้องการลดปริมาณขยะเศษอาหารโดยไม่ก่อมลภาวะเพิ่มเติม นำร่องทดลองใช้เครื่องใน 3 โครงการ ทั้งเซ็นทรัล เวสต์เกต, โครงการคอนโดมิเนียม เดอะแสตรนด์ ทองหล่อ และเดอะ ฟู้ด สคูล แบงคอก โรงเรียนสอนทำอาหารของกลุ่มดุสิตธานี วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล ตลาดสด และอื่นๆ มั่นใจเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจหลัก สร้างโอกาสเติบโตแบบ New S-Curve

นายภูวสิษฏ์ วงษ์เจริญสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CPL เปิดเผยว่า บริษัท ซีพีแอล เวนเจอร์ พลัส จำกัด (CPLV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ CPL ถือหุ้น 99.97% ได้เข้าถือหุ้นในสัดส่วน 50% ในบริษัท นาว เอนด์ออฟเวสท์ จำกัด (NOW End of Waste) ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ร่วมกับพันธมิตรอีก 2 ราย เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องย่อยสลายเศษอาหารภายใต้แบรนด์ NOW โดยล่าสุดได้ร่วมงานแสดงเทคโนโลยีในงานสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็คเมืองทองธานี เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ NOW เป็นเครื่องย่อยสลายเศษอาหารตามแนวคิดลดของเสียในระบบ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะแปรสภาพเศษอาหารเป็นของเหลวด้วยเครื่อง NOW Digester หรือแปรสภาพเศษอาหารเป็นดินด้วยเครื่อง NOW Composter ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบและลดภาระเตาเผาขยะ ทำให้เตาเผาขยะสามารถเผาขยะอื่นได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยลดมลภาวะ รวมถึงพาหะนำเชื้อโรคในพื้นที่ใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้ บริษัทฯ ได้ทดลองติดเครื่องย่อยสลายเศษอาหารเพื่อใช้งานใน 3 โครงการนำร่อง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต โครงการคอนโดมิเนียม เดอะ แสตรนด์ ทองหล่อ ซึ่งใช้ระบบแปรเศษอาหารเป็นของเหลว (NOW Digester) ขณะที่โครงการเดอะ ฟู้ด สคูล แบงคอก โรงเรียนสอนทำอาหารของกลุ่มดุสิตธานี ใช้เครื่องย่อยสลายระบบแปรเศษอาหารเป็นดิน (NOW Composter)

“ที่ผ่านมา ‘ซีพีแอล เวนเจอร์ พลัส’ มองหาโอกาสที่จะเข้าลงทุนในธุรกิจที่สร้างการเติบโตแบบ New S-Curve ขณะที่ NOW เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สอดรับกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืน ซึ่งตอบโจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยกลไกการทำงานของเครื่องที่หลังจากเครื่องแปรเศษอาหารเป็นของเหลวแล้ว ของเหลวจะถูกส่งต่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสียก่อนจะปล่อยออกสู่ภายนอก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาปริมาณขยะและของเสียได้ เช่นเดียวกับการแปรเศษอาหารเป็นดิน สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่บริษัทฯ มีแผนจะทำตลาดหลังจากนี้ จะประกอบด้วย กลุ่มอาคาร

สำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ศูนย์อาหาร ตลาดสด รวมทั้งเรือเดินสมุทร ซึ่งเรามั่นใจว่า NOW จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพในอนาคต” นายภูวสิษฏ์กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CPL กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่า ธุรกิจลดของเสีย (Food Waste Management) จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักของ CPL ตามหลักของการกระจายการลงทุนและการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ อีกทั้งยังสอดรับกับธุรกิจเซฟตี้โปรดักส์ หรือสินค้าด้านความปลอดภัยของ CPL ซึ่งที่ผ่านมาได้เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ท เซ้นส์ (Smart Sense) เพื่อยกระดับโรงงานต่างๆ ให้เป็น “สมาร์ท แฟคตอรี่” (Smart Factory) รวมถึงการยกระดับเครื่องจักรในโรงงานให้เป็น Machine Safety ซึ่งการพัฒนาธุรกิจใหม่ในรูปแบบที่หลากหลายของ CPL จะเป็นมิติใหม่ทั้งด้านความปลอดภัย และความยั่งยืน

 

ครั้งแรกของการผนึกกำลังกันของสี่องค์กรชั้นนำ ไทยพาณิชย์, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิดตัวโครงการส่งเสริมทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับบุคลากรและกำลังคนเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการจ้างงาน (Artificial Intelligence for Increasing Job Opportunity) เร่งสร้างคน AI เข้าภาคอุตสาหกรรม สนับสนุน New S-Curve ให้เศรษฐกิจไทย

 

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ขยายการลงทุนผ่านกองทุน Public US-based Healthcare Investment Fund ในรูปแบบ Founding Limited Partner เป็นจำนวน 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เทียบเท่าประมาณ 4,995 ล้านบาท) เน้นการลงทุนในหุ้นทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพหรือเฮลธ์แคร์ (Healthcare) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามแนวทางกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งแสวงหาโอกาสเพิ่ม New S-Curve ที่มีศักยภาพและอัตราการเติบโตสูงด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมเดินหน้าสู่มิติใหม่ของการเป็นผู้นำธุรกิจที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนทั่วโลก (Life-Betterment)

 

ครั้งแรกของการผนึกกำลังกันของสี่องค์กรชั้นนำ ไทยพาณิชย์, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิดตัวโครงการส่งเสริมทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับบุคลากรและกำลังคนเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการจ้างงาน (Artificial Intelligence for Increasing Job Opportunity) เร่งสร้างคน AI เข้าภาคอุตสาหกรรม สนับสนุน New S-Curve ให้เศรษฐกิจไทย

X

Right Click

No right click