หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนา “เติมหัวใจให้ธุรกิจ Heartful Business” โดยเชิญ ศาสตราจารย์ โคจิ ซากาโมโต้ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยโฮเซ โตเกียว ผู้แต่งหนังสือ “บริษัทนี้ที่ควรรัก” ที่มียอดขายกว่า 7 แสนเล่มในญี่ปุ่น ที่สนับสนุนแนวคิดสร้างความสุข มาเสวนาเผยเคล็ดลับ 20 ประการของบริษัทชั้นเลิศในญี่ปุ่น ที่มีผลประกอบการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกันท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน
ศ.โคจิ เริ่มด้วยการให้คำนิยามของบริษัทที่ควรจะเป็นคือธุรกิจที่สามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สามารถสร้างคุณค่าใหม่ด้วยตนเอง ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพราะบริษัทคือโรงเรียนแห่งสุดท้ายในชีวิตซึ่งคนทำงานจะต้องเรียนไปจนสูงอายุ และเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างความสุข เป็นธุรกิจที่พยายามดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ทำเพื่อสังคมไม่หวังแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง และบริษัทเป็นของคนในสังคมทุกคน เป็นองค์กรเพื่อสังคม เพราะบริษัทไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้ทรัพยากรของสังคมรวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ
ดังนั้นหน้าที่และเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของบริษัทคือการแสวงหาความสุขให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้อง และมุ่งมั่นทำให้คนเหล่านั้นมีความสุขอย่างแท้จริง
ศ.โคจิ บอกว่า มีคนอยู่ 5 กลุ่มที่บริษัทควรให้ความสำคัญในการบริหารกิจการ ประกอบด้วย 1.พนักงานและครอบครัว เหตุที่รวมครอบครัวด้วยเพราะพนักงานต้องการแรงสนับสนุนจากครอบครัว 2.พนักงานบริษัทอื่นและครอบครัว(คู่ค้าซัพพลายเออร์) ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น 3.ลูกค้าปัจจุบันและในอนาคต ด้วยการบริหารที่มุ่งเน้นความสุขของลูกค้า ทำให้ลูกค้าคิดว่าโชคดีจังที่มีบริษัทนี้อยู่ 4.คนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียเปรียบในสังคมเช่นผู้พิการ ผู้สูงอายุ และ 5. นักลงทุนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยการให้ความสำคัญไม่จำเป็นต้องเท่ากันทั้ง 5 กลุ่ม หากสามารถทำให้คน 4 กลุ่มแรกมีความสุขก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีสร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุนได้ โดย ศ.โคจิ บอกต่อว่า พนักงานและครอบครัวคือกลุ่มคนที่สำคัญที่สุดเพราะหากไม่มีความพึงพอใจของพนักงานก็จะไม่เกิดความพึงพอใจของลูกค้าและหากพนักงานไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวก็จะไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เมื่อพนักงานมีความสุขก็สามารถส่งมอบสินค้าและบริการที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้
บริษัทชั้นเลิศคืออะไร ศ.โคจิให้นิยามของบริษัทชั้นเลิศ ประกอบด้วย
|
ท้ายสุด ศ.โคจิ สรุปจุดเด่นการบริหารจัดการของบริษัทชั้นเลิศ จะต้องเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจแบบเดิมสู่แนวคิดใหม่ประกอบด้วย
สรุปว่า ในยุคก่อนการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัทจะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่ในที่สุดก็เท่าทันกัน ต่อมาแข่งขันในด้านการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า เพื่อดึงใจลูกค้าให้ภักดีต่อแบรนด์ และในช่วงระยะหลังนี้ เป็นการแข่งขันด้วยบุคลากรเพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งวันนี้ทวีความเข้มข้นขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเติมใจให้ธุรกิจ ใส่ใจลงในรายละเอียด เป็นการให้ใจสร้างความสุขให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พนักงาน” เป็นการพลิกแนวคิดจากเป้าหมายที่เน้นผลกำไร แต่เน้นการให้ความสุข
การเพิ่มบริษัทชั้นเลิศให้มีจำนวนมากขึ้น หลายหน่วยงานต้องช่วยกันสนับสนุน สำหรับมหาวิทยาลัย จะต้องเปลี่ยนการสอนจากการบริหารจัดการที่เน้นผลกำไร เป็นการบริหารจัดการที่เน้นความสุข โดยสร้างหลักสูตร หรือสาขาที่เกี่ยวกับวิธีการบริหารที่ให้ความสำคัญกับคน และเปิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการสำหรับ SME ในขณะที่ภาครัฐ ควรใส่ใจและเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการบุคลากรให้มีความสุข พร้อมมอบสิทธิพิเศษสำหรับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับคน และสถาบันการเงิน ควรเปลี่ยนมาตรฐานการให้กู้ และเปลี่ยนมาตรฐานการลงทุน เพื่อร่วมสร้างสรรค์บริษัทที่ดี มั่นคง และยั่งยืน