คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท สหฟาร์ม จำกัด (SAHA FARMS) นำโดย ดร.ก้องเทวัญ โชติเทวัญ ประธานสายโรงงานแปรรูปการผลิต และโรงงานอาหารสำเร็จรูป พร้อมด้วยคุณหมอธนบูรณ์ ประเสริฐสังข์ ประธานสายปศุสัตว์ และทีมงานสายปศุสัตว์ และนายโยธิน บุญธะศรี ประธานฝ่ายกิจการประมง ร่วมให้การตอนรับทีมกรมประมง โดยมีนายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง และนายสง่า คำพันธ์ หัวหน้าประมงจังหวัดลพบุรี พร้อมคณะข้าราชการ เข้าเยี่ยมชมกิจการสหฟาร์มประมงลพบุรีครั้งแรก ณ โรงงานสหฟาร์ม จังหวัดลพบุรี เมื่อวานที่ผ่านมา โดยสืบเนื่องมาจากการที่สหฟาร์มได้เดินหน้าแตกไลน์ธุรกิจใหม่ “ปลาดุกอนามัย” บนความมุ่งหวังในการพัฒนาอาหารที่มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ผ่านการยกระดับปลาดุกไทย ขยายโอกาสสู่ตลาดโลก
ซึ่งการเยี่ยมชมในครั้งนี้สหฟาร์มยังได้มีโอกาสนำเสนอ เปิดบ้านให้คณะกรมประมงได้รับชมกรรมวิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแบบธรรมชาติ โดยมีการดูแลและใส่ใจในทุกขั้นตอน มีเจ้าหน้าที่ดูแลถ่ายน้ำออกจากบ่อทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้น้ำสะอาดและมีคุณภาพที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งขนาดของบ่อเลี้ยงปลาดุก 1 ไร่ จะจำกัดปริมาณปลาเลี้ยงในปริมาณพอเหมาะ ไม่เกิน 20,000 ตัวต่อบ่อ เพื่อลดความแออัด และเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดการแบบพิเศษเพื่อให้ปลาขับของเสีย ซึ่งจะเป็นการลดกลิ่นโคลน ลดกลิ่นคาว ทำให้สหฟาร์มได้ปลาดุกอนามัย แข็งแรง และมีคุณภาพ จนได้รับมาตรฐาน GAP (มาตรฐาน รับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี สำหรับการผลิตสัตว์น้ำ) จากกรมประมง อีกด้วย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ
“ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม”
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมประมง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยลงนามระหว่าง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง ทั้งนี้มี ผู้บริหาร ทั้งสองหน่วยงานร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งการบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการดำเนินการร่วมกัน 4 ปี นับจากวันลงนาม เพื่อพัฒนาทางวิชาการร่วมกันด้านวิชาการประมง เป็นประโยชน์ด้านวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการพัฒนาบุคลากร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพภาคประมงให้มีความเข้มแข็งและสร้างประโยชน์สู่เกษตรกรของประเทศ
ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ กรมประมง ที่ให้เกียรติมาร่วมสร้างความร่วมมือนี้กับ และหวังว่าผลงานจากการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย โดยแบ่งปันทรัพยากรทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย บุคลากร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และข้อมูลด้านการประมงซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำหน้าที่รับใช้สังคม ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศเพื่อสังคม
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า การสร้างความร่วมมือกับวิจัยวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่จะสามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ รวมถึงเป็นแหล่งบริการวิชาการที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมให้ภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังสามารถขยายความร่วมมือในภูมิภาคอื่น ๆ จนทั่วทั้งประเทศได้อีกกรมประมงก็ยินดีอย่างยิ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาการประมง การวิจัย วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล พร้อมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกร ผนึกกำลังในการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพภาคประมงของประเทศไทยต่อไป
กรมประมง ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งอ่าวไทย ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง กรุงเทพฯ
การศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อการประมง ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศต่อการบริหารทรัพยากร สัตว์น้ำให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้วยมาตรการหลากหลายรูปแบบ การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลหรือปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์น้ำนับเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ ที่ผ่านมากรมประมงได้มีการศึกษาและพัฒนาวัสดุและรูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันกรมประมงใช้แท่งคอนกรีตเป็นมาตรฐานในการจัดสร้าง เนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับความร่วมมือในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลด้วยวัสดุขาแท่นปิโตรเลียม เป็นการนำร่องในการศึกษา ด้านแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลรูปแบบใหม่ในประเทศไทยที่ยังมีการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมด้านการประมงจึงต้องอาศัยความร่วมมือกัน ในการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อวางแนวทางการใช้ประโยชน์จากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมอย่างเหมาะสมในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับด้านวิชาการและด้านการประมงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ตลอดจนส่งเสริมการทำประมงนอกชายฝั่งและการทำประมงชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืนต่อการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง อีกทางหนึ่งด้วย
นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ. ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในอ่าวไทยมากว่า 37 ปี ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบางพื้นที่ในอ่าวไทยได้สิ้นสุดลง สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ การผลิตซึ่งจะต้องทำการรื้อถอนหลังจากที่สิ้นสุดการทำหน้าที่ ในการผลิตปิโตรเลียมเพื่อเป็นพลังงานให้กับประเทศแล้วนั้น ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อในการทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลได้ ซึ่งการนำขาแท่นผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นปะการังเทียมในระดับน้ำลึกราว 50-60 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและช่วยเพิ่มผลผลิตที่เป็นประโยชน์ ต่อการประมง ซึ่งนับเป็นแนวทางที่ทั้ง 5 หน่วยงาน จะมาร่วมกันศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกในการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อท้องทะเลไทย
การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานมาร่วมกันศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ในการนำ ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมง รวมถึง การนำไปต่อยอดให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ในอนาคต
กรมประมง ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งอ่าวไทย ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง กรุงเทพฯ
การศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อการประมง ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศต่อการบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้วยมาตรการหลากหลายรูปแบบ การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลหรือปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนับเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ ที่ผ่านมากรมประมงได้มีการศึกษาและพัฒนาวัสดุและรูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาโดยตลอดซึ่งปัจจุบันกรมประมงใช้แท่งคอนกรีตเป็นมาตรฐานในการจัดสร้าง เนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับความร่วมมือในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลด้วยวัสดุขาแท่นปิโตรเลียม เป็นการนำร่องในการศึกษาด้านแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลรูปแบบใหม่ในประเทศไทยที่ยังมีการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมด้านการประมงจึงต้องอาศัยความร่วมมือกันในการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อวางแนวทางการใช้ประโยชน์จากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมอย่างเหมาะสมในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับด้านวิชาการและด้านการประมงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ตลอดจนส่งเสริมการทำประมงนอกชายฝั่งและการทำประมงชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืนต่อการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมงอีกทางหนึ่งด้วย
นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ. ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยมากว่า 37 ปี ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบางพื้นที่ในอ่าวไทยได้สิ้นสุดลง สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์การผลิตซึ่งจะต้องทำการรื้อถอนหลังจากที่สิ้นสุดการทำหน้าที่ ในการผลิตปิโตรเลียมเพื่อเป็นพลังงานให้กับประเทศแล้วนั้นยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อในการทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลได้ ซึ่งการนำขาแท่นผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นปะการังเทียมในระดับน้ำลึกราว 50-60 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและช่วยเพิ่มผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อการประมง ซึ่งนับเป็นแนวทางที่ทั้ง 5 หน่วยงาน จะมาร่วมกันศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกในการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อท้องทะเลไทย
การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานมาร่วมกันศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ในการนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมง รวมถึง การนำไปต่อยอดให้เกิดการปฏิบัติได้จริงในอนาคต