November 25, 2024

หัวเว่ยและกระทรวงดิจิทัลร่วมยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ในไทย เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงานประชุม Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 โดยมีทั้งผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม ลูกค้าและพันธมิตรในไทย รวมถึงจากองค์กรธุรกิจในจีนเข้าร่วมกว่าหลายร้อยคน เพื่อร่วมพูดคุยถึงการพัฒนาเทคโนโลยี AI พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย ภายในงานครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ และกระทรวงดิจิทัล ยังได้ลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อการพัฒนาทางดิจิทัล พร้อมเป้าหมายในการสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์และ AI พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถให้กับประเทศไทย ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้าน AI ของภูมิภาค ผ่านการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย คลาวด์-เฟิร์ส (Cloud-First policy) ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ของไทย ซึ่งคลาวด์และ AI จะเป็นอนาคตของประเทศไทย ในนามของกระทรวงดิจิทัล ผมขอขอบคุณหัวเว่ย ประเทศไทย ที่รับหน้าที่ผู้นำภาคเอกชนจัดกิจกรรมครั้งสำคัญนี้ และยังได้นำประสบการณ์ระดับโลกที่มีความล้ำสมัยของหัวเว่ยและพันธมิตรมาสู่ประเทศไทย พร้อมรวมถึงสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มทางดิจิทัลสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ให้กับประเทศไทยอีกด้วย ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชนอย่างหัวเว่ยนี้ จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยี AI ของภูมิภาค กระทรวงดิจิทัลมุ่งมั่นสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลังในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ และการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนไทย”

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติขึ้นกล่าวในงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน 

AI เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีระดับโลกและการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบในเชิงลึกต่อสังคมมนุษย์และการปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรม จึงทำให้ประเทศไทยตระหนักถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงนี้และมุ่งมั่นยกระดับความสามารถในการแข่งขันระดับโลก โดยการเสริมสร้างความสามารถด้าน AI และเป็นศูนย์กลาง AI ในภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ ผ่านพันธกิจ “ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” (In Thailand, for Thailand)

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นกล่าวในงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำถึงพันธกิจของหัวเว่ย คลาวด์ ในการขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีระบบคลาวด์และ AI ในประเทศไทยว่า “หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งมั่นต่อพันธกิจ “ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” พร้อมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาดิจิทัลของประเทศตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล หัวเว่ย คลาวด์ จึงยังคงมุ่งลงทุนในการสร้างอีโคซิสเต็มคลาวด์และเสริมประสิทธิภาพในประเทศ โดยการสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งในประเทศไทยและโครงสร้างพื้นฐาน AI สำหรับรัฐบาลและองค์กร หัวเว่ย คลาวด์ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลของไทยผ่านเทคโนโลยี AI ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้งาน AI อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ พร้อมสร้างประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทยและส่งเสริมความก้าวหน้าทางดิจิทัลของประเทศ"

ภายในงานประชุมดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์ ยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรจีนและไทย เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี AI ที่ทันสมัย แอปพลิเคชัน และความเชี่ยวชาญจากประเทศจีน โดยใช้ประสบการณ์การทำงานในระดับโลกกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ ยังได้ให้ข้อมูลในเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมระดับโลกและภูมิภาค ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันที่ทันสมัย พร้อมเป็นพันธมิตรที่เหมาะสมสำหรับองค์กรไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกและองค์กรจีนที่ต้องการเข้าสู่ตลาดไทย

 

 

ศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ (ที่ 8 จากซ้าย) ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้เกียรติเข้าร่วมงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 ในครั้งนี้ เพื่อเป็นสักขีพยานการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์และ AI อย่างรวดเร็วในประเทศไทย โดยในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กสทช. จะนำเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เข้าร่วมพิจารณาในการร่างนโยบายเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย

สำหรับโมเดลภาษาไทยนั้น ผ่านการฝึกฝนด้วยคลังข้อมูลของ AI ในภาษาไทย ผสานความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมของหัวเว่ยที่สะสมมากว่าสามทศวรรษ ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการเรียนรู้ข้อมูลภาษาไทยจำนวนมาก การพัฒนานี้ช่วยกำจัดอุปสรรคในการเข้าถึงโมเดลพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนจากผู้ใช้ AI เป็นผู้สร้าง AI ได้

ในด้านอุตุนิยมวิทยา หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย พัฒนาโมเดลพยากรณ์อากาศ ผานกู่ (Pangu) สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวของไทยในเชิงลึกยิ่งขึ้น โมเดลนี้เหนือกว่าการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข (numerical weather prediction - NWP) ที่ได้รับการพัฒนาล่าสุด โดยความเร็วในการพยากรณ์มีหลายระดับและรวดเร็วยิ่งขึ้น ที่ผ่านมา การพยากรณ์เส้นทางของพายุไต้ฝุ่นในช่วง 10 วันข้างหน้า ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง แต่ด้วยโมเดลพยากรณ์อากาศ ผานกู่ สามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น

สำหรับภาครัฐ หัวเว่ย คลาวด์ นำเสนอความอัจฉริยะในกระบวนการทำงานของรัฐบาลและภาคการปกครองเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การรับรู้แ ความเข้าใจไปจนถึงการจัดการและการตัดสินใจ คำร้องขอของประชาชนจะได้รับการมอบหมายโดยอัตโนมัติ

และจัดการได้ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลให้บริการที่มีคุณภาพสูงโดยไม่ต้องกังวลเรื่องขาดแคลนบุคลากร

นายมาร์ค เฉิน ประธานกรรมการฝ่ายขายโซลูชันคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย

ด้านความสามารถของบุคลากรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี AI ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในงานประชุมครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ กระทรวงดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคม AI องค์กรธุรกิจและพันธมิตรได้ร่วมกันเปิดตัว Cloud & AI Community Thailand เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้วยเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างบทบาทของประเทศไทยสู่ AI ระดับโลก

ด้วยโซลูชัน AI ที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมอันแข็งแกร่ง ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่กว้างขวาง และการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม หัวเว่ย คลาวด์ พร้อมจะสนับสนุนประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลาง AI ที่สำคัญในภูมิภาค ผ่านการลงทุนต่อเนื่องทั้งใน อีโคซิสเต็มและอุตสาหกรรมในประเทศ พร้อมมุ่งมั่นสนับสนุนการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีคุณภาพสูงของประเทศไทย

ปัจจุบันเทคโนโลยีคลาวด์ กลายเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่แทบทุกองค์กรในประเทศไทยหันมาปรับใช้ในกระบวนการทำงานของตนเองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน เพราะคลาวด์ถือเป็นตัวแปรหลักที่สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน พัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร และที่สำคัญคือสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจจากการลดต้นทุนและส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า จุดแข็งที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้องค์กรต่างๆ ในบ้านเรา ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่มาจนถึงขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอี ต่างปรับตัวมาใช้งานคลาวด์กันอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมที่ต่างกันก็มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป และการเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจหรือบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งทำให้ภาคองค์กรไทยมีความต้องการที่จะติดตั้งและใช้บริการคลาวด์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นตามไปด้วย บริการของเทคโนโลยีคลาวด์ในอนาคตจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น ไร้ขอบเขต รองรับฟีเจอร์ทุกรูปแบบที่องค์กรไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่างมองหา

นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางของเทคโนโลยีคลาวด์สำหรับองค์กรในอนาคตว่า หัวเว่ยเชื่อว่าเสาหลักสำคัญของคลาวด์แห่งอนาคตคือการมีสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ รองรับข้อจำกัดของการประกอบกิจการที่แตกต่างกันไป โดยหัวใจสำคัญคือเทคโนโลยีคลาวด์ในยุคใหม่ต้องสามารถปรับแต่งบริการสำหรับลูกค้าให้ตอบสนองเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยมีฟีเจอร์สำคัญ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้:

  1. สถาปัตยกรรมแบบไร้ขอบเขต (Regionless Architecture) ฟีเจอร์ที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อีกทั้งยังสามารถใช้บริการคลาวด์ได้จากพื้นที่ทั้งภายในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยเราเรียกเทคโนโลยีคลาวด์นี้ว่า Global Cloud Resource Orchestration & Scheduling (GOS) ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ล้ำสมัยกว่าเดิมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากองค์กรต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือเน้นเรื่องความยั่งยืน (Go Green) หัวเว่ยก็สามารถช่วยกำหนดได้ว่าเราควรจะใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใดที่จะมาช่วยลดผลกระทบกับทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องโครงข่าย และยังช่วยจัดระเบียบศูนย์ข้อมูล (Data Center) ให้ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายได้ตามต้องการ ในส่วนของแอปพลิเคชัน หัวเว่ยยังมีฟีเจอร์ Ubiquitous Cloud Native Service (UCS) ที่จะช่วยจัดการระบบคลาวด์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) หรือไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) โดยมีจุดเด่นในเรื่องที่สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกได้โดยใช้เวลาไม่ถึงนาที มอบอิสระในการกระจายบริการไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วจากที่ไหนก็ได้ อีกทั้งยังมีค่าความหน่วง (Latency) ที่ต่ำอีกด้วย
  2. การประมวลผลผ่านเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Computing) คลาวด์ของหัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว และที่สำคัญคือมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้เพื่อกระจายกำลังการทำงาน ดึงทรัพยากรส่วนที่ยังไม่ถูกใช้งานมาเสริมส่วนที่กำลังใช้งาน เพื่อส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุดและราบรื่นที่สุดให้แก่ลูกค้า

ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยยังสามารถนำไปใช้งานเป็นโครงส้รางพื้นฐานร่วมกับเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในปัจจุบันอย่างเทคโนโลยี AI ได้ด้วยเช่นกัน โดย ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ตัวแทนจากสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ส่วนตัวผมใช้งานคลาวด์ของหัวเว่ยแล้วรู้สึกประทับใจมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงจนเรียกได้ว่า Zero Downtime ตั้งแต่ผมใช้งานมายังไม่เคยมีช่วงไหนที่ระบบขัดข้องสักครั้ง นอกจากนี้ การรับส่งข้อมูลก็มีความรวดเร็ว มีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ทำให้เราสามารถใช้ในการตรวจจับวัตถุด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านการสตรีมภาพวิดีโอจากสถานที่จริง ช่วยให้พนักงานไม่ต้องเดินทางไปที่หน้าไซต์งาน โดยระหว่างการใช้บริการก็จะมีเจ้าหน้าที่จากหัวเว่ยคอยให้คำปรึกษาตลอด ทำให้เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ประสิทธิภาพสูง ที่มาพร้อมกับการบริการที่ดีในราคาที่ย่อมเยา”

  1. การบริหารจัดการการทำงานของแอปพลิเคชันบนคลาวด์ (Cloud Application Operation) ฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยส่งมอบคุณภาพด้านเครือข่าย (Network) ที่ดีขึ้นและสามารถทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลก เช่น หากต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลไปที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระบบจะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดในภูมิภาคนั้น เพื่อให้ส่งต่อข้อมูลได้ไว ลดค่าความหน่วง (Latency) ให้น้อยที่สุด ทำให้บริการคลาวด์นั้น ๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าในหลายภูมิภาค (Multiple Region) ได้รวดเร็วกว่าเดิมและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

หัวเว่ยยังได้ชูวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างซุปเปอร์คลาวด์คอมพิวติ้ง (Super Cloud Computing) ให้เป็นเสมือนคลาวด์หนึ่งเดียวทั่วโลก เพื่อให้เกิดเป็นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟแบบไร้ขอบเขตและไร้รอยต่อ (Regionless) อย่างแท้จริง ลดข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากการให้บริการคลาวด์ที่ยังคงยึดติดกับพื้นที่ในการให้บริการ ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือใช้เวลายาวนานเกินความจำเป็น และอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเป็นแต้มต่อในการแข่งขัน รวมทั้งองค์กรอาจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้คลาวด์เนทีฟแบบไร้ขอบเขตจะช่วยให้การเชื่อมต่อใช้งานระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเสียหายต่ำ เนื่องจากระบบอัจฉริยะจะช่วยเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูล โดยทั้งหมดนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์ให้แก่องค์กรได้อีกด้วย

การก้าวข้ามขีดจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตของการให้บริการคลาวด์ตามหลักของหัวเว่ยคือ การนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ใช้งานได้แบบไร้ขอบเขต ใช้ได้จากทุกที่ทั่วโลก ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยตอบรับเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจในอนาคต และยังสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น มีโอกาสขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายรูปแบบจากความยืดหยุ่นทางธุรกิจที่มากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์จากการได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนก็สามารถได้รับการให้บริการที่ได้มาตรฐานระดับโลก

ทั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ สนับสนุนการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับอีโคซิสเต็มของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนพาร์ทเนอร์สำคัญทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ทั้งแบบคลาวด์ส่วนตัว คลาวด์สาธารณะ หรือไฮบริดคลาวด์ รวมถึงกลยุทธ์การให้บริการคลาวด์ในรูปแบบ Everything as a Service สอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ยในการ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” และการผลักดันประเทศไทยในการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอันใกล้

กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2566 – วันนี้อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ประกาศเปิดตัวโครงการ AWS re/Start ในประเทศไทย โปรแกรม AWS re/Start เป็นโปรแกรมพัฒนาทักษะบุคลากรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ว่างงานหรือบุคคลที่ประกอบอาชีพไม่เต็มเวลา ให้มีความพร้อมสำหรับอาชีพใหม่ในด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง และมอบโอกาสในการสัมภาษณ์งานกับผู้ว่าจ้างที่สนใจให้แก่ผู้เรียน โปรแกรมนี้เปิดสอนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีมาก่อนในการสมัคร

การวิจัยของ Gallup ซึ่งดำเนินการโดย AWS แสดงให้เห็นว่า 94% ของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย มีความสนใจอย่างมากหรือมากที่สุดในการรับการฝึกอบรมในทักษะดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งทักษะ เช่น ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity) ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และวิทยาการหุ่นยนต์ (robotics) อย่างไรก็ตาม 53% ของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานด้านเทคโนโลยีกล่าวถึงอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการไม่มี เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้ AWS re/Start ให้การฝึกอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งแบบเข้าห้องเรียนหรือแบบออนไลน์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และสนับสนุนผู้เรียนในช่วงเริ่มต้นอาชีพใหม่ด้านคลาวด์

โปรแกรมนี้ครอบคลุมทักษะพื้นฐานด้านคลาวด์ของ AWS และทักษะอาชีพที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น เทคนิคการเขียนประวัติส่วนบุคคลและการสัมภาษณ์งาน ผ่านการฝึกปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สถานการณ์จำลอง การนำไปใช้งานจริง การเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการและผ่านหลักสูตร ให้ผู้เรียนสร้างความรู้และทักษะเกี่ยวกับ Linux, Python, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย และฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โปรแกรมนี้จะเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเข้าสู่บทบาทในงานด้านคลาวด์ในระดับเริ่มต้น เช่น การใช้งาน ความเสถียรของเว็บไซต์ การดูแลโครงสร้างพื้นฐาน และอื่น ๆ

โปรแกรม AWS re/Start ยังครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เข้าร่วมในการสอบใบรับรอง AWS Certified Cloud Practitioner เพื่อให้พวกเขาสามารถรับรองทักษะด้านคลาวด์ของตนเองด้วยประกาศนียบัตรที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม ตามข้อมูลจาก Gallup มีองค์กรผู้ว่าจ้างในประเทศไทย 92% กล่าวว่าการรับรองด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นทางเลือกที่ยอมรับและสามารถทดแทนปริญญาตรีได้

โปรแกรม AWS re/Start ในประเทศไทย จะเปิดรับไปทั่วประเทศโดยความร่วมมือขององค์กร xLab ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ บริษัทนี้เป็นที่รู้จักในด้านการช่วยให้ธุรกิจไทยแบบดั้งเดิมค้นพบโอกาสทางดิจิทัล และเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล AWS re/Start จะทำงานร่วมงานกับ xLab เพื่อเชื่อมโยงผู้เรียนที่สำเร็จการฝึกอบรมในโปรแกรมกับผู้จ้างงานที่มีความสนใจ

 

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ของ AWS ประเทศไทย กล่าวว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยขยายตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ความต้องการในการนำคลาวด์มาใช้งานยังคงเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนบุคลากรใหม่ ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์ ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ มีความยากลำบากในการหาบุคคลากรที่มีความรู้และทักษะในการใช้คลาวด์ ผลการศึกษาของ Gallup เปิดเผยว่า 94% ของธุรกิจในประเทศไทย กล่าวว่าการว่าจ้างพนักงานด้านดิจิทัลที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งโปรแกรม AWS re/Start จะนำผู้ที่มีความสามารถใหม่ ๆ จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาพัฒนาความรู้และทักษะให้กับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีหรือมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย และช่วยให้พวกเขาเริ่มต้นอาชีพด้านคลาวด์ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ xLab ในการมอบโอกาสนี้ให้แก่คนไทยได้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมที่น่าตื่นเต้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง”

 

คุณลอยด์ วัฒนโฆวรุณ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ xLab กล่าวว่า “เป้าหมายสูงสุดของ xLab คือการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยด้วยการบ่มเพาะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะมากพอที่จะรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทักษะในปัจจุบันได้ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับโปรแกรม AWS re/Start ในการฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ ให้การสนับสนุน และโอกาสในการจ้างงานแก่คนไทยที่มีความสามารถทั่วประเทศ”

G-Able และ NTT Thailand ซึ่งเป็น AWS Partners มีแผนที่จะสัมภาษณ์และว่าจ้างผู้สำเร็จการศึกษาจากโปรแกรม AWS re/Start เข้ามาทำงานในตำแหน่งงานต่าง ๆ บริษัททั้งสองจะร่วมมือกับ xLab เพื่อมองหาผู้มีความสามารถและหาโอกาสในการจ้างงานให้พวกเขา

 

คุณฐิติกานต์ กฤษณวิภาคพร รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ G-Able กล่าวว่า “เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในประเทศไทย เราจึงมุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสในการพัฒนาทักษะให้กับผู้ที่มีความสามารถที่หลากหลาย และเชื่อว่าโปรแกรมอย่าง AWS re/Start จะช่วยเร่งการเติบโตและเป็นแนวทางสู่อนาคตของเทคโนโลยีและระบบคลาวด์ เราตั้งตารอที่จะร่วมมือกับ AWS เพื่อสร้างกลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต”

คุณสุทัศน์ คงดำรงเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NTT ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ NTT (Thailand) Limited เราทราบดีว่าเราต้องมุ่งเน้นการระบุและสนับสนุนผู้ที่ต้องการเปลี่ยนมาทำงานในด้านคลาวด์ เพื่อเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมคลาวด์ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ AWS เพื่อช่วยลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลในประเทศไทย โปรแกรม AWS re/Start เป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดผู้ที่มีความสามารถจากกลุ่มที่ขาดโอกาสและนำพาพวกเขาไปสู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี”

ปัจจุบันโปรแกรม AWS re/Start ได้เปิดตัวไปแล้วในกว่า 180 เมืองใน 60 ประเทศทั่วโลก ในช่วงระยะเวลา 18 เดือนที่ผ่านมา AWS ได้มุ่งเน้นไปที่การเติบโตของโปรแกรมในภูมิภาคอาเซียน และมีการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ

 

คุณสุทธิกานต์ สุรนันท์ นักออกแบบกราฟิกและผู้ดูแลสำนักงานจากกรุงเทพฯ ที่ปัจจุบันเป็นผู้ว่างงาน กล่าวว่า “ดิฉันสนใจที่จะเข้าร่วมโปรแกรม AWS re/Start เนื่องจากเป็นโอกาสสำหรับตัวเอง ที่ไม่ได้เรียนด้านไอทีหรือทำงานในสายงานด้านเทคนิคมา ที่จะได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ และมีโอกาสก้าวหน้าไปสู่การพัฒนาอาชีพในด้านคลาวด์ได้ ดิฉันมั่นใจว่างานในสายงานนี้เป็นที่ต้องการสูงและจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคต สิ่งที่ดีที่สุดคือโปรแกรมนี้ให้การฝึกอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นดิฉันจึงตัดสินใจใช้โอกาสนี้เพื่อเรียนรู้ทักษะด้านคลาวด์และลงทุนในตัวเอง”

ผู้เรียนที่เข้าร่วมในโปรแกรม AWS re/Start Thailand กลุ่มแรกในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม หลังจากการประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ประกาศแผนการลงทุนในประเทศไทยประมาณ 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 15 ปี การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญของการลงทุนครั้งนี้ด้วย เพื่อให้ผู้ว่าจ้างและบุคลากรทั้งในภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจและอาชีพ เพิ่มผลผลิตและนวัตกรรม และสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคดิจิทัล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นมา AWS ได้ฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ให้แก่บุคลากรในประเทศไทยไปแล้วกว่า 50,000 คน และมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดช่องว่างด้านทักษะด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมและการรับรองของ AWS

สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AWS re/Start หรือสมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ในประเทศไทยได้ที่นี่

· ประกาศความเคลื่อนไหวในการปรับโฉมกลยุทธ์องค์กรเพื่อต่อยอดสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

· บุกเบิกความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่สร้างศักยภาพแบบทวีคูณให้กับเครือข่ายได้จริง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตของเมตาเวิร์ส

· ภาพลักษณ์ใหม่ที่เผยออกมานี้เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลทั่วทั้งแวดวงอุตสาหกรรม

27 กุมภาพันธ์ 2566

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย - โนเกีย ประกาศความคืบหน้าขององค์กรและกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี รวมถึงเผยโฉมภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ระยะยาวของโนเกีย ณ งานโมบายล์เวิลด์คองเกรส บาร์เซโลน่า ประจำปี 2023 (MWC Barcelona 2023)

หลายบริษัททั่วทั้งอุตสาหกรรมกำลังมองหาลู่ทางในการปรับตัวสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อพัฒนาทั้งด้านประสิทธิภาพ ความสามารถในการยืดหยุ่น และผลิตภาพบนแนวทางของความยั่งยืน ซึ่งเครือข่ายถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านนี้ และโนเกียก็มีจุดยืนที่ชัดเจนที่มาพร้อมผลงานที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในระดับแถวหน้าในบรรดาเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบคงที่ แบบเคลื่อนที่ และระบบคลาวด์

เป็กก้า ลุนด์มาร์ก ประธานและซีอีโอของโนเกีย กล่าวว่า “เราเห็นศักยภาพของดิจิทัลในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม ที่มาพร้อมโอกาสอย่างมีนัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิต ความยั่งยืน และการเข้าถึง เทคโนโลยีเครือข่ายชั้นนำที่ต้องการความแม่นยำสูงในตลาดของเรากำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะจากลูกค้าหรือคู่ค้าในทุกแวดวงอุตสาหกรรม เรามองเห็นอนาคตที่ซึ่งเครือข่ายไปได้ไกลกว่าการเชื่อมโยงผู้คนและสรรพสิ่ง เป็นเครือข่ายที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เป็นอิสระ และสามารถใช้ได้จริง และยังเป็นเครือข่ายที่สามารถรู้สึก คิด และกระทำได้จริง พร้อมไปกับการเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลให้มากขึ้นอีกด้วย”

“วันนี้เราได้มาแบ่งปันความเคลื่อนไหวขององค์กรและกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่เน้นความสำคัญด้านการปลดปล่อยศักยภาพแบบทวีคูณของเครือข่าย ซึ่งเป็นการกรุยทางสู่อนาคตที่เครือข่ายจะมาบรรจบกับระบบคลาวด์เพื่อเป็นการส่งสัญญาณว่าเรากำลังปรับเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ซึ่งจะสะท้อนตัวตนของเราในปัจจุบัน ว่าโนเกียคือนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่ไม่ใช่โนเกียที่โลกเคยรู้จักมาก่อน”

กลยุทธ์พลิกโฉมแบรนด์

โนเกีย ต่อยอดกลยุทธ์ทั้งสามเฟสที่จะนำพาองค์กรสู่การเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนและสร้างผลกำไรได้ โดยการจะให้ช่วงการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ได้ โนเกียได้เร่งเดินหน้าในการวางรากฐานสำหรับระยะการปรับเปลี่ยนในฐานะของผู้นำด้านเทคโนโลยีที่ไร้ที่ติ และยังคงมุ่งมั่นในการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวของโนเกียซึ่งมีการปรับใหม่ตามผลประกอบการในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2565

กลยุทธ์การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ของโนเกีย ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จและเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบด้วย 6 แกนหลัก ดังนี้

· เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดกับผู้ให้บริการ ที่ขับเคลื่อนด้วยความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี

· ขยายสัดส่วนของลูกค้าองค์กรในอัตราส่วนของลูกค้าทั้งหมด

· ยังคงจัดการพอร์ตธุรกิจอย่างแข็งขันเพื่อสร้างความมั่นคงในการเป็นผู้นำในทุกเซ็กเมนต์ธุรกิจที่โนเกียตัดสินใจจะลงแข่งขัน

· คว้าโอกาสจากเซ็กเตอร์อื่นที่นอกเหนือจากอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อสร้างรายได้จาก IP ของโนเกีย และเดินหน้าลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเทคโนโลยีของโนเกียอย่างต่อเนื่อง

· ดำเนินกิจการตามโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น การให้บริการ as-a-Service ตลอดจน

· พัฒนาแนวทาง ESG ให้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และกลายเป็นตัวเลือกผู้ให้บริการที่ได้รับความไว้วางใจในแวดวงอุตสาหกรรม

สิ่งที่ช่วยให้โนเกียบรรลุเป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พัฒนาผู้มีศักยภาพต่ออุตสาหกรรมในอนาคต, ลงทุนในการวิจัยระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโดเมนหลัก เช่น 6G, ปรับการดำเนินกิจการสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อพัฒนาในด้านความคล่องตัวและผลิตภาพ, รวมถึงการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ในครั้งนี้

กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี

กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีล่าสุดของโนเกียจะอธิบายถึงวิธีการที่เครือข่ายจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของยุคเมตาเวิร์ส

ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนไปพึ่งพาการเชื่อมต่อมากขึ้น เครือข่ายจะกลายมาเป็นโครงสร้างที่สำคัญให้กับทุกเรื่องที่เป็นดิจิทัลที่ซึ่งศักยภาพของเครือข่ายและความสามารถในการใช้ได้จริงนั้นจะมีน้ำหนักและความสำคัญเท่ากัน คุณภาพของระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิมจะต้องรวมกันได้กับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับขนาดของระบบคลาวด์

เครือข่ายซึ่งรู้สึก คิด และกระทำเหล่านี้มีศักยภาพที่จะนำพาพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของระบบเครือข่ายไปสู่ทุกภาคอุตสาหกรรมได้

โนเกียอยู่ในจุดที่ดีที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ผ่านพอร์ตผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด รวมถึงการวิจัยที่พลิกวงการอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าจาก Nokia Bell Labs วันนี้ที่งาน MWC โนเกียได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการใหม่เพื่อแสดงให้เห็นและส่งเสริมความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของบริษัท

การปรับภาพลักษณ์แบรนด์

เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรที่เปลี่ยนไป โนเกีย จึงได้ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ในครั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงตัวตนของโนเกียในปัจจุบัน นั่นคือ การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่สร้างเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลในทุกแวดวงอุตสาหกรรมได้จริง แบรนด์รูปแบบใหม่นี้จะช่วยยืนยันให้เห็นถึงคุณค่าที่นำมาสู่ความเชี่ยวชาญด้านเครือข่าย ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี การบุกเบิกด้านนวัตกรรมและความร่วมมือ

โลโก้ใหม่ของโนเกียได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้แสดงถึงพลัง ความไม่หยุดยั้งในการพัฒนา และความทันสมัย ที่แสดงถึงคุณค่าและเป้าหมายของแบรนด์เป็นสำคัญ และยังเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือซึ่งโนเกียเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างศักยภาพแบบทวีคูณให้กับเครือข่ายให้เป็นจริงได้ คือ การปลดล็อกผลตอบแทนในด้านความยั่งยืน ผลิตภาพ และการเข้าถึง

การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของหัวเว่ยเสมอมา

ในฐานะบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ชั้นนำในประเทศไทย หัวเว่ยได้นำแพลตฟอร์มคลาวด์ระดับโลกมาช่วยให้องค์กรทุกขนาดในทุกภาคอุตสาหกรรมของไทย ประยุกต์ใช้เพื่อขยายศักยภาพธุรกิจไปสู่การเป็นผู้เล่นชั้นนำทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับโลก ด้วยการให้บริการคลาวด์ที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ มีประสิทธิภาพการใช้งานในระดับสูงจากการมีศูนย์ข้อมูลในประเทศ และยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมสนับสนุนลูกค้าในทุกด้าน ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 นี้ คุณเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศถึงความพร้อมที่จะรุกขยายฐานการให้บริการคลาวด์ในไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้แก่ลูกค้าไทยจำนวนมากยิ่งกว่าเดิม ตามเจตจำนงของหัวเว่ยที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” และให้ความสำคัญกับธุรกิจท้องถิ่นทุกขนาดในประเทศเพื่อการมุ่งสู่ยุคดิจิทัล

นาย เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์อย่างสมบูรณ์แบบ ว่า “เพื่อการวางรากฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศให้แข็งแกร่ง และเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐของไทยจะยืนหยัดสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง หัวเว่ยได้ลงทุนในกลุ่มธุรกิจคลาวด์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา หัวเว่ยเปิดตัวศูนย์ข้อมูลสำหรับให้บริการคลาวด์ (Availability Zone) ในประเทศไทยโดยเฉพาะ เป็นแห่งที่สามในกรุงเทพฯ ตอกย้ำจุดยืนผู้นำด้านการเป็น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีศูนย์ข้อมูลของตนเองในไทย และเป็นรายเดียวที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูลในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ”

นอกจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ยยังลงทุนด้านการสร้างบุคลากรดิจิทัลสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ในไทยอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้จัดโครงการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022' สำหรับสตาร์ทอัพในประเทศไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดไอเดียของตนจนสร้างนวัตกรรมชั้นยอดสู่ตลาดโลก โดยทีมผู้เข้าแข่งขันได้ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมไปถึงคลาวด์ของหัวเว่ยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จัด HUAWEI CLOUD Developer Contest Thailand การแข่งขันนักพัฒนาเทคโนโลยีบนคลาวด์อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 – 2564 เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอซีทีไทยในทุกระดับ รวมถึงการจัดโครงการ Huawei Developer Competition 2022 เพื่อให้เหล่านักพัฒนาในไทยและจาก 5 ภูมิภาคทั่วโลกสร้างโซลูชันด้วยเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างอีโคซิสเต็มของคลาวด์ที่แข็งแกร่ง จนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยได้สนับสนุนให้สตาร์ทอัพในประเทศไทยให้เติบโตกว่า 1,700 รายด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ และยังให้บริการคลาวด์ที่มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือแก่องค์กรในประเทศไทยกว่า 1,200 แห่ง รวมทั้งสนับสนุนพันธมิตรในประเทศมากกว่า 300 ราย ใน 15 ภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ หัวเว่ยคลาวด์ยังปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายไทย เพื่อการปกป้องข้อมูลของลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด

ในปี พ.ศ. 2566 นี้ หัวเว่ยตั้งเป้าจะสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านคลาวด์ในประเทศไทย 20,000 รายเข้าสู่ตลาด รวมถึงจะนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคลาวด์, AI และ 5G ผ่านการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร รวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำ สมาคมและองค์กรต่าง ๆ มาช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มเอสเอ็มอี นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเดินหน้าเสริมสร้างระบบนิเวศคลาวด์ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ผ่านกลยุทธ์ "Cloud First" และ “Everything as a Service” ด้วยการให้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียมให้กับทุกกลุ่มธุรกิจรวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพ ขนานไปกับการสร้าง “นักพัฒนาด้านคลาวด์” ผ่านการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะและสร้างประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งในด้านคลาวด์ การบริหารจัดการเก็บข้อมูล (Storage), Big Data, AI และทักษะดิจิทัลต่าง ๆ ให้กับบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล โดยหัวเว่ยตั้งเป้าหมายที่จะฝึกอบรมนักพัฒนาในประเทศไทยกว่า 50,000 คน ให้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์ภายในระยะเวลา 3 ปี และเพื่อเป็นการต่อยอดโครงการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022' ในปีนี้ หัวเว่ยจะสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วประเทศ ผ่านการเชิญเข้าร่วมโครงการ และจะนำความชำนาญทางเทคโนโลยีมาเสริมความรู้ ทักษะ และสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยการให้คำแนะนำในการวางกลยุทธ์สู่ตลาดแบบตรงเป้าหมาย นำไปสู่การขยายตลาดและสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้ในที่สุด

จากความมุ่งมั่นและเป้าหมายในการให้บริการคลาวด์เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที รวมถึงการพัฒนาทักษะบุคลากรในระดับท้องถิ่นของไทยให้มีปริมาณที่เพียงพอ และมีความสามารถทัดเทียมกับตลาดแรงงานในระดับภูมิภาค หัวเว่ยมั่นใจว่าจะสามารถสร้างอีโคซิสเต็มของคลาวด์ในประเทศไทยอย่างแข็งแกร่ง ช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็น “ประเทศไทยอัจฉริยะ” ที่เชื่อมถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click