November 22, 2024

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยโดยอาศัย "พลังทางอ้อม" ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริมศักยภาพ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดสากล ผ่าน “โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล” ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างภาพลักษณ์ และโชว์สินค้าแฟชั่นของไทยให้เป็นที่รู้จักสู่ตลาดโลก

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยสามารถโน้มน้าวจูงใจให้ประเทศคู่ค้า ผู้สนใจลงทุน ผู้สนใจซื้อสินค้าและบริการ นักท่องเที่ยว หรือผู้หาที่จัดงาน MICE ตัดสินใจเลือกประเทศไทย หรือ สินค้าและบริการของไทยผ่านการส่งสารโดยอาศัย "พลังทางอ้อม" หรือ Soft Power ที่ไม่ใช่การพูดหรือโฆษณาโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าใช้ชีวิต คนไทยเป็นคนน่ารัก มีศิลปะและวัฒนธรรม มีความละเอียดอ่อน มีความใส่ใจในสินค้าคุณภาพในทุก ๆ ช่องทางการสื่อสาร อย่างไรก็ดี นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ช่วงแรกจะเน้นการพัฒนาการสื่อสารพลังทางอ้อมนี้ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ 1) ละคร/ภาพยนตร์ 2) แฟชั่น 3) อาหาร 4) งาน festival และ 5) กีฬามวยไทย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบายในการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผนวกกับนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ทั้งด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น และอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ในด้านการสร้างรายได้และการจ้างงาน

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ตามแนวคิด “Fun & Freedom แฟชั่นไทย ใส่ยังไงก็สนุก” ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติพูดถึงประเทศไทย จึงได้มีแนวคิดในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มบนฐานของทุนทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว รวมถึงเทคนิคและเครื่องมือการโน้มน้าวและสื่อสาร (Convince & Communication) สร้างกระแสให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักผ่านการสื่อสารพลังทางอ้อมของประเทศไทย อาทิ การสร้างคอนเทนต์ (Viral Content) การเล่าเรื่อง (Storytelling) การสร้างแบรนด์ (Branding) การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) การใช้บุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงและบูรณาการ Soft Power ข้ามอุตสาหกรรม (Fashion Cross Industries Collaboration) ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างกระแส Soft Power ด้านแฟชั่น เช่น การ Collab กับละคร ซีรีส์ โดยพระเอก นางเอก แต่งกายด้วยชุดและเครื่องประดับแฟชั่นไทย ผ่าน "โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล" โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจกรรม 1) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้าใจในโจทย์ของซอฟต์พาวเวอร์ที่ประเทศไทยต้องการสื่อสาร เช่น การมีความคิดความคิดริเริ่ม ความเป็นสากล ความทันสมัย ความมีวัฒนธรรม และความละเอียดอ่อน เป็นต้น 2) การส่งเสริมให้เกิดการจับมือด้านธุรกิจระหว่าง Influencer และการใช้ Social Media เพื่อวางระบบการสื่อสารทางอ้อม เร่งขยายการสื่อสารออกไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 3) การจัดงานแสดงศักยภาพและสื่อสารภาพลักษณ์ของการออกแบบและสินค้าแฟชั่นที่สะท้อนภาพลักษณ์ในการดำเนินการตามนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย

ภายในการจัดงานในวันนี้ มีกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิ 1) ปาฐกถา หัวข้อ “Soft Power กับการพัฒนาประเทศไทย” โดย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 2) เสวนาหัวข้อ “เปิดมุมมองวิสัยทัศน์ ด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น” โดยนางอัจฉรา อัมพุช ประธาน อนุกรรมการฯ ด้านแฟชั่น 3) เสวนาหัวข้อ “แนวโน้มและทิศทาง Soft Power ในอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย” โดย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายสักกฉัฐ ศิวะบวร นักยุทธศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ และตัวแทนผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์แฟชั่นอีก 2 ท่าน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่ตลาดโลกต่อไป นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” มุ่งเซฟผู้ประกอบการไทยให้อยู่รอด และแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม พร้อมสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) และจังหวัดโทคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ผลักดันอุตสาหกรรมยุคใหม่ อีกทั้ง ยังได้จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคอุตสาหกรรมไทย–ญี่ปุ่น เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เติบโตได้ในตลาดสากล ผ่านการต่อยอดธุรกิจ และสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางการค้า คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,000 ล้านบาท

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบายในการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” การสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย สร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย “Save อุตสาหกรรมไทย” เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งหาช่องทางขยายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตต่อไปได้ในตลาดสากลอย่างมั่นคง เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจโลก

ด้าน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) มุ่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล ควบคู่ไปกับการสร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ และสร้างโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง “ดีพร้อม” และ “จังหวัดโทคุชิมะ” ที่จัดขึ้นในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่มมีความร่วมมือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และในวันนี้ ดีพร้อมได้มีความร่วมมือและเชื่อมโยงธุรกิจกับจังหวัดโทคุชิมะที่เป็นแหล่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องจักร เทคโนโลยีการเกษตร และเกษตรแปรรูป ซึ่งสอดรับกับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเดิมสู่อุตสาหกรรมใหม่ อาทิ เกษตรอุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาหารแห่งอนาคต ที่ล้วนเพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งคาดว่าจากพิธีลงนามฯ ดังกล่าว จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,000 ล้านบาท

ด้านนายโกโตดะ มาซาซูมิ ผู้ว่าราชการจังหวัดโทคุชิมะ กล่าวเสริมว่า จังหวัดโทคุชิมะตั้งอยู่ในภูมิภาคชิโกกุ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เกาะ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเกาะที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้จังหวัดโทคุชิมะ มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมเกษตร ประมง และอาหารแปรรูป ตลอดจนอุตสาหกรรมเครื่องจักร ยานยนต์ และแบตเตอรี่ ซึ่งในวันนี้ ได้นำผู้ประกอบการรายใหญ่ของจังหวัดทั้งในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ยานยนต์ และเครื่องจักร หลายรายมาร่วมในกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย–ญี่ปุ่น โดยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ตามที่ทั้งสองหน่วยงานมีความตั้งใจจะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ และทำให้เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นได้เติบโตควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน นายโกโตดะ กล่าวทิ้งท้าย

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” หนุนอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นำร่องการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จับมือกับภาคเอกชน ผลิตแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่ผลิตจากวัสดุคอมโพสิต หรือขยะพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเร่งวิจัย และเตรียมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะสามารถลดความเสียหายจากเหตุอุทกภัยได้กว่า 3.1 พันล้านบาท

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสภาวะโลกร้อนที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นจนเป็นสภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ส่งผลให้ภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรง และต่อเนื่องในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินกว่า 3.1 พันล้านบาท ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม ในการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นำร่องการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าไปส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถผลิตอุปกรณ์รองรับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะอุปกรณ์ในด้านการป้องกันภัยจากน้ำท่วม ที่เป็นปัญหาสำคัญของไทย และเกิดขึ้นได้เกือบทุกปี ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุอุทกภัย โดยสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ ลดการนำเข้าเนื่องจากสินค้ามีราคาสูง รวมทั้งยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ วัสดุที่นำมาใช้มีทั้งที่เป็นนวัตกรรมจากวัสดุคอมโพสิต และวัสดุเหลือใช้ตามแนวคิด BCG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้าน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาวัสดุ รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานภาคเอกชนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ เพื่อพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม โดยพัฒนาวัสดุกำแพงป้องกันน้ำท่วมผลิตจากนวัตกรรมวัสดุคอมโพสิต หรือเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งนำมาบดขึ้นรูปใหม่ (upcycling Recycle) ตามแนวคิด BCG โดยมีวัสดุทางเลือกจากการวิจัยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องความแข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักเบา และมีราคาถูกกว่าการนำเข้า รวมทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบ KNOCK DOWN ที่สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว แม่นยํา และปลอดภัย เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณประตูทางเข้าออกของโครงการ หรืออาคาร ทางลงชั้นจอดรถใต้ดิน หน้าบันไดเลื่อน หน้าลิฟต์ และล้อมเครื่องจักรมูลค่ำสูง เป็นต้น อีกทั้ง จะสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ปิดฉากสุดประทับใจสำหรับบิ๊กอีเวนท์กลางกรุง “CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล” ที่เปิดให้ประชาชนและคนรักเครื่องดื่มจากทั่วประเทศไทยเข้างานฟรี ภายในงานเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ การจับคู่ธุรกิจ และความสนุกสนาน พร้อมเสิร์ฟเมนูเครื่องดื่มพิเศษที่สร้างสรรค์ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น ผสานกับเทคนิคการผลิตระดับสากล ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์และเรียนรู้ศาสตร์เบื้องหลังการสร้างเครื่องดื่มชั้นเลิศอย่าง กาแฟ โกโก้ และสุราพื้นบ้าน ตั้งแต่วันที่ 5 – 10 กันยายน 2567 ณ ลานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดงาน 6 วัน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้มากกว่าแสนคน สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า 168 ล้านบาท

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดงาน “CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล” ถือเป็นความท้าทายของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ในการนำเสนอศักยภาพของเครื่องดื่มไทยสู่สายตาระดับสากล ซึ่งไม่เพียงที่จะต้องการส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศ แต่ยังต้องการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ไทยให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลก งานนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการผลิตเครื่องดื่มที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ตลอดจนเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไทยที่มีศักยภาพสู่การแข่งขันในระดับสากล

นายภาสกร กล่าวต่อว่า ภายในงาน “CRAFT DRINK by DIPROM” ประกอบด้วยหลากหลายกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเครื่องดื่มที่ผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ การจัดเวิร์กช็อปจากผู้เชี่ยวชาญในวงการเครื่องดื่ม การเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ และการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีการชิมเมนูพิเศษจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ขึ้นสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ พร้อมโชว์จากศิลปินชื่อดังที่ผลัดเปลี่ยนกันมาสร้างความสนุก และพิเศษสุดกับการเนรมิตรโซนกิจกรรมที่น่าสนใจเต็มพื้นที่หน้าลานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อมอบความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิง ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดงาน 6 วัน มีประชาชนเข้าร่วมงาน 105,000 คน สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า 168 ล้านบาท ทั้งนี้ ความสำเร็จของงาน CRAFT DRINK by DIPROM สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยที่สามารถก้าวสู่ตลาดสากลได้อย่างมั่นคง ตลอดจนเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ช่วยเสริมสร้างเครือข่ายและโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

งาน “CRAFT DRINK by DIPROM” ถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่เกิดจากความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงสมาคมฯ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการเครื่องดื่มไทย โดยในงานมีหนึ่งไฮไลต์สำคัญอย่างกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ หรือ Business Matching ในหัวข้อ "เวทีจับคู่เครื่องดื่มไทยนำธุรกิจไกลสู่สากล" ซึ่งช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยกับตลาดต่างประเทศ สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจากกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไทยทั้ง 3 กลุ่ม ได้พบปะกับผู้ซื้อและผู้จัดจำหน่ายจากประเทศชั้นนำ อาทิ CP Extra, Tops Supermarket, บริษัท พีเค โกโก้ แอนด์ ช็อกโกแลต จำกัด, บริษัท คอนเซพท เคส จำกัด รวมถึงตัวแทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย ตลอดจนการสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank เพื่อเสริมศักยภาพการลงทุนและความมั่นคงทางธุรกิจ

นายภาสกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีพร้อม ขอขอบคุณทุกความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนให้งาน CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล ผ่านไปได้อย่างสมบูรณ์และประสบความสำเร็จ ซึ่งการร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกท่านถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาภาคการเกษตรและการสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศของเราไปข้างหน้า โดย ดีพร้อม จะเดินหน้ามุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน อีกทั้งยังหวังว่าจะได้พบกับทุกท่านในกิจกรรมอื่น ๆ ของดีพร้อมต่อไป

ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ทางเว็บไซต์ www.diprom.go.th และเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/dipromindustry หรือโทร. 0 2430 6860

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งยกระดับศักยภาพเครื่องดื่มไทยที่ผลิตจากชุมชนใน 3 ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ คือ กาแฟ โกโก้ และสุราพื้นบ้าน พร้อมผลักดันเครื่องดื่มชุมชนสู่ตลาดในวงกว้าง ด้วยการจัดงาน “CRAFT DRINK BY DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล” ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างวันที่ 5 – 10 กันยายน 2567 โดยนำผู้ประกอบการเครื่องดื่มชุมชน โกโก้ กาแฟ และสุราชุมชน นำสินค้าเข้าร่วมจัดแสดง และจำหน่ายให้กับผู้ที่เข้าชมงานกว่า 120 ร้านค้า ตั้งเป้ามีผู้ร่วมงานมากกว่าแสนคน และต่อยอดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 140 ล้านบาท

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้านโยบาย "RESHAPE THE FUTURE: โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต" ด้วยการมุ่งยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนเครื่องดื่มไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้สามารถเติบโตได้ในระดับสากลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จึงได้จัดงาน CRAFT DRINK by DIPROM ศาสตร์และศิลป์เครื่องดื่มไทย นำธุรกิจไกลสู่สากล” ขึ้น ระหว่างวันที่ 5 - 10 กันยายน 2567 เวลา 10.00 – 22.00 น. ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม และเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างเต็มที่ และตอกย้ำเจตนารมณ์ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นเอกลักษณ์ เพื่อแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน โดยชูสินค้า 3 กลุ่มหลักสำคัญ ได้แก่ 1) กาแฟ 2) โกโก้ และ 3) สุราพื้นบ้าน หวังยกระดับสินค้าชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ พร้อมพัฒนาตลาดสินค้าเครื่องดื่มชุมชนเหล่านี้ให้เป็นที่แพร่หลายไปสู่ระดับโลก

โดยงานนี้ เป็นการสร้างปรากฏการณ์การรวมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของไทย ที่มีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์พาวเวอร์ในด้านอาหารของไทย อีกทั้งยังได้ร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากกลุ่มผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนจากทุกภูมิภาค เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ตั้งเป้ามีผู้ร่วมงานมากกว่าแสนคน และต่อยอดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 140 ล้านบาท ตลอดการจัดงาน 6 วัน

ณรงค์ฤทธิ์ ผลห้า ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์โกโก้ เจ้าของแบรนด์ Singora chocolate  หนึ่งในผู้ประกอบการโกโก้ที่เข้าร่วมออกบูธในงาน “CRAFT DRINK BY DIPROM” เปิดเผยว่า ตลาดเครื่องดื่มโกโก้ หรือช็อกโกแลต ยังมีโอกาสอีกมากในประเทศไทย เนื่องจากคนไทยหันมาสนใจเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเครื่องดื่มโกโก้เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้ดี เพราะโกโก้เป็นแหล่งสำคัญของ polyphenol ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาภาวะของโรคเครียด โรคซึมเศร้า ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยระดับลดน้ำตาลในเลือด รวมทั้งยังเป็นเครื่องดื่มที่ทานได้ทุกเวลา และทุกช่วงวัย

จากการแสความนิยมโกโก้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราขยายธุรกิจจากวิสาหกิจชุมชนไปสู่การเป็นเอสเอ็มอีโดยใช้จุดเด่นของผงโกโก้ที่มีโกโก้บัตเตอร์ซึ่งเป็นไขมันดีมีประโยชน์ต่อร่างกายสูงถึง 22% มากกว่าผงโกโก้ทั่วไปในท้องตลาดที่มีเพียง 10 – 12% รวมทั้งที่โรงงานยังมีการผลิตอย่างครบวงจรตั้งแต่เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ผลิตโกโก้ ไปจนถึงผงโกโก้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้จากโกโก้ และยังมีมีคอร์สสอนแปรรูปตั้งแต่ผลสดจนเป็นผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ โกโก้ของไทยก็มีจุดเด่นที่เกิดจากพื้นที่และภูมิอากาศที่แตกต่างจากที่อื่น ทำให้โกโก้ของไทยจะมีความเปรี้ยวปลายนิด ๆ สดชื่นคล้ายผลไม้เมืองร้อน เป็นรสชาติใหม่ที่ต่างประเทศไม่มี ทำให้โกโก้ของไทยสามารถพัฒนาไปสู่เกรดพรีเมียมได้ รวมทั้งโกโก้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นช็อกโกแลตที่เป็นขนมหวานราคาสูง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลาย เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และยังเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่เข้ากับเทรนด์ความต้องการในโลกยุคใหม่ จึงเหมาะกับประเทศไทยที่เป็นผู้แปรรูปอาหารชั้นนำของโลก เป็นโอกาสในการสร้างสินค้าใหม่ทำรายได้เข้าประเทศได้อีกมาก

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังต้องนำเข้าโกโก้จากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยผลผลิตเมล็ดโกโก้แห่งภายในประเทศมีไม่ถึง 1 พันตันต่อปี ทำให้ต้องนำเข้ากว่า 5 พันตันต่อปี ดังนั้นยังมีโอกาสขยายกำลังการผลิตได้มากกว่า 5 เท่าตัว โดยพื้นที่เหมาะสมในการปลูกโกโก้จะอยู่ในภาคใต้ ซึ่งโกโก้เป็นพืชที่ปลูกแซมในสวนยาง และสวนผลไม้ต่าง ๆ ได้ดี เพราะไม่ต้องการแสงแดดมาก จึงเหมาะกับเกษตรกรทั่วไปที่จะปลูกโกโก้เพิ่มรายได้ให้มากขึ้นกว่าการปลูกพืชหลักเพียงอย่างเดียว

โดยภายในงาน “CRAFT DRINK BY DIPROM” นี้ จะมีการเปิดตัวเครื่องดื่มโกโก้ในรูปแบบใหม่ คือ ช็อกโกแลตน้ำตาล เป็นการนำน้ำตาลโตนดที่ผลผลิตขึ้นชื่อท้องในถิ่นเข้ามาประยุกต์สร้างเป็นเครื่องดื่มรูปแบบใหม่ทีดีต่อสุขภาพ เพราะน้ำตาลโตนดมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำทำให้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดช้า บวกกับคุณประโยชน์ของโกโก้ จึงเป็นเครื่องดื่มรูปแบบใหม่ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง รวมทั้งยังนำผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ลิบบาล์ม หรือ ลิปสติก ซึ่งเป็นการแปรรูปนำบัตเตอร์โกโก้มาผลิต จึงมีคุณสมบัติในการบำรุงริมฝีปากได้ดี โดยมองว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะโตได้อีกมากในอนาคต รวมทั้งยังมีแผนที่จะร้านช็อกโกแลตคราฟท์ ที่เป็นโกโก้คาเฟ่เต็มรูปแบบ เป็นทางเลือกใหม่ที่ทานได้ทุกวัย ซึ่งในปัจจุบันมีร้านโกโก้คาเฟ่แท้ ๆ ทั่วประเทศไม่ถึง 50 ร้าน ดังนั้นจึงมองว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง เพราะเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ที่รักสุขภาพ

ด้าน สุรีรัตน์ สิงห์รักษ์ ผู้ประกอบการกาแฟแบรนด์ “ลองเลย” เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นในการดำเนินธุรกิจ มาจากแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ชาวบ้านใน อ.นาแห้ว จ.เลย เข้ามาร่วมปลูกป่าชุมชนพร้อมกับการปลูกพืชต่าง ๆ เข้ามาเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งส่งผลดีให้กับทุกฝ่าย และยังได้ปรับสภาพ อ.นาแห้ว จากภูเขาหัวโล้นไปสู่ป่าที่อุดมสมสมบูรณ์ด้วยความร่วมมือของคนในท้องถิ่น โดยได้นำกาแฟพันธ์อราบิก้า มาเป็นพืชหลักในการส่งเสริมเพาะปลูกร่วมกับป่า

โดยในช่วงแรกในปี 2557 มีเพียง 5 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการนี้ แต่ในปัจจุบันได้ขยายไปเป็น 125 ครัวเรือน และในปี 2560 ได้สร้างโรงคั่วกาแฟ เพื่อแปรรูปกาแฟให้กับชุมชน และในปีนี้ก็มีชาวบ้านเข้ามาร่วมอบรมเข้าโครงการนี้เพิ่มอีก 116 ครัวเรือน จึงทำให้คาดว่าจะมีครัวเรือนที่เข้าร่วมแตะ 300 ครัวเรือนได้ในปีหน้า เนื่องจากชาวบ้านได้เห็นตัวอย่างของผู้ที่เข้าโครงการได้รับรายได้เพิ่มเป็นกอบเป็นกำทุกปี จึงมีผู้สนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย กาแฟลองเลย ในช่วงแรก เป็นเพียงการนำผลผลิตกาแฟจากชาวบ้านมาแปรรูปจำหน่ายเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว และกาแฟคั่วบด ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการเป็นกาแฟพรีเมียมที่มีรสชาตเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น แต่ในช่วงการระบาดของโควิด 19 ทำให้ยอดขายลดลงไปมาก จึงได้ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เข้ามาช่วยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และพัฒนาการผลิตไปสู่การผลิตเป็นแคปซูลกาแฟที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ รวมทั้งยังได้ช่วยปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบสวยงามที่เล่าเรื่องราวการสร้างป่า สร้างรายได้ เปลี่ยนภูเขาหัวโล้นให้เป็นป่าที่สมบูรณ์ นำไปสู่การสร้างผลิตที่มีคุณภาพสูงควบคู่กับการสร้างป่าและพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ดีพร้อมยังเข้ามาช่วยพัฒนามาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ จึงทำให้สินค้าขายได้มากขึ้น และเป็นที่จดจำในตลาดวงกว้าง

“หลังจากที่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ก็ได้รับการตอบสนองจากลูกค้าดีขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น และคนทั่วไปก็รู้จักสินค้าของเรามากขึ้น โดยในก้าวต่อไปจะมุ่งไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม ที่ตั้งเป้าหมายจะส่งเข้าไปขายในโมเดิร์นเทรดให้ได้ในอนาคต ทำให้คนทั่วไปรู้จักแบรนด์ลองเลยมากขึ้น”

สำหรับการร่วมงาน “CRAFT DRINK BY DIPROM” ในครั้งนี้ ได้นำผลิตภัณฑ์ใหม่ อเมริกาโนฮันนี่เลมอน หรือ กาแฟน้ำผึ้งป่า ซึ่งเป็นการนำผลผลิตจากป่าชุมชน เช่น น้ำผึ้ง และมะนาว เข้ามาประยุกต์ร่วมกับกาแฟของท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ลงตัวรสชาติดีจนทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นเมนูใหม่ที่ไม่เหมือนใคร สะท้อนอัตลักษณ์ของกาแฟชุมชนของเรา

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตเป็นกาแฟฮันนีเลมอนสำเร็จรูป ที่เก็บได้นาน และสะดวกในการกระจายสินค้าไปสู่วงกว้าง รวมทั้งการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อขยายแบรนด์ร้านกาแฟลองเลยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ซึ่งขณะนี้กำลังพัฒนาให้การผลิตในจำนวนมากให้มีรสชาติคงที่ ตั้งเป้าหมายที่จะเปิดร้านกาแฟสาขาในจังหวัดเลย และที่กรุงเทพฯ และยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมที่เป็นเมล็ดกาแฟคัว, กาแฟคั่วบด, กาแฟสกัดเย็น, กาแฟแคปซูล ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มจุดจำหน่าย และเพิ่มยอดขายผ่านออนไลน์ให้มากขึ้น

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click