January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

บริษัท คาสิโอ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดการประกวดเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะควบคู่กับการใช้เครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษา พร้อมเผย 5 โรงเรียน เข้าชิง และประกาศผู้ได้รับรางวัล

 

คุณโยชิโนริ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาสิโอ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดการประกวดเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะควบคู่กับการใช้เครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 หรือ Lesson Plan Creation Contest 2023 เพื่อให้ครูที่อยู่ในโครงการโรงเรียนนำร่อง (DSP) ซึ่งเป็นโครงการที่ทางบริษัทคาสิโอฯ ร่วมกับ สพฐ. และ สพม. ได้นำเสนอการออกแบบการจัดการเรียนสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายควบคู่กับการใช้เครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry-based learning) ทั้งเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech) อีกด้วย

การประกวดเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะควบคู่กับการใช้เครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์ นับว่า จัดขึ้นเป็นที่แรกของประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือและให้เกียรติในการร่วมงานจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาทั้ง 4 เขต (สพม.กท 1 สพม.กท2 สพม.ขอนแก่น และ สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง) และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

“คาสิโอ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมกับการประกวดฯครั้งนี้ และเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของไทย และถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของคาสิโอ ที่จัดการประกวดในลักษณะนี้เราคาดหวังว่าคุณครูทุกท่านจะได้รับแรงบรรดาลใจในการออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ ด้วยเครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์ และได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการประกวดในครั้งนี้” คุณโยชิโนริ กล่าว

 

ด้านอาจารย์เอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า

“การแข่งขันครั้งนี้ เปรียบเสมือนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาเด็กไทยให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป คณิตศาสตร์ถือเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนทุกวิชา และอุปกรณ์เป็นสื่อที่ช่วยในการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้คณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

 

ผศ. ดร. จิรดาวรรณ หันตุลา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรรมการตัดสินการแข่งขันในครั้งนี้ กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการก้าวข้ามจากการเรียนการสอนแบบเน้นเนื้อหา (content-based) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อนาคต สิ่งที่สำคัญก็คือ ชั้นเรียนต้องเปลี่ยนรูปแบบ สอนแบบเดิมไม่ได้ โดยเฉพาะ คณิตศาสตร์เป็นฐานของทุกวิชา เราต้องปรับเปลี่ยนรูปให้นักเรียนสนใจคณิตศาสตร์ รู้สึกยินดีที่ทางคาสิโอมีส่วนเสริมรูปแบบการสืบเสาะในชั้นเรียน และทุกท่านที่ช่วยผลักดันให้เกิดโครงการนี้”

ด้าน ดร. อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม ผู้เชี่ยวชาญสาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นกรรมการตัดสินอีกท่าน กล่าวว่า “ถือว่า เป็นก้าวแรกที่สำคัญ การเรียนการสอนแบบสืบเสาะ และแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active learning) เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีสีสันมากขึ้น และเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน”

สำหรับการประกวดฯครั้งนี้เริ่มปลายปี 2566 โดยมีครูคณิตศาสตร์ที่อยู่ในโครงการโรงเรียนนำร่อง (DSP) เข้าร่วมประกวด และมี 5 ทีมผ่านการคัดเลือกและเข้ารอบตัดสินในวันที่ 18 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา ได้แก่ โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต และโรงเรียนม่วงหวานพัฒนศึกษา จังหวัดขอนแก่น

ทั้ง 5 ทีมได้นำเสนอแผนงานได้อย่างน่าสนใจ โดยนำเสนอกระบวนการคิดคณิตศาสตร์ ให้ผสมผสานกับเรื่องใกล้ตัว ซึ่งเน้นการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อหรือยากอีกต่อไป พร้อมทั้งมีการนำเครื่องคำนวณวิทยาสาตร์คาสิโอ รุ่น CLASSWIZ fx-991CW เป็นเครื่องมือในการประกอบการเรียนการสอน ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

ผลการประกวดฯ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม กรุงเทพฯ นำเสนอในหัวข้อ การคูณเมทริกซ์ด้วยเมททริกซ์ รองอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพฯ นำเสนอในหัวข้อ ช่วยคิดหน่อยและยิงให้โดน (กฎของโคไซน์และไซน์) รองอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนม่วงหวานพัฒนาศึกษา จังหวัดขอนแก่น นำเสนอในหัวข้อ ช้างเอราวัณสุดฉงน (หลักการนับเบื้องต้น) และรางวัลชมเชยได้แก่ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ นำเสนอในหัวข้อ เบาหวานเบาใจ (การแจกแจงทวินาม) และโรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต นำเสนอในหัวข้อ ฟังชันกำลังสอง

คุณครูศศิธร หลาบนารินทร์ โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม ตัวแทนทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ นำเสนอแผนในหัวข้อ การคูณเมทริกซ์ด้วยเมทริกซ์ ได้กล่าวว่า “ เราได้ออกแบบนำเรื่องที่ใกล้ตัวให้นักเรียนนำการแข่งขันกีฬาสีที่ได้เหรียญมาในแต่ละปีมาประเมินความสามารถ โดยใช้เครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์มาช่วยหาคำตอบว่าถูกต้อง ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนจากเรื่องที่ใกล้ตัว และเราคาดหวังว่าจะนำแนวทางนี้ไปขยายกับนักเรียนกลุ่มอื่นๆ ต่อไป”

สำหรับ โรงเรียนทวีธาภิเศก รองอันดับ 1 นำเสนอในหัวข้อ ช่วยคิดหน่อยและยิงให้โดน (กฎของโคไซน์และไซน์) โดยคุณครูอนุชิต โฉมศรี ได้กล่าวว่า “เราใช้สถานการณ์สมมติและสถานการณ์จริง เรื่องการเปิดกีฬาสีเป็นเรื่องใกล้ตัว ทำให้นักเรียนสนใจแล้วเข้ามาสืบเสาะโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบัน และสานต่อเพื่อนำไปใช้ได้จริงและออกแบบแผนอื่นๆต่อไป”

สำหรับรองอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนม่วงหวานพัฒนาศึกษา จังหวัดขอนแก่น นำเสนอในหัวข้อ เรื่อง ช้างเอราวัณสุดฉงน (หลักการนับเบื้องต้น) โดยคุณครูพงศธร พันธ์บุปผา ผู้นำเสนอแผนงาน ได้กล่าวว่า “การบวกการคูณโดยใช้เครื่องคิดเลขและใช้ช้างเอราวัณที่ทางนักเรียนคุ้นเคยกันดี เป็นการสร้างความสนใจให้กับนักเรียน นักเรียนมีความกระตื้อร้นในการเรียนรู้มากขึ้น ถือได้ว่าเป็นแนวทางใหม่การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์”

คุณโยชิโนริ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป้าหมายสูงสุดของคาสิโออยากได้มุมมองของคุณครู และเห็นรูปแบบการเรียนการสอนที่นำไปประยุกต์ เพื่อใช้งานได้จริง และนำไปออกแบบเป็นของตัวเอง ไม่ใช่อยู่ในกรอบของคาสิโอ ถ้าการจัดการประกวดในครั้งนี้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่คาดหวังได้ โดยเฉพาะกับครูและ

นักเรียน ทางบริษัทฯ ก็ยินดีจัดขึ้นอีกครั้งในปีการศึกษาถัดไป พร้อมทั้งอาจจะมีกิจกรรมใหม่ๆ เพิ่มเติมในอนาคต เพื่อตอบโจทย์กับการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาไทยต่อไป”

 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

ตอบรับเมกะเทรนด์ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีทีมผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมทั้งทีมผู้บริหารจาก SCGC นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC และ ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา SCGC เข้าร่วมงาน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ SCGC ได้ร่วมมือทางวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ขึ้นในปี 2562 ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ โดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์เคมีเชิงลึกของมหาวิทยาลัยมหิดล ประสานกับเทคโนโลยีชั้นนำระดับสเกลอัปเชิงอุตสาหกรรมของ SCGC เพื่อต่อยอดในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยยังคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึงส่งเสริม Open Innovation ผ่านความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ที่ประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า “ SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ โดย SCGC ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการสร้างเครือข่ายด้าน R&D กับองค์กรและสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) อย่างต่อเนื่อง สำหรับการลงนามความร่วมมือด้าน “Research and Innovation for the Future Materials” ระหว่าง SCGC กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับและขยายกรอบการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิจัยพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นโซลูชัน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle, Renewable 2) การวิจัยพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้มีความสะดวกสบายขึ้น และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและโรคอุบัติใหม่ และ 3) การวิจัยพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงให้เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี หรือการนำสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการลงนามต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัยที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทย ซึ่งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามีอาจารย์และนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่หลากหลาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรงกับความต้องการของ

ภาคเอกชน กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขยายความร่วมมือไปในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์โลก และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCGC เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือนำไปสู่การทำวิจัยร่วม รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดสู่การผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วย”

นอกจากนี้ ภายในงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” ยังมีการ หารือต่อยอดความร่วมมือทางการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างทีมนักวิจัยของ SCGC และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, ฟิสิกส์, ชีวเคมี, วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, ยางและพอลิเมอร์, เภสัชวิทยา, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งได้มีการนำเสนองานวิจัยต่างๆ เช่น การตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การนำส่งยา, เอนไซม์, วัสดุและเซนเซอร์ ฯลฯ พร้อมเดินหน้าหารือความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก SCGC อย่างเข้มข้น รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 (NSTDA Annual Conference: NAC2019) ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจแห่งอนาคตไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Moving Towards Thailand’s Future Economy with Science, Technology and Innovation)” ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 15 ระหว่างวันที่ 25 - 28 มีนาคม 2562 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี  โดยภายในงานมีการแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบ กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน และการสัมมนาที่น่าสนใจจากผู้ทรงคุณวุฒิและอบรมเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นนำเสนอความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อสนองตอบยุทธศาสตร์ของประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้าน วทน. การวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ นำมาพัฒนาขีดความสามารถด้าน วทน. ของประเทศ พร้อมทั้งยกระดับศักยภาพ และสร้างความมั่นคง ยั่งยืนต่อไป

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กราบบังคมทูลรายงานตอนหนึ่งว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาด้าน วทน. และพัฒนากลไกการส่งมอบ เพื่อผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์  ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา สวทช. ดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ การศึกษา และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ส่งมอบผลงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมใน 5 ประเด็นมุ่งเน้น ได้แก่ 1. สารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่และนวัตกรรมอาหาร   2. ระบบขนส่งสมัยใหม่ 3. การสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย 4. เคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ และ 5. นวัตกรรมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้สร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นเงินมากกว่า 45,000 ล้านบาท หรือประมาณ 7 เท่าของค่าใช้จ่ายของ สวทช. ได้ผลงานที่เป็นองค์ความรู้ ได้แก่ สิ่งตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 546 เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาที่ขอจด 383 คำขอ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและบริการ  261 รายการ หน่วยงานรับมอบ 335 หน่วยงาน นอกจากนั้น สวทช. ได้สร้างเสริมขีดความสามารถเกษตรชุมชน โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกร 6,700 คน จาก 264 ชุมชน ใน 35  จังหวัด ครอบคลุมเทคโนโลยีหลัก 36 เรื่อง เช่น การแปรรูปมันสำปะหลัง ข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง การใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ และการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมี เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อาชีพวิจัย ในรูปแบบการให้ทุนการศึกษาและการพัฒนาระบบนักวิจัยพี่เลี้ยง โดยมีนักวิจัย สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ในการทำโครงงานวิจัยตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงบัณฑิตศึกษาในประเทศ จำนวน 790 ทุน นอกจากนี้ สวทช.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการบริหารจัดการโครงการที่มีความสำคัญและการลงทุนสูงมากของประเทศ เช่น การจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EECi ซึ่งมีความก้าวหน้าในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาแผนที่นำทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในเขต EECi ตามลำดับ

สำหรับการประชุมวิชาการประจำปีครั้งนี้ สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ ผ่านการทำงานของ 4 ศูนย์เทคโนโลยีแห่งชาติ และสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs สตาร์ทอัพ เกษตรกร และอุตสาหกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถด้าน วทน. ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในปีนี้เน้นการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จากยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ประเทศโดยมีเป้าหมายยกระดับศักยภาพของประเทศไปสู่ประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจแนวใหม่ 6 ด้าน ได้แก่ 1. เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นจุดแข็งของประเทศเป็นตัวขับเคลื่อน 2. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งเน้นใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง 3. เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นประหยัดพลังงาน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย ตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน 4.  เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ โดยใช้เวลาน้อยลง 5. เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy)เป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่ใช้พื้นฐานแนวคิดความร่วมมือและแบ่งปัน ทำให้เกิดรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ สร้างรายได้แบบพึ่งพากัน และ 6. เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) เป็นระบบที่นำความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้

ทั้งนี้ การประชุม NAC2019 เริ่มขึ้นในวันที่ 25 - 28 มีนาคม 2562 โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การสัมมนาวิชาการเป็นเวทีนำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวม  49  หัวข้อ การแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช.และพันธมิตร ได้จัดโซนนิทรรศการเป็น 6 โซน ได้แก่ โซนเทิด พระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ และโครงการตามพระราชดำริ  โซนพัฒนาเด็กและเยาวชน  โซนสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร โซนงานวิจัยและพัฒนา โซนความร่วมมือภาคเอกชนและต่างประเทศ แและโซนผลิตภัณฑ์จากชุมชนเครือข่ายสวทช. การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบของ สวทช. และบริษัทผู้เช่า รวม 24 ห้องปฏิบัติการ และกิจกรรมสำหรับครูและเยาวชนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ Fabrication Lab เพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกรสู่เด็กและเยาวชนไทย และโครงการ Coding at School Powered by KidBright รวม 11 กิจกรรม

นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กราบบังคมทูลรายงานและเบิกผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลตามประเภทต่างๆ ในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการวิจัยที่ สวทช. ให้การสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ที่จะนำทรัพยากรต่างๆ มาประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตลอดจนอาศัยการเชื่อมโยงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปกับระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยแก่เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ผ่านในหลากหลายกิจกรรมทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความตระหนัก รวมไปถึงสร้างให้เกิดนวัตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระจายความรู้ออกสู่สังคมไทยให้ทั่วถึงและเท่าเทียม 

สำหรับในปี 2561 สวทช. ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการวิจัยที่สำคัญ 3  โครงการ ได้แก่ โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2561 จำนวน 2 รางวัล โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (National Software Contest: NSC2019) จำนวน 6 รางวัล และโครงการการแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (The 11th Thailand Robot Design Contest: RDC 2018) จำนวน 1 รางวัล

จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจแห่งอนาคตไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(Moving Towards Thailand’s Future Economy with Science, Technology and Innovation) และเสด็จพระราชดำเนินทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ และทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย และนิทรรศการผลงานวิจัย อาทิ การแสดงผลงานวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสําคัญต่อประเทศ มีมูลค่าการลงทุนสูง มีการใช้แรงงานจํานวนมาก และมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดเทียบกับอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ของประเทศ โดยจัดแสดงในรูปแบบของ BCG Café & restaurant เทคโนโลยีและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน โครงความร่วมมืองานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) เพื่อความยั่งยืน ระหว่าง สถาบัน Forschungszentrum Jülich สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ สวทช. ไฮโดรเจลกักเก็บโปรตีนสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์น้ำ นาโนวัคซีนเทคโนโลยีดูดซึมทางเหงือกต้านโรคในปลา TPMAP : ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน ต้นแบบอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบค่าความถูกต้องและแม่นยำของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สานพลังเทคโนโลยียางพารา สานชุมชน สานอุตสาหกรรม น้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ ParaFIT สำหรับการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราโดยเฉพาะ ความร่วมมือและสื่อการเรียนรู้ Fabrication Lab โดยมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง สนุกกับเครื่องมือ/อุปกรณ์ Fabrication Lab โครงงานวิทยาศาสตร์ Smart Farm, Smart Energy, Smart Industry เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกร โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร และสมาคมระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะไทย เป็นต้น

พร้อมทั้งได้เสด็จเยี่ยมชมโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สวทช. ภายใต้โครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ หรือ BIG ROCK ของรัฐบาล ซึ่งโรงงานผลิตพืชเป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิด ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ช่วงคลื่นแสง ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุต่างๆ รวมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้แสงจากหลอดไฟ LED สีต่างๆ เช่น สีแดงใช้เร่งดอก สีน้ำเงินบำรุงใบพืช ทดแทนแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ อีกทั้งยังมีระบบกรองอากาศทำให้ปราศจากเชื้อโรคและแมลง ไม่ต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช และนักปรับปรุงพันธุ์พืชยังใช้องค์ความรู้ในการคำนวณและออกแบบการให้ความเข้มข้นของสารอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัยของพืชด้วย ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วช่วยร่นระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้มีความสะอาดปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง คุณภาพดีและมีราคาสูงกว่าตลาดทั่วไปประมาณ 1.3 เท่า ซึ่งขณะนี้โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) สวทช. สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นแห่งแรกของประเทศไทยบนพื้นที่ 1,200 ตารางเมตร ในอาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี และได้เริ่มทดลองปลูกพืชสมุนไพร เช่น ใบบัวบก ฟ้าทะลายโจร รวมถึงพืชชนิดอื่นๆ เพื่อนำมาสกัดเป็นสารสำคัญมูลค่าสูงและนำไปพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในอาหารเสริม เวชสำอางเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่พืชสมุนไพรในประเทศ

นอกจากนี้แล้วยังมีกิจกรรมพิเศษเปิดบ้าน สวทช. (NSTDA Open house) การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยงานทดสอบมาตรฐานต่างๆ ของ สวทช. ซึ่งจะผู้เยี่ยมชมจะได้พบกับอุปกรณ์และเครื่องมือในการวิจัยที่ทันสมัยระดับโลก โดย สวทช. และประชาคมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ร่วมเปิดบ้านต้อนรับนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม และนักลงทุนที่สนใจ ได้เยี่ยมชมเทคโนโลยีจากศักยภาพของบุคลากรวิจัยและห้องปฏิบัติการ สวทช. ตลอดจนนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ธุรกิจจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ พร้อมคำแนะนำบริการและมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนของ สวทช. ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้โดยง่าย

ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 (NAC2019) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 28 มีนาคม 2562 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ผู้สนใจสามารถร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-564-8000 หรือ www.nstda.or.th/nac

เมอร์ค บริษัทชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี จัดฉลองครบรอบ 350 ปีทั่วโลก พร้อมประกาศเดินหน้านำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่อนาคต ภายใต้ธีมหลัก “Always Curious”

นายคริส ซิสเนรอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์ค จำกัด (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า “ปี 2561 เป็นปีที่เมอร์คมีอายุครบรอบ 350 ปี นับเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากที่ “เมอร์ค” กลายเป็นบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสัญชาติเยอรมันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จากการวางรากฐานด้านวิทยาศาสตร์ของนายเฟรดริก จาคอบ เมอร์ค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ​2211 และได้พัฒนาผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากมายจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมอร์คมีสำนักงานตั้งอยู่ใน 66 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งสาขาในประเทศไทย โดยมีธุรกิจหลักเกี่ยวกับยาและสุขภาพ วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งมีชีวิต และวัสดุและเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพ โดยเมอร์คมียอดขายเติบโตในไตรมาสแรกของปี 2561 จำนวน 3.7 พันล้านยูโร โดยกลุ่มธุรกิจด้านยาและสุขภาพ และวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งมีชีวิต มีอัตราเติบโตขึ้น 3.5% ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย จึงนับได้ว่า เป็นบริษัทด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีเรื่องราวความสำเร็จที่น่าทึ่ง และยังเป็นการเติบโตที่มั่นคง แข็งแกร่ง มาอย่างยาวนานอีกด้วย”

สำหรับประเทศไทย เมอร์ค ได้เข้ามาร่วมลงทุนในไทยยาวนานถึง 27 ปี ในฐานะกิจการร่วมการค้าระหว่างบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ และบริษัท บี กริม (ประเทศไทย) จำกัด โดยดำเนินธุรกิจแบบ B2B ดังเช่นเมอร์คทั่วโลก โดยธุรกิจหลักของประเทศไทยที่มีอัตราเติบโตสูง ได้แก่ กลุ่มยาและสุขภาพ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสำหรับผลิตภัณฑ์ด้านชีวเวชภัณฑ์สำหรับการแพทย์ที่ครอบคลุมการรักษาตั้งแต่โรคที่มาจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื้องอกหรือมะเร็ง ภาวะมีบุตรยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด และยาทั่วไปที่จ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รวมไปถึงกลุ่มเวชภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ยาของเมอร์คได้จากร้านขายยาที่มีเภสัชกรเป็นผู้ให้การแนะนำ เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจที่ได้รับการตอบรับดีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งเมอร์คมีความเชี่ยวชาญ และความพร้อมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมทั้งวงการแพทย์ อาหารและยา วิทยาศาสตร์ และวิจัยพัฒนา ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ในการร่วมฉลองครบรอบ 350 ปีของเมอร์คนั้น “เมอร์ค ประเทศไทย” ได้ร่วมดำเนินงาน และเข้าร่วมกิจกรรมตาม proof print ของเมอร์คภายใต้ธีมเดียวกันทั่วโลก "Always Curious” ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตดิจิทัลต่างๆ มากมาย อาทิ การจัดงาน “Curious2018 – Future Insight” ที่เมืองดาร์มสตัดท์ ประเทศเยอรมนี ที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกกว่า 35 คน มาร่วมอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการจัดกิจกรรม “Technology Days” ในงานฉลอง 350 ปีในโซนเอเชีย ที่ประเทศจีน เพื่อยกระดับโครงการนวัตกรรมและการวิจัยของเมอร์ค รวมถึงการประกาศจับมือกับอาลีบาบา เฮลท์ (Alibaba Health) เพื่อให้ผู้ป่วยชาวจีนและครอบครัวได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้นผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ เป็นต้น

“ผมมองว่า เมอร์คมีความตั้งใจหลายอย่างที่จะมอบให้กับโลกนี้ด้วย Proof Point ที่ทำให้เรามายืนได้ในจุดนี้ เรามีการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้โฟกัสในธุรกิจยาที่สั่งโดยแพทย์มากขึ้น รวมถึงการจัดโครงการ 350 Good Deeds ที่รวบรวมกิจกรรม CSR จากเมอร์คทั่วโลกให้ครบ 350 โครงการตลอดทั้งปีนี้ ตลอดจนการรีแบรนด์ดิ้งเมอร์คทั่วโลกให้มีรูปลักษณ์ทันสมัย สนุกสนาน และมีชีวิตชีวา มาตั้งแต่ปลายปี 2558 ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงยาก และน่าเบื่ออีกต่อไป แต่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สนุกและน่าเรียนรู้ ท้าทายความสงสัยใคร่รู้ ที่ทำให้เมอร์ค ช่วยพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์มาได้ยาวนานถึง 350 ปี และความอยากรู้อยากเห็นนี้เองที่เป็นแรงผลักดันและกระตุ้นให้องค์กร และบุคลากรของเมอร์คได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเราเพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า และอำนวยความสะดวกให้สังคมโลกในด้านต่างๆ ได้ต่อไปในอนาคต" นายคริส กล่าวทิ้งท้าย

X

Right Click

No right click