×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่พบว่าในแต่ละองค์กรมีการแข่งขันเรื่องงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ ที่ยังคงไม่สงบนิ่ง อาทิ โรคระบาดโควิด – 19 ที่ยังไม่หมดไป หรือสภาพเศรษฐกิจของทั่วโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และบางองค์กรที่ต้องเร่งสร้างผลงานเพื่อให้พนักงาน องค์กรอยู่รอดและมั่นคง จึงทำให้พนักงานในองค์กรต้องคอยผลักดันตนเองอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานได้มากขึ้นและกลายเป็น ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome ในที่สุด ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงาน มาจากความเครียดสะสมในการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งบางรายอาจกลายเป็นคนมีทัศนคติค่อนข้างเป็นเชิงลบต่อการทำงานของตนเอง หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเองไปในที่สุด ส่งผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานของแต่ละองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ

จากภาวะ Burnout ที่มีทิศทางสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้ ทาง JobsDB by SEEK แพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK (ซีค) จึงเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนที่ทุกองค์กรต้องหันมาสนใจในสุขภาพของพนักงานและป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะหมดไฟแก่พนักงานในองค์กร จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ seekTALKS “ช่วยองค์กรรับมือกับภาวะ Burnout ของพนักงาน”

 

คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ JobsDB Thailand ( บริษัท จ๊อบส์ ดีบี ประเทศไทย จำกัด) กล่าวว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะพันธมิตรการจ้างงานที่ผู้ประกอบการไว้วางใจ JobsDB by SEEK ได้เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้มาจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้สมัครงานและฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่

ค้นหาผู้สมัครงาน จึงได้จัดงาน seekTALKS สัมมนาออนไลน์ร่วมมือกับสถาบันชั้นนำต่างๆ ในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและองค์กรเข้าใจถึงสถานการณ์การจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป เรียนรู้ และนำไปพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผ่านผู้นำทางความคิดที่มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ อาทิ เรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุง กลยุทธ์ วางแผน และพัฒนาองค์กร การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมแชร์ประสบการณ์และกรณีศึกษาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และพนักงาน จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่องค์กรควรผลักดัน เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมกับการทำงานและมีใจรักในการทำงาน ที่จะเสริมสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรแบบยั่งยืน”

โดยล่าสุดได้รับเกียรติจากหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ช่วยองค์กรรับมือกับภาวะ Burnout ของพนักงาน” ที่กำลังเป็นกระแสแรงอยู่ในขณะนี้ ไปเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมฟังสัมมนากว่า 700 คน ผ่านทางระบบซูม

อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จิตวิทยาตะวันตก-ตะวันออก และประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นสิ่งที่พนักงานหลายคนในยุคนี้ต้องเผชิญแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน และขาดแรงจูงใจในการทำงาน แม้ว่าอาการของโรคนี้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้สะสมนานจนเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่องค์กรไม่ควรละเลย และต้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังกับระบบการทำงานที่อาจทำให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าสะสมจนเกิดเป็นภาวะหมดไฟที่กระทบกับสภาพจิตใจของคนทำงาน”

 

ในส่วนของความเครียด สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ 1.ความเครียดในระดับน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเกิดขึ้นชั่วคราวในการทำงาน ความเครียดแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ทุกคนตื่นตัว หรือมีไฟในการทำงาน 2.ความเครียดใน

ระดับที่มากขึ้น เกิดขึ้นนานในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อพนักงานมีความเครียดแบบนี้ ทุกคนต้องมองหาการสนับสนุน 3.ความเครียดในระดับที่มากเป็นระยะเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งความเครียดในระดับนี้จะทำให้ทุกคนเข้าสู่ภาวะหมดไฟนั่นเอง โดยเนื้อหาในการสัมมนาได้กล่าวถึง องค์ประกอบและปัจจัยที่สามารถให้องค์กรสามารถช่วยปลดล็อคให้กับพนักงานในภาวะหมดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพนักงานเข้าสู่ภาวะหมดไฟ การช่วยเหลือพนักงานควรมีโปรแกรมการลดภาวะหมดไฟอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โปรแกรม CBT บำบัดผ่านการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม โดยนักจิตบำบัด ต้องทำต่อเนื่อง 2 เดือน โดยให้พนักงานลองไปฝึกได้ใช้จนกลายเป็นนิสัย, โปรแกรมการฝึกสติ อาจจะใช้เวลา 3 เดือนเป็นต้นไป, โปรแกรมการรับมือกับความเครียด จะต้องมีการเช็กอัพว่าสามารถนำไปใช้ได้บ้าง เพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมไปเรื่อยๆ, โปรแกรมการออกกำลังกาย ใช้ให้การบัตรกำนัล หรือทำกิจกรรม เล่นฟุตบอลหลังเลิกงาน ตีแบตมินตัน อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ทำจนชินเป็นนิสัย, โปรแกรมซาบซึ้ง เช่น ในทุกกิจกรรมที่พบเจอ ใช้เวลา 5 นาที แลกเปลี่ยนว่ามีเรื่องดีๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือการขอบคุณคนในทีมทุกๆ ครั้งที่มีกิจกรรม, และโปรแกรม EAP (Employee assistance program) การช่วยเหลือพนักงาน โดยให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาครอบคลุมทุกปัญหา เช่น เรื่องส่วนตัว สุขภาพ รูปแบบ in-house หรือภายใน

นอกจากการช่วยเหลือพนักงานหมดไฟแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้พนักงานยังมั่นคงอยู่และยังดึงดูดพนักงานใหม่ สามารถทำได้ดังนี้ 1.มีนโยบายไม่ต้องตอบงานนอกเวลา การกำหนดอย่างชัดเจนว่าหลังเวลางาน พนักงานไม่จำเป็นต้องตอบเรื่องงาน และจะไม่มีผลต่อการประเมิน ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงานหลายที่ต้องการ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงต้องต้องเป็นเรื่องการตกลงภายในบริษัท 2.คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการทำงาน ด้านเวลา พนักงานสามารถเลือกเวลาเข้าออกได้เอง, ด้านสถานที่ พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ 3.สนับสนุนให้พนักงานได้พักผ่อน บริษัทสามารถสร้างนวัตกรรมในการใช้วันลา ‘อย่างสบายใจ’ โดยทุกคนสามารถออกแบบเวลาพักเบรกได้ และบริษัทฯ ยังคงให้สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตใจได้ 4.สร้างบรรยากาศในที่ทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพจิต คือการสร้างพื้นที่ที่ทำงานสำหรับทุกคนให้สามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น นโยบาย DE&I ที่สามารถพาลูกมาที่ทำงานได้ เป็นต้น 5.สร้างความเคารพ และมีส่วนร่วม สถานที่ทำงานควรเป็นที่ปลอดภัยทางจิตใจ สามารถแสดงความเห็นได้ พร้อมยังส่งเสริมให้คนทำงานมีความสุข สุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน 6.พนักงานมีความต้องการและจำเป็นหลากหลาย การออกแบบการทำงาน การสื่อสาร สวัสดิการ การอบรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือตัวตนของพนักงาน ความหลากหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ HR ต้องคำนึง และสิ่งสำคัญคือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บจากพนักงาน สำรวจความรู้จัก ความต้องการเป็นประจำ

ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า “องค์กรควรจะใส่ใจพนักงาน พร้อมหมั่นสังเกตว่า หากพบพนักงานมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟในการทำงาน ทั้งหมดใจหรือหมดไฟ การเข้าไปช่วยเหลือและให้คำปรึกษาทันที ตามแนวทางที่เหมาะสม หรือการที่พนักงานจะเข้าไปพูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจและเข้าใจจะช่วยบรรเทาอาการของภาวะ Burnout Syndrome ได้ และสิ่งสำคัญสำหรับพนักงานเมื่อต้องเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน การหยุดพักผ่อน ให้เวลาตัวเองได้จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ เพื่อปรับสมดุลชีวิตให้กลับสู่ภาวะปกติ และหา Work Life Balance ในการทำงาน ก็จะเป็นการผ่อนคลายและช่วยป้องกันภาวะ Burnout Syndrome ไม่ให้กลับมากวนใจในชีวิตได้อีก เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความสุขได้ค่ะ”

“สำหรับกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ seekTALKS ภายใต้แนวคิด “ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” เราจัดเป็นประจำทุกเดือน โดยหัวข้อก็จะสลับเปลี่ยนไปตามประเด็นที่น่าสนใจในช่วงนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ พาร์ทเนอร์และองค์กร ได้นำองค์ความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ หากบริษัทไหนที่สนใจ ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ หรือสามารถติดต่อได้ที่ https://th.jobsdb.com/ ค่ะ” คุณดวงพร กล่าวปิดท้าย

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU)  จัดงานสัมนาเผยงานวิจัยหัวข้อ "การตลาดเติมพลัง BURNOUT IN THE CITY” พบว่า ผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพฯ จำนวน 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือเบิร์นเอาท์ ซินโดรม (Burnout Syndrome)   ผลงานวิจัยยังพบว่ามีจำนวนกลุ่มประชากรที่ศึกษา  57% อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ

ในปี 2562 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ Burnout Syndrome เป็นภาวะทางสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และเป็นภาวะที่กำลังจะเกิดในสังคมคนเมืองและคนรุ่นใหม่มากขึ้น ซึ่งภาวะหมดไฟหรือหมดแรงบันดาลใจในการทำงานนี้ งานวิจัยของต่างประเทศระบุว่าอาจส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในระยะยาว และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากต่อปี วันนี้ภาวะหมดไฟจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำงานวิจัยศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ในภาวะหมดไฟ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ และผู้ที่มีพลังใจในการทำงานสูง ว่ากลุ่มผู้บริโภควัยทำงานเหล่านี้ทำกิจกรรมอะไร? เพื่อที่จะคลายความเครียดที่กำลังเผชิญ หรือเพิ่มพลังใจที่หดหายให้กลับมาและสู้กับสถานการณ์ที่เจอ เพื่อที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ทั้งนี้วิทยาลัยการจัดการมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ริเริ่มจัดงานสัมมนาการตลาด และจัดต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี  ซึ่งได้รับความสนใจจากบรรดาผู้ประกอบการ นักการตลาด รวมถึงสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ โดยหยิบยกประเด็นสำคัญที่กำลังถูกพูดถึงในสังคมหรือควรค่าแก่การศึกษาเพื่อต่อยอดความคิดทางการตลาด แล้วส่งต่อให้เกิดกลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ โดยคณะผู้จัดงานเห็นว่าปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นภายในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมเมือง หรือที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก อาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้ เราจึงจำเป็นที่ต้องเตรียมรับมือกับปัญหา และเยียวยาผู้คนในสังคม เพื่อให้อาการที่เกิดขึ้นนั้นบรรเทาเบาบางลง จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ

จากการเก็บผลสำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครในช่วงปลายปี 2562 จำนวน 1,280 คนโดยในจำนวนนั้นเป็นผู้หญิง 66% ผู้ชาย 34% พบว่า 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน 57% อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ และมีจำนวนเพียง 31% เท่านั้นที่อยู่ในภาวะไฟแรง เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของประชากรในกรุงเทพมหานคร มากกว่า 3.7 ล้านคน* อยู่ในภาวะเครียดจนน่าเป็นห่วง (*จำนวนประชากรวัยทำงานในกรุงเทพจำนวน 5.3 ล้านคน) โดยผลสำรวจพบว่า ช่วงอายุที่น้อยลงกลับมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟได้มากกว่า โดยกลุ่ม Gen Z หรือช่วงอายุต่ำว่า 22 ปี กำลังตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% ขณะที่กลุ่ม Gen Y หรือช่วงอายุ 23 – 38 ปี ก็ตกอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันที่ 13% แต่กลับกันในกลุ่ม Baby boomer หรือช่วงอายุ อายุ 55 - 73 ปี กลับอยู่ในภาวะหมดไฟเพียง 7%  

โดยเมื่อดูตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจคือกลุ่มที่อยู่ในภาวะหมดไฟ และกำลังเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟมากเป็นอันดับแรกที่ 77% รองลงมาคือ พนักงานเอกชน 73% และข้าราชการที่ 58% และธุรกิจส่วนตัว 48% ซึ่งมี สาเหตุหลักที่ทำให้อยู่ในภาวะหมดไฟ

1. งาน OVERLOAD : ภาระงานที่เยอะและไม่สมดุลกับปริมาณคนทำงาน

2. NO MODE สนับสนุน ไม่ใช้เครื่องมือหรือระบบที่เหมาะสมทำให้ไม่สามารถลดเวลาและกระบวนการทำงานได้

3. โครงสร้างวุ่นๆ กับเจ้านายเย็นชา หัวหน้างานที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่รับฟังความคิดเห็นรวมถึงโครงสร้างองค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่น

เมื่อภาวะหมดไฟไม่ใช่เรื่องไกลตัวอักต่อไป จึงต้องมีกิจกรรมที่จะมาช่วยคลายความเครียดจากการทำงานในแต่ละวัน กลุ่มกิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียด ได้แก่ การใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับครอบครัว การพูดคุยกับเพื่อน การฟังเพลง การออกกำลังกาย การเล่นเกมส์ รับประทานอาหารที่อร่อย การทำบุญ การชมภาพยนตร์

จากผลการสำรวจความคิดเห็นผลว่า กิจกรรมที่ผู้ชายเลือกใช้เพื่อคลายเครียด 3 ลำดับแรก คือ การเล่นเกมส์ การออกกำลังกาย การใช้โซเชียลมีเดีย ขณะที่กิจกรรมที่ผู้หญิงเลือกทำเพื่อคลายเครียด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การพูดคุยกับเพื่อน การใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับครอบครัว และเมื่อแบ่งตามเจเนอเรชั่น กลุ่ม Baby Boomer เลือกที่จะการออกกำลังกาย การสวดมนต์ การพูดคุยกับครอบครัว

กลุ่ม Gen X เลือกการใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับเพื่อน การพูดคุยกับครอบครัว ส่วนกลุ่ม Gen Y เลือกการใช้โซเชียลมีเดีย การพูดคุยกับเพื่อน การพูดคุยกับครอบครัว ในกลุ่ม Gen Z เลือกการใช้โซเชียลมีเดีย การฟังเพลง การพูดคุยกับครอบครัว และกิจกรรมที่กลุ่มคนไฟแรงเลือกใช้ คือ การพูดคุยกับครอบครัว การออกกำลังกาย การใช้โซเชียลมีเดีย ดังนั้น หากคุณคิดว่า ตัวเองกำลังทรมานจากความเหนื่อยหน่าย การลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟคือการเลือกใช้กิจกรรมที่เหมาะสม และไม่มากจนเกินไป ก็จะมีส่วนช่วยผ่อนคลายความเครียดและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีไฟกันอีกครั้ง

กลยุทย์การตลาดที่จะมาช่วยเติมไฟ เพิ่มความสดชื่น สดใจ ลดภาวะหมดไฟ ที่นักการตลาด เจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบแต่ละขนาดจะสามารถนำไอเดียไปพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้ที่กำลังเผชิญกับความเครียด และเติมพลังไฟให้ได้ คือ FRESH Strategy

สำหรับ FRESH Strategy  หมายถึง

F มาจาก Fulfill Friend and Family จากผลงานวิจัยพบว่าการพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวมาเป็น 2 อันดับแรก ในมุมมองของนักการตลาด อาจเริ่มจากกิจกรรมที่ใกล้ตัวก่อนเช่นการพูดคุย เพิ่มไอเดียทางธุรกิจจากการสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับการพูดคุยของครอบครัวขึ้นมาโดยเฉพาะให้มากขึ้น หลังจากนั้นพัฒนากิจกรรมที่มีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น ร่วมกันทำอาหาร ออกไปท่องเที่ยวกับครอบครัว ดูหนัง หรือแม้กระทั่งกิจกรรมยอดนิยมของวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น การเล่นบอร์ดเกม โดยผู้ผลิตหรือทางร้านอาจออกแบบกิจกรรมให้เน้นรูปแบบของครอบครัวมากขึ้น

R าจาก Recharge your energy ความต้องการอย่างเร่งด่วนของคนหมดไฟ คือ พลังงานที่ช่วยให้กลับมามีพลังได้อีก จากผลการวิจัยในต่างประเทศระบุว่า สัตว์เลี้ยง มีผลช่วยเยียวยาจิตใจของคนที่มีอาการเครียดหรือซึมเศร้าได้

มาจาก Entertain ความบันเทิง เพราะเป็นตัวช่วยที่ง่ายที่สุดที่บรรเทาความเครียดลงได้ และยิ่งในปัจจุบันความบันเทิงมีหลายรูปแบบ ทั้ง ดูหนัง ฟังเพลง โซเชียล มีเดีย ที่หาได้ง่ายๆผ่านสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ แต่ในความธรรมดาเหล่านี้ นักการตลาดควรสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของตัวเอง และสร้างความเฉพาะเจาะจงเพื่อให้ตรงกับกลุ่มลูกค้ามากที่สุด

S มาจาก Start something new เพราะการต้องติดอยู่กับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเดิมๆ งานที่หนัก ไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่สามารถออกไปไหนได้เพราะติดพันกับงาน ความคิด หรือสถานการณ์แบบเดิมๆ จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ทางออกที่เราสามารถช่วยได้คือ การออกไปยังสถานที่ใหม่ๆ หรือเริ่มต้นทำกิจกรรมที่แปลกแตกต่างออกไปจากเดิม ให้ได้เจอสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ไม่ต้องจมกับเรื่องน่าปวดหัวสักระยะ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นความสงบให้ธรรมชาติมาช่วยบำบัดจิตใจ หรือแบบแอดเวนเจอร์ ที่ไม่เน้นพักผ่อนร่างกาย แต่หัวใจได้ปลดปล่อยอย่างเต็มที่ ใช้ชีวิตให้สุดขีด เพราะการหยุดพักทำให้ไม่ต้องโฟกัสกับปัญหาที่ทำให้เราหมดไฟกับมันอยุ่ แล้วเมื่อเรามองกลับมาอาจค้นพบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ออกมาได้เช่นกัน

H มาจาก Heal your health สุดท้ายแล้วปัญหาความเครียดสะสมเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลไปต่อสุขจิตและสุขภาพกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชาว Burnout ทุกคนปรารถนาจะมีสุขภาพที่ดี ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ช่วยพัฒนาให้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือให้เราสุขภาพดีขึ้น อาทิ Chatbot ที่จะช่วยคุยกับคุณเพื่อระบายความเครียด คอยแนะนำเสมือนคนใกล้ตัวให้คุณวางใจได้

 

X

Right Click

No right click