December 30, 2024

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT)  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คว้าโอกาสอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกเติบโตดีต่อเนื่อง เร่งติวเข้มเซอร์วิสระดับลักซ์ชัวรีผ่านหลักสูตรและโครงการจัดอบรม เพิ่มศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ด้วยเสน่ห์จากบริการที่เหนือชั้น พร้อมเติมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม วางเป้าดึงดูดคนรุ่นใหม่เดินเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินมากขึ้นในอนาคต

อาจารย์ปวรรัตน์  สุภิมารส  รักษาการคณบดี  วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน  (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  (DPU) เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลกฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งตัวเลขผลประกอบการของธุรกิจสายการบินที่เติบโตเป็นบวก การเปิดเส้นทางบินใหม่ พร้อมกับจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นในจุดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เช่น ไต้หวันและฮ่องกง ไปจนถึงการเปิดรับบุคลากรเข้าทำงานในหลายตำแหน่งงาน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ส่งผลให้ในภาพรวมทุกอย่างเริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยสอดรับกับรายงานการวิจัยตลาดของ Data Bridge Market Research ที่คาดการณ์อุตสาหกรรมการบินในเอเชียแปซิฟิก (APAC) ว่าเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดจากจำนวนผู้โดยสารทางอากาศเพิ่มมากขึ้น และการเพิ่มขนาดฝูงบินของสายการบินต่าง ๆ โดยคาดว่าการเติบโตขึ้นนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องถึงปี 2028

ติดปีก ‘ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส’ คนธุรกิจการบิน

อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าวว่า นอกจากการแข่งขันกันเปิดเส้นทางบิน และเพิ่มเที่ยวบินมากขึ้นของธุรกิจสายการบินแล้ว อีกหนึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นการแข่งขันกันนำเสนอบริการที่แตกต่างและเป็นพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งทาง CADT DPU มองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นนี้พร้อมทั้งได้ยกระดับการเรียนการสอนไปในแนวทางที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการบิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการให้บริการในระดับลักซ์ชัวรีให้กับนักศึกษาและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน

โดยวิทยาลัยฯ และ DAA สถาบันฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับรองให้เป็น Authorized Training Center (ATC) ของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เตรียมนำเสนอความเป็น “ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส” เข้าไปในการเรียนการสอน และจัดอบรม เพื่อยกระดับงานบริการที่มีความเป็นพิเศษและแตกต่างในทุกมิติ ตั้งแต่ท่าทาง การแต่งกาย บุคลิก การสื่อสาร และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรม และนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรปริญญาตรีทั้ง 2 สาขา ได้แก่ สาขาธุรกิจการบิน และสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและการอำนวยการบิน

“การให้บริการเป็นจุดเด่นคนไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อเพิ่มการอบรมและพัฒนา พร้อมสร้างทัศนคติที่ดีด้านบริการเข้าไปจะยิ่งทำให้เป็นข้อได้เปรียบ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน และนักศึกษา ได้มีทักษะที่โดดเด่น และเป็นที่ต้องการของตลาดงานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต อีกทั้งยังเป็นทักษะที่เอไอ หรือ Artificial Intelligence ไม่สามารถสัมผัสความรู้สึกระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ได้ดีเท่ากับการบริการโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเพิ่มมุมมองด้านลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษาตามแนวทางของอุตสาหกรรมการบินที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี ค.ศ.2050” อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าว

ชูจุดแข็ง-ผนึกพันธมิตร ปูทางความสำเร็จสายอาชีพ

นอกจากการเพิ่มทักษะด้านบริการที่เหนือชั้นแล้ว CADT DPU ได้ให้ความสำคัญการสร้างอุปกรณ์การเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) เช่น อุปกรณ์ฝึกการอพยพจากเครื่องบินกรณีฉุกเฉิน (Slide Drill), ห้องฝึกปฏิบัติการบนเครื่องบิน (Airbus300-600) และ เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง Flight Simulator (Cessna 172 และ Boeing 737-800NG) เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในอุตสาหกรรมการบินที่มากขึ้น

ในขณะเดียวกันได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาไปฝึกงานในสถานที่ปฏิบัติงานจริง โดยล่าสุดมีการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพกับบริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด (เวียตเจ็ทไทยแลนด์) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานปฏิบัติงานจริงในตำแหน่งต่าง ๆ ของทางสายการบินเวียตเจ็ทไทยแลนด์ 

ทั้งนี้ CADT DPU ได้วางเป้าหมายการเติบโตไปพร้อมอุตสาหกรรมบินของไทยและทั่วโลก ด้วยการผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง และมีความพร้อมสำหรับการทำงานในสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดงาน เช่น กราวด์ เซอร์วิส และ นักบิน เป็นต้น  รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://cadt.dpu.ac.th/ และ https://www.daatraining.com/

เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ช่วยเด็กและเยาวชนค้นหาศักยภาพตนเอง  เปิดมุมมองด้านอาชีพ พร้อมเดินหน้าผลิตบุคลากร รองรับการขาดแคลนกำลังคนด้านการบิน ตั้งเป้าปี 2567 เปิดรับสมัคร 150 คน ขณะที่ นักเรียนเข้าร่วมค่าย ฝากจัดค่ายต่อเนื่อง เผยมีประโยชน์ต่อเด็กได้เข้าใจหลักสูตร การเรียนการสอนการบินมากขึ้น

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training) และสถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ได้จัดกิจกรรม ‘ค่ายการบิน Youth Flying Club #3’ เมื่อวันที่ 28 ตค.2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการจัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 2 และจัดเป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนที่สนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านการบิน ได้มาเรียนรู้ เพิ่มเติมประสบการณ์ และช่วยค้นหาตัวเองว่าเหมาะกับอาชีพด้านการบิน

ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training) และผู้อำนวยการสถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU กล่าวว่าปี 2566  CADT ได้จัดค่ายการบิน Youth Flying Club #3 ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งใน 2 ครั้งแรกได้รับการต้อนรับดีมาก เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการบินมากขึ้น ในปีนี้จึงมีการจัดค่ายที่พิเศษมากกว่าเดิม โดยเน้นการฝึกปฏิบัติ เพิ่มเติมประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็น การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ การบินจำลอง ห้องผู้โดยสาร สาธิตการดับเพลิง การควบคุมจราจรทางอากาศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  และซักถามจากรุ่นพี่ ซึ่งเด็กและเยาวชนมีความกระตือรือร้นมากกว่าทุกปี

“การบิน เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นเรื่องการเดินทาง ยิ่งในปัจจุบันสามารถท่องเที่ยว หรือไปทำธุรกิจด้วยการเดินทางบนเครื่องบินได้ง่ายขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และในปี 2566 นี้ อุตสาหกรรมการบินเริ่มกลับมาเติบโตมากขึ้น ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเกือบ 20 ล้านคน และมีจำนวนไฟล์ทบินมากขึ้น เกือบวันละ 2,000 ไฟล์ทบินทั่วประเทศ แบ่งเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ มี กว่า900 ไฟล์ทบินต่อวัน และสนามบินดอนเมืองประมาณ 500 กว่าไฟล์ทบินต่อวัน  ดังนั้น ความต้องการของบุคลากรด้านการบินเพิ่มสูงมากขึ้น” ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว

ในช่วงโควิด-19 อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะงดการเดินทาง ทำให้มีการปลดพนักงาน หรือพักงานพนักงาน และบางคนเมื่อออกจากงานแล้วได้ไปทำธุรกิจของตัวเอง หรือไปทำงานอื่นๆ ที่พวกเขาชอบมากกว่า ทำให้ไม่ได้กลับมาสู่อุตสาหกรรมการบินอีก ทั้งที่ ตอนนี้มีความต้องการกำลังคนด้านการบิน ทั้งนักบิน เจ้าหน้าที่และพนักงานบริการภาคพื้นดิน มากขึ้น

ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรทางการบินจำนวนมาก และจากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าอุตสาหกรรมการบินดีขึ้นกว่าเดิม และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้า หากไม่เกิดโรคระบาดร้ายแรง หรือเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้อีก ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนของ CADT DPU ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกปฏิบัติงาน รวมถึง มีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินดีขึ้น และในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงต้องเตรียมพร้อมบุคลากรให้สามารถทำงานด้านการบินและมีทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้ประกอบการ หรือทำธุรกิจของตัวเอง

“การเรียนการสอนของ CADT  DPU ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิตบุคลากรด้านการบิน ท่ามกลางอุตสาหกรรมการบินในไทยและภูมิภาคอาเซียนที่กำลังเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแบบก้าวกระโดดในปี 2567 เจ้าหน้าที่สายการบินในต่างประเทศ บางสายการบินงดเที่ยวบิน เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ภาคพื้น  ปี 2566 มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น 83%  และปี 2567 คาดว่าจะรับนักศึกษาจำนวน 150 คน การจัดค่ายถือเป็นการคัดเลือกเด็กที่สนใจจริงๆและทำให้เกิดความเข้าใจ 2 หลักสูตรวิชาธุรกิจการบินและหลักสูตรวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน  ได้ลองฝึกปฏิบัติ สัมผัสห้อง Cabin เครื่องบินจริง ห้อง Simulator ของจริง อุปกรณ์จริง และการควบคุมจราจรอากาศ ช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพ ความถนัดของตัวเอง และได้ไอเดีย ว่าพวกเขาเหมาะกับการทำงานด้านใดในสายอุตสาหกรรมการบิน ได้มุมมองอาชีพมากขึ้น” ผศ.น.ต.ดร.วัฒนา กล่าว

ทั้งนี้ นอกจากการจัดการเรียนการสอนผลิตบัณฑิตบุคลากรสายการบินแล้ว CADT  DPU ยังมีการเปิดหลักสูตรเทรนนิ่ง อบรม เพื่ออัพสกิล รีสกิลคนในสายอุตสาหกรรมการบิน ด้วยเป้าหมายในการเป็นศูนย์รวมการอบรมด้านการบิน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และมั่นใจว่านักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยมีความพร้อม และศักยภาพในการพัฒนาตัวเอง ทำงานในองค์กร หน่วยงานต่างๆทั้งในและต่างประเทศได้

น.ส.กัสตูรีย์ เวชกะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประทีปศาสน์ จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตนเดินทางมาจากบ้านเกิดที่จังหวัดสงขลา เพื่อมาเข้าร่วมค่ายการบินของ CADT  DPU ซึ่งเท่าที่ได้ดูรายละเอียดและมาสัมผัสของจริง ค่ายการบินมีประโยชน์สำหรับตนอย่างมาก เพราะตนอยากเป็นทำงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่/พนักงานบริการภาคพื้นดิน (Ground Hostess/ Ground Staff)  และทุกกิจกรรมที่ทางค่ายจัด ทำให้ได้รับประสบการณ์จากเครื่องมืออุปกรณ์ การฝึกปฏิบัติจริงๆ  รู้ถึงศักยภาพและความถนัดของตัวเองว่าหากเราจะทำอาชีพนี้จริงๆ เราจะสามารถทำได้หรือไม่

“กิจกรรมการฝึกปฏิบัติในแต่ละฐาน สนุก ได้ความรู้ และที่สำคัญได้ฝึกปฏิบัติจากห้องเครื่องบินจริงๆ ซึ่งห้องฝึกปฏิบัติของ CADT  DPU มีความทันสมัย เปิดมุมมองและการเรียนรู้ใหม่ๆ ยิ่งเราเป็นเด็กต่างจังหวัด การได้มาเห็นมาเรียนรู้ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดี แต่หากจะเพิ่มเติมกิจกรรม อยากให้มีพื้นที่ที่ได้พูดคุยกับรุ่นพี่ที่ทำงานในสายนี้จริงๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง” น.ส.กัสตูรีย์ กล่าว

ด้านนายปัณณวิชญ์ กอบตระกูล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จ.ระยอง กล่าวว่าตนอยากเป็นนักบิน เพราะอยากทำงานบนเครื่องบินที่ได้เห็นท้องฟ้า และบรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากแต่ละประเทศแตกต่างกัน การทำงานบนเครื่องบินคงไม่เหมือนกับในห้องทำงานบนพื้นดินที่เห็นทุกๆ อย่างเหมือนเดิม ดังนั้น เมื่อทางมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดค่ายการบิน ตนจะเข้าร่วม และค่ายการบิน ของ CADT  DPU เป็นมหาวิทยาลัยที่สามที่ได้เข้าร่วม ซึ่งมีกิจกรรมที่สนุกสนาน และได้ฝึกปฏิบัติในห้องซิมูเลเตอร์ของจริง รุ่นที่แตกต่างจากที่เคยไปเข้าค่ายมาก อีกทั้งทำให้ได้เพื่อนใหม่ ได้เรียนรู้หลักสูตรการเรียนการสอน และรับฟังประสบการณ์จากรุ่นพี่และอาจารย์ผู้สอน

“ค่ายการบิน ของ CADT  DPU มีประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนที่สนใจหลักสูตรการบินอย่างมาก เพราะเป็นการเรียนรู้จากสถานที่จริง อาจารย์ผู้สอน และรุ่นพี่จริงๆ ที่คอยให้คำแนะนำ ชี้แนะ อีกทั้งได้ทดสอบทำข้อสอบร่วมด้วย อยากให้มีการจัดค่ายแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบตัวเองว่าเหมาะกับการเรียนหลักสูตรนั้นๆ หรือไม่ ที่สำคัญ ทำให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้น ว่าควรเรียน  หรือควรทำอาชีพอะไร เป็นข้อมูลที่จะเพิ่มเติมให้แก่พวกเขา เพราะนอกจากเรื่องของการเรียนการสอนแล้ว การตัดสินใจเลือกเรียนจะดูไปถึงการฝึกงานว่ามีที่ไหนบ้าง อุปกรณ์เป็นอย่างไร และดูว่าจบแล้วจะทำงานได้หรือไม่” นายปัณณวิชญ์ กล่าว

เช่นเดียวกับ นายรัชพล บุนนาค  นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ กล่าวว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมค่ายการบิน ซึ่งทั้ง 2 ค่ายมีความแตกต่างกัน CADT  DPU มีอุปกรณ์การเรียนการสอน มีห้องจำลอง ห้องปฏิบัติงานที่ทันสมัย เหมือนได้ทดสอบขับเครื่องบินจริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์กับตนมากๆ ที่อยากเป็นนักบิน

“ผมอยากเป็นนักบินมาตั้งแต่เด็ก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการไปเที่ยว ยิ่งเมื่อได้มาเข้าค่ายการบิน CADT  DPU ยิ่งทำให้อยากเรียนหลักสูตรการบินมากขึ้น ตอนที่ได้ฝึกปฏิบัติ และมีรุ่นพี่ อาจารย์มาให้คำแนะนำรู้สึกดี และสนุกมาก อยากให้เปิดค่ายแบบนี้ไปตลอด เปิดมุมมองให้เด็ก ได้ทดลอง เรียนรู้ว่าเหมาะกับเราจริงๆ หรือไม่ ดังนั้น หากเพื่อนๆ คนไหนที่สนใจอยากเป็นนักบิน อยากให้ลองสมัครเข้าค่ายการบิน CADT  DPU จะทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างจากการนั่งดูผ่านคลิปวิดีโอ หรืออ่านจากข้อมูล”นายรัชพล กล่าว

ขณะที่ น.ส.ลภัสนันท์ จิรานุศักดิ์ ผู้ปกครองของนายรัชพล บุนนาค กล่าวว่ารู้จักค่ายดังกล่าวผ่านลูก ซึ่งเขาสนใจอยากเข้าร่วมค่าย เพราะเขามีความฝันอยากเป็นนักบิน ทำงานเกี่ยวกับการบิน ครั้งนี้เป็นการสมัครเข้าค่ายครั้งที่ 2 ของเขา แต่เป็นครั้งแรกของแม่ ที่ได้มีโอกาสมาร่วมค่ายกับลูก ทำให้ได้เรียนรู้หลักสูตร  เห็นสถานที่ สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย อุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากที่เราดูคลิปวิดีโอทางโซเซียลมีเดีย เพราะทุกอย่างเป็นของจริง อีกทั้งได้ข้อมูลจากคณบดี จากนักศึกษารุ่นพี่ แต่ละท่านให้ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แม่จะนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับลูก เพื่อช่วยในการตัดสินใจของเขา

“เชื่อว่าลูกจะได้รับประสบการณ์มากมาย จากการเข้าค่ายการบิน CADT  DPU เพราะการได้มาเห็นทุกอย่าง ได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจริงๆ เรียนรู้จริงๆ ย่อมดีกว่า ขณะที่ผู้ปกครองได้เข้ามาร่วมจะได้มุมมองความคิด และนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนกับลูกได้ การที่มหาวิทยาลัยเปิดค่ายกิจกรรม จะมีประโยชน์อย่างมากทั้งผู้ปกครอง และตัวเด็ก อยากให้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง” น.ส.ลภัสนันท์ กล่าวในตอนท้าย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บุคลากรทั้ง 2 อุตสาหกรรมขาดแคลนจำนวนมาก จากผลสำรวจของ IATA พบว่าปัจจุบันสายการบินทั่วโลกมีจำนวนผู้โดยสารกลับมาใช้บริการ จำนวน 4,500 ล้านคนต่อปี ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด -19 ในปี 2562 ที่มีจำนวน 4,540 ล้านคน ส่วนรายได้ของภาคการบินฟื้นกลับมาประมาณ 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิมีทั้งหมด 826 เที่ยวบินต่อวัน ขณะที่สนามบินดอนเมืองมี 481 เที่ยวบินต่อวัน ซึ่งตัวเลขที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าให้คนเดินทางท่องเที่ยวไทยจำนวน 30 ล้านคนต่อปี ขณะนี้ผ่านไป 8 เดือนมีผู้โดยสารเดินทางมาไทยแล้วจำนวน 17 ล้านคน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวว่า จากสถิติดังกล่าว CADT DPU ในฐานะสถาบันการศึกษา ที่มุ่งมั่น สร้างมืออาชีพด้านธุรกิจการบิน ได้เตรียมหลักสูตรผลิตบุคลากรเพื่อรองรับตลาดแรงงานด้านการบิน ด้วยการจัดหลักสูตรพิเศษ 2 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรที่ 1.สำหรับกลุ่มเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายรวมถึงนักศึกษาใหม่ เป็นหลักสูตรสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้กับเด็ก โดยการจัดค่ายการบินร่วมกับ เพจเด็กม.ปลาย เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบินทั้ง 9 กิจกรรมของการบินพลเรือน ที่สำคัญจะได้รู้ว่าตนเองเหมาะกับอาชีพอะไรสังกัดอยู่ส่วนไหน นอกจากนี้ ยังมีการเตรียม MOU (Memorandum of Understanding) กับสมาคมสโมสรลูกเสืออากาศ เพื่อดึงกลุ่มเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ใกล้สนามบินหรือกองบินทั่วประเทศ มาเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนด้านการบิน โดยเตรียมเปิดตัวครั้งแรกที่กองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลกในเร็วๆนี้

คณบดี CADT DPU กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตรที่ 2 เป็นกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ถึง ชั้นปีที่ 4 รวมถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วประมาณ 1-2 ปี ที่มีความฝันอยากก้าวเข้าสู่การเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ทางสถาบันการบิน (DAA) จึงเตรียมหลักสูตรติดปีกให้เป็นนางฟ้าอย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยหลักสูตร Cabin Crew Born to be by DAA โดยรายละเอียดในหลักสูตรนั้น วันแรก Grooming day จะมีการเทรนด์การแต่งกายทำผม และเลือกเครื่องสำอางให้เหมาะกับโทนผิว วันที่ 2 Personality day เทรนด์เรื่องบุคลิกภาพ การใช้สีหน้า และน้ำเสียงในการสนทนา รวมถึงเทคนิคการทำ Resume และการตอบคำถามให้โดนใจกรรมการ วันที่ 3 IATA Airline Customer Service เป็นการ Up Skill เพิ่มโอกาสให้ได้งานด้วย IATA Certificate ส่วนวันสุดท้าย Exclusive Interview Day จะสอนเทคนิคสอบสัมภาษณ์แบบกลุ่ม แบบเดี่ยว ทั้งเวอร์ชั่นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจะเริ่มเรียนทุกวันเสาร์จำนวน 4 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม ถึง 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-16.00 น. สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 061-863-7991 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Line : @daa_dpu หรือคลิก Link https://lin.ee/hHrcpYa แบบฟอร์มลงทะเบียน https://forms.gle/R8ZF3ccMzu69UjWp9

“ถือเป็นครั้งแรกของ DAA ที่เปิดโอกาสให้คนที่มีความฝันอยากเป็นแอร์-สจ๊วต เข้ามาเทรนด์ก่อนสอบกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จากสายการบินต่าง ๆ ทุกคนที่เข้ามาอบรมจะได้รับความรู้เชิงลึกและเทคนิคการสัมภาษณ์งานที่ตรงใจกรรมการมากที่สุด ที่สำคัญหลังจากผ่านการอบรมสามารถสมัครสอบเพื่อรับ Certificate จาก IATA ได้อีกด้วย และสามารถนำไปแนบการสมัครงานเพิ่มโอกาสในการได้คะแนนพิเศษที่ไม่ควรพลาด

ผู้ที่ผ่านการอบรมจะมีความเป็นตัวเองอย่างสง่างาม มีความมั่นใจในการพิชิตใจกรรมการมากขึ้น ทั้งนี้หากผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้ตามที่อบรม จะผ่านการสอบสัมภาษณ์ได้อย่างไม่ยากแน่นอน นอกจากนี้ทาง DAA ยังมีความพร้อมในการเปิดหลักสูตรพิเศษที่หลากหลาย หากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ บริษัทวิทยุการบิน พนักงานอำนวยการบิน เป็นต้น เปิดรับสมัครงานในตำแหน่งเฉพาะทาง เราพร้อมที่จะผลิตนักศึกษาให้ตรงกับความต้องการของแต่ละหน่วยงานในอุตสาหกรรมการบิน” คณบดี CADT DPU กล่าวในตอนท้าย

ชี้ กม.ใหม่บินโดรนต้องมีใบขับขี่ – หลายประเทศจะมีโดรนขนส่งผู้โดยสารในอีก 2 ปี

รวบตึงหัวข้อที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโดรนรวมไว้ในงานเดียว 11 ก.ค.นี้ ที่ มธบ.สนใจลงทะเบียนร่วมงานฟรี !!

X

Right Click

No right click