November 24, 2024

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดสอนหลักสูตรการบัญชีดิจิทัล (บัญชีบัณฑิต) ตอบโจทย์คนวัยทำงานหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่สาขาบัญชี และมีความประสงค์จะได้รับคุณวุฒิทางด้านบัญชี ไปขึ้นทะเบียนเป็นนักทำบัญชี เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพด้านบัญชี อาทิ ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เป็นต้น โดยหลักสูตรนี้ได้รับความนิยมสูงในวัยทำงาน วัยเกษียณ รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เหตุหลักสูตรมีความยืดหยุ่นสูง จบได้ภายใน 1.5 ปี

ดร.ณัฐพัชร์ นวลมณีฐิติ รองคณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า หลักสูตรการบัญชีดิจิทัล (บัญชีบัณฑิต)  มุ่งเน้นผลิต “นักบัญชีดิจิทัล” ได้ถูกออกแบบให้ตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจ โดยเปิดรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชา โดยผู้ไม่ได้จบสายบัญชีมาก็เรียนได้ หลักสูตรนี้เปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์มานานกว่า 10 ปี โดยปรับหลักสูตรให้ผู้เรียนสามารถจบ Course Work ได้เร็วขึ้นภายใน1.5 ปี ปัจจุบันผู้สมัครเรียนมาจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ อาทิ ทนายความ สถาปนิก นักกฎหมาย และผู้บริหารระดับ CFO (Chief Financial Officers)  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการมีทักษะและความรู้ด้านบัญชีในทุกธุรกิจ

ดร.ณัฐพัชร์ กล่าวว่า สำหรับจุดเด่นของหลักสูตร คือ เน้นการเรียนการสอนด้านบัญชีดิจิทัล และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Accounting Software) เพื่อตอบโจทย์ยุค Digital Transformation เช่น การนำเสนอข้อมูลทางบัญชีง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว ด้วยโปรแกรม Power BI for Data Analytics หรือสรุปข้อมูลให้เข้าใจง่ายด้วยการใช้งาน Dashboard ประเภทต่างๆ  ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ การเรียนยังมีความยืดหยุ่นสูง มีการเรียนการสอนแบบ Hybrid Working การเรียนบัญชีในช่วงแรกทุกคนอาจรู้สึกว่ายาก เนื่องจากเป็นการเรียนข้ามศาสตร์ ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจะปูพื้นฐานด้านบัญชีขั้นต้นให้กับผู้เรียน พร้อมสอดแทรกความรู้ด้านภาษีอากร ก่อนที่จะยกระดับไปสู่การเรียนบัญชีชั้นสูง และต่อยอดไปยังรายวิชาอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในคลาสเรียนจะเน้นการสอนแบบผ่อนคลายและไม่เร่งรัดจนเกินไป

“เพื่อเพิ่มทักษะด้านบัญชีดิจิทัลให้ผู้เรียน วิทยาลัย CIBA ได้ร่วมมือกับแพลตฟอร์มบัญชีชั้นนำ อาทิ SAP ERP, Express Software, FlowAccount, PEAK, NEXTTO, รวมทั้งการนำ Optical character recognition (OCR) และ POS on Mobile มาใช้ในการเรียนการสอน และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนเสริม ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีล่าสุดในวงการบัญชี ดังนั้น ผู้เรียนทุกคนจะมีสกิลด้านบัญชีดิจิทัลอย่างแน่นอน” ดร.ณัฐพัชร์ กล่าว

นางสาวเดือนเพ็ญ หอมนิยม  ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ซีทีเอส โลจิสติกส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตนมีประสบการณ์การทำงานด้านการเงินและการบัญชีมานาน แต่ยังไม่มีคุณวุฒิด้านบัญชี จึงตัดสินเรียนสาขานี้เพิ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะวางแผนสำหรับการประกอบอาชีพอิสระหรืออาชีพเสริมภายหลังเกษียณอายุ สำหรับบรรยากาศในห้องเรียน อาจารย์ทุกท่านจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรมเวิร์กชอปมากกว่าเรียนทฤษฎี และปรับสไตล์การสอนให้เข้ากับวัยทำงาน ทำให้การเรียนบัญชีเป็นเรื่องที่สนุก

“ส่วนตัวรู้สึกโชคดีมากที่กลับมาเรียน เพราะหลักสูตรนี้ตอบโจทย์มาก เรียนได้ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ ที่สำคัญอาจารย์จะสอนการทำบัญชีบนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ซึ่งสอดรับกับการทำบัญชีในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้อัพเดทเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้ในการทำงานด้วย อยากฝากถึงผู้ที่อยู่ในสายวิชาชีพบัญชี ถ้ามีเวลาอยากให้มาเรียนสริมทักษะความรู้ เพราะอาชีพนี้มีความมั่นคงในตลาดแรงงาน และยังสามารถประกอบอาชีพอิสระได้” นางสาวเดือนเพ็ญ กล่าว

นายชวณัฐ คุ้มทรัพย์อนันต์  Finance Manager บริษัท บ้านกรองทอง จำกัด กล่าวว่า เหตุผลหลักที่ตัดสินใจเรียนการบัญชีที่วิทยาลัย CIBA DPU เพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง  หลักสูตรตอบโจทย์ที่ต้องการ และมีความยืดหยุ่นในการรับสมัครเรียน สามารถเข้าศึกษากลางภาคเรียนได้ ส่วนหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาด้านบัญชี สำหรับข้อดีของการเรียนหลักสูตรนี้ คือ ได้เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม SAP ซึ่งเป็นระบบ ERP (Enterprise resource Planning) ชั้นนำระดับโลก ที่สำคัญการเรียนมีความสะดวกเพราะใช้ Google Classroom เป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน

“ผู้บริหารด้านการเงินและบัญชีจำเป็นต้องมีคุณวุฒิทางบัญชี เพราะการมีทักษะด้านนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการสื่อสารกับบุคลากรด้านบัญชีในองค์กร ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรและความก้าวหน้าในวิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญที่ได้สร้างเครือข่ายจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มาจากหลายสาขาอาชีพด้วย”  นายชวณัฐ กล่าวในตอนท้าย

สำหรับผู้สนใจหลักสูตร สามารถดูรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/

ช่วยลดปัญหาแรงงานลาออกเพื่อศึกษาต่อ เผยหลักสูตรยืดหยุ่น เรียนจบเร็ว พร้อมมีทุนการศึกษาจากภาคเอกชน

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเวทีประชันคนรุ่นใหม่ “โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 2 จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ปั้นคนรุ่นใหม่สู่สุดยอดนักกลยุทธ์ ติดอาวุธผู้ประกอบการในอนาคต เผยทีม Leppard โรงเรียนวารีเชียงใหม่คว้าแชมป์ไปครอง

ดร. รชฏ ขำบุญ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะสถาบันการศึกษามุ่งมั่นในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ และ ทักษะการตัดสินใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ครั้งที่ 2 ในปีนี้ทางวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  (DPU) ได้ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมชนะเลิศ โดยการแข่งขันที่จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567  ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

โดย CIBA และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของประเทศให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยร่วมมือร่วมใจกันจัดงานวันนี้ เพื่อเป็นเวทีให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษา ได้ฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ผ่านโปรแกรม MonsoonSim

ดร. วรัญญู ศรีเชียงราย หัวหน้าหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) DPU และในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า CIBA จัดเวทีแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ครั้งที่ 2 เป็นเวทีที่ชวนน้อง ๆ ม.4-6, ปวช. 1-3 หรือเทียบเท่า มาร่วมเปิดประสบการณ์การทำธุรกิจ และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

ในปีนี้มีน้อง ๆ จากทั่วประเทศให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันมากถึง 38 ทีม โดยแบ่งออกเป็นทีมละ 3 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ใช้ทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ การใช้เหตุผล และการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะของการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ผ่านเกมจำลอง (Business Simulation) MonsoonSim ซึ่งเกมนี้เป็นการช่วยฝึกทักษะนักวางแผนโลกเสมือนที่สร้างความรู้ ความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ

“เกมจำลองนี้สามารถนำธุรกิจในโลกปัจจุบันมาให้น้อง ๆ ได้ฝึกคิด วิเคราะห์ดาต้า และวางแผนได้อย่างดี ทำให้เกิดการเรียนรู้ในกระบวนการซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ บริการต้นทุนอย่างไร และคู่แข่งขันเป็นใครบ้าง ซึ่งก็ได้ให้โจทย์ให้พัฒนาแผนกลยุทธ์เพื่อเจาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ดร. วรัญญู กล่าว

สำหรับการตัดสินใช้ตามเกณฑ์ชี้วัดทางธุรกิจ แบ่งเป็น Operation Expense, Space Utilization, Market Share, Revenue และ Net Profit โดยการแข่งขันเกม MonsoonSIM จะแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 100 คะแนน  รวมเป็น 200 คะแนน

โดยรางวัลชนะเลิศในปีนี้ได้แก่ ทีม Leppard โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 2, รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Blue Horizon โรงเรียนวารีเชียงใหม่, รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม BualoyMhoogrob โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี , รองชนะเลิศอันดับ 3 ทีม We Bare Bears โรงเรียนราชวินิต บางเขน กรุงเทพฯ

ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยได้แก่ ทีม FWB (friend with business) โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ , ทีม LIPTON โรงเรียนเทพศิรินทร์ จ.นนทบุรี และ ทีม SB school โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา จ.ชลบุรี

“การแข่งขันจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 มีความตั้งใจให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้โลกธุรกิจก่อน โดยไม่ต้องรอจนกว่าจะเรียนจบแล้วออกไปทำงาน วันนี้ทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันมีโอกาสใช้ทุกทักษะความรู้ด้านการตลาด การขาย และการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าผ่านเกมจำลอง (Business Simulation) MonsoonSim ซึ่งเป็นการบ่มเพาะความรู้ก่อนที่น้อง ๆ ได้เข้าเรียนในระดับปริญญาตรี”  ดร. วรัญญู กล่าว

 ด้านทีม Leppard ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ “โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน” ครั้งที่ 2 ประกอบด้วย นายธนัท น่วมอนงค์ (จ๊อบ) , นายภูณภัฑฐ จูฑะพุทธิ (ภู) และ นายรอนนี่ นริศ สตุดวิค (รอนนี่)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง IDIP (International Digital Innovation Program จาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

โดยผู้ชนะจากทีม Leppard ทั้ง 3 คน ร่วมกล่าวเปิดใจว่า “รวมทีมและเตรียมความพร้อมกันประมาณ 1 เดือนก่อนวันแข่งขันจริง และ เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นได้รับโจทย์ให้วางแผนการทำตลาดน้ำผลไม้ ทำตลาดในเอเชียก็เริ่มวางแผนกันในเกม พร้อมกับแบ่งหน้าที่กันทำงาน ได้แก่ การนำเข้าส่งออกสินค้า การกำหนดราคา และการตลาด จากนั้นก็ช่วยกันวิเคราะห์ และกำหนดกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมอีเวนท์ การปรับราคาในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการเลือกใช้มีเดีย ซึ่งจุดแข็งของทีมที่สามารถชนะในปีนี้ได้นั้น คิดว่าเป็นการวางแผนเพื่อลดต้นทุนและการกำหนดราคา  รวมทั้งการสื่อสารในทีมที่ทำกันได้ดี ตั้งใจว่าจะนำประสบการณ์ที่ได้รับในการร่วมแข่งขันนี้ไปใช้กับการทำธุรกิจในอนาคต”

โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีการศึกษา 2567 เป็นอีกหนึ่งเวทีพัฒนาทักษะและแผนงานธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมปรับตัวทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร

“การพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะการวางแผน วิเคราะห์ ตัดสินใจ และการสื่อสาร พร้อมรับกับความท้าทายใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี AI ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับการทำธุรกิจในอนาคต ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนการสอนของ CIBA ที่เปิดโอกาสของการเรียนรู้ และมีประสบการณ์จริงระหว่างการศึกษา เพื่อให้ได้ฝึกคิดกลยุทธ์ แล้วหาคำตอบผ่านเกมจำลอง เพื่อปูทางสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคต” ดร. วรัญญู กล่าวเสริมในตอนท้าย

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)  หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (MACC) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี (Ph.D. Accountancy) และหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA) ร่วมกันจัดโครงการ CEO Talks ครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก คุณชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chief Engagement Officer (CEO)  บริษัท Food Passion จำกัด หรือ ที่รู้จักกันในนามของแบรนด์ Bar-B-Q Plaza มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และประสบการณ์ ดำเนินรายการโดย ดร.กุลบุตร โกเมนกุล อาจารย์ หัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินการลงทุนและเทคโนโลยีทางการเงิน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี DPU   ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก และคณาจารย์เข้าร่วมฟังกว่า 200 คน

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวเปิดโครงการ โดยระบุถึงจุดประสงค์โครงการนี้ว่าเพื่อช่วยให้นักศึกษาฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการบริหารองค์กร และเรียนรู้วิธีการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพในองค์กร จาก CEO ตัวจริง   พร้อมเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและการดำเนินงานในสภาวะที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กร

ในช่วงแรกของการเสวนา คุณชาตยา ได้อธิบายถึง ความแตกต่างระหว่าง Chief Executive Officer (CEO) และ Chief Engagement Officer (CEO)  ว่าตำแหน่ง Chief Engagement Officer (CEO) เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีในองค์กรทั่วไป แต่มักจะปรากฏในบริษัทหรือองค์กรที่มีการใส่ใจกับการสร้างความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ขององค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนา และบริหารจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้า พนักงาน หรือสังคมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุข สร้างความพึงพอใจ และสนับสนุนการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตำแหน่งนี้

สำหรับตำแหน่ง CEO หรือ Chief Executive Officer ที่รู้จักกันทั่วไปนั้น เป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์กรหรือบริษัท มีความรับผิดชอบในการนำบริษัทและดำเนินธุรกิจองค์กรให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการกำหนดและดำเนินนโยบายกลยุทธ์ของบริษัท การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูงสุด มีอำนาจในการตัดสินใจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และรายงานตรงของกรรมการบริษัท (Board of Directors) หรือผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท

คุณชาตยา สุพรรณพงศ์  กล่าวต่อไปว่า  การเป็นผู้นำองค์กรที่ดี หรือ การจะเป็นนักบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จสามารถทำได้ด้วยการใช้กลยุทธ์ SML (Start with why, Mean it, Long-term Consideration) ซึ่งขยายความได้ดังนี้การเริ่มต้นด้วยที่ทำไม (Start with why) ใช้ในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเริ่มจากการสื่อสารในทีมงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องและนักลงทุน โดยการอธิบายให้เข้าใจถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่อยากให้บริษัทหรือองค์กรบรรลุผลในระยะยาว นี่คือที่มาและแรงจูงใจที่นำพาการดำเนินธุรกิจ อันจะให้คำตอบว่า "ทำไมเราต้องทำสิ่งนี้" เพื่อจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือกันในการสร้างความสำเร็จ

Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) หลังจากที่กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย ต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ การดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะทุกคนดูทุกๆการตัดสินใจและกิจกรรมที่เราตัดสินใจลงมือทำมัน

Long-term Consideration (พิจารณาถึงผลลัพธ์ระยะยาว) คือการวางแผนและดำเนินธุรกิจควรมุ่งหวังแบบมองระยะยาว โดยต้องกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานที่สนับสนุนเป้าหมายระยะยาวขององค์กร การคิดในแง่ระยะยาวช่วยให้มีการวางแผนและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

จากการปฏิบัติตามกลยุทธ์ SML แล้วนั้น จะช่วยให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้ โดยการเริ่มต้นจากที่ทำไม (Start with why) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน  และต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ด้วย ต่อด้วย Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) และ จบด้วยการยึดถือแผนระยะยาวเป็นหลักในการบริหารธุรกิจ (Long-term) เพื่อความยั่งยืนและความสำเร็จในอนาคต

สร้างมืออาชีพตอบโจทย์ตลาดแรงงาน พร้อมปั้น นศ. สู่ Influencer  สร้างรายได้ระหว่างเรียน

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click