December 22, 2024

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ขอแสดงความกังวลต่อผลการประชุม COP29 (หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29) ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังตัวแทนจากทุกประเทศได้ร่วมตกลง “เป้าหมายทางการเงินใหม่” (New Collective Quantified Goal on Climate Finance: NCQG) โดยมุ่งจัดสรรงบประมาณในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ตัวเลขเงินสนับสนุนที่ตั้งไว้กลับต่ำเกินกว่าที่จะใช้รับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

แม้จะเป็นเรื่องดีที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มทุนข้ามชาติ ได้ให้คำสัญญาว่าจะสนับสนุนเงิน จำนวน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ตัวเลขนี้ดูห่างไกลจาก 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจำเป็นต่อการบรรเทาผลกระทบที่รุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อปกป้องชุมชนที่เปราะบาง สัตว์ป่า และหยุดยั้งความทุกข์ทรมานของสัตว์ที่อยู่ในระบบอุตสาหกรรมอาหาร

เคลลี่ เดนต์ ผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายความร่วมมือ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ซึ่งเข้าร่วมการประชุม COP29 กล่าวว่า "COP29 จะถูกจดจำว่าเป็น ‘การเลี่ยงจากความรับผิดชอบทางการเงินครั้งใหญ่’ หลังการเจรจาอย่างดุเดือดตลอดสองสัปดาห์ บรรยากาศเต็มไปด้วยความพยายามที่จะประวิงเวลา และลดทอนความตั้งใจจริงของการแก้ไขปัญหา ในที่สุดประเทศที่ร่ำรวยได้เลี่ยงความรับผิดชอบอีกครั้ง โดยเสนองบประมาณเพียงเล็กน้อย ในขณะที่โลกกำลังลุกเป็นไฟ พลเมืองโลกและสัตว์นับล้านกำลังทนทุกข์"

"นี่ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษาเป้าหมายเพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา แต่ยังเป็นเรื่องของความยุติธรรมต่อผู้ผลิตอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงประชากรโลก แต่พวกเขากลับถูกทอดทิ้งให้แบกรับกับผลกระทบตามลำพัง นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของระบบนิเวศที่ใกล้ล่มสลาย และสัตว์นับพันล้านที่ต้องทนทุกข์ในระบบอุตสาหกรรมอาหารที่ขับเคลื่อนด้วยกำไร และทำลายสภาพภูมิอากาศไปพร้อมๆ กัน"

"แทนที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แต่เรากลับได้เพียงการแสดงเชิงสัญลักษณ์ที่แสร้งทำว่าเป็นทางออก ในขณะที่วิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพทวีความรุนแรงขึ้น ที่อยู่อาศัยถูกทำลาย สัตว์จำนวนมากต้องทุกข์ทรมาน และชุมชนทั้งหมดถูกทิ้งไว้ให้เผชิญกับผลกระทบที่รุนแรงขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ"

ความล้มเหลวของการจัดการแก้ปัญหาที่ต้นตอ – การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการผลิตอาหารโลกยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ COP29 กลับไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาในส่วนนี้ เกษตรเชิงอุตสาหกรรม—โดยเฉพาะฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรม—เป็นต้นตอของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำลายที่อยู่อาศัย ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร และทำให้สัตว์ฟาร์มได้รับความทุกข์ทรมาน

เคลลี่ เดนต์ เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังว่า "เราไม่สามารถสนับสนุนระบบที่ทำลายสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และความทุกข์ยากของประชากรโลกได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นแนวทางด้านการเกษตรที่ยั่งยืน มีมนุษยธรรม และเท่าเทียมต้องเข้ามาแทนที่เกษตรเชิงอุตสาหกรรม ทางออกนี้ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ยังช่วยยุติความทุกข์ทรมานของสัตว์นับพันล้านตัวที่อยู่ในฟาร์มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่"

‘บรรษัทเกษตร’ เข้าครอบงำการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศ

แม้ว่าแนวคิด Harmoniya Climate (โครงการที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรและชุมชนชนบท โดยส่งเสริมระบบการเกษตรที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ) ที่เปิดตัวใน COP29 จะดูเป็นแนวคิดที่ดี แต่ในทางปฏิบัติ อาจได้รับอิทธิพลจากกลุ่มธุรกิจการเกษตร

"เสียงจากผู้ผลิตรายย่อย—หรือกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญต่อระบบอาหารที่ยั่งยืน—เวลานี้ ถูกกลบด้วยบรรดาล็อบบี้ยิสต์ของระบบอุตสาหกรรมที่ปกป้องผลกำไรเหนือผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม UNFCCC ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพื่อลดอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจการเกษตร หากต้องการกู้ความน่าเชื่อถือก่อนการประชุมครั้งถัดไปของ COP30 ที่เมืองเบเล็ง ประเทศบราซิล" เคลลี่ เดนต์ กล่าวถึงบทบาทของล็อบบี้ยิสต์ในอุตสาหกรรมนี้

ผลกระทบต่อประเทศไทยและก้าวสำคัญต่อการปฏิรูประบบอาหาร

ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลกสูงถึงอันดับ 9 จากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นเราจึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐของไทยให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม

ผลกระทบจากการขยายตัวของฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรมเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ และปัญหาหมอกควัน PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นในหน้าแล้ง และทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ล้วนมีสาเหตุสำคัญมาจากธุรกิจอาหารสัตว์ที่ขยายตัวในประเทศและภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อการสูญเสียพื้นที่ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลให้ภัยพิบัติที่เกิดถี่และรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

โชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญระบบอาหาร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (ประเทศไทย) กล่าวว่า“ไทยจะไม่สามารถเป็นครัวของโลกได้ และอาจไม่สามารถเป็นครัวให้กับคนไทยเองได้ด้วยซ้ำ หากเราปล่อยให้ระบบอาหารที่พึ่งพิงความเป็นอุตสาหกรรมขยายตัวต่อไปเช่นนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการเกษตรของเรา มีรายงานและหลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่พิสูจน์ให้เราเห็นชัดแล้วว่า เราจำเป็นต้องเริ่มปรับเปลี่ยนระบบอาหารโดยด่วน”

องค์กรพิทักษ์สัตว์โลกจะยังคงผลักดันการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมไป สู่ระบบอาหารที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของคน ปกป้องสัตว์ และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกชีวิตบนโลก

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567: 51Talk (ไฟฟ์วันทอล์ก) แพลตฟอร์มหลักสูตรการศึกษาภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับเยาวชนระดับโลก ครอบคลุมการให้บริการมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 40 ล้านคน ส่งนักเรียนดาวเด่นจากสี่ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย และไทย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานครั้งสำคัญระดับโลกอย่างการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29 (the United Nations Climate Change Conference) หรือ COP29 ระหว่างวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2567 ที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน พร้อมเปิดโอกาสให้ทัศนศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมงาน โดยการประชุมที่จัดขึ้นนี้มีผู้นำและตัวแทนจากทั่วโลกมากมายมาร่วมเสวนาเพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

ธาร ธีรภาสิริ หรือ มียู วัย 12 ปี ตัวแทนของ 51Talk ประเทศไทย เป็นผู้ชนะจากโครงการ “เสียงเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนโลก LITTLE VOICE FOR A BETTER WORLD: 51Talk English Speech Contest 2024 For UN Climate Change Conference" ที่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยอายุระหว่าง 6-12 ปี ได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในที่สาธารณะ ส่งเสริมความมั่นใจ และกล้าแสดงออกทางความคิดเห็น นำไปสู่การเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ที่เชื่อมต่อกับผู้คนทั้งโลก โดยธารได้ถ่ายทอดวิธีแก้ปัญหาของตนเองเพื่อช่วยลดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงผลลัพธ์ของการเริ่มจากตนเองว่าจะช่วยเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้อย่างไร

ภายในงาน COP29 นักเรียนที่มีศักยภาพโดดเด่นของ 51Talk จากจีน ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย และไทย ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนเยาวชนขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีองค์การสหประชาชาติ ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะอุทิศตนเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งปัจจุบันและอนาคต ปัญหาหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงรณรงค์สร้างสำนึกรับผิดชอบร่วมกันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งในการรวมพลังสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสืบไป

ธาร เยาวชนชาวไทยหนึ่งเดียวได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีระดับโลก COP29 ว่า “ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีจุดร่วมกันอย่างหนึ่งคือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ หากเราทำลายโลกได้ เราก็รักษาโลกได้เช่นกัน ธารจึงขอเสนอแนวทาง SEEDS โดย S ย่อมาจาก Save หมายถึง การพยายามประหยัดให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ หรือไฟฟ้า เช่น ปิดไฟและเครื่องปรับอากาศทุกครั้งก่อนออกจากห้อง E ย่อมาจาก Earth ให้คิดถึงโลกทุกครั้งเมื่อก้าวเดิน ควรมีการใช้ซ้ำ ลดการใช้ นำกลับมาใช้ใหม่ และปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ E ย่อมาจาก Encourage เป็นการบอกต่อและสนับสนุนให้คนอื่น ๆ ช่วยกันดูแลโลก D ย่อมาจาก Don’t Wait เพราะปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วน ทุกคนลงมือทำได้ทันที และ S ย่อมาจาก Sustainability เช่น เลือกใช้พลังงานทดแทน เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แยกขยะนำไปรีไซเคิล เป็นต้น เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบได้อย่างยั่งยืน แม้ SEEDS จะเป็นการกระทำเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่หากช่วยกันปลูกคนละไม้คนละมือมันจะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่คอยปกป้องเราและพาเราไปสู่โลกที่ดีกว่า”

นอกจากเข้าร่วมเวทีใหญ่ของสหประชาชาติแล้ว ธารยังได้รับเชิญให้แสดงทรรศนะด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้หัวข้อ “Youth Leadership in Climate Action” ณ Thailand Pavilion จัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อีกด้วย

นับแต่ปี 2562 เป็นต้นมา 51Talk ได้สนับสนุนให้เยาวชนเข้าร่วมงานของสหประชาชาติผ่านการกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีที่ได้รวบรวมผู้มีความรู้และประสบการณ์ไว้อย่างคับคั่ง ด้วยทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน 51Talk ที่เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์และพรแสวง ทำให้สามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ ตรงประเด็น ทั้งยังมีเสน่ห์เฉพาะตัว จึงสร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน COP29 ได้อย่างไร้ข้อกังขา เป็นนิมิตหมายอันดีว่าเยาวชนเหล่านี้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมอย่างลึกซึ้ง และสามารถนำความเข้าใจไปต่อยอดให้เป็นรูปธรรมได้

นอกจากนี้ 51Talk ได้จัดกิจกรรมล่าลายเซ็น “Our planet, Our responsibility. We speak for the world!” กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน โดย กนกพร สิมะพิเชฐ เจ้าของเพจ 2madames อีกทั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ตัดสินโครงการ “เสียงเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนโลก LITTLE VOICE FOR A BETTER WORLD” พร้อมครอบครัวได้เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมกับเหล่าเยาวชนในงาน COP29 ครั้งนี้

ไม่เพียงเป็นแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์เท่านั้น โครงการของ 51Talk ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ เห็นประโยชน์ของการฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อนำไปใช้ได้จริง ส่งต่อความกระตือรือร้นที่จะสื่อสารกับผู้คนต่างชาติต่างภาษา โดยแพลตฟอร์ม 51Talk ได้มีการพัฒนาและออกแบบหลักสูตรให้เหมาะกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน จึงมั่นใจได้ว่าทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนจะได้รับการยกระดับขึ้นแน่นอน พิสูจน์ได้จากการส่งเยาวชนเข้าร่วมเวทีระดับโลกของสหประชาชาติที่ผ่านมา

 

เอมิลี่ หลี่ ผู้จัดการทั่วไป 51Talk Thailand กล่าวว่า “ที่ 51Talk เราเชื่อมั่นว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถค้นพบศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ เรารู้สึกดีใจและขอบคุณผู้ปกครองทุกท่านที่ให้การสนับสนุนเด็ก ๆ เข้าเรียนภาษาอังกฤษกับ 51Talk รวมทั้งให้เด็ก ๆ ได้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อสั่งสมประสบการณ์และรับโอกาสที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการของสหประชาชาติในปีนี้ หัวข้อเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับอนาคตของเราทุกคนทั่วโลก เราเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ที่ประเทศไทย หรือบนเวที

ระดับโลกอย่าง COP29 จะช่วยให้นักเรียนของเราทุกคนได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเรียนและการแข่งขันกลับไป ทีม 51Talk ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันที่จะสนับสนุนให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษของตนเอง และการคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะอย่างมีเหตุผล และได้เป็นหนึ่งในกระบอกเสียงเพื่อส่งสัญญาณให้คนมากมายได้รับรู้ถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต”

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 51Talk ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเปิดโลกกว้างไปกับเรา ทดลองเรียนแบบตัวต่อตัวกับครูผู้สอนชาวต่างชาติฟรีได้แล้วตั้งแต่วันนี้ที่เว็บไซต์ 51Talk Thailand หรือกด https://wap.51talk.com/landing/unonlinecampaign.html ได้เลย

กรุงเทพฯ (20 พฤศจิกายน 2567) – นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย (ที่ 2 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ESG ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม COP29 โดยนายพูนสิทธิ์ได้เผยต้นแบบสินเชื่อธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Krungsri SME Transition Loan) ณ เวที Thailand Pavilion ภายใต้หัวข้อ “Financing the Transition: Empowering SMEs and Sustainable Development through Green and Blue Financing” เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ เพื่อเดินหน้าในการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมาย Net Zero

การประชุม COP29 หรือการประชุมสุดยอดรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 จัดขึ้น ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยเป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนจำนวนกว่า 50,000 คน เข้าร่วมหารือถึงแนวทางการจัดการและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสภาวะโลกร้อนในอนาคต โดยงานประชุมในปีนี้ได้มุ่งเน้นไปที่การจัดทำเป้าหมายทางการเงินครั้งใหม่เพื่อให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้พันธสัญญาด้านความเป็นธรรมและความเท่าเทียมด้านสภาพภูมิอากาศ

X

Right Click

No right click