กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เดินหน้าโครงการต้านโลกร้อนและส่งเสริมวงจรรีไรเซิลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ Low Emission Support Scheme (LESS) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน สะท้อนความมุ่งมั่นในการสร้างระบบนิเวศของการจัดการขยะและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน ก้าวสู่องค์กรที่จะลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และสร้างมูลค่าพลาสติกใช้แล้วให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573
โครงการต้านโลกร้อนและส่งเสริมวงจรรีไรเซิลที่ได้รับการรับรองจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ ได้แก่ 1. โครงการศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร (บ้านฉาง MRF) 2. โครงการปรับเปลี่ยนรถตู้โดยสารภายในบริษัทจากยานพาหนะเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานพาหนะไฟฟ้า 3. โครงการ “เก็บ...เซฟ...โลก” ในป่าชายเลนและวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล และ 4. โครงการจัดการขยะรีไซเคิลภายในบริษัทฯ รวมช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 140 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
สำหรับศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร (บ้านฉาง MRF) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะพลาสติกและวัสดุรีไซเคิลในชุมชนบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยเป็นต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยสำหรับการคัดแยกและยกระดับคุณภาพวัสดุรีไซเคิลเหลือใช้ในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีฝีมือคนไทย สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิล โดยมีการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ตั้งเป้าแก้ปัญหาพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลในหลุมฝังกลบเพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลในแต่ละปีกว่า 1,000 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 2,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
นอกจากนี้ Dow ยังได้ปรับเปลี่ยนรถตู้โดยสารภายในบริษัทฯ จากยานพาหนะเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เป็นยานพาหนะไฟฟ้าด้วยจำนวนที่นั่งเท่าเดิมและรับส่งพนักงานได้ครบถ้วนในระยะทางเท่ากัน โดยตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าพลังงานเชื้อเพลิงได้กว่า 102,000 บาทแล้ว ยังลดมลพิษทางอากาศ เสียงรบกวน ก๊าซเรือนกระจกได้อีกกว่า 9 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และยังคงดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
นายเอกสิทธิ์ ลัคนานิธิพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายธุรกิจร่วมทุน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “การได้รับรางวัลในครั้งนี้เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเรา ในการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ทั้งในและนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เราเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไม่เพียงแต่สร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ แต่ยังส่งผลดีต่อชุมชนและประเทศชาติ การลดปริมาณขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับชุมชน นอกจากนี้ การสร้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่ยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เราจะยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป”
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ยังได้รับการรางวัลต่าง ๆ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อย่างต่อเนื่อง อาทิ การรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products) ฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction) คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) รวมถึงการแต่งตั้งบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิของบริษัทฯ ให้เป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการที่ได้รับการรับรองจาก อบก. ในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในหรือก่อนปี ค.ศ. 2065 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Dow ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก หรือ Packaging Innovation Awards (PIA) ครั้งที่ 35 โดยมีบรรจุภัณฑ์จากบริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้รับรางวัลแพลตินัม (Platinum award winner) ซึ่งผลงานทั้งหมดที่ได้รับรางวัลถูกจัดแสดงสู่สายตาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบ และผู้ที่สนใจด้านบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบเทรนด์โลกปัจจุบันกว่า 300,000 คน เมื่อวันที่ 23-25 ตุลาคมที่ผ่านมาในงานเเสดงสินค้าบรรจุภัณฑ์นานาชาติโตเกียว (Tokyo Pack 2024)
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก 18 ท่าน ที่มีความรู้กว้างขวางในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ได้ประชุมคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้ายกันที่กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นในเอเชียเป็นครั้งแรก ด้วยจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวดกว่า 300 ผลงานจากทั่วโลก จากนั้นได้คัดเลือกผู้ชนะ 28 รายที่มีความโดดเด่นใน 3 หลักเกณฑ์สำคัญ ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แสดงออกถึงความรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค โดยได้จัดพิธีมอบรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการนานาชาติโตเกียว Tokyo Big Sight
บริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้คิดค้นผลงาน “กล่องบรรจุภัณฑ์ของ Macada สำหรับถั่วแมคคาเดเมีย” ที่ออกแบบครอบคลุมการใช้งานตามหลัก Universal Design (การออกแบบเพื่อทุกคน) โดยมีการเพิ่มตัวอักษรเบรลล์ที่จุดเปิดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา และใช้ซิปเปอร์เพื่อให้ผู้สูงอายุและทุกคนสามารถเปิดกล่องได้ง่ายขึ้น แผงด้านหน้าสามารถขยายได้เพื่อใช้เป็นภาชนะทิ้งเปลือกแมคคาเดเมีย บรรจุภัณฑ์มีการซีลสุญญากาศจึงช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า กล่องทำจากกระดาษที่รีไซเคิลได้ 100% สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ใช้หมึกถั่วเหลืองในการพิมพ์ซึ่งปลอดภัยต่ออาหาร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เป็นผู้ประกอบการไทยรายเดียวที่ได้รับรางวัลแพลตินัม (Platinum award winner) ในปีนี้
นางคาเรน เอส คาร์เตอร์ ประธานฝ่ายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวว่า “ผลงานในปีนี้สะท้อนถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมและความสำเร็จที่สะสมมาจากการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในระดับโลก ผลงานที่ได้รับรางวัลมีความหลากหลายและยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นวัสดุขั้นสูงที่ยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการออกแบบที่ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมหาศาล นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของอุตสาหกรรมในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รางวัลนี้ไม่เพียงเฉลิมฉลองความสำเร็จในปัจจุบัน แต่ยังเป็นเวทีสำหรับความก้าวหน้าในอนาคตในวงการบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก”
นายบัมบัง จันดรา รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยบทบาทของเอเชียในฐานะศูนย์กลางการผลิตของโลก การจัดงานมอบรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรกถือเป็นก้าวสำคัญ และได้รับการตอบสนองอย่างดีเยี่ยมจากภาคอุตสาหกรรมด้วยผลงานที่ส่งเข้าประกวดเกือบครึ่งหนึ่งมาจากเอเชีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคนี้ในการกำหนดอนาคตของบรรจุภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมในวัสดุศาสตร์ การคิดเชิงออกแบบ และความยั่งยืน”
นายเดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์ ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล PIA ครั้งที่ 35 และผู้อำนวยการด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท มินเทล จำกัด กล่าวเสริมว่า “หลังจากนั่งเป็นกรรมการตัดสินมานานกว่าสิบปี สิ่งที่น่ายินดีที่สุดคือการได้เห็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการมอบรางวัลให้กับผลงานใหม่ต่าง ๆ อย่างเช่นรางวัลพิเศษสำหรับตลาดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการบุกเบิกบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุเพียงชนิดเดียวเพื่อให้รีไซเคิลได้ (mono-material) นี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงภูมิทัศน์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าไอเดียใหม่ ๆ สามารถกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมลูกค้าของเราได้จริง ๆ”
ท่านสามารถดูรายละเอียดผลงานผู้ชนะรางวัลเพิ่มเติมได้ที่นี่ โดยรายชื่อผู้ได้รับรางวัล 28 ทีม ประกอบด้วย
ผู้ชนะรางวัลไดมอนด์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลแพลตินัม:
รายชื่อผู้ได้รางวัลโกลด์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลซิลเวอร์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลพิเศษ:
Dow ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก หรือ Packaging Innovation Awards (PIA) ครั้งที่ 35 โดยมีบรรจุภัณฑ์จากบริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้รับรางวัลแพลตินัม (Platinum award winner) ซึ่งผลงานทั้งหมดที่ได้รับรางวัลถูกจัดแสดงสู่สายตาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบ และผู้ที่สนใจด้านบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบเทรนด์โลกปัจจุบันกว่า 300,000 คน เมื่อวันที่ 23-25 ตุลาคมที่ผ่านมาในงานเเสดงสินค้าบรรจุภัณฑ์นานาชาติโตเกียว (Tokyo Pack 2024)
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก 18 ท่าน ที่มีความรู้กว้างขวางในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ได้ประชุมคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้ายกันที่กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นในเอเชียเป็นครั้งแรก ด้วยจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวดกว่า 300 ผลงานจากทั่วโลก จากนั้นได้คัดเลือกผู้ชนะ 28 รายที่มีความโดดเด่นใน 3 หลักเกณฑ์สำคัญ ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แสดงออกถึงความรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค โดยได้จัดพิธีมอบรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการนานาชาติโตเกียว Tokyo Big Sight
บริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้คิดค้นผลงาน “กล่องบรรจุภัณฑ์ของ Macada สำหรับถั่วแมคคาเดเมีย” ที่ออกแบบครอบคลุมการใช้งานตามหลัก Universal Design (การออกแบบเพื่อทุกคน) โดยมีการเพิ่มตัวอักษรเบรลล์ที่จุดเปิดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา และใช้ซิปเปอร์เพื่อให้ผู้สูงอายุและทุกคนสามารถเปิดกล่องได้ง่ายขึ้น แผงด้านหน้าสามารถขยายได้เพื่อใช้เป็นภาชนะทิ้งเปลือกแมคคาเดเมีย บรรจุภัณฑ์มีการซีลสุญญากาศจึงช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า กล่องทำจากกระดาษที่รีไซเคิลได้ 100% สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ใช้หมึกถั่วเหลืองในการพิมพ์ซึ่งปลอดภัยต่ออาหาร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เป็นผู้ประกอบการไทยรายเดียวที่ได้รับรางวัลแพลตินัม (Platinum award winner) ในปีนี้
นางคาเรน เอส คาร์เตอร์ ประธานฝ่ายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวว่า “ผลงานในปีนี้สะท้อนถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมและความสำเร็จที่สะสมมาจากการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในระดับโลก ผลงานที่ได้รับรางวัลมีความหลากหลายและยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นวัสดุขั้นสูงที่ยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการออกแบบที่ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมหาศาล นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของอุตสาหกรรมในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รางวัลนี้ไม่เพียงเฉลิมฉลองความสำเร็จในปัจจุบัน แต่ยังเป็นเวทีสำหรับความก้าวหน้าในอนาคตในวงการบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก”
นายบัมบัง จันดรา รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยบทบาทของเอเชียในฐานะศูนย์กลางการผลิตของโลก การจัดงานมอบรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรกถือเป็นก้าวสำคัญ และได้รับการตอบสนองอย่างดีเยี่ยมจากภาคอุตสาหกรรมด้วยผลงานที่ส่งเข้าประกวดเกือบครึ่งหนึ่งมาจากเอเชีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคนี้ในการกำหนดอนาคตของบรรจุภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมในวัสดุศาสตร์ การคิดเชิงออกแบบ และความยั่งยืน”
นายเดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์ ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล PIA ครั้งที่ 35 และผู้อำนวยการด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท มินเทล จำกัด กล่าวเสริมว่า “หลังจากนั่งเป็นกรรมการตัดสินมานานกว่าสิบปี สิ่งที่น่ายินดีที่สุดคือการได้เห็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการมอบรางวัลให้กับผลงานใหม่ต่าง ๆ อย่างเช่นรางวัลพิเศษสำหรับตลาดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการบุกเบิกบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุเพียงชนิดเดียวเพื่อให้รีไซเคิลได้ (mono-material) นี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงภูมิทัศน์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าไอเดียใหม่ ๆ สามารถกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมลูกค้าของเราได้จริง ๆ”
ท่านสามารถดูรายละเอียดผลงานผู้ชนะรางวัลเพิ่มเติมได้ที่นี่ โดยรายชื่อผู้ได้รับรางวัล 28 ทีม ประกอบด้วย
ผู้ชนะรางวัลไดมอนด์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลแพลตินัม:
รายชื่อผู้ได้รางวัลโกลด์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลซิลเวอร์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลพิเศษ:
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ประกาศเปิดตัวรายงานความยั่งยืนปี พ.ศ. 2566 โดยเปิดเผยถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทย รวมทั้งการกำกับดูแลองค์กรที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนระดับโลกของ Dow โดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทยผ่านตัวอย่างที่มีความสำเร็จเป็นรูปธรรม
“รายงานความยั่งยืนฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงการทำงานอย่างจริงจังของเราในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ ผ่านความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการทำงานเชิงกลยุทธ์ร่วมกับพันธมิตร” นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าว
รายงานนี้ครอบคลุมโครงการสำคัญหลายด้านที่ Dow ดำเนินงานในประเทศไทย เช่น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานจนได้รับการรับรอง Great Place to Work การขับเคลื่อนความยั่งยืน การส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมในชุมชน รวมถึงการรักษามาตรฐานการทำงานที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://th.dow.com/en-us/news/reports.html
บริษัท ดาว (Dow) ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก หรือ Packaging Innovation Awards (PIA) ครั้งที่ 35 โดยมีบรรจุภัณฑ์จากบริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้เข้ารอบสุดท้าย และจะประกาศผลผู้ชนะที่งานโตเกียว แพ็ค (Tokyo Pack) ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้
รางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลกนี้ เป็นหนึ่งในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมานานกว่า 30 ปี โดยเป็นรางวัลที่มีการตัดสินอย่างอิสระเนื่องจากผู้สนับสนุนการประกวดไม่ได้เข้าร่วมการตัดสินและไม่มีอิทธิพลต่อคณะกรรมการแต่อย่างใด
ผู้เข้ารอบสุดท้ายได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก 18 ท่านจากสาขาวิชาต่างๆ เช่น การวางแผนธุรกิจและกลยุทธ์ การออกแบบ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา ความยั่งยืน และการศึกษา นอกจากนี้คณะกรรมการยังมีความรู้กว้างขวางในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การตลาดและการสร้างแบรนด์ การค้าปลีก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ วิศวกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยในปีนี้การตัดสินผู้เข้ารอบเกิดขึ้นในเอเชียเป็นครั้งแรกที่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่กรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีเกณฑ์ที่สำคัญประกอบด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน และ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค
“ปีนี้ รางวัล Packaging Innovation Awards มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ถึง 300 ชิ้นงานจากทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าเกือบสองเท่าจากครั้งก่อน โดยผู้เข้าร่วมได้ยกระดับมาตรฐานการแข่งขันโดยเน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรม” นางดาเนียลล่า ซูซา มิรันดา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท Dow กล่าว
รายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายมีดังนี้
การประกาศผลนวัตกรรมรอบชิงชนะเลิศจะเกิดขึ้นวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ในงาน Tokyo Pack ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยผลงานทั้งหมดจะถูกจัดแสดงในงานตั้งแต่วันที่ 23-25 ตุลาคม ปีนี้ หรือติดตามผลการตัดสินได้ที่เฟสบุ๊ค Dow Thailand