SCB EIC เตรียมปรับลดมุมมองมูลค่าส่งออกไทยปี 2023 มูลค่าส่งออกสินค้าไทยเดือน ก.ค. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10

SCB CIO คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแบบSoft landing จากเงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่อง แม้อีก 1-2 ปีถึงจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%มองในปี 2567–2568 เฟดจะลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. มาอยู่ที่ 3.4% พร้อมแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้High Yield โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์จีนจากภาวะหนี้สินสูงและการฟื้นตัวช้า ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นและเวียดนามเป็น Neutral และยังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทยหลังความชัดเจนทางการเมืองมีมากขึ้น

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากเดิมที่มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในช่วงปี 2568 แต่ด้วยตลาดแรงงานโดยเฉพาะในภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปี 2566-2567 มีการชะลอตัวแบบจัดการได้ โดยจากประมาณการล่าสุดของ Fed (มิ.ย. 2566) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2566-2568 จะเติบโต 1.0% , 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเติบโตในระยะยาวเฉลี่ยที่ 1.8%

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจแบบ Soft landing บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงช้า ทำให้การลดดอกเบี้ยของ Fed ในรอบนี้จะมีลักษณะค่อยๆ ลดลง (small and slow rate cuts) และน้อยกว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งก่อนๆ โดย Fed คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. ในปี 2567-2568 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ปลายปี 2568 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed ยังอยู่ในระดับสูงถึง 3.4% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับนี้ในช่วงการลดดอกเบี้ยของFedครั้งสุดท้ายเกิดขี้นในปี2551 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอมากกว่าคาด น่าจะเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ย เช่น จีนและเวียดนามหรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ย เช่น ไทย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างระหว่างสหรัฐฯ และประเทศ Emerging ยังคงอยู่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนที่มีการก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession คือภาวะภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง ราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้าหรือปรับลดลงบวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมาใช้จ่ายบริโภคและลงทุนรวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติม แต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 และล่าสุดจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดเริ่มมีความกังวลในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 ภาคการธนาคารของจีนในปัจจุบันยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงกว่า รวมถึง ราคาสินทรัพย์ของจีนโดยเฉพาะราคาบ้านแม้ฟื้นตัวช้าแต่ไม่ได้ประสบปัญหาราคาร่วงลงรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น

ดร.กำพล กล่าวว่า จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Soft landing ทำให้เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive หรือทยอยสะสมได้ แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield หรือ HY) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน เนื่องจาก เราเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2567 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่ม HY ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาด โดยยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่มีผลประกอบการและกำไรที่ดีกว่าคาดหรือลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นหุ้นของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ในNasdaq 100 ตามมาด้วย S&P500 โดยรวมจะดีกว่าหุ้นกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก ใน Russell 2000 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยอดขายสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย แต่ผลกำไรยังเติบโตตามอานิสงส์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยวและค่าเงินเยนอ่อนค่า นอกจากจะเติบโตได้มากแล้ว ยังทำได้ดีกว่าคาดอีกด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป EuroStoxx600 มียอดขายและกำไรหดตัว ตลาดหุ้นเวียดนาม กำไรจากยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทยังคงฟื้นตัวช้า แต่แย่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และตลาดหุ้นไทย ยอดขายและผลประกอบการหดตัวและต่ำกว่าคาด แรงฉุดหลักมาจากกลุ่มพลังงาน สินค้าบริโภค และอสังหาริมทรัพย์

SCB CIO มองว่า ความตึงตัวของ Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มปรับลดลงโดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯกลุ่มTech ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นทนทานความผันผวน (Defensive) ไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันเราได้ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral (หยุดขายหรือถือไว้) หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบายการควบคุมการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ในระยะถัดไปยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าการปฏิรูปตลาดหุ้นญี่ปุ่นเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัท

นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง ปรับมุมมองหุ้นเวียดนามเป็น Neutral (หลัง Valuation ปรับความตึงตัวลงและงบออกมาแย่น้อยกว่าคาด) สำหรับหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมองเป็น Neutral แม้ Valuation จะถูกลงค่อนข้างมาก แต่ความกังวลประเด็นหุ้นกลุ่มธนาคาร ( 18% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) ที่ผลประกอบการอาจถูกกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Tech (37% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) จากความเสี่ยงด้าน Tech war ที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์, SCG พร้อมด้วย PMAT และ SCB เปิดนิทรรศการ “สติ Space” ในบรรยากาศ Art Space นิทรรศการที่รวบรวมกิจกรรม การชมภาพยนตร์ เสวนา และ มุมพักผ่อนหย่อนใจ ให้กลับมารู้ตัว รู้ใจ ด้วยการสื่อสารผ่านจุดเริ่มต้นวิธีพักใจ เพื่อให้คนทํางาน ได้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ด้วยการสร้างการมีสติ (mindfulness) ให้กับกลุ่มคนออฟฟิศ โดยไม่ต้องอิงกับศาสนาเป็นหลัก เริ่มจากการสร้างการรับรู้การมีสติในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมให้มีความสุขได้บนโต๊ะทำงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้อํานวยการหอจดหมายเหตุพุทธธาตุอินทปัญโญ เล่าถึงที่มา บทบาท การดำเนินงาน และวัตถุประสงค์ โดยใจความว่า “จากก้าวแรกที่ท่านอาจารย์พุทธทาสสร้างสวนโมกข์ สร้างโรงหนัง (โรงมหรสพทางจิตวิญญาณ, Holly Land) ที่ไชยา กระทั่งมีหอจดหมายเหตุพุทธทาส (สวนโมกข์กรุงเทพ) ที่สวนรถไฟ ซึ่งเปิดให้คนเข้าไปใช้พื้นที่นั้น เรามองว่าการจัดพื้นที่เพื่อให้คนเดินทางไปยังพื้นที่อาจไม่เพียงพอสำหรับยุคนี้ ถึงเวลาที่จะต้องนำองค์ความรู้ออกมาเสิร์ฟให้ถึงที่ที่เขาอยู่ด้วย และมองว่ากลุ่มคนทำงานออฟฟิศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของสังคม สติ space จึงเลือกสื่อสารแก่กลุ่มนี้เป็นเบื้องต้น”

นายอนุวัฒน์ จงยินดี ที่ปรึกษา คณะกรรมการมูลนิธิเอสซีจี ตัวแทนมูลนิธิ SCG ผู้สนับสนุนห้อง New Gen Space สำหรับจัดนิทรรศการในครั้งนี้ กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการว่า “มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส มีความร่วมมือช่วยเหลือกันมาโดยตลอด นับตั้งแต่แรกก่อตั้ง สำหรับพื้นที่แสดงนิทรรศการนี้ มูลนิธิเอสซีจีเช่าไว้เพื่อให้ ศิลปิน บุคคล ฯลฯ ใช้แสดงงานอยู่แล้ว ซึ่ง “สติ space” เป็นนิทรรศการที่สอดคล้องกับแนวทางของห้อง New Gen Space, การสร้างสติใช้ได้กับทุกเรื่อง มีสติ พอเพียง คิด พูด ทำ ถูกต้อง ฯลฯ มูลนิธิเอสซีจีเห็นประโยชน์ ความสำคัญ และสนับสนุน หวังว่าคนออฟฟิศและผู้สนใจจะเข้ามาใช้และได้รับประโยชน์”

นายปราโมทย์ บุญนำสุข ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย และยุทธศาสตร์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า “ในแต่ละปีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะให้ทุนแก่องค์กรพัฒนาสื่อ เพื่อประชาชนจะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและอยู่ในระบบนิเวศสื่อที่ดี ซึ่งหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับทุนประเภท Collaborative Grant โดยปีแรก ทำรายการ “ทำอะไรก็ธรรม” และปีนี้เป็นครั้งที่สองในการจัดนิทรรศการ “สติ space” ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ ปรุงแต่งให้เข้ากับรสนิยมคนรุ่นใหม่ ให้กล้ามาชิมลองโดยไม่เคอะเขิน”

นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Country CEO บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศ) จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสามย่านมิตรทาวน์ กล่าวว่า “ตอนแรกที่ทีมเข้ามาพูดคุย มองในมุมธุรกิจก็ได้ตั้งคำถามไปหลายข้อ ซึ่งวันนี้ดีใจที่ได้เห็นนิทรรศการ พร้อมตอบรับให้ใช้พื้นที่ เช่น สามย่านมิตรทาวน์ เป็นพื้นที่นำร่อง หากนึกถึงวัยรุ่นก็ต้องนึกถึงสามย่านมิตรทาวน์ พื้นที่แห่งการเรียนรู้ 24 ชม, สำนักงาน, คอนโดมิเนียม บริษัทเฟรเซอร์ฯ มีความมุ่งหมายที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดี เพื่อความรู้สึกที่ดี และคิดว่า “สติ space” จะเป็นนิทรรศการที่ช่วยทำให้ใจของทุกคนได้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน”

นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล ผู้บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธุรกิจธนาคารมีการแข่งขันสูงมาก ทำอย่างไรให้พนักงานมีความสุขขึ้นได้บ้าง จากเดิมเราเคยมีชมรมจริยธรรม มีจัดคอร์สภาวนา มีนิมนต์พระมา ฯลฯ สิบปีผ่านไปก็ยังเหมือนๆ เดิม พอได้ฟังเรื่ององค์กรรมณีย์ก็สนใจ เรื่อง สติ Mindfulness ก่อนอื่นหัวหน้าต้องมีสติก่อน จึงจะทำองค์กรให้มีสติได้, ฉันทะสำคัญมาก อีกอันคือวิริยะ และต้องมีสภาพแวดล้อมที่สามารถดึงให้กลับมามีสติ ความสำเร็จไม่ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด”

“สติ space” interactive exhibition ที่นำ “สติ” มาเป็นเครื่องมือดูแลกลุ่มคนวัยทำงาน นิทรรศการจำลองบรรยากาศสำนักงาน ชวนกลับมารู้ตัว ดูใจ ด้วยภาษา สัญลักษณ์ ถ้อยคำ ฮาวทู ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลอย่างไรอยากให้มาชิมลองกัน มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ และได้รับความเอื้อเฟื้อพื้นที่จัดแสดง ห้อง new gen จาก SCG เปิดให้ชิมลอง ที่ชั้น 3 ห้อง New Gen หอศิลป์กรุงเทพ เข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้ - 27 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00-20.00 น.

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นประเด็นสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้

1) ตลาดรถยนต์มีแนวโน้มเติบโตได้ทั้งในด้านการผลิตและยอดขาย โดยคาดการณ์ยอดการผลิตอยู่ที่ราว 1.96 ล้านคัน หรือขยายตัว 4.2% จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามความเสี่ยงจากภาคส่งออกที่คาดว่าจะหดตัวเพราะอุปสงค์ของคู่ค้าหลักที่ปรับลดลง สำหรับยอดขายรถยนต์ในประเทศมีแนวโน้มเติบโตได้ที่ 3.4% โดยตลาดรถยนต์นั่งจะเป็นแรงส่งสำคัญเพราะได้รับอานิสงส์ของการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ทั้งในแง่การจ้างงานและรายได้ที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากต้องเผชิญแรงกดดันจากรายได้เกษตรกรที่ชะลอตัว

2) ตลาดรถบรรทุกและรถโดยสารขยายตัวได้สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยที่ทยอยกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น โดยคาดว่ายอดจดทะเบียนรถบรรทุกจะขยายตัว 2.7% ชะลอลงจากปีก่อนเล็กน้อย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากแนวโน้มความต้องการขนส่งสินค้าทางบกที่ปรับลดลงตามภาคการส่งออก อย่างไรก็ดี ยังมีแรงสนับสนุนจากการลงทุนก่อสร้าง กอปรกับการค้าชายแดนและผ่านแดนที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับยอดจดทะเบียนรถโดยสารมีแนวโน้มเติบโต 49.1% เร่งขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับอุปสงค์ในกลุ่มรถบัสรับส่งนักท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว อีกทั้ง แรงส่งจากนโยบายเปลี่ยนผ่านรถโดยสารประจำทางไป สู่รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า

3) ตลาดรถจักรยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนเช่นกัน โดยคาดว่ายอดผลิตรถจักรยานยนต์จะขยายตัวที่ราว 8.0% ขณะที่ยอดขายจะขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 2.3% เป็นผลจาก 1) การชะลอตัวของรายได้ภาคเกษตรจากปัจจัยด้านราคา และ 2) ยอดส่งออกที่ชะลอตัวเพราะแรงฉุดของตลาดยุโรปและสหรัฐฯ ขณะที่อุปสงค์ของตลาดเอเชียยังฟื้นตัวได้

4) ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยยังคงสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยคาดว่ายอดจดทะเบียนรถ EVs ในปี 2566 จะอยู่ที่ราว 4.95 หมื่นคัน หรือเติบโตสูงถึง 430%YOY ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.6% ของยอดขายรถยนต์นั่งทั้งหมด จาก 1.1% ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ กำลังการผลิตรถยนต์ EVs ของไทยก็มีแนวโนมปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ราว 3.5 แสนคันต่อปี ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามอานิสงส์จากการลงทุนของผู้ผลิตยานยนต์ EVs รายใหม่ ๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการจ้างงานและมูลค่าเพิ่มจากการพึ่งพาวัตถุดิบในประเทศ

สำหรับความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย คาดว่าในระยะสั้นจะเผชิญแรงกดดันจากวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ มาตรฐานการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ก็ยังคงความเข้มงวดเนื่องจากคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อในภาพรวมยังคงปรับแย่ลง สำหรับ ในระยะปานกลาง – ระยะยาว ภาคธุรกิจยานยนต์ยังจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสยานยนต์ไฟฟ้าและเทรนด์ ESG ที่กำลังมาแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงการที่ผู้บริโภคและนักลงทุนมีแนวโน้มให้ความสำคัญและตระหนักถึง

การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่สร้างผลกระทบทางบวกทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

SCB WEALTH หนุนนักลงทุนมองการเติบโตระยะยาว ก้าวข้ามความผันผวนระยะสั้น ชี้ช่องลงทุนอย่างต่อเนื่อง โอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีมากกว่าการเข้า-ออกตลาดเป็นประจำ ตลาดหุ้นสหรัฐฯเหมาะสำหรับStay Invest มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง

จากข้อมูลพบว่า ทุกครั้งที่สหรัฐฯ ผ่านวิกฤตไปได้ ตลาดหุ้นจะสร้างสถิติสูงสุดใหม่เสมอ พร้อมแนะกองทุน SCBGAเหมาะสำหรับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยมี SCB Julius Baer จัดน้ำหนักการลงทุน มีการปรับพอร์ตอย่างยืดหยุ่นและเหมาะสม ตอบโจทย์ทุกสภาวะการลงทุน

นายรุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการ Investment Product Selection and Partnership ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดการลงทุนในช่วงเวลาในแต่ละประเทศ มีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนในระยะสั้น แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตในระยะยาว จึงเชื่อว่า ตลาดส่วนใหญ่ดูแลตัวเองได้ดีและปรับตัวเป็นบวกได้ ทั้งนี้ จากข้อมูลผลการดำเนินงานช่วง 1 ปี เปรียบเทียบกับ 5 ปี ของดัชนีตลาดหุ้นใหญ่ๆ ในโลก โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 21 ก.ค. 2566 พบว่า ผลการดำเนินงานของ S&P500 ในช่วง 1 ปี +14.5% ส่วน 5 ปี +60.8% ด้าน STOXX600 ในช่วง 1 ปี +9.3% และ 5 ปี +19.9% NIKKEI225 ในช่วง 1 ปี +15.7% ส่วน 5 ปี +43.7% ขณะที่ CSI300 ในช่วง 1 ปี -9.8% แต่ช่วง 5 ปี +6.7% SET INDEX ใน 1 ปี -1.5% ส่วน 5 ปี -8.7% US Treasury Index ในช่วง 1 ปี -2.5% ส่วน 5 ปี +2.4% และทองคำ 1 ปี +12.8% ส่วน 5 ปี +59.5%

“การที่ตลาดให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวแม้ว่าในระยะสั้นจะผันผวน ทำให้นักลงทุนที่ Stay Invest หรือยังอยู่ในการลงทุนไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร มักจะสร้างผลตอบแทนในระยะถัดไปได้ดีกว่าเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนักลงทุนที่ไม่ได้ Stay Invest แต่หนีออกจากตลาดไปก่อนตอนที่ตลาดปรับตัวลดลง แล้วค่อยกลับเข้ามาอีกครั้งในอนาคตในยามที่ตลาดปรับเพิ่มขึ้นไปสูงแล้ว” นายรุ่งโรจน์ กล่าว

สำหรับตลาดที่นักลงทุนมองแล้วจะเห็นภาพของการ Stay Invest ได้ดี คือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง การดำเนินนโยบายการเงินต่างๆ ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมทั้งนโยบายการคลังของรัฐบาลล้วนส่งผ่านไปถึงตลาดหุ้น โดยจากข้อมูลในอดีตพบว่า ทุกครั้งที่สหรัฐฯ ผ่านวิกฤตไปได้ ตลาดหุ้นจะสร้างสถิติสูงสุดใหม่เสมอ การ Stay Invest จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนมองว่าในระยะสั้นหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลง อาจรอจังหวะในการเข้าลงทุนได้แต่ควรจะกำหนดเป้าหมายในการกลับเข้าลงทุนที่เหมาะเฉพาะตนโดยไม่ห่างหายจากการลงทุน

ส่วนคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่จะตอบโจทย์การ Stay Invest นั้น เรามองว่า จะต้องมีคุณสมบัติ คือ 1.ปรัชญาการลงทุนที่ชัดเจน เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว หากมีสิ่งรบกวนในระยะสั้นก็อาจจะพิจารณาบ้าง แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ยกเว้นเป็นสิ่งรบกวนที่ส่งผลให้ภาพการลงทุนเปลี่ยนแปลง จึงจะปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนอย่างทันท่วงที

2.ผู้จัดการกองทุนน่าเชื่อถือ มีประวัติการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง 3.การปรับพอร์ตอยู่บนปัจจัยพื้นฐานและมุมมอง ไม่นำความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง และ 4.มีระดับความผันผวนที่เหมาะสม ตอบโจทย์นักลงทุนรายย่อย

ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ตอบโจทย์การ Stay Invest ค่อนข้างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Allocation (SCBGA) โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด เป็นผู้จัดตั้งกองทุน และเป็นกองทุนผสมที่จ้างบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด จัดน้ำหนักการลงทุนให้ มีการปรับพอร์ตอย่างยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสภาวะของตลาด

สำหรับ กลยุทธ์การลงทุนของ SCBGA จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกลงทุนในกองทุนหลัก (Core Funds) ได้แก่ JB Dynamic Asset Allocation ซึ่งเป็นกองทุนเรือธงของ Julius Baer ที่ลงทุนได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินทรัพย์ทางเลือก ผ่าน ETF ซึ่งมีสภาพคล่องสูง โดยในปี 2566 Julius Baer มีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้น แต่เลือกลงทุนอย่างระมัดระวัง ด้วยการลดหุ้นที่ผันผวนต่อวัฎจักรเศรษฐกิจ เพิ่มหุ้นกลุ่มคุณภาพ และถือเงินสดบางส่วนเพื่อรอจังหวะเข้าสะสมหุ้นเพิ่ม ขณะที่ การลงทุนส่วนที่ 2 คือ กองทุนเสริม (Satellite Funds) โดยคัดเลือกกองทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมชั้นนำของโลก เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความสมดุลให้พอร์ต SCBGA

“จากการที่ SCBGA เป็นกองทุนที่มีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนจัดพอร์ตลงทุนและปรับสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทำให้เราเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์นี้น่าจะตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการ Stay Invest ได้เป็นอย่างดี” นายรุ่งโรจน์ กล่าว

X

Right Click

No right click