January 22, 2025

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปักธงสร้าง “คน” ติดสกิล AI ทุกหลักสูตร ตั้งแต่หลักสูตรผู้บริหาร  หลักสูตรระยะสั้น อัพสกิล-รีสกิล และปริญญาตรี ชี้ทักษะ AI เพิ่มมูลค่าคนและองค์กร  ฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กร ธุรกิจ ร่วมพลิกโฉมขับเคลื่อนประเทศและเปลี่ยนแปลงโลก  เดินหน้าบูรณาการ AI เข้ากับหลักสูตรต่างๆ พัฒนาหลักสูตร AI เฉพาะทาง สนับสนุนให้คณาจารย์มีทักษะด้าน AI ที่พร้อมปรับเปลี่ยน ยกระดับคนที่มีศักยภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ดร. รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่าเทรนด์และสถิติสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า  AI จะเป็นคลื่นเทคโนโลยีลูกใหม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ซึ่ง การเติบโตของ AI ในธุรกิจ ข้อมูล  McKinsey & Company คาดการณ์ว่า AI จะเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจโลก 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573   ในขณะที่ Gartner คาดการณ์ว่า 75% ขององค์กรต่างๆ จะใช้ AI ในการตัดสินใจทางธุรกิจภายในปี 2568 และ Forrester Research คาดการณ์ว่า AI จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1.2ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568   ในขณะที่ World Economic Forum คาดการณ์ว่า AI จะเปลี่ยนแปลงทักษะที่จำเป็นสำหรับงานต่างๆ 50% ภายในปี 2568 ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลก เข้าสู่มิติใหม่ที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยศรีปทุม มองเห็นศักยภาพของ AI เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับ “คน” นำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับ “องค์กร”ขับเคลื่อนประเทศและโลก

มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงวางกลยุทธ์มุ่งสร้างบัณฑิตทุกคนให้มีพื้นฐานการใช้เครื่องมือ AI เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสายอาชีพ ทุกหลักสูตรที่เปิดสอน ตั้งแต่หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร  เพื่อเพิ่มทักษะ AI ให้กับผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์และทิศทางขององค์กร เปรียบเสมือนเข็มทิศนำพาองค์กรและธุรกิจประสบผลสำเร็จในโลก พร้อมทั้งปักธงสร้าง “คน” จากรั้วมหาวิทยาลัยศรีปทุมทุกคนมีพื้นฐานการรู้จักประยุกต์ใช้ AI เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง จนกลายเป็น บุคลากรที่สามารถเข้าไป เพิ่มมูลค่าให้กับ องค์กร ธุรกิจ กลายเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศและโลกต่อไป

ศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวเสริมว่า มหาวิทยาลัยศรีปทุม มุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้าน AI อย่างเป็นรูปธรรม ที่สามารถใช้ AI  ได้อย่างสร้างสรรค์และมีจริยธรรม สอดคล้องกับนโยบายด้าน AI เพื่อการศึกษาของ UNESCO โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุมวางแนวทางในการใช้ AI  ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย

  1. Advancement through Intelligence ก้าวไกลด้วยการใช้ AI ในทุกกระบวนการตั้งแต่การใช้ AI ในกระบวนการทั้งการเรียนการสอนและการพัฒนา รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรด้วย AI
  2. Amplifying Intelligenceใช้ AI เพื่อส่งเสริมศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์โดยการใช้ AI เพื่อเพิ่มสติปัญญาและความสามารถของบุคลากร และการใช้ AI เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญและประสิทธิภาพ
  3. Architects of Intelligence เป็นผู้นำในการใช้ AI technology เพื่ออนาคตจากการนำเสนอและพัฒนาเทคโนโลยี AI ในทุกสาขา เพื่อเป็นผู้นำในการนำเสนอแนวทางการใช้ AI ที่เป็นประโยชน์
  4. Access to Intelligence ทุกคนเข้าถึงและใช้งาน AI ได้อย่างทั่วถึง ด้วยการการเปิดโอกาสให้ ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี AI ทั้ง นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยทุกระดับ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและเข้าถึงง่ายสำหรับการใช้งาน AI
  5. Alliance for Intelligence เน้นความร่วมมือในการใช้งานและพัฒนา AI อย่างยั่งยืน จากการสร้างพันธมิตรและความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา AI โดยเน้นความยั่งยืนในการพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยี AI

“เราเดินหน้าพัฒนาหลักสูตร AI เฉพาะทาง รวมถึงการสนับสนุนให้อาจารย์มีทักษะด้าน AI จัดตั้งศูนย์วิจัยด้าน AI ร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนา AI การประยุกต์ใช้ AI ในมหาวิทยาลัยครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมิติของการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มิติการบริหารจัดการและการบริการนักศึกษา มิติการทำวิจัยและบริการวิชาการ เพื่อสร้างความคุ้นเคยจนคน SPU มีทักษะในการใช้ AI ได้เป็นเลิศ  ตัวอย่างของการนำไปใช้ได้แก่ การจัดตั้ง SPU D Vote ที่นำเทคโนโลยีข้อมูลและ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัย   การเปิด Academy of Business Intelligence หรือ ABI by SPU มีหลักสูตรด้าน AI หลักสูตรแรกคือ AI for Business เป็นหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้บริหารองค์กรที่เน้นเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่ AI Company  โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม มุ่งมั่นที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้” สร้าง คน ที่พร้อมปรับเปลี่ยน ยกระดับคนที่มีศักยภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน“AI” และการเปลี่ยนแปลงอื่น เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและโลกต่อไป” ศ.ดร.วิรัช กล่าวทิ้งท้าย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเชิญพี่น้อง ศิษย์เก่าวิศวฯศรีปทุม ทุกรุ่น ทุกสาขา รวมพลครั้งใหญ่ ในงาน "วิศวฯคืนถิ่น" SEAN HOMECOMING 2024  ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 18:00 น. เป็นต้นไป ณ อาคาร 1 ชั้น 5 ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) รีบชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ มาลงทะเบียน https://forms.gle/X33XzghCAPUdEcbq5

เข้มข้นด้วยสายสัมพันธ์

ร่วมสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน

มาร่วมรำลึกความหลัง ต่อยอดความสัมพันธ์ กับพี่น้องเครือข่าย ศิษย์เก่าวิศวฯศรีปทุม

Sripatum University Engineering Alumni Network

สอบถาม สำนักงานคณะวิศวกรรมศาสตร์

02-579-1111 ต่อ 2147

FB Page: Engineering Sripatum

https://www.facebook.com/EngineeringSripatum

ม.ศรีปทุม เผยประเทศไทยกำลังขาดกำลังคนสมรรถนะสูง 4 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรระบบราง โลจิสติกส์ซัพพลายเชน การบินและคมนาคม การท่องเที่ยวและบริการ  หลังรัฐบาลเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ เชื่อมโยงระบบ โลจิสติกส์ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ ของประเทศ รับเทรนด์เชื่อมระบบคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอนาคตอันใกล้ จะมีความต้องการกำลังคนสมรรถนะสูง สนับสนุนเมกะโปรเจกต์กว่า 200,000 อัตรา ดัน 4 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ระบบราง โลจิสติกส์และซัพพลายเชน การบินและคมนาคม การท่องเที่ยวและบริการ เร่งปั้นบัณฑิตป้อนตลาดแรงงาน เป็นสายงานที่ไม่มีโอกาสตกงาน รับค่าตัวสูง หลังจบการศึกษามีบริษัทรอรับเข้าทำงานทันที หรือเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ และอาชีพอิสระที่หลากหลายสาขา

ดร. รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า จากการมุ่งหน้าขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่(เมกะโปรเจกต์ ) ของรัฐบาล  ซึ่งครอบคลุม ทางบก ราง น้ำ อากาศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศรวมถึงการเชื่อมโยงออกไปยังภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก อาทิ โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่เริ่มพัฒนาไปก่อนหน้านั้น โครงการพัฒนาระบบรางเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะภายในประเทศและเชื่อมโยงออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ และการผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค (Aviation Hub) โดยการปรับปรุงสนามบินหลักทั่วประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้องการกำลังคนสมรรถสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ด้านวิศวกรรมระบบราง ขนส่งและโลจิสติกส์ และการบิน เพิ่มสูงขึ้นราว 200,000 อัตรา ในอนาคตอันใกล้ จึงถือเป็นความสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องเร่งผลิตออกสู่ตลาด ซึ่งบัณฑิตที่จบการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้งานและได้รับค่าตอบแทนสูง โดยการผลิตกำลังคนสมรรถสูง หรือแรงงานทักษะสูง  ให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะเป็นการเพิ่มประชากรรายได้สูงในประเทศ ส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยศรีปทุมเดินหน้าผลักดันให้ 4 คณะ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน การบินและคมนาคม การท่องเที่ยวและบริการ เร่งพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะการทำงานพร้อมทำงานออกสู่ตลาดงาน

วิศวกรระบบรางเป็นที่ต้องการกว่า 20,000 อัตรา

ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสายงานระบบรางมีความต้องการแรงงานมากขึ้น เนื่องจากในช่วง 10 ปี การเดินทางได้พัฒนาเปลี่ยนผ่านจากรถไฟระบบเดิมเป็นระบบใหม่ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า  สายงานในระบบราง มีความต้องการบุคลากรมากกว่า 20,000 อัตรา ในตำแหน่งงานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการทำงานด้านระบบราง การก่อสร้าง ติดตั้งระบบราง อาณัติสัญญาณ สถานี การควบคุมรถ บริการสถานี ซ่อมบำรุง และงานที่ใช้หลักการจัดการวิศวกรรม แม้เทคโนโลยีระบบรางมาแรง แต่เป็นสาขาใหม่สำหรับสถาบันการศึกษาของประเทศ ยังไม่มีมหาวิทยาลัยในประเทศ ที่ครอบคลุมเทคโนโลยีการเรียนการสอนครบทุกด้าน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จึงออกแบบการเรียนการสอน เชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และสถาบันต่างประเทศเกี่ยวข้อง ให้นักศึกษาได้ออกไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในสนามจริง อาทิ การไปเรียนรู้ปฏิบัติงาน กับเอกชนผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS MRT และ Airport rail link กับบริษัทเอกชนผู้รับเหมาระบบราง และส่งนักศึกษาไปเรียนเพิ่มเติมกับเจ้าของเทคโนโลยีที่ สถาบันระบบรางขนาดใหญ่ ณ เมืองหูหนาน ประเทศจีน เพื่อเก็บประสบการณ์จริงจากเจ้าของเทคโนโลยี โดยปัจจุบันทางคณะได้มีเปิดสอนสาขาระบบรางโดยตรง และยังเปิดเป็นวิชาเลือกให้นักศึกษาที่เรียน ในสาขาวิศวกรรม เครื่องกล ไฟฟ้า โยธา ได้เสริมวิชาชีพด้านระบบราง สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ไม่จำเป็นต้องจบสายวิทย์-คณิต ด้วยมหาวิทยาลัยมองว่า การเรียนรู้ไม่ควรจำกัดสาขา ทุกคนสามารถเรียนรู้ข้ามศาสตร์ได้

ธุรกิจโลจิสติกส์แนวโน้มเติบโต 200 เท่า ดันค่าตัวสูง

ผศ.ดร.ธรินี  มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เปิดเผยว่า  วิทยาลัยได้เตรียมพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับ Mega Project ของภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มเติบโต 200 เท่า ส่งผลให้บุคลากรในสายอาชีพนี้มีค่าตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตร “นักจัดการโลจิสติกส์มืออาชีพด้านสินค้าเกษตรและอาหารที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain)” ให้มีทักษะด้านการจัดการโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อลดความสูญเสียของอาหาร (Food Loss) และลดขยะอาหาร (Food Wast) ที่เกิดจากการเก็บรักษา การขนส่งและการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อประเทศไทยเป็น “Aviation Hub” ความต้องการกำลังคนด้าน Cold Chain จะเพิ่มมากขึ้น เพราะเกิดการขนส่งสินค้าประเภทอาหารและสินค้าเกษตรจำนวนมหาศาลออกไปยังประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัย เปิดสอน ตั้งแต่ระดับ ปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังเปิดหลักสูตรระยะสั้น (Non Degree) เพื่อเปิดโอกาสให้คนทำงานแล้วกลับมา Reskill/ Upskill  ในสายงานโลจิสติกส์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่อาชีพนักจัดซื้อจัดหา นักควบคุมคลังสินค้าห้องเย็น นักวางแผนและจัดเส้นทางการขนส่ง ตัวแทนออกของ นักจัดการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น พร้อมทำงานกับบริษัทโลจิสติกส์นำเข้าส่งออกชั้นนำ มากกว่า 200 แห่ง นอกจากนี้หลักสูตรยังสามารถบูรณาการการเรียนร่วมกับคณะการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อให้ก้าวไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ได้ด้วย  ในสายงานโลจิสติกส์นี้มีความต้องการบุคลากร ราว 120,000 คน ในระหว่างปี 2564-2568  จึงเป็นโอกาสของนักศึกษาที่เรียนทางด้านนี้ จะได้ทำงานระหว่างเรียน และจบแล้วได้งานทันที

สายงานด้านการบินได้งานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

พลอากาศเอกพิธพร กลิ่นเฟื่อง คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม เปิดเผยว่า บุคลากรในสายวิชาชีพการบินเป็นที่ต้องการของตลาดกำลังคนสมรรถสูง อย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วยปัจจัยเร่ง 2 ประการได้แก่ 1.เกิดความต้องการกำลังคนเร่งด่วนหลังจากลดช่วงโควิด การโดยสารและขนส่งเครื่องบินกับมาเดินเครื่องปกติทุกสายการบินมีแผนเพิ่มเที่ยวบิน โดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อนุมัติให้ 8 สายการบินเพิ่มเที่ยวบิน 60 ลำตลอดปี 2567 2. รัฐบาลเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะแผนผลักดันเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางวิทยาลัยฯได้เตรียมความพร้อมสร้างกำลังคนใน 6 สาขาอาชีพ คือ 1.การจัดการความปลอดภัยการคมนาคม 2.การจัดการสนามบินและสินค้าทางอากาศ 3.นักบินพาณิชย์ จบภายใน 4 ปี ได้รับใบรับรองและใบอนุญาตนักบินจากสำนักงานการบินพลเรือน เป็นนักบินได้ทันที  4. พนักงานอำนวยการเครื่องบิน วางแผนเส้นทางบิน (Fight Planning) 5.ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ โดยทุกหลักสูตรการเรียน 4 ปี พร้อมทำงานทันที ซึ่งปัจจุบันทุกสาขาบัณฑิตที่จบได้งานทำทันทีที่จบ  

ธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร. อนุพงศ์ อวิรุทธา คณบดีวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ กล่าวว่า  หลังจากสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายลง หลายประเทศได้ตระเตรียมมาตรการและการกระตุ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างงานใหม่ในอุตสาหกรรม อาทิ นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว การลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีท่องเที่ยว รวมไปถึงการลงทุนจากภาครัฐ ในโครงการ Mega Project ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง ทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่ถูกจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก ที่ผ่านมาได้ผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ในสายการบินชั้นนำ โรงแรมระดับสากล และสายการเดินเรือสำราญขนาดใหญ่ระดับโลกที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เช่น Princess, Dream Cruise และ Leisure American Line ก็มีศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาโดยตรงจากสาขาการบริการเรือสำราญทำงานอยู่ในเรือสำราญระดับโลก เหล่านี้อีกกว่า 100 คน

ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ และโครงการ Mega Project ของทางภาครัฐ และแผนผลักดันเป็น Aviation Hub ของภูมิภาค วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ได้พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างและพัฒนาให้นักศึกษามีความรอบรู้ทางด้านในอุตสาหกรรม โดยเชื่อมโยงการผลิตบัณฑิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรมทั้งสายการบิน โรงแรม และเรือสำราญ ให้นักศึกษาได้เรียนกับตัวจริงและฝึกงานผ่านประสบการณ์จริงทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้นักศึกษามีความพร้อมในการทำงานและได้ทำงานทันทีที่เรียนจบ ด้วยค่าตอบแทนแรกเริ่มในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป นอกจากนี้ยังได้เปิดหลักสูตรระยะสั้นที่ช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะที่สำคัญอื่น ๆ แก่ศิษย์เก่า และบุคลากรที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศและตอกย้ำความเป็นผู้นำในการผลิตบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวและการบริการ

ม.ศรีปทุม จัดเวทีแข่งขัน “ SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ครั้งแรกในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดตัววิทยาลัยนานาชาติแห่งใหม่ SPU’s British College ด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวูลฟ์เวอร์แฮมป์ตัน (University of Wolvehampton)

X

Right Click

No right click