January 02, 2025

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำด้านการค้าและการบริการ ชูวิสัยทัศน์การเป็น AiUTCC โดยการผนึกกำลังกับพาร์ทเนอร์ ผู้นำทางเทคโนโลยีระดับโลก วางรากฐาน Digital-AI เพื่อความเป็นเลิศด้าน AI Integrated University ล่าสุด ดร.ชัชชัย หวังวิวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ UTCC AI Master ได้รับเชิญจากมหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก Huawei Connect 2024 ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ เพื่อนำเสนอพันธกิจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในหัวข้อ  Building a Smart Campus to Accelerate the Digital and Intelligent Transformation of UTCC ซึ่งผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้บริหารจากองค์กรพันธมิตรทางธุรกิจ กว่า 300 คน

ดร.ชัชชัย หวังวิวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ UTCC AI Master  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยระบบ Digital Hybrid Learning มากว่า 20 ปี โดยแจก โน้ตบุ๊ก และแท็บเล็ต ให้นักศึกษาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียน เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ส่งผลให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น และเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองทุกที่ทุกวัน ดังนั้น เพื่อยกระดับระบบการจัดการการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2567 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยวางรากฐานสู่การเป็น AiUTCC โดยเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกใน Asia Pacific ที่ติดตั้ง WiFi 7 ซึ่งมีความเร็วระดับ Near Zero Latency เพื่อยกระดับประสบการณ์การเรียนการสอน และการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้าน AI ของนักศึกษาและบุคลากรอย่างจริงจัง โดยมีการอบรมอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ 90 คน เป็น Ai Champion ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ขับเคลื่อนทั้งองค์กรไปพร้อมกัน

ในด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมมือกับ Huawei พัฒนาทักษะด้าน AI, Digital และ Cloud เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นมืออาชีพ พร้อมสู่ตลาดงานด้านเทคโนโลยีนอกจากนี้ ทุกคณะวิชาได้นำ AI มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น คณะมนุษยศาสตร์ นำ AI Chatbot มาช่วยพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ และทักษะดิจิทัลไปพร้อม ๆ กัน และนักศึกษาทุกคนได้รับ Canva Pro AI Magic และ Copilot ฟรีเพื่อใช้ในการเรียน

สำหรับด้านการให้บริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยนำ AI มาใช้ประโยชน์ในบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบหางาน Career sync ที่นำระบบ AI มาช่วยในการแมชต์ทักษะของนักศึกษาให้ตรงกับตำแหน่งงานที่ผู้ประกอบการเปิดรับสมัคร รวมถึง Skill transcripts ที่ระบุว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนและกิจกรรมต่างๆ มีทักษะอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต เช่น การทำงานเป็นทีม การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล และความคิดสรรค์ เป็นต้น

ด้านการให้บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดตั้งสถาบันฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้าน AI ที่ทันสมัยแก่ผู้ประกอบการ ที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย AI ทั่วประเทศ เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสอคล้องกับพันธกิจการเป็น AiUTCC ที่นำ AI มาบูรณาการเพื่อการเรียนการสอน การให้บริการนักศึกษา และการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผนึกกำลังกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีลงนาม MOU โครงการ “Family Business Thailand” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวอย่างมืออาชีพ F โดยเน้นเจาะกลุ่มทายาทธุรกิจ SME รายเล็ก สมาชิกเครือข่าย YEC ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ โครงการ “Family Business Thailand” เป็นความมุ่งมั่นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าผนึกกำลังกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้มีองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการธุรกิจ และการตลาดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการบริหารเครือข่ายให้แก่ธุรกิจครอบครัว และ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างเป็นรูปธรรม

นาย เอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ได้มอบนโยบายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ และสร้างพลังขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เน้นการบูรณาการความร่วมมืออันถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการส่งเสริมยกระดับศักยภาพการบริหารจัดการแก่ผู้ประกอบการภายใต้การส่งเสริมพัฒนาของกรมฯ   ให้เติบโตเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเป็นนโยบายผลักดันให้ SME เพิ่ม GDP ให้ได้ไม่น้อยกว่า 40% ภายในปี 2570

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ  โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมแรงร่วมใจส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย จากการใช้ศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจครอบครัวทั่วประเทศ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่มีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้ และให้คำปรึกษาแนะนำในธุรกิจครอบครัว เพื่อให้สามารถส่งผ่านธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะวันนี้กลุ่มธุรกิจครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีศักยภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างจริงจังให้ได้มีโอกาสศึกษาถึงปัจจัยการขับเคลื่อนให้ธุรกิจครอบครัวสามารถส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมภายใต้โครงการ “Family Business Thailand” โดยเริ่มต้นจากการอบรมหลักสูตร  Family Business Thailand ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2567  ณ ศูนย์ประชุม 1 ศตวรรษ ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว

ขณะเดียวกัน นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือกับโครงการ “Family Business Thailand” ว่า “ในฐานะที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจครอบครัวที่มีต่อ GDP และระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ทว่า ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจครอบครัวที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลางได้รับผลกระทบจากภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับข้อจำกัดทางด้านการบริหารจัดการ และองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเอง ทำให้ธุรกิจเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบอย่างมาก ดังนั้น ทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจึงรู้สึกยินดีที่กระทรวงพาณิชย์ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเห็นความสำคัญและร่วมลงนาม MOU ในโครงการ Family Business Thailand เพื่อสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจครอบครัวกลุ่มนี้ให้มีความแข็งแกร่งจากภายใน อีกทั้งจะสามารถส่งต่อธุรกิจต่อเนื่องกันไปได้อย่างราบรื่นในอนาคต”

นอกจากนี้ รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ และบริการทางด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีความยินดีที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ในโครงการ Family Business Thailand ทั้งหลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรระยะยาว (Degree & Non-Degree) กับเจ้าของธุรกิจครอบครัว ตลอดจนทายาท เพื่อนำองค์ความรู้สำหรับการเร่งสร้างการเติบโต ควบคู่ไปกับการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ มพร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจครอบครัว เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตและส่งต่อธุรกิจได้จากรุ่นสู่รุ่น”

ในส่วนรายละเอียดของโครงการฯ ดร.รวิดา วิริยกิจจา คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า  “Family Business Thailand มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแหล่งความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงธุรกิจครอบครัวในการสร้างโอกาส เตรียมความพร้อมทเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในแต่ละสถาบันการเงิน และเป็นศูนย์บ่มเพาะให้แก่ธุรกิจครอบครัวรายใหม่ให้มีองค์ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาด้านธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจที่ดี ด้วยการสร้างองค์ความรู้ทั้งด้านการบริหารงาน บริหารทรัพย์สิน บริหารครอบครัว พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว แต่ต้องการเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจของตนเอง รวมทั้งหาแนวทางตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง  เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเพื่อจัดทำฐานข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย”

รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้รับผิดชอบโครงการ Family Business Thailand ได้สะท้อนมุมมองในฐานะที่เป็นปรึกษาธุรกิจครอบครัวว่า “ธุรกิจครอบครัวถือเป็น “นักรบทางเศรษฐกิจ” ที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย โดยสามารถสร้างรายได้เกือบ 70% ของ GDP ทว่า ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาในการสืบทอดธุรกิจ จนมีคำกล่าวว่า ธุรกิจครอบครัวมักจะส่งต่อกันได้ไม่ถึงรุ่นที่ 3 เนื่องจากศาสตร์การบริหารธุรกิจครอบครัวเป็นศาสตร์เฉพาะด้านที่มีการบ่มเพาะ ถ่ายทอดกันในวงจำกัด ดังนั้น การผนึกกำลังกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาเป็น “สามประสาน” จึงถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ประเทศไทยจะสามารถขยายฐาน “กองทัพนักรบทางเศรษฐกิจ” ที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ”

โครงการ Family Business Thailand ยังได้จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ 60 ปี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในหัวข้อเรื่อง “จากรุ่นสู่รุ่น ... เคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว” โดยมีวิทยากรผุ้ทรงคุณวุฒิจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้แก่

  • นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์หอารค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มมิตรผล
  • ดร.เดช เลิศสุวรรณรักษ์ ที่ปรึกษาสภาหอารค้าแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพ โอเอ คอมส์ จำกัด
  • นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด
  • รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล (ผู้ดำเนินรายการ) คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีสถาบันการเงินที่มาร่วมออกบูธ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกขึ้นและได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ประกอบด้วย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)  และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่กรมฯจัดร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ทาง www.dbd.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองธุรกิจบริการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 5475985 หรือสายด่วน 1570 หรือเฟซบุ๊คแฟนเพจของโครงการ #FamilyBusinessThailand

ฝ่ายสื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เปิดรับสมัครเพื่อรับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 ระดับปริญญาโท เป็นทุนสำหรับผู้มีชื่อเสียง ผู้มีความรู้ความสามารถ ผู้นำทางความคิด และสื่อมวลชนทุกแขนง โดยแบ่งประเภททุนการศึกษา 1.ทุนเต็มจำนวนของค่าเล่าเรียนก่อนหลักสูตร (การเรียนปรับพื้นฐาน) ค่าเล่าเรียน (ค่าหน่วยกิต) ค่าบำรุงการศึกษา ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา ค่าสอบประมวลความรู้ ค่าเอกสารประกอบการเรียน และอื่น ๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด 2. ทุนครึ่งหนึ่งของค่าเล่าเรียนก่อนหลักสูตร (การเรียนปรับพื้นฐาน), ค่าเล่าเรียน (ค่าหน่วยกิต) ค่าบำรุงการศึกษา ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา ค่าสอบประมวลความรู้ ค่าเอกสารประกอบการเรียน และอื่น ๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด*

 คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงศึกษาธิการ
  2. มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
  3. หากไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน จะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 5หรือ ในกรณีที่ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการเป็นผู้มีชื่อเสียง มีความสามารถพิเศษ ได้รับการยอมรับในสังคมด้านต่าง ๆ อาทิ ศิลปิน ดารา นักแสดง นักร้อง นักดนตรี อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) สื่อมวลชน ฯลฯ

ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการพิจารณาให้ได้รับทุนการศึกษา จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตต่อเนื่องจนจบหลักสูตรการศึกษาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้  ซึ่งเป็นทุนแบบให้เปล่า โดยผู้รับทุนไม่ต้องชดใช้ทุนคืนแต่อย่างใด ผู้ที่สนใจสามารถ กรอกสมัครกับทางบัณฑิตวิทยาลัยฯ แล้ว ส่งประวัติย่อแนะนำตัว นำเสนอผลงานที่ผ่านมา ในรูปแบบ PDF File ส่งมาที่อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ชื่อหัวข้ออีเมล  “สมัครทุนส่งเสริมโอกาส” ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567

ติดตามรายละเอียดการขอรับทุนได้ที่ www.utcc.ac.th สอบถามโทร 02-6976781

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click