November 24, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

ดูเหมือนว่า บริษัทผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านไอที อาทิ การ์ทเนอร์ ฟอเรสเตอร์ ต่างคาดการณ์ทิศทางของโลกนับจากปี 2563 เป็นต้นไป กำลังเดินหน้าสู่ยุคของระบบอัตโนมัติ (The Age of Automation) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

 

ไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ไอโอที เออาร์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) หุ่นยนต์ ดิจิทัล ทวิน บล็อกเชน ระบบจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ระบบความปลอดภัยด้านไอทีและข้อมูล ยังคงทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่า หากองค์กรสามารถบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีข้างต้น ในการเข้าถึงความต้องการของมนุษย์ (เช่น ลูกค้า และ พนักงาน) และครอบคลุมพื้นที่ในการดำรงชีวิต ( เช่น บ้าน สถานที่ทำงาน) ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกกลยุทธ์นี้ว่า People-centric Smart Space จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานที่มีความป็นอัตโนมัติ (Autonomous) ที่ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากขึ้น และง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมากนัก ตลอดจนการออกแบบแพลตฟอร์มการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมการตลาดได้ตามคาดหวังและประสบการณ์ซึ่งส่งตรงถึงตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปีนี้ ได้แก่

 

การบูรณาการเทางเทคโนโลยีหลายรูปแบบเพื่อมุ่งสู่ความเป็น ไฮบริด อินเทลลิเจนท์ (Hybrid Intelligence-HI) มากขึ้น เช่น คลาวด์แบบไฮบริด ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปิดกว้างให้องค์กรสามารถผสมผสานการใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งคลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์สาธารณะ จากหลากหลายผู้ให้บริการไอทีให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้าน ผสมกับพลังของ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (Empowered Edge) ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้อุปกรณ์ใช้งานปลายทางมีความฉลาดในการประมวลผลด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณงานของคลาวด์ส่วนกลาง ทั้งสนับสนุนให้แนวคิดการสร้างคลาวด์กระจายออกไปตามจุดต่าง ๆ(Distributed Cloud) มีความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบไอทีโดยภาพรวมทำงานได้รวดเร็วขึ้น

 

ประกอบกับองค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้งานต่างต้องการแอปพลิเคชันที่ปรับเปลี่ยนได้ตามที่ตนเองต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงกว่า 40% เมื่อถึงปี 2567 ซึ่งไม่เพียงจะทำให้องค์กรต้องเร่งพัฒนาโซลูชันหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังต้องเพิ่มแอปพลิเคชันในลักษณะ คอนเทนเนอร์ และ ไมโครเซอร์วิส แยกออกเป็นส่วน ๆ สำหรับงานหรือบริการบางประเภท เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างและปรับปรุงบริการการใช้งานได้เร็ว ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และทันใจผู้ใช้มากขึ้น

 

นอกจากนี้ ความนิยมในการเข้าถึงบริการและแอปพลิเคชันจากที่ไหนก็ได้โดยอิสระผ่านสมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์ BYOD โดยยังคงรักษาประสิทธิผลของงานได้เหมือนเดิม หรือดียิ่งกว่าเดิม เป็นสิ่งที่การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า จนถึงปี 2566 กว่า 30% ขององค์กรธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนนโยบายในการติดตามผลการทำงานของพนักงาน หรือติดตามพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการผ่านอุปกรณ์ BYOD ต่าง ๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรก็ต้องมีแนวทางควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อการใช้งานเฉพาะในขอบเขตที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับธุรกิจไว้ด้วย

 

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะถูกพัฒนาให้เป็นไฮบริดมากขึ้นในมิติต่าง ๆ เช่น การเติมเต็มความเป็นอัตโนมัติให้กับระบบงาน ใช้เป็นตัวตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงต่อระบบความปลอดภัย หรือพัฒนาให้ฉลาดพอที่จะประเมินพฤติกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์รู้สึก ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกสิ่งนี้ว่า Artificial Emotional Intelligence - AEI ทั้งยังทำนายต่ออีกว่า ในปี 2567 ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและแม่นยำ จะมีผลต่อการสร้างสรรค์โฆษณาสินค้าออนไลน์เกินกว่าครึ่ง รวมถึงมีผลต่อ

การตัดสินใจซื้อของลูกค้า ขณะเดียวกัน 28% ของนักการตลาดทั้งหลายต่างจัดอันดับให้ทั้ง เอไอ และ แมชชีนเลิร์นนิ่ง มีผลต่อการขับเคลื่อนการตลาดในอนาคต

 

เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยี ไอโอที โดย ฟอร์เรสเตอร์ ซึ่งกล่าวว่า นับจากปี 2563 เป็นต้นไป ไอโอทีจะเดินเครื่องเต็มที่สู่ยุค 5G ด้วยศักยภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เวลาน้อยลงเรื่อย ๆ (Low-Latency) โดยเฉพาะการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับการเก็บและแชร์ข้อมูลผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์ในการเชื่อมโยงการบริหารงานโรงงานกับเครื่องจักรในสายการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตาม หรือตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา-ที่ไปของสินค้าในระบบซัพพลายเชน หรือระบบขนส่งได้ในแบบเรียลไทม์ หรือ การเก็บรวบรวมและเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตนับเป็นพัน ๆ ล้านชิ้นในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านไอที (Ecosystem) เพื่อการจัดการในองค์กร การดำเนินธุรกิจ การสื่อสารกับลูกค้า ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนทางเทคโนโลยี

 

การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หรือ บิสซิเนส อินเทลลิเจนท์ จะยังคงอยู่ต่อไป แต่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเติมเทคโนโลยีด้านเอไอเพื่อช่วยจัดการกับข้อมูลระดับ บิ๊ก ดาต้า การสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน (Data Analytics) ให้สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้จริง หรือ การออกแบบ ระบบจัดการชุดข้อมูล (Data Catalog) เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ใช้งาน หรือ ไม่สร้างมูลค่าใด ๆ ให้กับธุรกิจ ข้อมูลที่เก็บมาเฉพาะใช้งานในหน่วยงานเดียว ไม่สามารถปรับเปลี่ยน หรือขยายรูปแบบการเก็บข้อมูลออกไปได้ เป็นต้น

 

ส่วนเทคโนโลยี บล็อกเชน ซึ่งถึงแม้มาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลบัญชีธุรกรรมออนไลน์จะยังไม่นิ่ง แต่ผู้ใช้ก็ไม่รีรอที่จะซื้อขายใช้จ่ายเงินในตลาดออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแพลตฟอร์มการเงินต่าง ๆ อาทิ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือคิวอาร์โค้ด โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 50% ในปี 2568 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคของบล็อกเชนยังคงดำเนินต่อไป เช่น การกระจายข้อมูลให้เข้าถึงได้ การเข้ารหัสด้วยชุดข้อมูลเสมือนแบบโทเคน (Token) เพื่อให้หลาย ๆ บล็อกเชนสามารถทำงานร่วมกัน หรือปรับขยายระบบเพื่อรองรับข้อมูลหรือผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นได้

 

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน และด้านมืดของไอทีที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ คือ การโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ การละเมิดสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล การเข้าถึงชั้นความลับของข้อมูลทางธุรกิจโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การขโมยรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงบัญชีธุรกรรมออนไลน์ การเจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อก่อกวนการทำงาน รวมถึงการปล่อยไวรัสแรนซัมแวร์ บนโลกดิจิทัลจะยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง

 

ดังนั้น องค์กรควรให้ความใส่ใจกับการสร้างปราการ ความปลอดภัยไอที เครือข่ายและข้อมูล ให้ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและนโยบาย ในเชิงเทคนิค เช่น ระบบป้องกันไวรัส เกตเวย์ ไฟร์วอลล์ ซึ่งถือเป็นระบบพื้นฐานที่ต้องมีอยู่แล้วภายในทุกองค์กร หรือบนคลาวด์ทุกประเภท การพัฒนาระบบพิสูจน์ตัวตน (Authentication) เมื่อเวลามีการร้องขอข้อมูลเชิงลึก หรือเข้าใช้งานในระบบ การเฝ้าระวังการรับ-ส่งข้อมูลที่ได้มาจากการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือ ไอโอที เนื่องจากเป็นเป้าโจมตีที่อาชญกรไซเบอร์ชื่นชอบ เป็นต้น ส่วน ในเชิงนโยบาย ก็เช่น การวางมาตรฐานด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยีที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Traceability) เพื่อไม่ให้ก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของผู้คนจนเกินไป เพราะทุกคนต่างฉลาดพอที่จะเดาได้ว่า ข้อมูลของเขากำลังถูกเก็บและนำไปใช้อย่างไร รวมถึงหมั่นติดตามและคอยปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามข้อบังคับ หรือกฎหมายความปลอดภัยจากในและนอกประเทศ เช่น พรบ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จีดีพีอาร์ มาตรฐานทางบัญชีใหม่ IFRS 9 หรืออื่น ๆ เพื่อให้ระบบความปลอดภัยมีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลอยู่เสมอ

 

เรื่องน่ายินดีก็คือ การ์ทเนอร์คาดว่า การใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกจะโตเพิ่มขึ้นอีก 3.7% ในปี 2563 จากยอดใช้จ่ายรวม 3.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2562 และถึงแม้ตัวเลขส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจ แต่ตัวเลขใช้จ่ายด้านความปลอดภัยก็สูงถึง 10.5% ในปี 2562 ทั้งนี้ ตัวเลขที่ใช้จ่ายไปกับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ คาดว่าจะโตถึง 41.2% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า วิถีโลกยุคระบบอัตโนมัติที่มีศักยภาพและเสถียรภาพนั้น ช่วยให้มนุษย์มีอิสระในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี แต่ก็ต้องเป็นระบบที่ต้องตอบสนองวิถีชีวิตทั้งในโลกความเป็นจริง และชีวิตในเวอร์ชันดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นสำคัญ

ดร.สุดาพร สาวม่วง  คณบดีคณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า คณะการบริหารและจัดการมีแผนการดำเนินงานเพื่อนำคณะก้าวไปสู่อันดับต้นๆของอาเซียนและโลก โดยยึดหลัก 5 P กับ 1 N  คือ Product-หลักสูตรสายพันธ์ใหม่  Place –สถานที่ใหม่ทันสมัย และเรียนแบบ Online/City Campus Promotion - Agent ในต่างประเทศ  ,People –เพิ่มสัดส่วนอาจารย์ชาวต่างชาติ 100 %  Process -Profit Center  และ Net Working-15 คณะ + MIT Sloan & Oxford โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนหลักสูตร  จำนวนอาจารย์  Rank จำนวนงานวิจัย จำนวนนักศึกษา และรายได้ที่เพิ่มขึ้นในที่สุด

ดร.สุดาพร  สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

ทั้งนี้  5 พันธกิจหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมกำกับความรู้ และมีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับและตรงความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน  2.พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการและวิจัยในแนวทางที่ยั่งยืน 3.พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในทุกด้าน เน้นการเพิ่มศักยภาพสวัสดิการ ความมั่นคง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้วยระบบคุณธรรมและยุติธรรม 4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสภาวะเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม 5.ประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถาบันให้มีความเป็น นานาชาติ (International Outlook)  อันจะนำไปสู่เป้าหมายของการเป็น   “คณะการบริหารและจัดการ เพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกลสู่อาเซียนและโลก”

ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

ดร.สุดาพร กล่าวด้วยว่า ภายในระยะเวลา 4 ปี ของการบริหารงาน ตั้งเป้าให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีใน 4 มิติ ทั้ง เรื่องของงานวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์ บุคลากร ตอบโจทย์แก้ปัญหาสังคม ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ มีสิทธิบัตร เพื่อที่จะใช้ในเชิงที่จะก่อประโยชน์จริง (Academic  Impact) หรือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่มีคุณภาพ  สรรหาอาจารย์คุณภาพเข้ามาสู่ขบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน  เครื่องมือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  

ผศ.ดร.สิงหะ ฉวีสุข  รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

สจล.จะเป็นเจ้าแรกที่ทำหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ (Education Impact) รวมทั้ง ผลต่อภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งจะได้ผลผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ โดยนายจ้างจะต้องได้บัณฑิตที่มีคุณภาพเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้เลย เป็นคนเก่งและดีของบริษัทและสังคม (Industrial Impact) และสุดท้ายผลลัพธ์ทีดีต่อสังคม โดยงานวิจัยที่ออกมาจะต้องนำพาสังคมให้ดีขึ้น มีรายได้มีชีวิตที่ดีขึ้นมีความสุขมากขึ้น (Social Impact)

ดร.ทัศไนย ปราณี  รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

“การดำเนินงานทั้งหมดอยู่ภายใต้นโยบาย FAM to FAMOUS  อันหมายถึง คณะการบริหารและจัดการ เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมมือกันนำพา สจล.สู่ Top 10 ในอาเซียนและระดับโลก(Family)  คณะการบริหารและจัดการ ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ มีฝีมือ มีทักษะ มีสมรรถภาพ มีนวัตกรรม ( Ability)  และการจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพจะเน้นการ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (Management) การพัฒนาไปถึงการติดอันดับต้นๆ ของประเทศ  ของอาเซียนรวมทั้งระดับโลก ( Outstanding) เข้าสู่ความเป็นนานาชาติในทุกด้าน( Universal) และ รูปแบบการบริหารและการจัดการเรียน การสอนที่มีคุณภาพ ตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับสากล (Standardize)” ดร.สุดาพรกล่าวในตอนท้าย

ผศ.ดร.ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ รองคณบดีคณะการบริหารและการจัดการ สจล.

 


 

 

 

สุขภาพดีนั้นต้องเริ่มต้นจากตัวเอง ซึ่งการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี อีกทั้ง ยังจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้นกัน ถือเป็นแรงกำลังที่ช่วยพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดดังกล่าว แกร็บ จึงได้เชิญชวนผู้ใช้ที่รักสุขภาพ ร่วมออกกำลังกายพร้อมทำประโยชน์เพื่อสังคม ภายในงาน “Grab Running – วิ่งตัวเบา” งานวิ่งที่เรื่องน้อยที่สุด สะดวกสบายเพียงแค่พกสมาร์ทโฟนมาวิ่ง ส่วนที่เหลือแกร็บจัดให้  ในวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ โดยกิจกรรมเพื่อสังคมในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายธารน้ำใจ เพื่อบริจาคสมทบทุนให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ ในการซื้อเครื่องมือแพทย์ให้สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ซึ่งภายในงาน นอกจากจะได้สัมผัสกับประสบการณ์งานวิ่งที่เรื่องน้อยที่สุดแล้ว นักวิ่งและคนรักสุขภาพที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน ยังได้ร่วมสนุกกับหลากหลายกิจกรรมจากบูทพาร์ทเนอร์คู่ค้าของแกร็บ ทั้ง KBank, ประกันภัย Sunday Insurance,  Shopee, JOOX และ Ari Running  อีกทั้งยังเพลิดเพลินกับเมนูร้านดังที่คัดสรรมาให้เพิ่มพลังจากแกร็บฟู้ด  และปิดท้ายวันดี ๆ ด้วยมินิคอนเสิร์ตจากนักร้องสาวเสียงใส แพรว คณิตกุล เนตรบุตร

นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า  “ปัจจุบัน ผู้คนหันมาให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายด้วยการเดิน โดยแกร็บรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเสียงตอบรับจากกิจกรรมงานวิ่งครั้งแรกของเราเป็นอย่างดี โดยกิจกรรม ‘Grab Running - วิ่งตัวเบา’ ในวันนี้ นอกจากจะเป็นการร่วมสร้างสุขภาพดีร่วมกันแล้ว ยังเป็นการตอบแทนกลับคืนสู่สังคม โดย แกร็บ ร่วมบริจาค 10 บาทต่อทุกกิโลเมตรที่ผู้ร่วมงานทุกคนวิ่ง โดยเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 400,000 บาท เพื่อสมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อเป็นทุนในการซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์และร่วมสร้างสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งในอนาคตจะเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำที่รองรับผู้ป่วยได้กว่า 1 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ ความสำเร็จของกิจกรรมในวันนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากน้ำใจจากนักวิ่ง พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร พันธมิตรคู่ค้าทั้งหมดของเรา รวมถึงตัวแทนหน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การสนับสนุนเราด้วยดีเสมอมา และเราจะเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในการร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อจัดกิจกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในสังคมต่อไปในอนาคต” 

กิจกรรม Grab Running - วิ่งตัวเบา เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามพันธกิจในการทำประโยชน์เพื่อสังคมมาในช่วงเพียงสองสามเดือนที่ผ่านมา แกร็บ ได้จัดกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อตอบแทนพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และสังคมมาหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการมอบทุนการศึกษารวมกว่าหนึ่งล้านบาทให้แก่บุตรพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่, โครงการ ‘GrabFood for Good – ทุกจานคือการให้’ เพื่อสมทบทุนมอบอาหารกลางวันให้มูลนิธิเด็กผู้ด้อยโอกาสนับหมื่นคน และโครงการบริจาคสิ่งของผ่านบริการแกร็บเอ็กเพรสให้แก่มูลนิธิผู้ด้อยโอกาส อาทิ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น และมูลนิธิอื่น ๆ ในต่างจังหวัดรวม 7 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โครงการทั้งหลายเหล่านี้ ถือสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของแกร็บ ในการผลักดันเพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

พลพรรคนักวิ่งทุกเพศทุกวัย พร้อมใจวิ่งเพื่อเปลี่ยนทุกกิโลเมตรให้เป็นเงินบริจาค สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ

 พลพรรคนักวิ่งทุกเพศทุกวัย พร้อมใจวิ่งเพื่อเปลี่ยนทุกกิโลเมตรให้เป็นเงินบริจาค สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ

มารีญา พูลเลิศลาภ สาวสวยสุขภาพดี ร่วมวิ่ง Fun Run ระยะ 5 กิโลเมตร

เหล่านักวิ่งกระโดดตัวเบา ฉลองเข้าเส้นชัยแบบยกทีม

สนุกสนานคึกคักไปกับกิจกรรมถ่ายภาพรอบ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ  

เติมพลังหลังเข้าเส้นชัยด้วยเมนูอาหารและเครื่องดื่มร้านดัง จากแกร๊บฟู้ด

สีสันกิจกรรมสุดสนุก ณ​ บูทพันธมิตรคู่ค้าของแกร็บภายในงาน Grab Running - วิ่งตัวเบา

ม.ธุรกิจบัณฑิต คว้า Dan Montgomery สุดยอดกูรูด้าน OKRs  ผู้ให้คำปรึกษาชั้นแนวหน้าให้กับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา และผู้บริหารองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำของไทยใช้ OKRs  นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ร่วมให้ความรู้แบบเจาะลึก ในงานเสวนา Why OKRs ? ในวันศุกร์ที่ 12 ต.ค.นี้ เวลา 09.00-16.00 น. รร.เดอะสุโกศล กรุงเทพฯ

ดร.พัทธนันท์  เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เปิดเผยว่า เนื่องจากวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงานตามวัตถุประสงค์ (Objectives and Key Results : OKRs) กำลังมาแรงในขณะนี้ โดยมีองค์กรธุรกิจชั้นนำทั่วโลกหันมาใช้ OKRs เพื่อทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จได้อย่างไร้ขีดจำกัด  ศูนย์ DPU Center มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เล็งเห็นความสำคัญของการนำ OKRs มาใช้ในการพัฒนาองค์กร จึงกำหนดจัดเสวนาในหัวข้อ Why Objectives and Key Result (OKRs)  Should replace  KPIS? ในวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2561 เวลา 9.30-16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลลูน โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ  ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเพื่อให้องค์กรสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน สร้างบรรยากาศในการทำงานอย่างเป็นทีมผ่านเครื่องมือการวัดผลการดำเนินงานแบบ OKRs

“ครั้งนี้ได้เชิญ Mr.Dan Montgmery  ผู้เชี่ยวชาญอันดับต้นๆของโลกด้าน Agile Strategies และ OKRs และยังเป็นผู้แต่งหนังสือ “START LESS , FINISH MORE ,Building Strategic Agillity with Objectives and Key Result พร้อมผู้บริหารองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำทั้ง ดีแทค บิลค์วันกรุ๊ป และDPU X ที่ได้ใช้ OKRs นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จมาร่วมให้ความรู้ทุกแง่มุมของ OKRs แบบเจาะลึก” ดร.พัทธนันท์  กล่าว 

ดร.พัทธนันท์  กล่าวด้วยว่า เหตุที่ OKRs มีความน่าสนใจ เนื่องจากกระบวนการทำงานในแบบ OKRs จะกำหนดวัตถุประสงค์จำนวนน้อยและกำหนดเฉพาะที่จำเป็นจะต้องทำจริงๆ ก่อน โดยคนระดับการทำงานเป็นผู้กำหนดขึ้นเอง เป็นการกำหนดจากล่างสู่บน ซึ่งจะทำให้เห็นปัญหาที่แท้จริงและร่วมกันคิดและร่วมลงมือแก้ไขปัญหา นับเป็นการสร้างวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีม อันจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในที่สุด  การเสวนาครั้งนี้ จึงเหมาะสำหรับทุกองค์กรที่ต้องการพัฒนาและปรับตัวเองให้สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร เพื่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างฉับพลันในยุคดิจิทัล โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.065 594 9955 email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

X

Right Click

No right click