November 23, 2024

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำด้านการค้าและการบริการ ชูวิสัยทัศน์การเป็น AiUTCC โดยการผนึกกำลังกับพาร์ทเนอร์ ผู้นำทางเทคโนโลยีระดับโลก วางรากฐาน Digital-AI เพื่อความเป็นเลิศด้าน AI Integrated University ล่าสุด ดร.ชัชชัย หวังวิวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ UTCC AI Master ได้รับเชิญจากมหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก Huawei Connect 2024 ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ เพื่อนำเสนอพันธกิจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในหัวข้อ  Building a Smart Campus to Accelerate the Digital and Intelligent Transformation of UTCC ซึ่งผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้บริหารจากองค์กรพันธมิตรทางธุรกิจ กว่า 300 คน

ดร.ชัชชัย หวังวิวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ UTCC AI Master  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยระบบ Digital Hybrid Learning มากว่า 20 ปี โดยแจก โน้ตบุ๊ก และแท็บเล็ต ให้นักศึกษาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียน เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ส่งผลให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น และเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองทุกที่ทุกวัน ดังนั้น เพื่อยกระดับระบบการจัดการการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2567 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยวางรากฐานสู่การเป็น AiUTCC โดยเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกใน Asia Pacific ที่ติดตั้ง WiFi 7 ซึ่งมีความเร็วระดับ Near Zero Latency เพื่อยกระดับประสบการณ์การเรียนการสอน และการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้าน AI ของนักศึกษาและบุคลากรอย่างจริงจัง โดยมีการอบรมอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ 90 คน เป็น Ai Champion ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ขับเคลื่อนทั้งองค์กรไปพร้อมกัน

ในด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมมือกับ Huawei พัฒนาทักษะด้าน AI, Digital และ Cloud เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นมืออาชีพ พร้อมสู่ตลาดงานด้านเทคโนโลยีนอกจากนี้ ทุกคณะวิชาได้นำ AI มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น คณะมนุษยศาสตร์ นำ AI Chatbot มาช่วยพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ และทักษะดิจิทัลไปพร้อม ๆ กัน และนักศึกษาทุกคนได้รับ Canva Pro AI Magic และ Copilot ฟรีเพื่อใช้ในการเรียน

สำหรับด้านการให้บริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยนำ AI มาใช้ประโยชน์ในบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบหางาน Career sync ที่นำระบบ AI มาช่วยในการแมชต์ทักษะของนักศึกษาให้ตรงกับตำแหน่งงานที่ผู้ประกอบการเปิดรับสมัคร รวมถึง Skill transcripts ที่ระบุว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนและกิจกรรมต่างๆ มีทักษะอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต เช่น การทำงานเป็นทีม การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล และความคิดสรรค์ เป็นต้น

ด้านการให้บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดตั้งสถาบันฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้าน AI ที่ทันสมัยแก่ผู้ประกอบการ ที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย AI ทั่วประเทศ เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสอคล้องกับพันธกิจการเป็น AiUTCC ที่นำ AI มาบูรณาการเพื่อการเรียนการสอน การให้บริการนักศึกษา และการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ตั้งเป้าเป็นสถาบันการศึกษาไทยคุณภาพระดับโลก

คณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย ในการสนับสนุนของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) จัดพิธีมอบเกียรติบัตรและโล่รางวัล รอบชิงชนะเลิศ การประกวดวาดภาพระบายสีระดับมัธยมปลายและอาชีวะศึกษาทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กล่าวแสดงจุดยืนความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในการเป็นสถาบันการอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำด้านธุรกิจการค้าจากการจัดโครงการดังกล่าวนี้ว่า “ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ครบรอบ 60 ปีนี้ มหาวิทยาลัยยังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อการรับใช้สังคมให้มีความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการตอบรับและสอดคล้องกับนโยบายของสหประชาชาติที่จะมุ่งพัฒนาสังคมโลกให้มีเสถียรภาพและมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนร่วมกันทั้งโลก ซึ่งกิจกรรม 60 ปี UTCC สาดสีสร้างฝัน รู้ทันอาชญากรรมข้ามชาติ นับว่ามีความสำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และพัฒนาชาติโดยใช้สื่อศิลปะสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและส่งทอดจากคนรุ่นใหม่ไปสู่สังคมในรูปแบบที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย”

ดร.ดิสพล จันศิริ  คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล คณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า  คณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะสถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ เพื่อใช้ในการสื่อสารด้วยวิธีการทางภาษาภาพที่มีลักษณะเฉพาะ สามารถสร้างการรับรู้และตระหนักรู้ให้กับสังคมในแง่มุมต่างๆ  ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้เป็นอย่างดี จึงได้จัดโครงการ ‘ 60 ปี UTCC สาดสีสร้างฝัน รู้ทันอาชญากรรมข้ามชาติ ’  นี้ขึ้นเพื่อการมีส่วนร่วมสนับสนุนหน่วยงาน ‘ ยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNODC ) ’ ในการสร้างการตระหนักรู้เรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้เข้าใจถึงภัยคุกคามที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมร่วมใจกันเป็นส่วนหนึ่งในสังคม ร่วมคอยสังเกต สอดส่อง ให้ข่าวและดูแลกันและกันร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในการป้องปรามให้จำนวนเหยื่อของอาชญากรรมข้ามชาติลดลงและหมดไปจนเกิดความเข้มแข็งในสังคมอย่างยั่งยืนในที่สุด

อาจารย์จักรพันธ์ ธนธีรานนท์ เจ้าของโครงการฯ อาจารย์ประจำคณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงสาระสำคัญของ โครงการ 60 ปี UTCC สาดสีสร้างฝัน รู้ทันอาชญากรรมข้ามชาติ” ว่า เป็นโครงการประกวดแข่งขันวาดภาพระบายสีที่เจาะกลุ่มเป้าหมายนักเรียนระดับมัธยมปลายและอาชีวะศึกษา อายุระหว่าง 15-18 ปี ที่อยากมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับชุมชน และคนในสังคมให้เกิดความเข้าใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการป้องปรามให้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติลดลงและหมดไป ร่วมกันตีแผ่ให้เห็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยใช้ศิลปะและการออกแบบเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ความคิดของเยาวชนให้แผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง แล้วยังมีกิจกรรมอื่น ๆ  อาทิ การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ การเข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ การทัศนศึกษาสถานที่สำคัญและการจัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะ

เราจัดเป็นค่ายการประกวดแข่งขันวาดภาพระบายสีเทคนิคสีโปสเตอร์  ประกวดเพื่อคัดสรรผลงานที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารให้คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสำคัญกับงานศิลปะ ที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นห่างไกลจากยาเสพติด และอาชญากรรม เป็นต้น โดยมีผมและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน เช่น รองศาสตราจารย์ สรรณรงค์ สิงหเสนี ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ / เรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์รุ่น 7 (2523)  / ครูสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร / เรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์รุ่น 3 (2519) /  คุณสุชาญา โมกขเสน / ผมอาจารย์ จักรพันธ์ ธนธีรานนท์ และคุณ เฟลิเป้ เดอ ลาตอเร่ ผู้ประสานงานส่วนภูมิภาค (ด้านงานนโยบายและสัมพันธ์องค์กร) โครงการประสานงานชายแดน สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)

โดยเมื่อกันยายนที่ผ่านมา เป็นรูปแบบของค่ายภูมิภาค รอบคัดเลือกครั้งที่หนึ่ง ภาคกลางและภาคตะวันตก ณ จังหวัดกาญจนบุรี กลางเดือนกันยายนเป็นค่ายภูมิภาครอบคัดเลือกครั้งที่สอง ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงราย ต้นเดือนตุลาคมเป็นค่ายภูมิภาครอบคัดเลือกครั้งที่สาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดอุบลราชธานี และรอบคัดเลือกครั้งที่สี่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา จนมาถึงเดือนตุลาคมเราจึงประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ค่ายการประกวดรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ และเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นค่ายการประกวดรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศที่กรุงเทพมหานครและจัดนิทรรศการแสดงผลงานผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ มีพิธีมอบรางวัล ณ สหประชาชาติ กรุงเทพฯ เมื่อถึงสิ้นปีเราจะจัดพิมพ์ ปฏิทินปี 2567 โดยใช้ผลงานจากการประกวดของโครงการและจัดส่งปฏิทินของโครงการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ ถือเป็นของขวัญปีใหม่ได้ด้วยจากผลงานศิลปะและการออกแบบที่ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ความคิดของเยาวชนให้แผ่ขยายออกเป็นวงกว้างเพราะผมเชื่อว่าศิลปะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยขัดเกลาจิตใจผู้คนให้ละเอียดอ่อนและช่วยบำบัดจิตใจในยามท้อแท้หรือแม้แต่ในยามที่เรามีความสุข ศิลปะก็เป็นสิ่งช่วยสร้างสีสันสร้างชีวิตชีวาให้กับชีวิตมนุษย์ สังคมและโลกใบนี้ให้มีความสวยงามและห่างไกลจากสิ่งเลวร้าย อบายมุขได้อย่างเห็นผล”

ทั้งนี้ รางวัลการประกวดแบ่งออกเป็น รางวัลชนะเลิศ รางวัลเงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลเงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลดีเด่น รางวัลเงินสด 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจำนวน 1 รางวัลรางวัลชมเชย รางวัลเงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลขวัญใจออนไลน์ รางวัลเงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจำนวน 1 รางวัล ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมค่ายแข่งขันทั้งสองรอบ

โดยรายนามผู้ได้รับรางวัลเงินสดและโล่เกียรติยศ 5 รางวัล

ลำดับที่ 1 รางวัลชนะเลิศ รางวัลเงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

            ได้แก่ นางสาวพิชญาพร  เมืองใจ จาก โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์

ลำดับที่ 2 รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลเงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

            ได้แก่ นายธราธิป แสงวิเชียร  จาก โรงเรียนวัดสุทธิวราราม

ลำดับที่ 3 รางวัลดีเด่น รางวัลเงินสด 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

            ได้แก่ นางสาวสิริรัช รัตตมณี จาก โรงเรียนสภาราชินี

ลำดับที่ 4 รางวัลชมเชย รางวัลเงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

            ได้แก่ นายจินดิต ยางสวย จาก โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง

ลำดับที่ 5 รางวัลขวัญใจออนไลน์ รางวัลเงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

            ได้แก่ นายวีระเดช งามสามพราน จาก โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา

ผู้สนใจ สามารถชมนิทรรศการผลงานจาก โครงการ “60 ปี UTCC สาดสีสร้างฝัน รู้ทันอาชญากรรมข้ามชาติ” ในรอบชิงชนะเลิศทุกชิ้นได้ ณ โถงนิทรรศการชั้น 3 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร โดยจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤศจิกายน 2566

สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือ คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ FAMZ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย จัดหลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน“ ให้กับสมาชิก โดยเรียนในวันเสาร์ที่ 23, 30 กันยายน 2566 ที่คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ทั้งนี้ คุณชุมพล ปทานุคม นายกสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงการจัดหลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน“ ครั้งนี้ว่า “เนื่องจากสมาคมฯ ​มุ่งทำกิจกรรมในมิติต่างๆ ให้ครอบคลุมอย่างหลากหลาย นอกเหนือจากขอบเขตทางด้านวิศวกรรม อาทิ การทำประโยชน์กับสังคม การให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาตลอดหลักสูตรปริญญาตรี ตลอดจนการให้ความรู้ในวงกว้างทั้งด้านวิศวกรรมและด้านที่นอกเหนือจากวิศวกรรม (Engineering & Non-Engineering) รวมทั้งการจัดอบรมทางด้านธุรกิจครอบครัวในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่นอกเหนือจากวิศวกรรม และเป็นประเด็นที่หลายครอบครัวให้ความสำคัญ นับแต่การจัดโครงสร้างธุรกิจครอบครัว จนถึงการวางแผนเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวยั่งยืน ซึ่งหากมีการวางรากฐานที่ดีก็จะทำให้การสืบทอดธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น”

ขณะที่ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัว และผู้ก่อตั้ง FAMZ Co., Ltd. ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทยได้กล่าวถึงหลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน” ว่า “รายละเอียดของหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับเจ้าของกิจการที่เตรียมส่งต่อกิจการให้กับลูกหลาน ผู้บริหารธุรกิจกงสี ลูกหลานที่เตรียมสืบทอดกิจการ และผู้สนใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจ การจัดโครงสร้าง การรักษาอำนาจในการบริหาร/ควบคุมธุรกิจครอบครัว ตลอดจนถึงการทำธรรมนูญครอบครัว การสร้างแผนสืบทอดธุรกิจและการส่งต่อความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่น”

นอกจากนี้ หลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน“ ยังมีวิทยากรรับเชิญ ซึ่งประกอบด้วย

  • วันที่ 23 กันยายน 2566 : คุณพีระศิลป์ ตั้งกิจงามวงศ์ บริษัท ลายวิจิตร จำกัด เรื่อง How to Build a Family’s Golden Rules กฎเหล็กของบ้าน
  • วันที่ 30 กันยายน 2566 : คุณอังคณา มาศรังสรรค์ โรงเรียนพ่อ – แม่ – ลูก เรื่อง ทัศนคติกับการสื่อสาร เพื่อความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว และคุณสุระ ชัยวณิช Investment Expert เรื่อง Road to Public Company

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มุ่งเป้าผลิตผู้ประกอบการคุณภาพด้านเทคโนโลยีขั้นสูง

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click