ณ วันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกอย่างล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น “กฎหมาย” ก็เช่นกัน มีความท้าทายทางด้านกฎหมายมากมายจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและสังคม เนื่องด้วยทุกอย่างล้วนมีกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น

แน่นอน !! เมื่อโลกเปลี่ยนไปหลักสูตรการเรียนการสอนด้านนิติศาสตร์ ย่อมไม่เหมือนเดิม..

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU ภายใต้การนำของ
“ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ” คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ คนที่ 11 ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา จะมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างไร ? เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

ด้วยประสบการณ์การทำงานของ “ดร. สุทธิพล” ผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งในสำนักงานทนายความขนาดใหญ่ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่ Law Firm ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลแพ่ง โฆษกศาลยุติธรรมคนแรก รองเลขานุการศาลฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรรมการตรวจการแผ่นดิน (คตง.) ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ล่าสุดตัดสินใจเข้าสู่แวดวงการศึกษา “ดร.สุทธิพล” มุ่งมั่นจะนำประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในแวดวง กฎหมายธุรกิจและการบริหารมาสู่การพัฒนานักศึกษานิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU ให้เป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญมีความรอบรู้กฎหมายและสหวิทยาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

นิติฯ ยุคใหม่ต้องคิดเป็นไม่เน้นท่องจำ-สร้าง DNA ให้มีใจยุติธรรม

“ดร. สุทธิพล” กล่าวว่า แม้กระบวนการร่างกฎหมายอาจจะมีข้อจำกัด เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานาน แต่ก็มีการพัฒนากฎหมายใหม่ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงใหม่ๆ รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนแตกต่างไปจากเดิม ข้อพิพาทต่างๆ ในสังคมก็เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU มีการปรับตัวและปรับวิธีการสอนอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีข้อได้เปรียบ คือ มีคณาจารย์ทั้งภายในและภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมี Facility ส่วนกลางที่ทันสมัย เช่น ระบบห้องสมุด ระบบการค้นคว้าออนไลน์และระบบเทคโนโลยีล้ำสมัย ดังนั้น DPU จึงผลิตนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่ไม่ได้จำกัดให้รอบรู้เฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่มุ่งผลิตนักกฎหมายที่ต้องใช้กฎหมายช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย

“หลักสูตรการเรียนการสอน ต้องให้นักศึกษาเข้าใจในตรรกะต่างๆ คิดและวิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำ นักกฎหมายยุคใหม่จะมีความเชี่ยวชาญด้านตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้รอบด้าน และต้องเขียนให้เป็น สื่อสารหรือให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อื่นได้ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย แต่ต้องรอบคอบและรัดกุม ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายได้ดี เพราะอาจต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ภาคธุรกิจ เทคโนโลยี การเงินการธนาคาร ล้วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น

ฉะนั้น จึงต้องผลิตนักกฎหมายที่มีความเป็นผู้นำ (leadership skill) สามารถนำกฎหมายไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่างๆ ได้ เพราะสิ่งที่จะเจอในความเป็นจริง อาจไม่ได้อยู่ในตำรา เราจึงต้องฝึกความพร้อมให้นักศึกษาสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องย้ำให้อยู่ใน DNA ของนักศึกษานิติศาสตร์ฯ DPU คือ การตั้งอยู่บนหลักการของความถูกต้องโปร่งใสและยุติธรรม โดยไม่หวั่นไหวไปตามกระแสหรืออิทธิพลใดๆ” ดร.สุทธิพล กล่าว

 

ลุย Reform หลักสูตร-นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องรู้รอบด้าน

ขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน สำหรับการผลิตนักศึกษากฎหมายคณะนิติศาสตร์ฯ DPU ใหม่โดยเร็ว “ดร. สุทธิพล” จะนำประสบการณ์ ความรู้ และเครือข่ายจากการทำงานในแวดวงกฎหมายและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาช่วยพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา นอกเหนือจากการเพิ่มเติมทักษะที่นักกฎหมายรุ่นใหม่ ต้องมี โดยเน้นในเรื่องคุณภาพเพราะต้องการเข้าไปดูแลและติดตามให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง

“ดร. สุทธิพล” ย้ำอีกว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่ต้องมีความพร้อมในการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมถึงคณาจารย์และบุคลากรของคณะต้องอัปเดตความรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมต้องทำงานเชิงรุกและใกล้ชิดกับนักศึกษามากขึ้น โดยจะปรับปรุงสัดส่วนของจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้น้อยลงเพื่อให้คำปรึกษานักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และปรับการเรียนการสอนโดยเชื่อมโยงกับคณาจารย์ของคณะอื่นๆ และวิทยาลัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี อาจารย์ทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นผู้เข้ามาช่วยเติมเต็มนักศึกษาในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น รวมถึงการเชิญกูรูหรือนักกฎหมายที่มีประสบการณ์ในสายปฏิบัติ เช่น อาจารย์ที่บรรยายที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา เข้ามาสอนเพื่อเสริมการเรียนการสอนกฎหมายภาควิธีสบัญญัติให้กับนักศึกษา

“การเรียนเฉพาะในตำราอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ นักศึกษาต้องได้รับการฝึกปฏิบัติให้รู้จักวิธีการค้นคว้า ศึกษาเปรียบเทียบ ดู Best Practices จากประเทศอื่นๆ ด้วย เราจะสอนให้การเรียนกฎหมายเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ ที่สำคัญนักกฎหมายที่ดีจะต้องมีจริยธรรม เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเข้าใจในกลไกของกระบวนการยุติธรรมดีพอ ที่จะสามารถคุ้มครองสิทธิให้กับผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม” ดร. สุทธิพล กล่าว

เรียนรู้เทคโนโลยีช่วยงานกฎหมาย

ปัจจุบันมีกฎหมายออกใหม่จำนวนมากและการใช้ชีวิตของผู้คนล้วนพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ChatGPT, IoT (Internet of Thing) และ Big Data ดังนั้น นักกฎหมายต้องรู้จักและเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้

คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU กล่าวว่า นักกฎหมายยุคใหม่ต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น การผลิตนักกฎหมาย ต้องทำให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความเสี่ยงใหม่ๆ ว่าสามารถอุบัติขึ้นได้ตลอดเวลาต้องเข้าใจบริบทของสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป และเข้าใจกลไกการทำงานของเทคโนโลยีในแต่ละรูปแบบเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้ AI ค้นหาข้อมูลทางการกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว หรือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มาสนับสนุนในการตัดสินใจ โดย AI สามารถให้คำแนะนำและช่วยในการตัดสินใจทางกฎหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์แนวโน้มของผลการตัดสินหรือการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินคดี เป็นต้น

“DPU จะผลิตนักกฎหมายที่สามารถทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้จริง มีความชัดเจนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะนักกฎหมายยุคใหม่ต้องเป็นผู้ใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมด้วย กล่าวคือ ต้องทำให้นักกฎหมายที่ออกจากรั้วนิติศาสตร์ฯ DPU สามารถใช้กฎหมายหรือศาสตร์ต่างๆ เข้ามาช่วยผ่าทางตันหรือผลักดันนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานหรือประเทศชาติให้สามารถเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งทางกฎหมายให้กับประชาชนได้รับความถูกต้องและเป็นธรรมในสังคม” ดร. สุทธิพล กล่าว

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ DPU จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมาย เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านนิติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ซึ่งหลักสูตรของคณะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกในหลักวิชาชีพกฎหมาย มีความรอบรู้รอบด้าน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม อยากรู้ว่านักกฎหมายรุ่นใหม่เป็นอย่างไร สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://law.dpu.ac.th/ หรือสอบถามได้ที่โทร. 02-954-7300 ต่อ 283, 308

หนุนการพัฒนาศักยภาพ นร.ไทยสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมมอบทุนการศึกษาและเงินรางวัลกว่า 50 รางวัล

ชี้ DPU เน้นปั้นเด็กให้มีทักษะรอบด้าน รู้ลึก รู้กว้าง และเรียนรู้ได้

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) สถาบันการศึกษาเอกชนชั้นนำของไทย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านวิชาการให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านวิชาการ ฝึกทักษะสำคัญของศตวรรษที่ 21 และเป็นสถาบันการศึกษาอันดับต้น ๆ ของไทยที่มีความร่วมมือด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า และอีกหลากหลายด้านกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในประเทศจีนมาอย่างยาวนาน ล่าสุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้รับเชิญให้เข้าร่วม World Chinese Economic Forum (WCEF) หรือ การประชุมเศรษฐกิจจีนระดับโลก ครั้งที่ 12 จัดขึ้นโดย สถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Strategy Institute ISIโดยมี นางสาวเกล็ดทราย อินทรพล ผู้อำนวยการสายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ DPU และตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน ระหว่างวันที่ 12 - 13 พฤศจิกายน 2566 ณ ชิงเถียน มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน

นางสาวเกล็ดทราย อินทรพล ผู้อำนวยการสายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ DPU เปิดเผยว่า World Chinese Economic Forum (WCEF) เป็นงานประชุมเศรษฐกิจจีนระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นเพียงปีละครั้ง มายาวนานกว่า 10 ปี โดยเป็นเวทีการประชุมระดับโลกที่รวมตัวแทนจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และสถาบันการศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงโอกาสทางเศรษฐกิจในประเทศจีนกับภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เน้นความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคและส่งเสริมกรอบความคิดด้านการเติบโตทางธุรกิจ ส่งเสริมการเติบโตด้านการจ้างงานและการขยายระเบียงเศรษฐกิจในระดับโลก สอดรับกับแนวนโยบายจีนเชื่อมโลก ภายใต้  โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ซึ่งเป็นนโยบายและแผนการลงทุนระยะยาวของจีน โดยมีเป้าหมายในการหารือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเร่งสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ  ตลอดแนวเส้นทางสายไหมเดิมและเพิ่มเติมด้วยแนวเส้นทางใหม่ เพื่อช่วยให้ประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถเชื่อมโยงกันด้วยเส้นทางเศรษฐกิจที่ก่อเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

สำหรับการจัดงานครั้งที่ 12 นี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “การประสานความสำเร็จร่วมกันผ่านการเชื่อมต่อระดับโลก : การพัฒนาเศรฐกิจจีนให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเจรจาและการแลกเปลี่ยนบทบาทของจีนในยุคใหม่ ระหว่างผู้นำทางความคิด หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชน รวมทั้งส่งเสริมการสร้างธุรกิจใหม่ที่พร้อมรองรับโลกดิจิทัลในอนาคต และส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเรื่องราวของจีนอย่างถูกต้อง

การประชุมเศรษฐกิจจีนระดับโลก ครั้งที่ 12 นี้ ยังเป็นเวทีเชื่อมเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการอภิปรายหลากหลายหัวข้อ อาทิ การค้าและการลงทุนในภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งครอบคลุม 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีประชากรรวมแล้วมากกว่า 2.5 พันล้านคน โดยคิดเป็นสัดส่วนทางการค้ามากกว่า 30% ของโลกและถือเป็นหนึ่งในเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ในหัวข้อนี้ มุ่งเน้นไปที่โอกาสใหม่ ๆ และความท้าทายในยุคดิจิทัลที่มีต่อการค้าการลงทุนใน RCEP ตลอดจนการหาวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและกลยุทธ์การใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตและความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อีกหัวข้อสำคัญของเวทีนี้ คือ การร่วมกันหารือเกี่ยวกับความสำคัญของโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) โอกาสและความท้าทายที่เกิดจากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทั่วโลกไปด้วยกัน โดย BRI จะส่งเสริมการเชื่อมโยงประเทศและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะครอบคลุมทั่วโลก และยังเป็นโครงการที่พลิกโฉมการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะ BRI ทำให้เกิดโครงการโครงสร้างพื้นฐานมากมาย จากการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อให้เกิดเส้นทางการค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมใหม่ ๆ และโครงการนี้ยังดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก กระตุ้นให้เกิดการค้าและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

นางสาวเกล็ดทราย กล่าวในตอนท้ายว่า ในฐานะที่ ชิงเถียน เป็นอำเภอหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งรุ่มรวยด้วยมรดกทางวัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ขณะที่ DPU เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน โดยมีวิทยาลัยนานาชาติจีน (CIC) ที่มีนักศึกษาจากจีนมาเรียนมากที่สุดในมหาวิทยาลัยของไทย และมีสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่ส่งเสริมด้านการศึกษาและวัฒนธรรมจีน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมข้ามแดน  การได้รับเชิญเข้าร่วมงาน World Chinese Economic Forum (WCEF) จึงเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นโอกาสพิเศษ ที่ DPU ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งสำคัญ รวมถึงเป็นโอกาสอันดีในการขยายเครือข่ายสู่ระดับโลก และกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรชาวจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังได้รับทราบนโยบายเศรษฐกิจ การค้า การจ้างงาน ที่รัฐบาลจีนส่งเสริมหรือมีนโยบายสนับสนุน ซึ่งล้วนเชื่อมโยงและนำมาประยุกต์เข้ากับการศึกษาให้สอดรับกับความต้องการหรือบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และทิศทางการศึกษาในอนาคต

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)  หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (MACC) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี (Ph.D. Accountancy) และหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA) ร่วมกันจัดโครงการ CEO Talks ครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก คุณชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chief Engagement Officer (CEO)  บริษัท Food Passion จำกัด หรือ ที่รู้จักกันในนามของแบรนด์ Bar-B-Q Plaza มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนให้ความรู้และประสบการณ์ ดำเนินรายการโดย ดร.กุลบุตร โกเมนกุล อาจารย์ หัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินการลงทุนและเทคโนโลยีทางการเงิน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี DPU   ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก และคณาจารย์เข้าร่วมฟังกว่า 200 คน

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวเปิดโครงการ โดยระบุถึงจุดประสงค์โครงการนี้ว่าเพื่อช่วยให้นักศึกษาฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการบริหารองค์กร และเรียนรู้วิธีการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพในองค์กร จาก CEO ตัวจริง   พร้อมเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและการดำเนินงานในสภาวะที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กร

ในช่วงแรกของการเสวนา คุณชาตยา ได้อธิบายถึง ความแตกต่างระหว่าง Chief Executive Officer (CEO) และ Chief Engagement Officer (CEO)  ว่าตำแหน่ง Chief Engagement Officer (CEO) เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีในองค์กรทั่วไป แต่มักจะปรากฏในบริษัทหรือองค์กรที่มีการใส่ใจกับการสร้างความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ขององค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนา และบริหารจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้า พนักงาน หรือสังคมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุข สร้างความพึงพอใจ และสนับสนุนการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตำแหน่งนี้

สำหรับตำแหน่ง CEO หรือ Chief Executive Officer ที่รู้จักกันทั่วไปนั้น เป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์กรหรือบริษัท มีความรับผิดชอบในการนำบริษัทและดำเนินธุรกิจองค์กรให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการกำหนดและดำเนินนโยบายกลยุทธ์ของบริษัท การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูงสุด มีอำนาจในการตัดสินใจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และรายงานตรงของกรรมการบริษัท (Board of Directors) หรือผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท

คุณชาตยา สุพรรณพงศ์  กล่าวต่อไปว่า  การเป็นผู้นำองค์กรที่ดี หรือ การจะเป็นนักบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จสามารถทำได้ด้วยการใช้กลยุทธ์ SML (Start with why, Mean it, Long-term Consideration) ซึ่งขยายความได้ดังนี้การเริ่มต้นด้วยที่ทำไม (Start with why) ใช้ในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเริ่มจากการสื่อสารในทีมงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องและนักลงทุน โดยการอธิบายให้เข้าใจถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่อยากให้บริษัทหรือองค์กรบรรลุผลในระยะยาว นี่คือที่มาและแรงจูงใจที่นำพาการดำเนินธุรกิจ อันจะให้คำตอบว่า "ทำไมเราต้องทำสิ่งนี้" เพื่อจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือกันในการสร้างความสำเร็จ

Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) หลังจากที่กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย ต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ การดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะทุกคนดูทุกๆการตัดสินใจและกิจกรรมที่เราตัดสินใจลงมือทำมัน

Long-term Consideration (พิจารณาถึงผลลัพธ์ระยะยาว) คือการวางแผนและดำเนินธุรกิจควรมุ่งหวังแบบมองระยะยาว โดยต้องกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานที่สนับสนุนเป้าหมายระยะยาวขององค์กร การคิดในแง่ระยะยาวช่วยให้มีการวางแผนและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

จากการปฏิบัติตามกลยุทธ์ SML แล้วนั้น จะช่วยให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้ โดยการเริ่มต้นจากที่ทำไม (Start with why) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน  และต้องแสดงให้เห็นว่าเราจริงจังในเรื่องนี้ด้วย ต่อด้วย Mean it (ลงมือทำอย่างไรต่อ) และ จบด้วยการยึดถือแผนระยะยาวเป็นหลักในการบริหารธุรกิจ (Long-term) เพื่อความยั่งยืนและความสำเร็จในอนาคต

Page 3 of 8
X

Right Click

No right click