วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดโครงการแข่งขันเพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ส่งเสริมการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนและนักศึกษา 2.พัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหา การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยี และ3.เตรียมความพร้อมกำลังคนคุณภาพในการพัฒนาประเทศ
โครงการดังกล่าว เปิดรับสมัครนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. ตั้งแต่วันนี้ - 17 มกราคม 2568 โดยมีกิจกรรมการแข่งขัน 4 เวทีหลัก ดังนี้:
1. โครงการแข่งขันตอบปัญหาทางบัญชี "สัมมาอาชีวบัญชี มหาจักรีสิรินธร" ครั้งที่ 10 เนื่องด้วยวิชาชีพบัญชี เป็นหนึ่งในสาขาวิชาชีพที่ถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งยังเป็น 1 ใน 7 สาขาวิชาชีพ ที่มีการพัฒนาข้อตกลงในการโอนย้ายแรงงานเสรีในกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพนักบัญชีของประชาคมอาเซียน DPU เห็นความจำเป็นในการสร้างความเข้าใจเชิงลึก และความตระหนักรู้ในความรับผิดชอบทางวิชาชีพให้แก่นักเรียนสายวิชาชีพบัญชีในระดับอาชีวศึกษา ในการพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีศักยภาพในอนาคต
การจัดการแข่งขันครั้งนี้ จึงจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน นักศึกษา ในสายวิชาชีพบัญชี โดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ชั้น 7อาคารเฉลิมพระเกียรติ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์และสมัครได้ที่: https://forms.gle/nH5KR4WkhkrTQpWk6
2. โครงการเทรดหุ้น "GenZ Biz-Investor สู่โลกลงทุนเรียนรู้ตลาดหุ้นจริงกับ App เทรดของคน GenZ-Season2" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการลงทุนในตลาดหุ้นจริง ผ่านการใช้แอปพลิเคชัน "Finansia HERO" ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้มุ่งเน้นการนำความรู้ด้านการเงินและการลงทุนมาร่วมกับการใช้เทคโนโลยีทางการเงินผ่านเครื่องมือการเทรดหุ้นจำลอง เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการลงทุนเสมือนจริง รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งการประเมินจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม และการพัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่สำคัญในการลงทุน ได้แก่ ทักษะการทำงานกับผู้อื่น ทักษะการแก้ปัญหาและการวิเคราะห์ เป็นต้น โดยกำหนดการจัดกิจกรรมแข่งขัน ในวันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2568 เวลา 08.00 - 17.30 น. ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ และ สมัครได้ที่:https://forms.gle/2Zf5qhXaskx1UnRf8
3. โครงการประกวดโมเดลธุรกิจและสร้างแบรนด์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 1 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนระดับมัธยมปลายและอาชีวศึกษา ผ่านการส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการที่ครอบคลุม อาทิ การคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้นักเรียนและนักศึกษาสามารถพัฒนาโมเดลธุรกิจที่มีความยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความสำเร็จทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเพื่อเตรียมความพร้อมให้เยาวชนก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพและมีวิสัยทัศน์ในอนาคต โดยกำหนดการจัดกิจกรรมแข่งขันในวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2568 เวลา 08.00 - 16.30 น. น. ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ และสมัครได้ที่: https://forms.gle/6CXQox2X2WXr3zzE9
4. โครงการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ครั้งที่ 3 ด้วยตระหนักถึงความท้าทายในโลกปัจจุบันที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การจัดโครงการแข่งขันเกมจำลองฯ จึงมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้เยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ผ่านแพลตฟอร์มเกมจำลองซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะสำคัญ อาทิ การทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหา การสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ โดยมุ่งหวังให้เยาวชนสามารถปรับตัวและสร้างนวัตกรรมท่ามกลางความท้าทายของโลก ด้วยการเรียนรู้การวางแผนธุรกิจ การสร้างแบรนด์ และคำนึงถึงความยั่งยืนอย่างรอบด้าน โดยกำหนดการจัดกิจกรรมแข่งขันในวันที่ศุกร์ 31 มกราคม 25668 เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ และสมัครได้ที่ : https://forms.gle/aJkTsbKbHTjDskUT7 (จำกัด 66 ทีม)
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษาที่มีความมุ่งมั่น มีความคิดสร้างสรรค์ มาร่วมพัฒนาทักษะและแสดงศักยภาพผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน รวมทั้งพัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษา เพื่อก้าวสู่การเป็นบุคลากร ที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 17 มกราคม 2568 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)
ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA : COLLEGE OF INNOVATIVE BUSINESS AND ACCOUNTANCY) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยถึง หลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัย ที่เรียกว่าเป็นการสร้าง “นักรบพันธุ์ดิจิทัลด้วยหลักสูตรพันธุ์ใหม่” เพื่อรองรับโลกปัจจุบันและอนาคต
จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ Gig Economy ที่คนใน Generation Y, Generation Z ไม่มีเพียงอาชีพเดียวอีกต่อไป เห็นได้จากแนวโน้มธุรกิจต่างๆ เริ่มมีการลดขนาดลงเป็นจำนวนมาก (Downsizing) เพราะเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่คนในบางส่วนงาน และนี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่ม ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ซึ่งในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะเกิดความล้ำสมัยที่เกินคาดกว่านี้อีกมาก งานอาชีพอีกหลายงานจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอย่างไม่มีข้อสงสัย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงต้องกลับมามองว่า วันนี้เราไม่ได้เปิดการเรียนการสอนเพื่อสร้างนักศึกษาขึ้นมาป้อนบุคลากรให้บริษัทเอกชนเหมือนเดิมอีกต่อไป เด็กที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะต้องมีความรู้และอาชีพที่เป็นได้มากกว่าหนึ่งอย่าง ไม่ใช่จบบัญชีรู้แต่เพียงเรื่องบัญชี เด็กจบบัญชีอาจจะรู้บัญชี และสุขภาพความงามเพื่อไปทำธุรกิจของตนเองได้ หรืออาจจะเป็นเรื่องการตลาดหรือการ Coding Program เพื่องานรับจ้างเพิ่มเติมในช่วงพาร์ทไทม์ได้อีกด้วย ไม่ใช่รู้ในเพียงศาสตร์เดียว
นักศึกษาต้องถูก Re-Skill ให้มีทักษะในหลายๆ ด้านรวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง จะไม่เหมือนศาสตร์เดิมๆ เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว จึงต้องมีการปรับหลักสูตรในทุกปี เพราะเมื่อดิจิทัลทำให้บิสิเนสโมเดลเปลี่ยน เราจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น เพื่อผลิตคนออกไปให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ
เปิดมาร์เก็ตเพลสสำหรับปั้นผู้ประกอบการ
แน่นอนว่าจากที่กระแสโลกเปลี่ยนไปนั้น จึงเป็นที่มาของ DPU-X หรือ Innovation Hub และ Entrepreneurial Hub ซึ่งเป็นศูนย์สร้างผู้ประกอบการ ที่มีดร.พณชิต กิตติปัญญางาม เป็นผู้อำนวยการ โดยเราวางคอนเซปต์ให้เป็นมาร์เก็ตเพลสสำหรับสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอี และดีมานด์กับซัพพลายต้องมาเจอกันที่เรา ไม่ใช่สร้างแต่เพียงซัพพลายอย่างเดียว ต้องสร้างการจับคู่กันให้ได้
ทั้งนี้ DPU-X จะมีวัตถุประสงค์หลัก ในการช่วยเหลือสนับสนุนคน 2 กลุ่ม คือ 1. สร้างนักศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้ประกอบการ คนรุ่นใหม่ที่อยากทำโปรเจกต์ ดำเนินธุรกิจของตนเอง เราจะหล่อหลอมให้มีความรู้ความสามารถทำธุรกิจได้ตั้งแต่ตอนเรียน 2. การช่วยเหลือบุคคลภายนอก ที่อยากเป็นผู้ประกอบการ โดยจะนำโปรเจกต์ที่เพิ่งเกิดขึ้น (Incubate) หรือโปรเจกต์ที่มีแนวโน้มจะไปต่อได้ (Accelerate) แต่ยังขาดปัจจัยอื่น เช่น เงินทุน นำมาบ่มเพาะและต่อยอด โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือคำแนะนำ เพื่อเข้าสู่ในกระบวนการหาเงินทุน รวมถึงหาที่ปรึกษา (Mentor) ของสายธุรกิจนั้นมาช่วยเหลือ เพื่อให้โปรเจกต์สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างแท้จริง
ปรับหลักสูตรเน้น Experience Center
ดร.พัทธนันท์ ย้ำว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 นี้ ไม่ได้เป็นเพียงที่ให้การเรียนการสอน เพื่อให้ Knowledge เท่านั้น แต่จะต้องเป็นสถานที่ให้ Experience เพราะ Knowledge วันนี้หาได้จากอินเทอร์เน็ต แต่ Experience จะมีได้จากปฏิสัมพันธ์จริง (Face to Face interaction) ระหว่างเพื่อนนักเรียนและอาจารย์ผู้สอน จากการคบหา พูดคุย การถกเถียง การมีกิจกรรมร่วมกันซึ่งออนไลน์ไม่สามารถมาทดแทนได้ทั้งหมด
ดังนั้นการหล่อหลอมนักศึกษาที่เข้ามาเรียนเป็นเวลา 4 ปีนั้น ต้องไม่ใช่การเรียนการสอนในแบบเดิม เพราะเมื่อจบการศึกษาไปแล้วอาจจะนำไปใช้ไม่ได้ในการทำงานจริง
วันนี้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เริ่มปรับการเรียนการสอนเป็นแบบ Module จากในอดีตการเรียนในแต่ละวิชาจะแยกออกจากกัน เราจึงได้มีการปรับวิธีการ เช่น ทั้งหมวดวิชามี 12 หัวข้อแต่เรานำวิชาที่เกี่ยวข้องมาเพียง 5 ข้อและอีก 5 ข้อเป็นการนำวิชาอื่นๆ มารวมด้วย เรียกว่าเป็นการคละวิชา เมื่อนำวิชามาคละกันแล้วจะพัฒนาขึ้นเป็น Module การเรียนแบบนี้จะเป็นการหล่อหลอมให้เกิดการคิดครบวงจร ไม่เหมือนอดีตที่เรียนการตลาด หรือการเงิน การพัฒนาโปรเจกต์ใดขึ้นมาในวันนี้ จำเป็นจะต้องรู้การตลาดเฉพาะบางเรื่อง และการเงินเฉพาะบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง
การศึกษาของนักเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จึงมีการปรับเปลี่ยนไป โดยทุกวิชาเป็นลักษณะของโปรเจกต์ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ และ DPUX จะเข้าไปพัฒนาตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ซึ่งได้มีการปูพื้นฐาน Stem University Core ตั้งแต่ปี 1-2 ซึ่งประกอบด้วยทั้ง Design, Technology, Engineering และ Mathematic เป็นการเรียนแบบวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Apply Science) ทดลองทำจริง ไม่ใช่การท่องจำ
รวมถึงการเรียน AR และ Chat Bot โปรแกรมมิ่ง การบังคับโดรน บังคับโรบอต การเขียนภาษาสวิพ (Swift) รูบี (Ruby) เป็นวิชาพื้นฐานของนักศึกษาปีที่ 1 ในทุกคณะวิชา ทั้งสายวิทยาศาสตร์ และสายศิลปศาสตร์ เป็นการปรับใหม่ทั้งหลักสูตรที่ยังไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นทำ
ซึ่งอาจจะมีการตั้งคำถามว่า นักศึกษาที่เรียนต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์หรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีความจำเป็น เพราะเราสอนในสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นความพยายามทำให้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นเรื่องง่าย เพื่อสร้าง “นักรบพันธุ์ดิจิทัลด้วยหลักสูตรพันธุ์ใหม่”
ขอย้ำว่านักศึกษาที่จบการศึกษาจากที่นี่ นอกจากรู้ในศาสตร์สำคัญของตนเอง เช่นรู้ในสายวิศวะ หรือรู้ไอที รู้เทคโนโลยีตั้งแต่ IoT การใช้โดรนแล้วนั้น ยังต้องรู้ Business เพราะเราเป็นธุรกิจบัณฑิตย์ การเรียนรู้เทคโนโลยีนั้น ต้องนำมาใช้ได้ เพราะการทำธุรกิจเองจะต้องเข้าใจ และนำไปใช้เป็น
ถัดมาในปีการศึกษาที่ 3 จะเป็นการเรียนในวิชาที่เรียกว่า Capstone Project คือ การรวมกลุ่มข้ามคณะ เพื่อพัฒนาบิสิเนสโปรเจกต์ในลักษณะการแก้ปัญหาหน่วยงานรัฐและเอกชนตามโจทย์ที่ให้มา และมหาวิทยาลัยจะ Assign Mentor มาให้เพื่อช่วยแนะนำตามคอนเซปต์ของ Design Thinking ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ตั้งแต่การนำเสนอไอเดียแก้ปัญหา นำมาพิชชิ่งหากผ่านคณะกรรมการ จะได้เงินทุนตั้งต้น (Seed Money) ไปทำตัวทดลองต้นแบบ (Prototype) ต่อในเทอมที่ 2 เมื่อมีเงินเริ่มต้นในการพัฒนา Prototype ช่วงที่ 2 จะเป็น VC พิชชิ่ง (Venture Capital) เพื่อหาคนมาร่วมลงทุน และสำหรับนักศึกษาที่มีแนวโน้มจะไปต่อในทางธุรกิจ จะมีทุนของมหาวิทยาลัยลงเป็น VC ให้อีกด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยมีแผนว่าใน 1 ปีจะสามารถพัฒนาโครงการลักษณะนี้ได้ถึงประมาณ 20 โครงการ โดยมุ่งเน้นที่ 3 ด้านหลักๆ คือ Wellness, Way of Living (Personal Living) และ Technology & Innovation
ดังนั้นโปรเจกต์ที่เดินหน้าสนับสนุน จะตอบสนอง 3 ด้านนี้ สาย Wellness นั้นกว้างมาก เพราะประกอบด้วย Body, Mind & Seoul เรียกได้ว่าสปา, Health หรือผู้สูงวัยก็เป็นหนึ่งใน Wellness ซึ่งหัวข้อเหล่านี้เด็กมีความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างน่าสนใจมาก หน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือ การเปลี่ยน Imagination เป็น Innovation ให้ตอบสนองความต้องการของสังคมได้ เราจึงพัฒนาหลักสูตรใหม่และก่อตั้ง DPU-X ขึ้นมา
ปัจจุบันได้มีการนำร่องนักศึกษากลุ่มนี้ขึ้นมาแล้ว ซึ่งทั้งหมดนั้นมีไอเดีย เพียงแต่ขาดคนนำจึงต้องสนับสนุนเพิ่มเติม ตั้งแต่ชี้ชัดกลุ่มเป้าหมาย รายได้ ไปจนถึงการช่วยเหลือเงินทุน ซึ่ง DPU-X สนับสนุนทุกคณะวิชา และเปิดรับบุคคลภายนอกด้วย
“มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กำลังสร้างมนุษย์พันธุ์ดิจิตอล ที่ไม่แค่เพียงรู้เทคโนโลยี แต่ต้องสามารถนำมาใช้ได้ เพราะลองคิดดูว่าในอนาคตไม่เกิน 10 ปี แม้แต่อุปกรณ์ในบ้านก็ต้องผ่านการ Coding ง่ายๆ ของเราเอง เพื่อให้ตอบสนองการทำงานที่เราต้องการ จึงต้องเร่งในการพัฒนาคนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง”