January 22, 2025

ในยุคปัจจุบันที่สภาพภูมิอากาศผันแปรอย่างรวดเร็ว อาจนำมาสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ของสิ่งมีชีวิต ทุกภาคส่วนจึงต้องตื่นตัว รวมถึงภาคธุรกิจ หากตระหนักและใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญและช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ finbiz by ttb จึงชวนผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ให้ธุรกิจสามารถจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างถูกต้องตรงจุด และเสริมภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร

การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

โลกได้เผชิญกับการสูญพันธุ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปะทุของภูเขาไฟที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และอีก 1 ครั้งจากการชนโลกของอุกกาบาตขนาดใหญ่ และในครั้งนี้ที่โลกกำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 100-1,000 เท่า และมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของสภาพแวดล้อมเร็วกว่าการทำนายโดยสถิติที่เคยคาดการณ์ไว้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วด้วยอัตราความเร่งที่สูงกว่าอดีต ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะธรรมชาติ แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ธุรกิจจึงต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อความยั่งยืนของโลกคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

อีกหนึ่งปัจจัยที่ธุรกิจต้องให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความยั่งยืนในธุรกิจมากขึ้น ผลสำรวจจาก Nielsen ในปี 2023 พบว่า 73% ของผู้บริโภคทั่วโลกยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และ Millennials ที่มองว่าความยั่งยืนไม่ใช่แค่ “ตัวเลือก” แต่เป็น “มาตรฐาน” เช่น การตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ลดการใช้พลาสติก หรือมีการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มนี้ อาจเสี่ยงเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่งที่นำเสนอมูลค่าด้านความยั่งยืนได้ดีกว่า

ความสมดุลระหว่าง ต้นทุน กำไร และความเสี่ยง คือหัวใจความยั่งยืนของธุรกิจ

การผสมผสานเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ไม่ได้แค่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่ยังช่วยลดต้นทุนระยะยาว และรักษาสมดุลของต้นทุน กำไร และความเสี่ยง เช่น การใช้พลังงานทดแทนหรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นความยั่งยืนทั้งของโลกและของธุรกิจ

ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด ที่ธุรกิจต้องลดให้ได้

ก๊าซเรือนกระจกที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มอุณหภูมิโลก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็น 74% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง มีเทน เกิดจากภาคเกษตรกรรมและการทิ้งขยะ ไนตรัสออกไซด์ มาจากปุ๋ยเคมีและการผลิตอุตสาหกรรม กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออไรคาร์บอน เกิดจากกระบวนการถลุงอะลูมิเนียม และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ อยู่ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ นำมาใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าจากอุปกรณ์สวิตช์ไฟฟ้าแรงสูง หากธุรกิจสามารถวิเคราะห์และลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลดใช้พลังงานที่มาจากฟอสซิล ก็จะช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระยะยาวได้

ก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตขององค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรสามารถแบ่งเป็น 3 Scope ที่สำคัญ ธุรกิจต้องทำความเข้าใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละ Scope จึงจะดูแลได้อย่างตรงจุด

  • Scope 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมของธุรกิจเอง เห็นได้ง่าย ๆ คือ มีควันออกมาจากปล่อง มีการรั่วออกมาโดยตรง
  • Scope 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่ถูกซื้อมา การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ที่องค์กรของเราซื้อหรือนำเข้ามาโดยที่องค์กรไม่ได้ผลิตเอง มีทั้งหมด 5 รายการ ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น และ อากาศอัด
  • Scope 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ เช่น จากซัพพลายเชนของธุรกิจ

 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องใส่ใจ

การจัดการคาร์บอนองค์กร เช่น การตั้งเป้า Net Zero หรือการพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ ไม่เพียงสร้างความยั่งยืนในสายตาของผู้บริโภค แต่ยังเพิ่มความน่าสนใจให้กับนักลงทุนที่มองหาองค์กรที่มีเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน บริษัทใหญ่หลาย ๆ บริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นให้เป็นศูนย์ภายในปีที่กำหนด ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งของธุรกิจในตลาดโลก ธุรกิจที่ตื่นตัวและเร่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงสร้างความเชื่อมั่นในระยะสั้นให้ผู้บริโภค แต่ยังช่วยปูทางสู่ความสำเร็จในอนาคตที่ยั่งยืนและเติบโตได้อย่างมั่นคง

ขั้นตอนสู่การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดขอบเขตองค์กร แบบควบคุมทางการเงินและควบคุมการดำเนินงาน หรือ แบบปันส่วนตามกรรมสิทธิ์ และการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานตาม 3 Scope

ขั้นตอนที่ 2 การระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในขอบเขตและ Value Chain ขององค์กร

ขั้นตอนที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและแหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 4 การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อปรับปรุงคุณภาพข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมตามความเกี่ยวข้องและนัยยะสำคัญขององค์กร

ขั้นตอนที่ 6 รายงานและทวนสอบ จัดทำรายงานเพื่อแสดงแหล่งที่มาและกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 7 ขึ้นทะเบียน ผู้ตรวจสอบจะออกรายงานการทวนสอบ และถ้อยแถลงส่งมาที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะพิจารณาอนุมัติขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์และออก Certificate เพื่อรับรองว่าองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ในแต่ละ Scope

การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เพื่อให้องค์กรรู้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง และจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ถูกต้องตรงจุด อันจะส่งผลระยะยาวกับความยั่งยืนของโลกและธุรกิจ ทั้งนี้ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสร้างความยั่งยืนของโลกและให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันธุรกิจในไทยมีหลากหลายขนาด ซึ่งหลาย ๆ บริษัทเติบโตมาจากธุรกิจครอบครัว แต่กว่าจะเติบโตมาเป็นบริษัทที่มั่นคงได้นั้นจะต้องผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย  finbiz by ttb ได้รวบรวมประสบการณ์และกลยุทธ์ของบริษัทที่เติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง จนสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ มาแบ่งปันสูตรความสำเร็จไว้ดังนี้

โจทย์มีไว้แก้ไข เป้าหมายมีไว้พุ่งชน ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินการมาอย่างยาวนาน มีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจให้ก้าวไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกในอนาคต ซึ่งความท้าทายหลัก ๆ ได้แก่

  • การทำงานร่วมกันในครอบครัว ต้องปราศจากความขัดแย้งและไปกันได้ด้วยดี
  • การสร้างนวัตกรรมและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
  • การจัดการกับพอร์ตโฟลิโอและซัพพลายเชน ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน

รู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนการทรานส์ฟอร์ม ปัญหาที่พบในธุรกิจซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น มักเกิดจากการขาดการสื่อสารที่ดีในองค์กร ขาดการทำงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงาน การใช้ข้อมูลที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ และความไม่เชื่อใจระหว่างหน่วยงานหรือคนทำงาน ไม่กล้าปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำมาตลอด ดังนั้นการทรานส์ฟอร์ม ต้องเริ่มจาก

  1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน
  2. การรักษาสมดุลระหว่างหน่วยงาน ด้วยการตั้ง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องไปกับเป้าหมายองค์กร
  3. การมีข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน
  4. การให้ความไว้วางใจกัน โดยลด “ค่าเผื่อ” ออกทุก ๆ กิจกรรม
  5. การลงไปดูหน้างานจริงเพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยจะเป็นการสะท้อนปัญหาและตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูล
  6. ยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองและองค์กรอยู่เสมอ

สร้าง LEAN เป็นวัฒนธรรมองค์กร “หาเงินข้างนอก 1 บาท ยากกว่าการลดต้นทุน 1 บาทในโรงงาน” คำกล่าวนี้ถือเป็นหนึ่งในแนวคิด LEAN คือ การมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต ซึ่งการบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องสามารถสร้าง LEAN ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรได้ ดังนี้

  1. สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในทีมงาน
  2. เริ่มต้นจากการปรับปรุงกระบวนการที่ทำได้ทันทีและมีผลกระทบเชิงบวกสูง
  3. วัดผลและติดตามการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  4. ชมเชยและให้รางวัลแก่คนที่ทำงานดีทันทีและเหมาะสม
  5. ลงทุนในข้อมูลที่ถูกต้อง และลงทุนกับการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์
  6. เปิดโอกาสและเปิดใจให้ทีมงานได้ปรับปรุงและทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ
  7. เปลี่ยนความสัมพันธ์เป็นความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในซัพพลายเชน ทั้งการทำงานภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

การนำแนวคิด LEAN มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว จะทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถเติบโตและขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นได้อย่างมั่นคง 


ที่มา : จากหลักสูตร “LEAN for Sustainable Growth by ttb” รุ่นที่ 19 สำหรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ (Healthcare) แหล่งรวมเรื่องราวความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด ที่ finbiz by ttb (Link >https://www.ttbbank.com/link/pr/finbiz)

ปัจจุบันมี SME เกิดขึ้นมากมาย แต่ทราบหรือไม่ว่า SME ที่เปิดกิจการใหม่ในแต่ละปีจะอยู่รอดเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ แต่หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญก็คือ การที่ธุรกิจยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในดวงใจของลูกค้านั่นเอง  finbiz by ttb จึงจะพาไปสำรวจความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน และเสนอตัวช่วยที่จะทำให้ SME สามารถวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ทำแต่สิ่งที่โดนใจลูกค้า ทำให้ SME ธรรมดากลายเป็นธุรกิจที่อยู่ในดวงใจของลูกค้าได้ไม่ยาก

สิ่งที่ลูกค้าสมัยนี้ต้องการ คืออะไร

ก่อนอื่นผู้ประกอบการ SME ต้องเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าในยุคปัจจุบันว่าต้องการในทุกแง่มุม ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ ดังนี้

1) ลูกค้าเลือกแบรนด์จากมุมมองของสังคม ซึ่งมีผลวิจัยระบุว่า ลูกค้า 84% สนใจภาพลักษณ์ในสิ่งที่สังคมมองมาที่แบรนด์ ดังนั้น แบรนด์จึงต้องนำเสนอตัวเองได้อย่างชัดเจน มีจุดยืน และต้องแน่ใจว่านั่นคือจุดยืนที่ลูกค้าของแบรนด์ต้องการ

2) ธุรกิจต้องตอบสนองลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ธุรกิจต้องเสนอสินค้าและบริการที่ครบวงจร การซื้อขายต้องตอบสนองลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นจนจบในเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า รวมไปถึงบริการหลังการขายด้วย

3) ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะลูกค้ายุคใหม่มีความตระหนักในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

4) ให้คุณค่ากับสุขภาพองค์รวม ผู้บริโภคยุคใหม่ให้คุณค่ากับสุขภาพองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และคุณค่าต่อสังคม ดังนั้นธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญทั้งด้านคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและสังคมโดยรอบ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ไม่ได้หยุดอยู่ที่ความต้องการสินค้า หรือการตอบสนองความต้องการใช้งานสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของภาพลักษณ์องค์กร ความเข้าอกเข้าใจ สิ่งที่แบรนด์นำเสนอ จริยธรรม และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่ง SME จะเป็นแบรนด์ที่โดนใจได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจสามารถวิเคราะห์ลูกค้ารายบุคคลได้อย่างเข้าอกเข้าใจนั่นเอง

ประเด็นสำคัญที่ SME ต้องวิเคราะห์ให้ถูกต้อง

การจะเป็นแบรนด์ที่เข้าอกเข้าใจลูกค้านั้น มี 4 มิติสำคัญหลัก ๆ ที่ SME จะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนี้

1) ต้องเห็นภาพรวมของร้านค้าตัวเอง ถ้าร้านค้าเห็นภาพรวมที่ผ่านมา จะทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการขายในอนาคต และเห็นลักษณะของลูกค้า ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2) ช่วงเวลาไหน ยอดขายเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ และช่วงเวลาที่ขายดีก็สามารถเพิ่มโปรโมชันที่เร้าใจเข้าไปได้อีกด้วย

3) รู้สินค้าเรือธงของร้านค้า หากร้านค้าสามารถวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มความต้องการของลูกค้า ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจจับสินค้าเรือธงได้อย่างถูกต้อง และทำการกระตุ้นได้ตรงใจลูกค้า

4) แยกพฤติกรรมลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน หรือนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจ และมีความเข้าใจลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

ตัวช่วยดี มีชัยในการวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

สำหรับ SME แล้ว การหาตัวช่วยวิเคราะห์ดี ๆ ก็มักจะมีค่าใช้จ่ายตามมา ซึ่งเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสามารถเข้าถึง Analytic Report ดี ๆ ได้ไม่ยาก จากเครื่องมือของสถาบันทางการเงินที่รู้และเข้าใจความสำคัญของการวิเคราะห์ลูกค้า อย่างทีทีบี ที่มีแอปพลิเคชันระบบการจัดการร้านค้า ttb smart shop ที่ได้พัฒนาต่อยอดให้มีฟีเจอร์ตัวช่วยใหม่อย่าง ttb smart shop analytic report ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นภาพรวมเชิงลึกของธุรกิจในมิติต่าง ๆ ที่ตอบสนองทั้ง 4 มิติที่สำคัญ โดยจะช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมร้านค้า รู้ช่วงเวลาการขาย รู้ว่าสินค้าไหนขายดี และยังแสดงข้อมูลลูกค้าขาประจำและขาจร โปรไฟล์ลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อีกด้วย ttb smart shop analytic report จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลการขายรายเดือนในเชิงลึก ครบทุกมิติ และยังไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้งานแอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ttb smart shop

นอกจากนั้น ttb smart shop ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัว ลดต้นทุนและมีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ เงินเข้าบัญชีทันทีเมื่อรับชำระเงินผ่าน QR Code ได้จากทุกธนาคาร พร้อมมีบริการแจ้งเตือนเงินเข้า โดยแยกยอดเงินเข้าแต่ละยอดอย่างชัดเจน มีรายงานสรุปการขาย สามารถเลือกดูตามช่วงเวลาได้ตลอดตามความต้องการ และมีรายงานรายวันที่มีข้อมูลครบ รอบด้าน ในรูปแบบ Excel ส่งให้ทางอีเมลโดยอัตโนมัติ สามารถกำหนดและตั้งค่าสิทธิ์ของพนักงานได้อย่างไม่จำกัด จึงมีความคล่องตัวสำหรับธุรกิจที่มีหลายสาขา หรือพนักงานที่มีการรับเงินหลายตำแหน่ง พร้อมทั้งสามารถกดขอป้าย QR Code ผ่านแอปได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาธนาคาร

ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจแอปพลิเคชันระบบการจัดการร้านค้า ttb smart shop สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08:00 - 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ขอเชิญผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และคอนซูมเมอร์ โปรดักส์ เข้าร่วมสัมมนาเสริมองค์ความรู้เพื่อการวางแผนธุรกิจอย่างยั่งยืน ในงาน finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต..สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน ในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 – 17:00 น. ณ โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท ภายใต้โครงการ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้สำหรับ SME เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจได้นำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปปรับใช้เพื่อรับมือกับเทรนด์ธุรกิจอนาคต พร้อมวางแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน 

ผู้ประกอบการจะได้พบกับเทรนด์อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อนำมาเชื่อมต่อกับการปรับตัวขององค์กร การวางแผนการเงินและภาษี พร้อมแนวทางกลยุทธ์ธุรกิจให้พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเนื้อหาที่น่าใจ ได้แก่

  • เจาะลึกเทรนด์อุตสาหกรรม และพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคต
  • ถอดบทเรียนความสำเร็จ แนวทางดำเนินธุรกิจเติบโตแบบยั่งยืน ทั้งในประเทศและต่างประเทศจากเจ้าของธุรกิจโดยตรง
  • เทคนิควางแผนภาษีธุรกิจ เพื่อสร้างรากฐานการเงินที่แข็งแรง
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจคล่องตัวด้วยดิจิทัลโซลูชันทางการเงิน

ผ่านมุมมองของนักธุรกิจ Mentor ของ finbiz มากประสบการณ์ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่

  • คุณสุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งแบรนด์โทฟุซัง และซีอีโอ บริษัท โทฟุซัง จำกัด
  • คุณถนอม เกตุเอม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความรู้ภาษี เจ้าของเพจ TAXBugnoms
  • คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ (Baramizi Lab)
  • คุณวรงค์นาฏ ตรงคงสิน หัวหน้าผลิตภัณฑ์ธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนิติบุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และคอนซูมเมอร์ โปรดักส์ ที่มียอดขาย 50 ล้านบาท - 400 ล้านบาทต่อปี สามารถลงทะเบียนผ่าน https://www.ttbbank.com/web/event1 ได้ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 หรือติดต่อ คุณทิพานันท์ สิขัณฑกสมิตร โทรศัพท์ 08 1172 1166  อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมงานเท่านั้น

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click