เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2568 นายฐิติวุฒิ เงินคล้าย รองผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ร่วมกับนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่สำรวจ และติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนพระราม 3 ณ หน้าสวนศิลาฤกษ์ และบริเวณเส้นทางโครงการโดยรอบ โดยเน้นย้ำเรื่องการปฏิบัติงานให้ลดผลกระทบจากการก่อสร้างกับประชาชนมากที่สุด
รองผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านระบบไฟฟ้า ทำให้เกิดความปลอดภัย และเกิดทัศนียภาพที่สวยงาม โดยได้ดำเนินงานในช่วงเวลา 22.00 - 05.00 น. ของทุกวันเพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลากลางวันที่มีการเปิดให้รถสัญจรเป็นปกตินั้น MEA ได้กำหนดรูปแบบการดำเนินงานให้กับบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างในแต่ละโครงการ เช่น การปิดฝาบ่อพักชั่วคราว การวางแผ่น Road Deck ตลอดจนการเทคอนกรีตเพื่อแก้ไขปัญหาผิวการจราจร แต่เนื่องจากปัญหาอุปสรรคการทรุดตัวของดิน และข้อจำกัดในด้านระยะเวลาดำเนินงาน จึงส่งผลต่อความราบเรียบและความสม่ำเสมอของผิวถนนในบางพื้นที่ ซึ่ง MEA และบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากการวางแนวทางด้านวิศวกรรมแล้ว MEA ได้วางมาตรการกำกับการปฏิบัติงานของบริษัทผู้รับเหมา โดยการจัดให้มีการตรวจสอบความเรียบร้อยของฝาบ่อ และผิวจราจรตลอดระยะพื้นที่ของโครงการก่อสร้าง 2 ช่วงเวลาต่อวัน รวมถึงการจัดทีมงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขเหตุเร่งด่วน และการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน
ปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินตามแผนดำเนินการรวมทั้งสิ้น 313.5 กิโลเมตร โดยมีเป้าหมายแล้วเสร็จภายในปี 2572 ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 90 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญหลายแห่ง ขณะที่อีก 223.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก และโครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ซึ่งมีพื้นที่ก่อสร้างส่วนใหญ่ร่วมกับการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการก่อสร้าง รวมถึงลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของ MEA รวมถึงพบสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าของ MEA ชำรุด หรืออยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย สามารถแจ้งเหตุได้ที่ MEA Smart Life Application ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนระบบ iOS และ Android ดาวน์โหลดฟรีได้ที่ App Store และ Google Play หรือช่องทางโซเชียลมีเดียทางการของ MEA ได้ที่ Line: MEA Connect (@MEAthailand) สัญลักษณ์โล่สีเขียวนำหน้าชื่อบัญชีทางการ เลือกเมนู ติดต่อ MEA Call Center Online 1130 ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร ขอเชิญคลินิก สถานพยาบาลร้านยา เอกชน สมัครเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมให้บริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมยกระดับโครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร” ซึ่งจะคิกออฟอย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 พร้อมเร่งปรับปรุงระบบรองรับ ลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์
สปสช.มีความตั้งใจในการยกระดับการให้บริการระบบสาธารณสุขเพื่อประชาชน ให้เข้าถึงบริการสุขภาพภายใต้นโยบาย “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาที่หน่วยบริการนวัตกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความหนาแน่นของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ สปสช. จึงขอเชิญชวนหน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภทในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย คลินิกเวชกรรม, คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, คลินิกทันตกรรม, คลินิกเทคนิคการแพทย์, คลินิกการแพทย์แผนไทย , คลินิกกายภาพบำบัด และ ร้านยา GPP+ ร้านยาคุณภาพ ร่วมสมัครเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำหรับหน่วยบริการเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถเตรียมเอกสารสมัครดังนี้ ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (แบบ ข.ย.5) สำหรับร้านยา ส่วนสถานพยาบาลประเภทอื่นไม่ต้องใช้เนื่องจากเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแล้ว, หนังสือมอบอำนาจและเอกสารผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมีมอบอำนาจ), บัญชีธนาคารพร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (Book Bank) โดยชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อหน่วยบริการ หรือนิติบุคคล หรือชื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล สพ.7 โดยไม่ต้องวางหลักประกันสัญญา และประกาศขึ้นทะเบียนและลงนามนิติกรรมภายใน 5 วันทำการ
ทั้งนี้ สปสช. ได้เร่งทำการปรับปรุงระบบเพื่อรองรับทั้งในส่วนการขึ้นทะเบียนและการเบิกจ่าย เพื่อให้สามารถลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมกันนี้ยังได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูล เชิญชวน และอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนทันทีให้กับหน่วยบริการนวัตกรรมที่สนใจทั่วกรุงเทพฯ
คลินิก สถานพยาบาล ร้านยา เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สนใจ สามารถยื่นเอกสารสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แล้ววันนี้! แบบ One Stop Service ผ่านทางเว็บไซต์ https://ossregister.nhso.go.th/#/public-portal หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 กด 5
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร ขอเชิญคลินิก สถานพยาบาลร้านยา เอกชน สมัครเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมให้บริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมยกระดับโครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร” ซึ่งจะคิกออฟอย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 พร้อมเร่งปรับปรุงระบบรองรับ ลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์
สปสช.มีความตั้งใจในการยกระดับการให้บริการระบบสาธารณสุขเพื่อประชาชน ให้เข้าถึงบริการสุขภาพภายใต้นโยบาย “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาที่หน่วยบริการนวัตกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความหนาแน่นของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ สปสช. จึงขอเชิญชวนหน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภทในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย คลินิกเวชกรรม, คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, คลินิกทันตกรรม, คลินิกเทคนิคการแพทย์, คลินิกการแพทย์แผนไทย , คลินิกกายภาพบำบัด และ ร้านยา GPP+ ร้านยาคุณภาพ ร่วมสมัครเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำหรับหน่วยบริการเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถเตรียมเอกสารสมัครดังนี้ ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (แบบ ข.ย.5) สำหรับร้านยา ส่วนสถานพยาบาลประเภทอื่นไม่ต้องใช้เนื่องจากเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแล้ว, หนังสือมอบอำนาจและเอกสารผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมีมอบอำนาจ), บัญชีธนาคารพร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (Book Bank) โดยชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อหน่วยบริการ หรือนิติบุคคล หรือชื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล สพ.7 โดยไม่ต้องวางหลักประกันสัญญา และประกาศขึ้นทะเบียนและลงนามนิติกรรมภายใน 5 วันทำการ
ทั้งนี้ สปสช. ได้เร่งทำการปรับปรุงระบบเพื่อรองรับทั้งในส่วนการขึ้นทะเบียนและการเบิกจ่าย เพื่อให้สามารถลงทะเบียนง่าย จ่ายเงินคืนเร็ว หากข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมกันนี้ยังได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูล เชิญชวน และอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนทันทีให้กับหน่วยบริการนวัตกรรมที่สนใจทั่วกรุงเทพฯ
คลินิก สถานพยาบาล ร้านยา เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สนใจ สามารถยื่นเอกสารสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แล้ววันนี้! แบบ One Stop Service ผ่านทางเว็บไซต์ https://ossregister.nhso.go.th/#/public-portal หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 กด 5