December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

Asia International Hemp Expo 2024’ พร้อมเปิดงานอุตสาหกรรมกัญชงที่ครบครับที่สุดของเอเชีย ด้วยความร่วมมือของ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TiHTA) จับมือกับ นีโอ เดินหน้าสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงนักลงทุน นักอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนกัญชงไทยไปพร้อมกับอุตสาหกรรมเฮมป์ทั่วโลก พร้อมประกาศจับมือ 12 ชาติ ก่อตั้ง ‘สมาพันธ์กัญชงนานาชาติเอเชีย’ ขจัดอุปสรรคทางการค้า ส่งเสริม พัฒนาและสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกัญชงร่วมกัน

นายพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันพืชกัญชงได้รับการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งบริบทสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้างคือการเป็นพืชลดการปล่อยคาร์บอนและเน้นดูดซับมากกว่าการปล่อย (Carbon Negative) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเส้นใยจากกัญชงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกำลังเติบโตในเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากเส้นใยมีคุณสมบัติพิเศษในด้านความแข็งแรง ทนทาน สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้จึงถูกนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ ผ้า เสื้อผ้า วัสดุก่อสร้าง รวมถึงการนำมาใช้ทดแทนพลาสติกและไนลอน ส่งผลให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมเส้นใยกัญชงในอนาคตช่วยลดปริมาณขยะที่ไม่ย่อยสลาย ลดการตัดไม้ทำลายป่า เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทั้งนี้พืชกัญชง ถือเป็นพืชทางเลือกที่ต้องเร่งศึกษาและวิจัยนวัตกรรมมากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเส้นใยที่มีมูลค่ามหาศาล ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตอบโจทย์ความต้องการของโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนี้ การพัฒนาการใช้วัตถุดิบกัญชงในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ มีแนวโน้มการเติบโตตามเทรนด์ Health & Wellness โดยในปี 2567 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 48,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2570 หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 8.5% จากปัจจัยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ความนิยมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติที่มีมากขึ้น อีกทั้งในทางการแพทย์ผลิตภัณฑ์จากกัญชงสามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรค NCDs (non-communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สร้างขึ้นเองจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น

 

12 ชาติผนึกกำลัง จัดตั้ง ‘สมาพันธ์กัญชงนานาชาติเอเชีย’

สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย ร่วมมือกับพันธมิตรนานาชาติรวมทั้งหมด 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยูเครน สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศ EU จัดตั้ง ‘สมาพันธ์กัญชงนานาชาติเอเชีย’ (Asia International Hemp Federation - AIHF) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริมการค้าและพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบ และอุปสรรคทางการค้าในแต่ละประเทศ รวมถึงการจัดตั้งแพลตฟอร์มการค้าผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์เพื่อเชื่อมโยงผู้ซื้อ ผู้ขาย นำไปสู่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมและผู้จัดจำหน่าย

ทั้งนี้ สมาพันธ์ฯได้วาง 4 พันธกิจในการดำเนินงาน ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาอุตสาหกรรม ด้วยการสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมระหว่างเกษตรกร ผู้แปรรูป นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบาย โดยมีการตั้งมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการผลิตและคุณภาพของเฮมป์ในเอเชีย และร่วมส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมกัญชง 2. สร้างความเข้าใจและการยอมรับ ผ่านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเฮมป์ และร่วมกันจัดแคมเปญการตระหนักรู้เพื่อเน้นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ 3. ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบาย โดยสมาพันธ์จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนเฮมป์ในการหารือเรื่องนโยบาย ด้วยการส่งเสริมความสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐบาลเพื่อพัฒนานโยบายที่เป็นมิตรต่ออุตสาหกรรม รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลในการกำหนดมาตรฐานการทดสอบ และความปลอดภัย รวมถึงขีดจำกัดของสารสกัด THC และ 4.ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้เฮมป์ในทุกด้านเพื่อลดปริมาณขยะ

‘กัญชง’ พืชเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมตอบโจทย์ความยั่งยืน

ขณะที่มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมกัญชงทั่วโลก และนับรวมกับกัญชงเพื่อสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยมีมูลค่าประมาณ 20,000 – 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 15-20% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมวัสดุจากกัญชง (รวมพลาสติกชีวภาพและวัสดุก่อสร้าง) มีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีข้างหน้า สะท้อนถึงความต้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืนและผู้บริโภคหันมาเลือกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งได้ปัจจัยบวกจากการสนับสนุนของรัฐบาลหลายประเทศในการออกนโยบายสนับสนุนการปลูกและการใช้กัญชงเพื่ออุตสาหกรรมมากขึ้น สร้างแรงผลักดันที่สำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมกัญชงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพในการขยายตัวสูง นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต

ปัจจุบันอุตสาหกรรมกัญชงเพื่อสิ่งแวดล้อมนานาประเทศกำลังขยายตัว และถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน อาทิ การใช้วัสดุทดแทนพลาสติก ด้วยการนำไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในการผลิตบรรจุภัณฑ์และชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยใช้เส้นใยกัญชงในการผลิตผ้าและเสื้อผ้า ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, วัสดุก่อสร้าง นำมาผลิตเป็นคอนกรีตกัญชง สนับสนุนวัสดุก่อสร้างที่ลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างความยั่งยืน, เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยพืชกัญชงมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูดินและลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ช่วยส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน

นายสุรพล อุทินทุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) เปิดเผยว่า การจัดงาน Asia International Hemp Expo 2024 งานประจำปีของอุตสาหกรรมกัญชงที่ครบครันที่สุดในงานเดียว โดยในปีนี้ได้วางแนวทางในการเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมโยงนักลงทุน ผู้ประกอบการ และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกัญชง สร้างโอกาสแก่กัญชงไทยและอุตสาหกรรมกัญชง ผ่านการจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของกัญชงทั้ง 14 อุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำในกระบวนการปลูก จนถึงปลายน้ำที่นำเสนอเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า และนวัตกรรม โดยมีผู้จัดแสดงงานภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่า 150 บริษัท ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 40 หน่วยงาน นอกจากนี้ได้เปิดเวทีสัมมนาประจำปีที่มีนักอุตสาหกรรมกัญชงจาก 40 ประเทศเข้าร่วมงาน เพื่อนำเสนอเทรนด์และแนวโน้มของอุตสาหกรรมกัญชงในปัจจุบันและอนาคต และสร้างพื้นที่เพื่อเจรจาในการมองหาโอกาสทางธุรกิจ

ขณะเดียวกันได้นำเสนอแนวคิดการจัดงาน ‘Hemp Inspires’ ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์กัญชงจากความร่วมมือของสมาคม Design and Object จัดแสดงผลงานเฟอร์นิเจอร์และสินค้าไลฟ์สไตล์ สำหรับกลุ่มนักออกแบบ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม กลุ่มธุรกิจคาร์บอนต่ำ และแฟชั่นโชว์ในช่วงพิธีเปิดงานด้วยคอลเลกชันเสื้อผ้าเส้นใยกัญชงของ Earthology Studio

 

“สำหรับงาน Asia International Hemp Expo 2024 ผมคาดว่าปีนี้ผู้เข้าชมงานจะอยู่ประมาณ 10,000 คน เม็ดเงินสะพัดจากการจัดงานราว 1,000 ล้านบาท สะท้อนว่าอุตสาหกรรมกัญชงยังคงได้รับความนิยมทั้งจากนักลงทุน ผู้ประกอบการ นักอุตสาหกรรมกัญชงทั้งจากในไทยและต่างประเทศ เชื่อว่างานจะเป็นเวทีและพื้นที่ในการสร้างโอกาสเพื่อก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมกัญชง สำหรับงานนี้จะมีการควบคุมผู้เข้าชมงาน โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงานได้ตั้งแต่วันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2567 ณ Hall 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” คุณสุรพล กล่าวทิ้งท้าย

เดินหน้าสร้าง Ecosystem Business ขยายศักยภาพอุตสาหกรรมกัญชงไทย ผนึกพันธมิตรมุ่งสู่ Wellness – Sustainable ตอบโจทย์ตลาดโลก

สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TiHTA) เร่งสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมกัญชงไทยสอดรับมาตรฐานสากล รองรับโอกาสทางธุรกิจจากตลาดกัญชงเกิดใหม่ หลังยุโรปและประเทศในเอเชียปรับกฎหมายการใช้ประโยชน์กัญชง พร้อมผลักดันโครงการต้นแบบ ‘Hemp Sandbox’ เพื่อสร้างราคากลางวัตถุดิบกัญชง เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม และจับมือร่วมกับ นีโอ ประกาศการจัดงานสุดยิ่งใหญ่ของภูมิภาคเอเชียเป็นปีที่ 3 กับงาน ‘Asia International Hemp Expo 2024’ ขับเคลื่อนและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกัญชงให้เดินหน้าต่อ คาดเม็ดเงินในงานสะพัดเกิน 1,000 ล้านบาท ดีเดย์จัดงาน 27-30 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการบริหาร บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) กล่าวว่า “ภายใต้ความร่วมมือการจัดงานครั้งที่ 3 ในปีนี้กับงาน Asia International Hemp Expo 2024 ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดงานแสดงสินค้า เรามีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ของงานแสดงสินค้าในการเชื่อมโยงโอกาส และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกัญชง เพื่อบรรเทาข้อจำกัดของอุตสาหกรรมให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับงานในปีนี้นอกจากการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ 14 อุตสาหกรรมแล้ว ได้มีการจัดสัมมนานานาชาติที่เป็น Case study และการแบ่งปันความรู้โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์จริงกว่า 20 ประเทศที่มีความโดดเด่นในสาขาต่างๆ ทั้งเทคนิกการปลูก เทคนิคการสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารแห่งอนาคต คอมโพสิทเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอากาศยาน เฮมพ์กรีต และที่สำคัญคือมาตรฐานการผลิตสำหรับตลาดในประเทศต่างๆด้วย โดยในปีนี้เราคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแสดงกว่า 200 บริษัท ผู้เข้าชมงานกว่า 10,000 คน และมีเงินสะพัดจากการจัดงานครั้งนี้กว่า 1,000 ล้านบาท”

 

 

สร้างมาตรฐานสากลในอุตสาหกรรมกัญชงไทยเพื่อเปิดรับทุกโอกาสบนเวทีโลก

การผลักดันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการสร้างมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับสากลเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆที่ช่วยให้สามารถเกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เครือข่ายอุตสากกรรมพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องต่ออุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตที่ดีตั้งแต่ต้นน้ำและกลางน้ำ ด้วยการจัดทำมาตรฐานติดตามข้อมูลตลอดกระบวนการผลิตผ่านระบบ Tracking system และสะท้อนความสำเร็จการผลักดันมาตรฐานจากผู้ประกอบการในกลุ่มสมาชิกที่มีการดำเนินการขอมาตรฐาน GAP และ GACP เพิ่มมากขึ้น

ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศใช้มาตรฐานสารสกัดกัญชงตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ น้ำมันเมล็ดกัญชง สารสกัดCBD เปลือกกัญชง แกนกัญชง เส้นใยกัญชง เพื่อให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม อาทิ สิ่งทอ อาหาร เครื่องสำอาง กระดาษ ยานยนต์ เป็นต้น นับเป็นการสร้างมาตรฐานการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดกัญชงใหม่ในทวีปยุโรปที่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบจากไทย ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกัญชงในไทยต้องดำเนินการตามมาตรฐาน GMP, EU-GMP เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตลาดเป้าหมาย

นอกจากนี้เส้นใยและสารสกัดกัญชง ซึ่งมีการนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ alternative wellness, ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์, อุตสาหกรรมแฟชั่น, อุตสาหกรรมยานยนต์และอากาศยาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ Lifestyle การเติบโตนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมแนวคิด ESG อีกทั้งอุตสาหกรรมกัญชงยังเปิดโอกาสในการสร้างและซื้อขาย Carbon Credit เนื่องจากกัญชงสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้มากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อุตสาหกรรมนี้จึงมีศักยภาพในการสร้างเครดิตคาร์บอนเพื่อขายให้กับบริษัทที่ต้องการลดคาร์บอนในกิจกรรมของตนเอง อย่างไรก็ตาม การสร้างมาตรฐานและการตรวจสอบความถูกต้องของเครดิตคาร์บอนยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญ

TiHTA ปั้น ‘Hemp Sandbox’ เฟ้นหาราคากลางวัตถุดิบกัญชงเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

สมาคมฯ มีแนวทางในการผลักดันให้เกิดราคากลางในวัตถุดิบกัญชงที่เหมาะสม เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานให้ตลาดอุตสาหกรรมกัญชงเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการ ‘Hemp Sandbox’ ส่งเสริมการปลูกกัญชงในพื้นที่ราบ จากเดิมในพื้นที่ราบสูง รวมถึงส่งเสริมการปลูกใกล้แหล่งผู้ประกอบการแปรรูป และใกล้การขนส่งเพื่อการส่งออก โดยจะส่งเสริมให้องค์ความรู้ในการปลูก การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีการรับรองพันธุ์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนการให้ความรู้ด้านความต้องการของตลาดในแต่ละอุตสาหกรรม อีกทั้งวางแนวทางการร่วมคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวและแปรรูปโดยสมาชิกผู้ประกอบการในประเทศ การสนับสนุนพื้นที่แปลงทดลองปลูกและระบบชลประทานจากหลายภาคส่วนที่เข้าร่วม ทั้งนี้เชื่อว่า Hemp Sandbox จะช่วยสร้างมาตรฐานที่ดีตั้งแต่กระบวนการผลิต สอดคล้องกับความต้องการและมาตรฐานในอุตสาหกรรมนั้นๆในตลาดต่างประเทศ อาทิ การจดทะเบียนรับรองพันธุ์, การทำเอกสาร certificate of Analysis (COA) ของพันธุ์พืช, การควบคุมมาตรฐานการปลูก, การผลิตตามมาตรฐาน GMP EUGMP, Green Industry, ISO 27716, 14001, 9001 ,Halal และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการบริหาร บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) กล่าวว่า “ภายใต้ความร่วมมือการจัดงานครั้งที่ 3 ในปีนี้กับงาน Asia International Hemp Expo 2024 ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดงานแสดงสินค้า เรามีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ของงานแสดงสินค้าในการเชื่อมโยงโอกาส และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกัญชง เพื่อบรรเทาข้อจำกัดของอุตสาหกรรมให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับงานในปีนี้นอกจากการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ 14 อุตสาหกรรมแล้ว ได้มีการจัดสัมมนานานาชาติที่เป็น Case study และการแบ่งปันความรู้โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์จริงกว่า 20 ประเทศที่มีความโดดเด่นในสาขาต่างๆ ทั้งเทคนิกการปลูก เทคนิคการสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารแห่งอนาคต คอมโพสิทเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอากาศยาน เฮมพ์กรีต และที่สำคัญคือมาตรฐานการผลิตสำหรับตลาดในประเทศต่างๆด้วย โดยในปีนี้เราคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแสดงกว่า 200 บริษัท ผู้เข้าชมงานกว่า 10,000 คน และมีเงินสะพัดจากการจัดงานครั้งนี้กว่า 1,000 ล้านบาท”

ผลักดัน ‘การเชื่อมโยงห่วงโซ่วัตถุดิบเพื่อสร้างอุปสงค์อุตสาหกรรมกัญชง’

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ไฮไลท์สำคัญคือการเชื่อมโยงห่วงโซ่วัตถุดิบ โดยได้จัด HEMP Supply Chain Pavilion ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปลูกเข้าร่วมนำเสนอศักยภาพและปริมาณความสามารถในการปลูกกับผู้ซื้อในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยในภาคอุตสาหกรรมก็จะนำเสนอคุณสมบัติของวัตถุดิบและปริมาณความต้องการซื้อในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้ผู้ปลูกสามารถวางแผนการปลูก เลือกเมล็ดพันธุ์ และเลือกวิธีการปลูกได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ได้จับมือร่วมกับสมาคม Design Object จัดนิทรรศการ HEMP Inspired Showcase นำผลงานจากนักออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบกัญชงร่วมจัดแสดงภายในงาน เพื่อโชว์ศักยภาพของวัตถุดิบและสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นการเพิ่มอุปสงค์ให้กับอุตสาหกรรมกัญชงต่อไป ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่จะรองรับวิสัยทัศน์ Hemp Sandbox ของสมาคมอีกด้วย

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน Asia International Hemp Expo 2024 สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ ที่ www.asiahempexpo.com งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) ผนึกกำลัง บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) เปิดงาน Asia International Hemp Expo and Forum 2023’ อย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

(10 พ.ค. 64) สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงแห่งประเทศไทย (Thai Industrial Hemp Trade Association: TIHTA) เปิดตัวอย่างเป็นทางการจากการผนึกกำลังของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกัญชง ตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ พร้อมด้วยคณะนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ หลากหลายสาขา พร้อมที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกัญชงสู่พืชเศรษฐกิจของไทยอย่างเป็นรูปธรรม ชู People First สนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Hemp human resource and technology development) เริ่มต้นให้ภาคเกษตรต้นน้ำมีความแข็งแรง สู่ปลายน้ำภาคอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน

ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้เริ่มผลักดันให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจเมื่อต้นปี 2564 ที่สามารถนำประโยชน์จากพืชกัญชง (Hemp) มาใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ต่อเนื่องจากการนำพืชกัญชามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งจากภาคการเกษตร โรงงานสกัด และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้เริ่มขับเคลื่อนเพื่อขานรับตามนโยบายดังกล่าว แต่ภายใต้การเริ่มต้น ยังมีปัญหาและข้อจำกัดเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ทั้งองค์ความรู้ด้านการขออนุญาต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และข้อกำหนดมาตรฐานราคากลางในการซื้อขาย ทำให้ห่วงโซ่ธุรกิจกัญชงขับเคลื่อนไปอย่างล่าช้า และกระทบไปถึงการขาดวัตถุดิบในการพัฒนา วิจัย และทดลองนำประโยชน์จากพืชกัญชงมาใช้ในอุตสาหกรรม จึงได้เกิดการรวมตัวกันขึ้นของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือ แลกเปลี่ยน และแบ่งปันองค์ความรู้และทรัพยากร โดยได้รับความร่วมมือจากทางกระทรวงอุตสาหกรรมในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการมาร่วมกันทำงาน จนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้ให้การรับรองการจัดตั้งสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทยขึ้น

ดร.วีระชัย ณ นคร ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เผยว่า สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เกิดขึ้นจากการรวมตัวของผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรมชั้นนำจากหลายธุรกิจ เพื่อให้สมาคมเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนกลุ่มสมาชิกให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างราบรื่น ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสมาชิกและสาธารณะ รวมทั้งช่วยประสานความร่วมมือระหว่างองค์กร หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในเชิงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จนนำไปสู่ความมั่นคงของผู้ประกอบการกัญชงในประเทศไทยอย่างแท้จริง โดยแม้ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนในอุตสาหกรรม แต่สมาคมฯ จะยึดหลัก People First คือการพัฒนาเกษตรกรและบุคลากร ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม และเริ่มต้นสร้างภาคต้นน้ำ หรือเกษตรกรผู้ปลูกให้เป็นรากแก้วที่แข็งแรงให้ได้ จึงจะขับเคลื่อนส่วนอื่นๆ ให้แข็งแรงตามไปอย่างยั่งยืน

กัญชงเป็นพืชที่อยู่คู่กับชาวไทยมายาวนาน แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุดมาก่อน นับเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการเริ่มขับเคลื่อนกันอย่างจริงจัง วันนี้สมาคมฯ มีองค์ประกอบพร้อมที่จะดำเนินการ ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ปลูกกัญชงและกัญชาทางการแพทย์ ผู้นำในอุตสาหกรรมหลายสาขา และยังพบว่าสามารถนำพืชกัญชงไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่การนำเส้นใยไฟเบอร์ไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การใช้สารสกัดสำคัญ CBD ในอุตสาหกรรมยารักษาโรค เครื่องสำอาง อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงอาหารสัตว์ ฯลฯ  โดยได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานต่างๆ อีกหลายหน่วยงาน” ดร. วีระชัย กล่าวเสริม

โดยทิศทางในการขับเคลื่อนสมาคมระยะแรกนั้น ทางสมาคมจะเป็นศูนย์กลางข้อมูลให้กับผู้สนใจในการขออนุญาตปลูก และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกัญชง และเริ่มรวบรวมสายพันธุ์กัญชง ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองสำหรับส่งเสริมการปลูกของเกษตรกร เพื่อลดปัญหาการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูง การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ หรือต้นพันธุ์ที่เหมาะกับแต่ละอุตสาหกรรม และยกระดับภาคการเกษตรของพืชกัญชงให้มีคุณภาพที่ดี โดยในระยะต่อไปจะเป็นการขับเคลื่อนการกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานราคากลางในการซื้อขาย การควบคุมมาตรฐานกัญชงในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 29 มกราคม 2564 ทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาตปลูกได้ทุกวัตถุประสงค์ ตั้งแต่ การค้า การแพทย์ การศึกษา วิจัย การใช้ตามวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม หรือผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง โดยเฉพาะการสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของกัญชงไปใช้ประโยชน์ แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นการยกระดับรายได้ของเกษตรกร และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศ

สำหรับมาตรฐานสารสกัดจากกัญชง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้จัดทำมาตรฐานในชุดของกัญชงซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 6 มาตรฐาน ได้แก่ (1) มอก.3171-2564 น้ำมันเมล็ดกัญชง (2) มอก.3172-2564 สารสกัดจากกัญชงที่มี CBD รวม ไม่น้อยกว่า 30% โดยมวล (3) มอก.3173-2564 สารสกัดจากกัญชงที่มี CBD รวม ไม่น้อยกว่า 80% โดยมวล (4) มอก.3184-2564 เปลือกกัญชง และ (5) มอก.3185-2564 แกนกัญชง และส่วนอีกมาตรฐานหนึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ คือ เส้นใยกัญชง คาดว่าจะประกาศใช้ในเร็วๆ นี้

โดยข้อกำหนดกฎหมาย หลักเกณฑ์ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้างต้นนั้น จะเป็นหลักยึดในขั้นต้นที่ทางสมาคมฯ นำมาใช้วางแนวทางขับเคลื่อน และร่วมบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา สร้างโอกาสและมาตรฐานที่ดีในอุตสาหกรรมกัญชงอย่างยั่งยืนต่อไป

X

Right Click

No right click