November 25, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 808

การสอบผ่านด่าน Top U ระดับโลกไม่เคยมีสูตรสำเร็จ  แต่ หิรัญทิพย์  อินทรนุกูลกิจ หรือ นัท  สร้างสูตรที่นำความสำเร็จ โดยวันนี้ Yale  School of Business เปิดรับให้เธอเดินเข้าสู่ประตูของมหาวิทยาลัยที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นชั้นแนวหน้าระดับผลิตผู้นำของประเทศสหรัฐอเมริกากันเลยทีเดียวเชียว

 

ด้วยดีกรีเศรษฐศาสตร์ จาก มธ. ผสมกับทักษะจากงานที่ทำทั้งในสายแบงก์ จนถึงงาน Production process ที่ไทยเบฟ ล้วนน่าจะมีส่วนในการหลอมรวมให้นัท พบความสำเร็จเบื้องต้นในวันนี้


Q: Why MBA? คือหนึ่งในคำถาม interview ของ Yale ที่นัทต้องตอบ
A: เพราะแพลนไว้ ยังไงก็เรียนต่อ ส่วนไอเดียเรื่อง MBA เป็น influence มาจากรุ่นพี่ แต่ยังไม่แน่ใจ หลังเรียนจบ เพื่อนส่วนใหญ่ 90% ไปอังกฤษ และเรียนด้าน Financial แต่นัท ตัดสินใจทำงานก่อน พอทำงานเลยค้นพบตัวเองว่า ไม่อยากเรียนต่อสายเฉพาะ เพราะรู้สึกว่าแคบเกินไป แต่ใน business มันกว้าง และแตกไลน์งานออกไป จึงคิดว่า MBA เป็นคำตอบของการเรียนต่อ Q: การเลือก School ใช้เกณฑ์อะไร
A: มองอยู่ 2 ฝั่งคือ East coast (อเมริกา) เพราะเรามีพื้นฐานด้าน finance ด้านฝั่ง West coast (อเมริกา) นัทมองว่าจะเอนไปทาง Tech มีอะไรมากขึ้นจริงแต่ background เราที่มี และคิดว่าถ้าอนาคตต้องสมัครทำงาน ก็น่าจะเป็นอะไรที่ get along กับสิ่งที่เคยทำมา การข้ามสายไป Tech เลย ก็อาจจะต้องการพื้นฐานและความสนใจที่มากพอควร นัทว่ามันยากไป เลยเลือกไปด้านตะวันออก จากนั้นก็ดู ranking เล็งไปที่ Top 20 เพราะอยากเรียนมหาวิทยาลัยที่พอเอ่ยชื่อ ปุ๊บ คนรู้จักทันที และที่สุดก็เป็น Yale

Q: Why Yale?
A: เพราะ curriculum ที่ Yale แตกต่าง Yale เขา course ผู้เรียนตามความถนัด หรือเป้าหมาย เช่น ถ้าเราอยาก Startup เขาก็จะมีเลย Innovator หรือคุณต้อง โน่น นี่ นั่น อะไรเยอะมาก ก่อนหน้านี้ นัท สื่อสารทั้ง เมลและสไกป์กับ Alumni เยอะเพื่อศึกษาทั้งรูปแบบการเรียน สิ่งที่เสริมจากคอร์ส หรือคลับ ซึ่งที่ Yale เขาจะมี Group main call ตลอดปี ซึ่งที่จริงแล้ว นัทก็รู้ว่า หลายๆ school ก็เป็นแบบนี้ แต่ที่ Yale นัทชอบคนและรู้สึกว่าคุยได้

Q: Yale ตอบโจทย์เรา แล้วเราทำยังไง ถึงตอบโจทย์ที่ Yale?
A: นัทใช้เวลาปีกว่า ทำงานด้วยนะ สำหรับพาร์ต GMAT จากนั้น คือส่วนของการ express ความเป็นตัวเราให้ Yale เห็น ที่ Yale ต่างจากที่อื่นคือ เขามี VDO Essay ก่อนสัมภาษณ์จริง ( นัทรู้ว่าที่ Kellogg ก็มี ) ต้องส่ง Quote ก่อนด้วย เรียกว่า หลายสเต็ป แต่ นัทคิดว่า แบบนี้เป็นทั้ง pros & cons เพราะข้อดีคือ ทำให้เรามีโอกาสนำเสนอให้ School รู้จักเรามากขึ้น เพราะทั่วไปที่ใช้ essay เท่านั้นมันก็น้อยและจำกัดในการทำให้เขารู้จักเรา แต่ข้อเสียคือ เหนื่อยแน่นอน เพราะต้องเตรียมงานหลายรอบ

Q: คิดว่า อะไรคือ คีย์สำคัญที่คิดว่าทำให้เขาเลือกเรา
A: ความเป็นตัวของตัวเอง ความตั้งใจ และการรู้เป้าหมายของตัวเองว่าเราทำสิ่งต่างๆ เพื่ออะไร และที่สำคัญมากคือ เราสามารถจะ contribute อะไรให้กับ class ได้ เพราะเราคิดว่าส่วนหนึ่ง  เขาน่าจะต้องการผู้เรียนที่จะมีส่วนในการ contribute ไม่ใช่แค่คนจะมาเรียน เพราะทุกคนอยากมาเรียนกับ เขา เพราะ เขาสุดยอดอยู่แล้ว แต่การเลือกผู้เรียนของ เขาย่อมอยากหาคนที่จะมา add value ให้กับ course และ class

Q: เป้าหมายหลังจบ MBA
A: ตอนนี้ที่อยากทำ คือ product management และคิดว่าใน 5-10 ปี ก็คงจะยังทำ firm/corporate เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่หลัง 10 ปีอาจจะ startup อายุตอนนั้นก็ 35 ปี น่าจะมีประสบการณ์เพียงพอ เพราะส่วนตัวคิดว่า กว่าที่เราจะสามารถ ยืนหยัดขึ้นมาประกอบการอะไรได้ คงไม่ใช่อาศัยเพียงความเก่งกาจอยู่คนเดียว แต่น่าจะต้องมีหลายสิ่งอย่าง ทั้งเรื่องทีม connection รวมทั้งทุน ซึ่งทุนอย่างเดียวไม่พอแน่นอน

X

Right Click

No right click