เป็นผลจากการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG 4 Plus โดยได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกของโลกต่อเนื่อง 14 ปี และเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน 10 ปี ทั้งนี้ เอสซีจีเป็นองค์กรแรกในอาเซียนที่เป็นสมาชิก DJSI นับตั้งแต่ปี 2547
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีได้รับคะแนนสูงสุดจากดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ หรือ DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ณ วันที่ 22 กันยายน 2566 โดยได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 และเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน 10 ปี ทั้งยังเป็นองค์กรแรกในอาเซียนที่เป็นสมาชิก DJSI ตั้งแต่ปี 2547 ก่อนหน้านี้ เอสซีจีได้รับการประเมินจาก 2 ดัชนีความยั่งยืนชั้นนำระดับโลก ได้แก่ ESG Risk Ratings ระดับ ESG Industry Top Rated กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมจาก Morningstar Sustainalytics และ MSCI ESG Ratings ระดับ AA กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจาก Morgan Stanley Capital International (MSCI) ซึ่งทั้ง 3 ดัชนีความยั่งยืนนี้ นักลงทุนทั่วโลกใช้เป็นข้อมูลประกอบการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นใจในผลตอบแทนระยะยาว และสะท้อนถึงธุรกิจที่เติบโตแข็งแกร่ง ควบคู่กับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”
นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ประธานคณะกรรมการร่วมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า “ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากความทุ่มเทของชาวเอสซีจีที่ร่วมมือดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG 4 Plus มุ่ง Net Zero–Go Green–Lean เหลื่อมล้ำ–ย้ำร่วมมือ โดยยึดหลักเชื่อมั่นและโปร่งใส โดยเฉพาะการเติบโตธุรกิจควบคู่กับการลดผลกระทบวิกฤตโลกเดือด ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยครึ่งแรกของปีนี้ ธุรกิจซีเมนต์ในไทยเพิ่มสัดส่วนใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 40 เร่งพัฒนาสินค้า บริการ โซลูชันรักษ์โลกภายใต้ฉลาก Green Choice กว่า 250 รายการ ทั้งยังร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลกพัฒนานวัตกรรมกรีน ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้ SMEs ชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมกว่า 50,000 คน ล่าสุดร่วมกับทุกภาคส่วน เร่งเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จัดงาน ESG Symposium 2023 วันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้”
ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์เป็นดัชนีวัดความยั่งยืนแรกของโลก จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ S&P Dow Jones Indices และ RobecoSAM ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เชิญบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกกว่า 3,400 แห่งใน 60 อุตสาหกรรมเข้าร่วมการประเมิน