September 19, 2024

กระทรวงดีอี และ ดีป้า ร่วมพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการและดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่ วางแผนหารือจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนเดินหน้าพัฒนา ‘Digital Khon Kaen Sandbox’ พื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน อีกทั้งเน้นย้ำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ Big Data จากผู้ประกอบการไทย เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม ก่อนเยี่ยมชมกิจกรรมอัปสกิลดิจิทัลผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในพื้นที่ พร้อมแนะผู้ประกอบการชูจุดเด่นภาคอีสานดึงดูดความสนใจผู้บริโภค

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ‘Ignite Isan Digital Hub’ ภายใต้โครงการ DIGINEXT by SEED THAILAND พร้อมร่วมพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการและดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่เพื่อหารือแนวทาง แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ สะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้ต่อยอดการดำเนินธุรกิจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมี นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ร่วมในกิจกรรม

“ภาคเอกชนของจังหวัดขอนแก่นถือว่ามีความเข้มแข็งและเป็นเอกภาพ อีกทั้งมีความพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโดดเด่นเป็นอย่างมากในพื้นที่ภาคอีสาน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงดีอี และ ดีป้า จึงต้องการเชิญชวนจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ร่วมหารือแนวทางการพัฒนา ‘Digital Khon Kaen Sandbox’ พื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการนำมาตรการทางภาษีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกดึงดูดการลงทุน นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ Big Data จากผู้ประกอบการไทย เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล อย่างไรก็ตาม กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ยังได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) และ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (สมาร์ทลีฟวิ่ง)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว

พร้อมกันนี้ คณะได้เยี่ยมชมกิจกรรม ‘Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์’ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมต่อยอดความสำเร็จของโครงการ CONNEXION ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียงผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการถ่ายภาพสินค้า การสร้าง Storytelling การ Live ขายสินค้า การเปิดร้านค้าใน Social Commerce อย่าง TikTok และ Facebook การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ช่องทางขายสินค้าออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์ม eTailligence และการสร้าง Micro Influencer หน้าใหม่ให้กับท้องถิ่น

นายประเสริฐ กล่าวว่า ภายหลังจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า สินค้าและบริการของพี่น้องผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคอีสานมีเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ แต่ผู้ประกอบการกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในหลากหลายด้าน เช่น ผู้ประกอบการหลายรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายและวางแผนการตลาด ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกิจกรรมในวันนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเองจะต้องนำจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานมาใช้เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นชั้นนำ ซึ่งมีพันธกิจหลักในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และมอบความสุขให้กับผู้คน ล่าสุดได้แสดงจุดยืนในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ให้กับผู้ใช้ผ่านการเปิดตัว  #คนไทยรู้ทัน ศูนย์ข้อมูลดิจิทัลต้านภัยออนไลน์ (Anti-Scam Digital Literacy Hub) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงและฉ้อโกงทางออนไลน์แห่งแรกในไทยบนแพลตฟอร์ม

พร้อมผนึกกำลังภาครัฐและประชาสังคมกว่า 8 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (OCPB), ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT), กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC), สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA), โครงการโคแฟค (COFACT), และสภาองค์กรของผู้บริโภค (TCC) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ผ่านแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ติดอาวุธทางความคิด พร้อมปลุกกระแสให้คนไทยรู้เท่าทันและสามารถรับมือกับปัญหาการถูกหลอกลวงบนโลกออนไลน์ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมั่นคง 

 TikTok เชื่อว่าการสร้างภูมิคุ้มกันผ่านการมอบองค์ความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับผู้ใช้งานเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่ง เราได้ทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้แพลตฟอร์มของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ใช้งานทุกคน ความร่วมมือภายใต้แคมเปญ #คนไทยรู้ทัน มีจุดประสงค์เพื่อมอบพื้นที่ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการรับมือจัดการภัยออนไลน์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับผู้ใช้แพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย ทั่วประเทศไทย ในการสื่อสารเพื่อเตือนภัยและเสริมทักษะการรับมือกับกลโกงของมิจฉาชีพในยุคดิจิทัลที่มาในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเสริมเกราะป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่ชาวไทยและร่วมสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นบนสังคมออนไลน์" นางสาวชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy - TikTok, Thailand กล่าว 

ในปัจจุบัน ปัญหาการฉ้อโกงออนไลน์ได้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้บริโภคไทยในหลายมิติ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ยังขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยออนไลน์ จากรายงานของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เผยว่าปัจจุบันมีคดีหลอกลวงและการฉ้อโกงกว่า 700 คดีต่อวัน โดย 40% เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางอีคอมเมิร์ซ [1] และล่าสุด สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวเลขการร้องเรียนปัญหาออนไลน์ของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ในครึ่งปีแรก (มกราคม - มิถุนายน 2567) พบปัญหาร้องเรียนออนไลน์แล้ว 19,960 กรณี โดยเรื่องที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือปัญหาซื้อขายออนไลน์ (43.44%) รองลงมาคือปัญหาเว็บไซต์ผิดกฎหมาย (31.27%) และปัญหาอื่นๆ (25.29%) จะมีทั้งในเรื่องปัญหาการหลอกลวงลงทุน หลอกให้ทำงานออนไลน์ และปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ธุรกิจหลายรายยังถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทำให้ข้อมูลสำคัญถูกขโมยและนำไปสู่ช่องทางการเข้าถึงเป้าหมายในการหลอกลวงอย่างง่ายดาย เนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเหล่ามิจฉาชีพยังมีการพัฒนากลเม็ดการหลอกลวงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การรู้เท่าทันกลโกงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อปกป้องผู้บริโภคและเสริมสร้างความมั่นคงในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน 

สำหรับแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ถือเป็นการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของ TikTok กับพันธมิตรที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ความรู้ตามความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน โดยหน่วยงานภาครัฐ เข้ามาให้ความรู้ในเรื่องการบังคับใช้กฏหมายและมาตรการเพื่อป้องกันและรับมือกับมิจาชีพออนไลน์ ทางด้านภาคประชาสังคมในฐานะผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้ความรู้ด้านสิทธิ์และการคุ้มครองผู้บริโภค และภาคประชาชน ที่ TikTok เป็นแกนนำในการนำทัพครีเอเตอร์ที่มีอิทธิพลบนแพลตฟอร์มเข้ามาเป็นกระบอกเสียงในการเตือนภัยและสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ใช้ เพื่อส่งสารที่สำคัญและเป็นประโยชน์ไปถึงกลุ่มผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครีเอเตอร์เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยในการสร้างคอนเทนต์บนแคมเปญที่สนุกสนานและเข้าใจง่าย แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ สอดคล้องกับรายงาน The TikTok Effect: Accelerating Southeast Asia’s Business, Education, and Community Report 90% ของผู้ใช้ TikTok ได้รับความรู้และทักษะใหม่บนแพลตฟอร์ม 

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า "การสร้างความตระหนักรู้และภูมิคุ้มกันด้านดิจิทัลให้กับประชาชนถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์อย่างยั่งยืน เมื่อภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง ทุกคนย่อม 'รู้ทัน' ภัยออนไลน์ต่างๆ ทำให้โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงออนไลน์น้อยลง และสามารถช่วยภาครัฐจัดการกับผู้ไม่หวังดีได้ ทางกระทรวงฯ ขอชื่นชมความมุ่งมั่นของพันธมิตรทุกๆ ภาคส่วน ในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ประชาชนในตลอดหลายปีที่ผ่านมา และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสานต่อความร่วมมือต่อไปในอนาคต"  

รับแจ้ง ตรวจสอบ และปราบปรามอย่างเข้มงวด 

ในฐานะหน่วยงานหลักผู้บังคับใช้กฏหมายและการสืบสวนสอบสวนคดีฉ้อโกงทางออนไลน์ ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเน้นย้ำถึงหลักการป้องกันโกง 4ไม่: ไม่กดลิงก์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน และทางกระทรวงฯ ยังพร้อมช่วยเหลือผู้เสียหายในการรับเรื่องร้องเรียนและอายัดบัญชีของคนร้ายผ่านศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ AOC 1441 ตลอด 24 ชม. นอกจากนี้ยังมอบหมายสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในการกำกับดูแลช่องทาง call center 1212 ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ที่มีส่วนช่วยปรึกษาปัญหาทางธุรกรรมออนไลน์ และแจ้งเบาะแสบัญชีม้า อีกทั้งผลักดันให้ประชาชนร่วมแจ้งเบาะแสบัญชีม้า พร้อมออกโรงเตือนประชาชนในการหลีกเลี่ยงการเปิดบัญชีม้าซึ่งเอื้อต่อกลุ่มมิจฉาชีพในการฉ้อโกงออนไลน์ สำหรับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เข้ามามีส่วนร่วมสืบสวนสอบสวน ปราบปรามมิจฉาชีพออนไลน์และบัญชีม้าเป็นภารกิจหลัก โดยมีการจับและดำเนินคดีจริงมาแล้วนับไม่ถ้วน ด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานเหล่านี้ แต่ละหน่วยงานมีความมุ่งมั่นที่จะกระจายความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ภาคประชาชนผ่านแพลตฟอร์มแนวหน้าอย่าง TikTok เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนในยุคดิจิทัลไม่ให้เกิดความเสียหายจากมิจฉาชีพ 

สารพัดกลหลอก คนไทยต้องรู้ทัน 

การหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยกลโกงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอกกู้เงิน หลอกลงทุน หรือหลอกให้รักเพื่อลักทรัพย์ เป็นอีกประเด็นที่สำคัญในแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามเหล่านี้ โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการ 'เช็คให้ชัวร์' เช่นการตรวจสอบผู้ให้บริการสินเชื่อว่าเป็นตัวจริง ด้วยการตรวจสอบกับต้นสังกัดผู้ให้บริการ หรือในด้านการลงทุน ควรตรวจสอบผู้ให้บริการลงทุนว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านแอปพลิเคชัน SEC Check First หรือปรึกษาและแจ้งเบาะแสหลอกลงทุนปลอมได้ที่สายด่วนแจ้งหลอกลงทุน ก.ล.ต. โทร 1207 กด 22 พร้อมย้ำเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่มาพร้อม SMS เบอร์แปลกหน้า ในขณะเดียวกัน โครงการโคแฟคที่ยืนหยัดบนบทบาทการเป็นพื้นที่ตรวจสอบข่าวลวง ยังได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นของการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบในยุคแห่งสื่อดิจิทัล ที่ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าถึงและหลอกลวงประชาชนได้อย่างง่ายดาย ไม่ให้หลงเชื่อข้อมูลเท็จและสารพัดกลลวงที่อาจสร้างความเสียหายให้กับตนเอง 

เมื่อตกเป็นเหยื่อ ยังมีหน่วยงานยืนหยัดพร้อมคุ้มครอง  

การคุ้มครองผู้บริโภคนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ในความร่วมมือครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ร่วมมอบความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฎิบัติเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ รวมถึงกรณีของผู้บริโภคที่ได้รับสินค้าอย่างไม่เป็นธรรม แนะผู้บริโภคให้เก็บรวบรวมหลักฐานตั้งแต่การสั่งซื้อจนกระทั่งการเปิดสินค้า หากได้รับสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1166 หรือผ่านทาง www.ocpb.go.th สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมุ่งหวังให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้จากการช้อปปิ้งออนไลน์ อีกทั้งยังยืนหยัดติดตามและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้บริโภค 

"COFACT เชื่อว่าความสามารถในการแยกแยะข้อมูลอันเป็นเท็จเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัย ซึ่งความร่วมมือของเรากับ TikTok และพันธมิตรทุกราย ผ่านแคมเปญ #คนไทยรู้ทัน ถือเป็นก้าวสำคัญในการมอบความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นให้กับผู้ใช้ชาวไทยในการท่องโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย ช่วยสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน เรามุ่งหวังที่จะร่วมสร้างคอมมูนิตี้ที่เข้มแข็งที่สามารถรับมือกับกลโกงต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและมีข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น" นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าว 

TikTok ตั้งเป้าให้แคมเปญ #คนไทยรู้ทัน เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ดิจิทัลที่ครอบคลุมและครบถ้วน เพื่อปลุกกระแสการตระหนักรู้ของคนไทยเกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรับมือกับปัญหากลโกงบนสังคมออน์ไลน์ในรูปแบบต่างๆ ด้วยการนำเสนอวิธีการรับมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านคอนเทนต์วิดีโอสั้นที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกเพศทุกวัยบนแพลตฟอร์ม TikTok ทั้งนี้ TikTok ยังวางเป้าหมายระยะยาวในการสร้างพื้นที่ดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมบนแพลตฟอร์มที่เอื้อประโยชน์ต่อครีเอเตอร์ แบรนด์ และธุรกิจต่างๆ ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่แห่งคอนเทนต์ที่เชื่อถือได้สำหรับทุกคน  

TikTok พร้อมเดินหน้าร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในโลกดิจิทัล ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ได้ ผ่านการแชร์คอนเทนต์ไอเดียต่อกรกับกลโกงต่างๆ พร้อมติดแฮชแท็ก #คนไทยรู้ทัน บน TikTok ซึ่งคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาดีเด่นและโดนใจจะได้รับรางวัลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อาทิเช่น iPhone 15 Pro Max, Apple Watch และ iPad Air M2 ได้ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2567 และประกาศผลในวันที่ 19 สิงหาคม 2567  

มาร่วมสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัย เพื่อผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไปกับ TikTok 

กระทรวงดีอี มอบของขวัญปีใหม่ประชาชนไทย เปิดตัวโครงการ AI for Better Life ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ดำเนินการโดย ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตร ชูการนำนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพมาประยุกต์ใช้ยกระดับระบบสาธารณสุขไทย พร้อมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมอบความสะดวกสบายในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดเบื้องต้นแก่ประชาชนไทย สามารถร่วมตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยี AI โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 มกราคมนี้ ระหว่างเวลา 10.00 – 17.00 น. บริเวณชั้น G โซน M Lifestyle ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) เป็นประธานเปิดโครงการ AI for Better Life ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 แก่ประชาชน โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ พญ.เสาวณีย์ เกิดดอนแฝก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ร่วมในพิธี ณ เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ

นายประเสริฐ เปิดเผยว่า รัฐบาลเล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อระบบการทำงาน ซึ่ง กระทรวงดีอี มุ่งขับเคลื่อนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการดำเนินงานของ ดีป้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านสุขภาพ โดยที่ผ่านมา กระทรวงดีอี โดย ดีป้า พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตรเดินหน้าผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลด้านสุขภาพและการดูแลรักษาโรคด้วยดิจิทัล ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้างอย่างทั่วถึง

สำหรับโครงการ AI for Better Life ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 แก่ประชาชน เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กระทรวงดีอี โดย ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตรอย่าง แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) โรงพยาบาลบ้านแพ้ว และ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งถือเป็นหนึ่งตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยแท้จริง (AI for Action) อีกทั้งเป็นประโยชน์อย่างมากกับประชาชน เพราะจะช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดเบื้องต้น โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่จากกระทรวงรมว.ดีอี กล่าว

 

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า โครงการ AI for Better Life ต่อยอดมาจากโครงการนำร่อง ‘ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด’ ที่เริ่มดำเนินการเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพ (Digital Healthcare) มาประยุกต์ใช้ยกระดับระบบสาธารณสุขไทย พร้อมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและการมอบความสะดวกสบายในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดเบื้องต้นแก่ประชาชนไทย

สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยี AI ที่จัดขึ้นบริเวณชั้น G ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ จะเปิดให้บริการประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตลอด 3 วัน (26 – 28 มกราคม) เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่จากกระทรวงดีอี นอกจากนี้ ดีป้า ยังมีเป้าหมายที่จะบูรณาการการทำงานกับโรงพยาบาลอื่นเพื่อให้บริการประชาชนไทยมากกว่า 1 ล้านคน โดยจะขยายผลสู่จังหวัดอื่น ๆ และโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องลดต้นทุนการให้บริการตรวจสุขภาพผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

 

ด้าน นายโรมัน กล่าวว่า มะเร็งปอดเป็นภัยที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจพบในระยะท้าย ๆ เนื่องจากมะเร็งปอดระยะต้นยังไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัด ส่งผลให้การรักษาล่าช้า ไม่ได้ผลเท่าที่ควร และลดโอกาสการรอดชีวิต ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งปอดตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และอาจเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต

การพัฒนาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นจะช่วยเสริมสร้างระบบสาธารณสุขไทยให้แข็งแรง ด้วยการสร้างช่องทางการตรวจสุขภาพปอดของประชาชนให้เข้าถึงง่ายและทั่วถึง เราหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการนำพาไปสู่การเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดในประเทศไทยประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) กล่าว

พญ.เสาวณีย์ กล่าวว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน โรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุในการคร่าชีวิตคนไทยอันดับต้น ๆ ยังคงเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอดที่นับเป็นสาเหตุของการตายที่พบมากที่สุด 1 ใน 5 อันดับแรก และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยมักตรวจพบในระยะท้าย ๆ ทำให้เริ่มต้นรักษาช้า ผลการรักษาจึงไม่ดีเท่าที่ควร โอกาสในการหายจากโรคมีน้อย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะต่อยอดและขยายผลการนำเทคโนโลยี AI ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดสู่โครงการ AI for Better Life พร้อมนำทีมโรงพยาบาลบ้านแพ้วออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในครั้งนี้ ดย Al จะใช้เวลาประมวลผลเพียง 3 นาที ผู้รับบริการจะทราบผลอย่างรวดเร็ว หากพบความผิดปกติในเบื้องต้นสามารถเข้าสู่การรักษาในสถานพยาบาลได้ โดยแพทย์จะนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ของ AI มาพิจารณาร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ผ่านมา โรงพยาบาลบ้านแพ้วตรวจคัดกรองไปแล้วกว่า 10,000 ราย ซึ่งถือได้ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยรวดเร็ว เข้าสู่กระบวนการการรักษาได้ทันท่วงที และมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว กล่าว

ขณะที่ นางสาววรลักษณ์ กล่าวว่า เดอะมอลล์ กรุ๊ป ผู้นำธุรกิจศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าของประเทศไทย ในฐานะองค์กรแห่งความยั่งยืนภายใต้แนวคิด ESG รู้สึกภาคภูมิใจแทนประชาชนชาวไทยที่มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้งานด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพของระบบสาธารณสุขไทย โดย เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ได้สนับสนุนพื้นที่สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้น เพื่ออำนวยความสะดวก ลดการเดินทางให้กับประชาชนทั่วไป อีกทั้งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ลูกค้าของ เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ได้มี Good Health and Well-being ควบคู่กันไป ทั้งนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการดี ๆ อย่าง “AI for Better Life เพื่อประชาชนไทย” และหวังให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดอย่างสม่ำเสมอ และหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถร่วมตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยี AI โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 มกราคมนี้ (วันที่ 26 – 27 มกราคม เวลา 10.00 – 17.00 น. และ วันที่ 28 มกราคม เวลา 10.00 – 18.00 น.) บริเวณชั้น G โซน M Lifestyle ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ

กระทรวงดีอี โดย ดีป้า เตรียมมอบประสบการณ์เหนือระดับไปกับดิจิทัลคอนเทนต์ฝีมือคนไทยในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ชู depa Digital Content Zone ที่มาพร้อมแนวคิด Digital Soft Power เสิร์ฟสาระและความบันเทิงผ่าน Home Sweet Home เกมผีสัญชาติไทยที่โด่งดัง ลุ้นรับผลงานคาแรกเตอร์ฝีมือคนไทย ร่วมมีทแอนด์กรี๊ดกับ น้องไอช่า Virtual Idol ชื่อดัง และสนุกสนานไปกับการประกวดคอสเพลย์ในธีม Thai Soft Power พร้อมรับของที่ระลึกมากมาย แล้วพบกันวันที่ 13 มกราคมนี้ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า วันเด็กแห่งชาติปีนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) โดย ดีป้า จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด เรียนดี มีความสุข ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่ง ดีป้า พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรจะร่วมนำเสนอกิจกรรมต่าง ๆ ในคอนเซปท์ Digital Soft Power โดยเปิดโอกาสให้เยาวชน ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจได้สัมผัสประสบการณ์สุดตื่นเต้น น่าประทับใจ พร้อมรับสาระความรู้ และร่วมสนุกไปกับดิจิทัลคอนเทนต์ฝีมือคนไทยแบบจัดหนักจัดเต็มใน depa Digital Content Zone

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้สัมผัสประสบการณ์ขนหัวลุกไปกับ ‘Home Sweet Home’ เกมผีสัญชาติไทยที่โด่งดังจาก Yggdrazil Group (อิ๊กดราซิล กรุ๊ป) ที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ลองเล่น ลองหลอนไปกับความสยองขวัญที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของผีไทย ลุ้นรับผลงานคาแรกเตอร์สวย ๆ ฝีมือนักพัฒนาชาวไทยเป็นที่ระลึกกลับบ้านร่วมมีทแอนด์กรี๊ดกับ ‘น้องไอช่า’ Virtual Idol ชื่อดังจาก Aisha Channel ที่จะมาเปิด Fan Meeting ภายในงาน และสนุกสนานไปกับการประกวดคอสเพลย์ในธีม ‘Thai Soft Power’ พร้อมรับของที่ระลึกมากมายจาก ดีป้า และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดีอี

“กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติที่ทำเนียบรัฐบาลปีที่ผ่านมา กิจกรรม NATIONAL CHILDREN’S ESPORTS DAY ดวลมันส์..วันเด็ก ของ ดีป้า ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากน้อง ๆ เยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนทั่วไป สำหรับกิจกรรมในปีนี้ ดีป้า จะนำเสนอซอฟต์พาวเวอร์ไทยผ่านดิจิทัลคอนเทนต์ และ Virtual Reality (VR) เพื่อให้น้อง ๆ ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ รับสาระและความบันเทิง รวมถึงแรงบันดาลใจในการเปิดโลกแห่งอาชีพในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะสอดคล้องไปกับคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ‘มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย’ จาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

 

แล้วพบกันที่ depa Digital Content Zone ในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ในวันเสาร์ที่ 13 มกราคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจร่วมประกวดคอสเพลย์สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://short.depa.or.th/zwVvB

X

Right Click

No right click