ทรูมันนี่  หนึ่งในผู้ให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสแกนจ่ายด้วยแอปทรูมันนี่ที่ฮ่องกงได้แล้ว ผ่านอาลีเพย์พลัส (Alipay+) แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยดิจิทัลโซลูชันที่พัฒนาโดย แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล

โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถสแกนจ่ายที่ร้านค้ากว่า 90% ทั่วฮ่องกง ที่มีสัญลักษณ์ Alipay+ หรือ AlipayHK ซึ่งครอบคลุมทั้งร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ หมดกังวลเรื่องการหาที่แลกเงิน เพียงแค่เปิดแอปทรูมันนี่เลือกประเทศและสแกนจ่ายได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องแลกเงินค้างไว้ในบัญชี เพราะระบบจะแปลงเงินบาทในบัญชีตามสกุลและอัตราแลกเปลี่ยนคงที่รายวันตามประเทศที่เลือกให้ใช้จ่ายได้ทันที ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ เพิ่มเติม และคุ้มยิ่งกว่าด้วยสิทธิพิเศษจาก อาลีเพย์พลัส รีวอร์ด (Alipay+ Rewards) 

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ฮ่องกงถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยม ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเลือกเดินทางท่องเที่ยว ด้วยกิจกรรมที่มีให้ทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพที่งดงามและสถานที่ท่องเที่ยวอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการช้อปปิ้ง การรับประทานอาหาร และการไหว้พระขอพร โดยปีนี้คาดว่าฮ่องกงจะมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปไม่น้อยกว่า 5 แสนคน ซึ่งจะมากเป็นอันดับ 2 ของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การเปิดบริการให้คนไทยสามารถใช้จ่ายด้วยแอปพลิเคชันทรูมันนี่ที่ฮ่องกงผ่าน  Alipay+ ถือเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่สะดวก ปลอดภัย และคล่องตัวผ่านการสแกนจ่าย แถมยังได้สิทธิพิเศษ” 

ความร่วมมือระหว่าง ทรูมันนี่ และ อาลีเพย์พลัส ในครั้งนี้ ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเข้าถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในฮ่องกงบนเครือข่ายของ AlipayHK ได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านร้านค้าที่สามารถรับชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ ได้ทันที โดยที่ร้านค้าเดิมไม่ต้องลงทุนติดตั้งระบบใหม่เพิ่มเติม นับเป็นการสร้างโอกาสใหม่ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้กับบรรดาร้านค้ารายย่อยอีกด้วย 

ในปัจจุบัน ทรูมันนี่ ได้ขยายบริการใช้จ่ายในต่างประเทศครอบคลุมมากกว่า 40 กว่าประเทศทั่วโลก อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม เยอรมนี และฝรั่งเศส ฯลฯ เพื่อมอบความสะดวกสบาย และปลอดภัยในการใช้จ่ายให้นักเดินทางในต่างแดนได้โดยไม่ต้องแลกเงิน  เพียงดาวน์โหลด สมัครและเติมเงินได้ง่าย และเมื่อจะจ่ายก็เพียงเปิดคิวอาร์โค้ดบนแอป ทรูมันนี่ กดเลือกประเทศ  และสแกนจ่ายได้ทุกร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริการใช้จ่ายในต่างประเทศผ่าน ทรูมันนี่ และ Alipay+ รวมถึงโปรโมชันต่าง ได้ที่ https://www.truemoney.com/global-network-offline-payment/  

ความร่วมมือกับ Alipay ในครั้งนี้ ช่วยให้ Mastercard สามารถขยายช่องทางการชำระเงินข้ามพรมแดน พร้อมตอบสนองความต้องการการทำธุรกรรมที่โปร่งใส ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

ครั้งแรกกับโครงการใหญ่ “Alipay+-in-China” (A+China) ที่ช่วยให้ผู้ใช้โมบายวอลเล็ท 10 แบรนด์ชั้นนำจากไทย มาเลเซีย มองโกเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า สามารถใช้อีวอลเล็ทของประเทศตนเองในจีนแผ่นดินใหญ่ได้แล้ว สร้างการเข้าถึงให้กับประชากรกว่า 175 ล้านคน  ถือเป็นการขยายอีโคซิสเต็มการชำระเงินผ่านมือถือ หรือโมบายเพย์เมนต์ระหว่างประเทศครั้งใหญ่ของ Alipay+ สู่เครือข่ายผู้ค้าจำนวนมากของจีน

โครงการ A+China เป็นความคิดริเริ่มของแอนท์กรุ๊ปที่จะช่วยแนะนำบริการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศในจีน โดยร่วมมือกับพันธมิตรอีวอลเล็ท และองค์กรบัตรระหว่างประเทศ ก่อนที่จะมีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่หางโจว

ภายใต้โครงการนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกที่จะผูกบัตรธนาคารระหว่างประเทศของตนกับ Alipay เวอร์ชั่นสากลที่อัปเดตแล้ว เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินผ่านมือถือและบริการดิจิทัลไลฟ์ขณะที่ท่องเที่ยวในประเทศจีน

  

การเพิ่มของอีวอลเล็ทดังกล่าวจะส่งผลให้จำนวนอีวอลเล็ทต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 10 ราย โดย AlipayHK (เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน), Touch ’n Go eWallet (มาเลเซีย) และ Kakao Pay (เกาหลีใต้) เป็นบริการนำร่องภายใต้โครงการนี้ตั้งแต่ปลายปี 2565 โดยรวมแล้ววิธีการชำระเงินเหล่านี้สามารถเข้าถึงประชากรกว่า 175 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก

ผู้ใช้อีวอลเล็ทเหล่านี้สามารถใช้แอปชำระเงินของตนเองได้ทุกที่ที่มีการให้บริการของ Alipay เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใสและแข่งขันได้ นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากโปรโมชั่นต่างๆ ผ่าน Alipay+ Rewards ซึ่งเป็นฮับการตลาดดิจิทัลระหว่างประเทศที่อยู่ในวอลเล็ท โดยทีมงานของวอลเล็ทต่างๆ ยังคงให้บริการสนับสนุนลูกค้าที่ใช้โรมมิ่ง โดยอาศัยความสามารถด้านเทคโนโลยีการชำระเงินแบบอัจฉริยะของ Alipay+

ภายใต้โครงการ A+China ทาง Alipay+ ยังได้ต้อนรับพันธมิตรการชำระเงินผ่านมือถือรายใหม่อย่างเป็นทางการอีก 5 ราย ซึ่งได้แก่ Hipay, Changi Pay, OCBC, Naver Pay และ Toss Pay เข้าสู่เครือข่ายผู้ค้าทั่วโลกของ Alipay+

Alipay+ ซึ่งเป็นชุดโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศ รวมถึงโซลูชั่นการตลาดและดิจิทัลที่พัฒนาโดยกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป ช่วยให้พันธมิตรด้านการชำระเงินสามารถเชื่อมผู้ค้าทั่วโลกและผู้ค้าในระดับท้องถิ่นเข้ากับผู้บริโภคดิจิทัลจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

นอกจากประเทศจีน Alipay+ ยังเข้าถึงผู้ค้า 5 ล้านรายใน 56 ตลาด และทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการชำระเงินผ่านมือถือกว่า 20 รายทั่วเอเชีย ซึ่งรวมกันแล้วสามารถให้บริการกับผู้บริโภคได้มากกว่า 1.4 พันล้านบัญชี ตอนนี้โครงการ A+China ได้ขยายบริการ Alipay+ เข้าสู่เครือข่ายผู้ค้าขนาดใหญ่ของจีนที่มีจุดขายสินค้าและบริการ (POS) หลายสิบล้านแห่ง

โครงการ A+China จัดตั้งขึ้นภายใต้การแนะนำของธนาคารประชาชนจีน และได้รับการสนับสนุนจาก NetsUnion Clearing Corporation รวมถึงพันธมิตรด้านอีวอลเล็ท องค์กรบัตรระหว่างประเทศ ตลอดจนสถาบันการเงินอื่นๆ ในจีน นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกที่จะผูกบัตรธนาคารระหว่างประเทศของตนกับ Alipay เวอร์ชั่นสากลที่อัปเดตแล้ว เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินผ่านมือถือและบริการดิจิทัลไลฟ์ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศจีน

พร้อมกันนี้ แอนท์กรุ๊ปยังได้เปิดตัวแคมเปญด้านการตลาดและให้ความรู้แก่ผู้ค้าทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ เพื่อต้อนรับเหล่านักกีฬา แฟนๆ และนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย

ดักลาส ฟีกิน รองประธานอาวุโสของแอนท์กรุ๊ป และหัวหน้าฝ่ายบริการการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศของ Alipay+ กล่าวว่า การขยายจำนวนพันธมิตรและเครือข่ายร้านค้า และการยกระดับขีดความสามารถการดำเนินงานด้านดิจิทัลของเอสเอ็มอี ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับกลยุทธ์ในอนาคตของ Alipay+ “ผู้ให้บริการชำระเงินผ่านมือถือจำนวนมากเข้าร่วมอีโคซิสเต็มของการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศมากขึ้น ตั้งแต่โมบายวอลเล็ท ไปจนถึงแอปธนาคาร แอปของผู้ค้าอิสระ และซูเปอร์แอป เรามีแผนที่จะลงทุนเจาะลึกให้รวดเร็วมากขึ้นสำหรับเทคโนโลยีการชำระเงินและดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เพื่อช่วยให้พันธมิตรและผู้ค้าของเราเติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกช่องทาง” ฟีกินกล่าว

ในฐานะสถาบันผู้ให้บริการเคลียร์ริ่งที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารประชาชนจีน NetsUnion Clearing Corporation ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพและบริการหักบัญชีกองทุนสำหรับการชำระเงินมือถือระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป และดิจิทัลวอลเล็ทในต่างประเทศ เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนที่แข็งแกร่งสำหรับการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศในเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญ เช่น หางโจวเอเชียนเกมส์ เพื่อช่วยบ่มเพาะการบริโภคระหว่างประเทศที่เปิดกว้างและครอบคลุมในประเทศจีน รวมถึงส่งเสริมการหมุนเวียนคุณภาพสูงของวัฏจักรเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ NetsUnion Clearing Corporation of China กล่าว

เอริก จิง ประธานและซีอีโอของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรด้านการชำระเงินอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ เรารู้สึกขอบคุณอย่างมากสำหรับคำแนะนำของธนาคารประชาชนจีน การสนับสนุนของ NetsUnion Clearing Corporation และความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินและองค์กรบัตรระหว่างประเทศรายใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้เราสามารถดึงดูดผู้ใช้โมบายวอลเล็ททั่วโลกและผู้ใช้บัตรธนาคารในต่างประเทศมายังจีน นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างดีเยี่ยมที่เราได้เห็นความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในระดับภูมิภาค เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวเพลิดเพลินกับทางเลือกและความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กก็ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศด้วยนวัตกรรมที่แปลกใหม่ เรามุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือที่กว้างและเจาะลึกมากขึ้น เพื่อสานต่อภารกิจร่วมกันของเราในการทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้นโดยอาศัยพลังของเทคโนโลยีดิจิทัล”

จำนวนธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดในประเทศจีนผ่านวอลเล็ทนำร่องของ A+China ซึ่งได้แก่ Kakao Pay, Touch ’n Go eWallet และ AlipayHK เพิ่มขึ้น 47 เท่าในช่วงหกเดือน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2566 ทั้งนี้ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้นเป็นเมืองยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้ มาเลเซีย และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีก และการคมนาคมขนส่งเป็นสามหมวดหมู่ที่มีการทำธุรกรรมเหล่านี้มากที่สุด

จากข้อมูลของ PricewaterhouseCoopers1 ภายในปี 2573 จำนวนธุรกรรมไร้เงินสดจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าหรือสามเท่า ขณะที่จีนเป็นผู้นำในภูมิภาคสำหรับการใช้ดิจิทัลวอลเล็ท ส่วนพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ผลการศึกษาของ FIS2 ชี้ว่า ระหว่างปี 2561 ถึง 2566 ดิจิทัลวอลเล็ทในภูมิภาคนี้ (ไม่รวมจีน) มีส่วนแบ่งมูลค่าธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า และส่วนแบ่งมูลค่าธุรกรรมการชำระเงิน ณ จุดขายเพิ่มขึ้นหกเท่า

ธ.ก.ส. จับมือเคทีซี หนุนสร้างโอกาสทางการตลาดให้ผู้ประกอบการภาคเกษตร โดยเปิดช่องทางรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR Code กับร้านค้าน้องหอมจังของ ธ.ก.ส.

X

Right Click

No right click