บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เข้ารับโล่เกียรติยศ “คนดี รักษ์โลก” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมี นายจิรเมธ อัชชะ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – บริหารและพัฒนาองค์กร (ซ้ายสุด) เป็นตัวแทนรับมอบโล่เกียรติยศฯ จากศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา (ที่ 2 จากซ้าย) ซึ่งมอบให้กับองค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและมีส่วนอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG  (Environmental, Social and Governance) เพื่อส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืนควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจ­

โล่เกียรติยศ “คนดี รักษ์โลก” จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เพื่อเชิดชูเกียรติองค์กรที่มีหลักการและแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนและตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการดำเนินงานที่มีหลักการและแนวปฏิบัติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน Fortune Southeast Asia 500 โดยอยู่ในลำดับที่ 73 และนายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ถือเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อยที่สุดใน 500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำการเป็นองค์กรผู้นำการเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะทีมผู้บริหารสูงสุดรุ่นใหม่ที่แข็งแกร่ง เพื่อสานต่อการเติบโตที่รุดหน้าและยั่งยืน

Fortune Southeast Asia 500 เป็นการจัดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนิตยสารฟอร์จูน (Fortune) พิจารณาจากรายได้ของบริษัทในปีงบประมาณ 2566  

นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) มีประสบการณ์ในธุรกิจพลังงานมากว่า 10 ปี ในด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่หลากหลาย ทั้งด้านการเงิน การลงทุน การจัดการโครงการระหว่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ได้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบ้านปู ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานฉลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ในโลกยุคดิจิทัล วิถีชีวิตของคนก็พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่เทรนด์การทำงานที่ก็ได้รับอิทธิพลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับคนยุคใหม่อย่างคน Gen-Z ที่เริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานผลสำรวจต่างๆ หรือแม้แต่ใน World Economic Forum ของปีที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า เทรนด์การทำงานในปัจจุบัน เน้นให้ความสำคัญกับคนที่สามารถทำงานได้ในหลายด้านมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแพสชันของคน Gen-Z ที่ให้ความสนใจค้นหาและพัฒนา Skill ใหม่ๆ ให้ตนเอง ที่สำคัญ คนกลุ่มนี้ยังต้องการให้นายจ้างช่วยพัฒนาทักษะเพิ่มเติมหลากหลายที่ช่วยให้สามารถปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ผสมผสานความรู้จากหลายสาขาเพื่อการพัฒนาตนเองและเติบโตในหน้าที่การงาน สามารถสนับสนุนการเติบโตของบริษัทได้ทันท่วงที รวมทั้งสามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสังคมและโลกได้อีกด้วย 

ด้วยเหตุนี้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ (Capacity Development) “คนบ้านปู” อย่างเต็มกำลัง ทั้งในด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพที่มีความหลากหลาย รองรับการขยายตัวและปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างฉับไวและมีประสิทธิภาพ

นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ที่บ้านปูให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคน (Human Empowerment) โดยเฉพาะพนักงานทุกคนที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนและสร้างการเติบโตขององค์กร เรามุ่งเน้นการเตรียมพนักงานให้พร้อมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Disruptive World) ทั้งการสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) และพัฒนาทักษะเดิมให้แข็งแกร่ง (Upskill) รวมทั้งสร้างทักษะด้านดิจิทัล ผ่าน “สถาบัน” ที่แข็งแกร่งด้วยมรดกของวัฒนธรรมองค์กร ทรัพยากร และองค์ความรู้ที่รวบรวมมากว่า 40 ปี ภายใต้ชื่อ ‘Banpu Academy’ ”  

สิ่งหนึ่งที่บ้านปูได้เปรียบ คือ องค์ความรู้ที่ตกผลึก สู่การพัฒนา “คนบ้านปู” ผ่านการทำงานของหน่วยงาน ‘Banpu Academy’ สถาบันแห่งการเรียนรู้ที่บ่มเพาะความรู้รอบด้านตามความเหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของพนักงาน เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์และเกิดการนำไปใช้งานได้จริง รวมถึงการถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ที่มุ่งสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์และโลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสอดรับการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างอย่างยั่งยืน (Sustainable Transition)”

Banpu Academy สถาบันปลดล็อกศักยภาพคนบ้านปู

แม้ว่าเดิมบ้านปูจะมีหน่วยงานภายใต้สายงานทรัพยากรบุคคลที่ดูแลการจัดอบรมและพัฒนาทักษะให้แก่พนักงานอย่างจริงจังมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงที่บ้านปูเริ่มเปลี่ยนผ่านองค์กร (Banpu Transformation) ในช่วงปี 2561 ซึ่งมีการใช้กรอบการทำงานที่เรียกว่า “Triple Transformation” ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ (Business), การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี (Technology) และ การเปลี่ยนผ่านด้านทรัพยากรบุคคล (People) เพื่อทำให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพัฒนาศักยภาพของพนักงานมีส่วนสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านองค์กรเป็นอย่างมาก บ้านปูจึงเริ่มผนวกหน่วยงาน People Capability Development (การพัฒนาศักยภาพพนักงาน) กับหน่วยงานด้าน Digital เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถ จากนั้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนก่อตั้งเป็น Banpu Academy อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2565

นางสาวจรียา เชิดเกียรติศักดิ์  Head of Banpu Academy กล่าวว่า “ ‘Banpu Academy’ ถือเป็นสถาบันปลดล็อกศักยภาพคนบ้านปู ที่มีกว่า 6,000 คน ใน 9 ประเทศ และปรับเปลี่ยน Mindset ให้ทุกคนเชื่อว่าสามารถพัฒนาและเติบโตหากพยายามและตั้งใจ และเป็นแหล่งรวมศาสตร์มาไว้ในที่เดียว ทั้ง มรดกความสำเร็จ (Legacy of Success) ที่รวบรวมเอาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตของบ้านปู หยิบยกมาเป็นกรณีศึกษาและเป็นตัวอย่างการแก้ไขปัญหาจริง องค์ความรู้ (Knowledge) ในด้านต่างๆ รอบด้าน ทั้ง Hard Skill ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเฉพาะทาง และ Soft Skill เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และความเป็นมาอย่างยาวนาน (Longevity) ที่เราสั่งสมมากว่า 40 ปีของบ้านปู”

Coaching & Mentoring กุญแจสำคัญสู่ความแข็งแกร่งของบ้านปู

คอร์สอบรมต่างๆ ที่ Banpu Academy พัฒนาขึ้นมานั้นมีความหลากหลายเพื่อเสริมทักษะให้แก่คนบ้านปูอย่างรอบด้านและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการทำงาน ซึ่งคอร์สการอบรมต่างๆ เหล่านั้นล้วนมีเอกลักษณ์ (Uniqueness) ตามสไตล์ของ Banpu Academy ที่แตกต่างจนโดดเด่น โดยหลักๆ มี 3 ประเด็น ทั้ง Resolution Design มีการออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับธุรกิจที่หลากหลาย และสามารถประยุกต์รองรับการขยายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจในอนาคต อีกทั้งส่วนของ Coaching & Mentoring เราเลือกใช้โค้ช (Coach) มาจากภายในและภายนอก โดยเฉพาะภายในคือพนักงานที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้พนักงานด้วยกัน หรือที่เรียกว่า “พี่สอนน้อง” และ Business Case การยกตัวอย่างการบริหารโครงการ การทำแบบจำลองทางธุรกิจเชิงปฏิบัติการที่ถูกบันทึกจากประสบการณ์กว่า 4 ทศวรรษของบ้านปูเอง ซึ่งถูกสอนกันรุ่นต่อรุ่นจากเอกลักษณ์ในการออกแบบและพัฒนาคนบ้านปูของ Banpu Academy ที่มีมาอย่างจริงจังต่อเนื่องและสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพพนักงานได้อย่างแท้จริง Banpu Academy ได้รับการยอมรับรวมทั้งรางวัลด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่างๆ มากมาย อาทิ Employee Experience Awards 2024 และ “NEWS Compass®️ Global Award - Excellence in Coaching and Mentoring”  ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงานอย่างต่อเนื่องในระดับสากล

หนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของ Banpu Academy คือ International Business Leader Program (IBLP) หลักสูตรที่คัดสรรผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความสามารถจากหลากหลายหน่วยธุรกิจของบ้านปูใน 9 ประเทศ มาเข้าร่วมการอบรมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมถึงแชร์องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านธุรกิจและเทคโนโลยี เพื่อติดอาวุธให้กับผู้นำรุ่นใหม่และเตรียมความพร้อมให้พวกเขาได้กลายเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จในอนาคต ซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือผู้บริหารที่มีศักยภาพเหล่านี้ ได้รับโอกาสเติบโตในตำแหน่งงานได้จริง

“ตั้งเป้าหมายสูงเข้าไว้ แล้วไปให้ถึง” ข้อคิดของผู้ประสบความสำเร็จตัวจริงจาก Banpu Academy

นายนิติ พิทักษ์ธีระธรรม Country Head - Japan หนึ่งในผู้บริหารรุ่นใหม่ของบ้านปูที่เคยเข้าร่วมหลักสูตร IBLP ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลธุรกิจของบ้านปูในประเทศญี่ปุ่น เล่าให้ฟังว่า “ก่อนหน้านี้ผมดูแลงานในส่วนการขยายการลงทุนในญี่ปุ่นให้กับบ้านปู โดยเป้าหมายที่ผมตั้งไว้ให้ตัวเองคือการเป็นผู้อำนวยการของหน่วยงานและไม่เคยนึกถึงการขึ้นมาสู่ตำแหน่งนี้ จนกระทั่งมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณสมฤดี CEO ในขณะนั้น ท่านบอกให้ปรับวิธีคิดใหม่ ตั้งเป้าให้สูงที่สุดที่คิดว่าจะเป็นไปได้ และอย่ายอมแพ้ “Aim high, and never give up” จึงลองเปิดโอกาสให้ตัวเอง ประกอบกับการเข้าโปรแกรม IBLP ของบริษัทฯ ได้ช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามความคิดที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เริ่มปรับตัว ทำความเข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันได้มากขึ้น รวมถึงการได้องค์ความรู้ต่างๆ จากรุ่นพี่ผู้บริหารระดับสูงที่มาโค้ช (Coaching) เราด้วยตัวเอง ผมได้นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาและปรับใช้ในการทำงาน ทำให้ได้รับความไว้วางใจมาดำรงตำแหน่งนี้

หนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้มาถึงจุดนี้คือความเป็นสถาบันของบ้านปู ช่วงแรกของการรับตำแหน่ง มีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ในองค์กรที่ช่วยสอนงาน ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นในการทำความเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนต่างๆ การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยบริหารจัดการงาน และการดูแลสัญญาต่างๆ จนกลายเป็นผู้มีส่วนร่วมโครงการสำคัญๆ ของบ้านปูมากมาย แม้จะมีอุปสรรคในช่วงแรก เช่น วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่ยึดตามกระบวนการเป็นหลัก แต่เราก็พยายามพูดคุยกันให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเท่ากันแต่ใช้เวลาที่น้อยกว่า นับเป็นอีกความสำเร็จหลังจากการได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้” นายนิติ กล่าว

องค์กรการเรียนรู้ตลอดชีวิต บนภารกิจส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน

“บ้านปู นับเป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด (Lifelong Learning Organization) ที่มีภารกิจส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน หน้าที่ของหน่วยงาน Banpu Academy คือปลดล็อกความสามารถของพนักงานและส่งเสริมให้พวกเขาเติบโต ซึ่งเมื่อทุกคนพัฒนาตนเองและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันองค์กรให้ไปสู่เป้าหมาย ในอนาคต พวกเขาก็จะสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ ไปคิดต่อยอด หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อเดินหน้าเป็นผู้ให้สังคมและสร้างประโยชน์ต่อโลกใบนี้ต่อไป”  นายสินนท์ กล่าวทิ้งท้าย

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ย้ำความมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคน จับมือ ChangeFusion ดึงผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลลัพธ์ทางสังคมและการตลาด ร่วมอัปสกิลผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) รุ่นใหม่ ภายใต้โครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” หรือ Banpu Champions for Change (BC4C) รุ่นที่ 13 มุ่งพัฒนาศักยภาพ SE ให้สามารถสร้างการเติบโตทั้งในด้านรายได้และผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พร้อมเปิดตัว 7 กิจการเพื่อสังคมที่ผ่านเข้ารอบ Incubation Program ปี 2567

นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีนี้โครงการ BC4C ได้รับความสนใจจาก SE ในหลากหลายพื้นที่ภายหลังที่เราได้ลงพื้นที่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมในหลายภูมิภาค ซึ่งตรงกับความตั้งใจของเราตามธีมในปีนี้คือ ‘Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง’ ที่ต้องการส่งเสริมให้มี SE หน้าใหม่ที่เข้มแข็งทั่วประเทศ จาก 15 ทีมที่ผ่านเข้ารอบในรอบแรก ทุกทีมมาด้วยแพสชันเต็มเปี่ยม สิ่งที่โครงการฯ ช่วยเพิ่มเติมให้คือการขยายผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแผนการตลาด รวมถึงเทคนิคการนำเสนอแผนธุรกิจ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะทำให้ SE สามารถพัฒนาแนวการทำกิจการของตนเองได้อย่างมีระบบ มีหลักการที่จับต้องได้และใช้ได้จริง เป็นแนวทางพื้นฐานสำหรับนำไปสร้างการเติบโตของกิจการอย่างชัดเจน”

เวิร์กชอปการอัปสกิล SE ใน Incubation Program ของโครงการฯ ในรุ่นที่ 13 ประกอบด้วย

  1. การพัฒนาแผนการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย นางไฮดี้ เหลิ่ง ผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจ สถาบัน ChangeFusion เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสังคม อาทิ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด รวมถึงการวางแบบจำลองผลกระทบ (Impact Model) และตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกิจการ
  2. การพัฒนาแผนธุรกิจและแผนการทดสอบตลาด โดย นายภาวินท์ สุทธพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล ที่มาถ่ายทอดกลยุทธ์นวัตกรรมและการวางแผนธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยผู้บริโภค กลยุทธ์เชิงปฏิบัติการ (Operation Strategy) การหามูลค่าของโครงการ (Value Creation) และวิธีการวัดผลอย่างต่อเนื่อง (Innovation Accounting)
  3. เทคนิคการนำเสนอแผนธุรกิจ หรือ Business Pitching เพื่อเรียนรู้ทักษะการนำเสนอแผนธุรกิจโดยเน้นการนำเสนอทั้งด้านธุรกิจและด้านผลกระทบต่อสังคม โดยมี BC4C Alumni ประกอบด้วย นายนรินทร์ จิตต์ปราณีชัย จาก a-chieve BC4C Alumni รุ่นที่ 1, นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ จาก toolmorrow BC4C Alumni รุ่นที่ 5, และนายบุตรพจน์ พลพิพัฒนพงศ์ จาก ม้งไซเบอร์ BC4C Alumni รุ่นที่ 10 มาแสดงตัวอย่างการนำเสนอและให้คำปรึกษากับผู้เข้าร่วมโครงการฯ

นางสาวจีรพันธุ์-นายชุณวัณ บุญมา สองพี่น้องเจ้าของกิจการเพื่อสังคม “Karen Design” หนึ่งใน SE ที่ผ่านเข้ารอบ 7 ทีมสุดท้าย กล่าวว่า “ที่ผ่านมา Karen Design ไม่สามารถสร้างยอดขายได้มากพอที่จะช่วยเหลือคนในชุมชนเป็นจำนวนมาก การเข้าร่วมเวิร์กชอปการพัฒนาแผนธุรกิจและแผนการทดสอบตลาดทำให้มองเห็นแนวทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยสิ่งที่เรายังไม่ชัดเจนคือการสร้างแบรนด์ การเข้าใจลูกค้า และการสื่อสารไปยังลูกค้า สิ่งที่จะต้องพัฒนาต่อไปในระยะเวลาอันใกล้นี้คือ การระบุและทำความเข้าใจลูกค้าของเรา การเพิ่มความถี่และพัฒนาคอนเทนต์ การเพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์ รวมถึงดึง TikToker ชาวกะเหรี่ยงร่วมกระตุ้นยอดขาย เมื่อมียอดขายมากขึ้น เราก็จะช่วยเหลือชาวบ้านได้มากขึ้น และยังเป็นการขยายเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่จะร่วมอนุรักษ์ผ้าทอพื้นถิ่นในอนาคต”

ด้าน นายกิตติเดช-นายธันวา เทศแย้ม สองพี่น้องเจ้าของกิจการเพื่อสังคม “คนทะเลอีกหนึ่ง SE ที่ผ่านเข้ารอบ 7 ทีมสุดท้าย กล่าวว่า “หลังได้เข้าร่วมเวิร์กชอปการพัฒนาแผนการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ คนทะเล เห็นภาพการสร้างอิมแพคต่อสังคมที่สามารถขยายได้กว้างขึ้น เช่น การเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนผ่านการรับซื้ออาหารทะเลแปรรูปเพื่อนำมาใส่บรรจุภัณฑ์สวยงามและจำหน่ายเป็นของฝากให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการขยายกลุ่มผู้นำเที่ยวทริปท่องเที่ยววิถีชุมชน โดยเราจะจัดอบรมให้ความรู้และทำสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้ นอกจากนี้ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล เราจะนำกำไรส่วนหนึ่งจากทริปท่องเที่ยวฯ มาเป็นเงินทุนในการเพิ่มจำนวน ‘บ้านปลา’ หรือ ‘ซั้งกอ’ แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก”

สำหรับ 7 กิจการเพื่อสังคมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย (โดยไม่เรียงลำดับคะแนน) ใน Incubation Program ได้นำเสนอโซลูชันแก้ปัญหาสังคมที่ครอบคลุมหลายมิติสำคัญ ดังนี้

  • ชันโรง: อนุรักษ์ป่าชายเลน จ.กระบี่ สร้างมูลค่าเพิ่มผึ้งจิ๋ว “ชันโรง” สู่การฟื้นฟูป่าของชุมชน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากชนิด และการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
  • คนทะเล: อนุรักษ์อ่าวทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผนึกชุมชนขยายเครือข่ายประมงยั่งยืน สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการท่องเที่ยว
  • Refield Lab: ออกแบบพื้นที่สีเขียวด้วยภูมิสถาปัตย์ สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย สู่การวางแนวทางพัฒนาพื้นที่ด้วย Nature-Based Solutions คืนสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์สู่ชุมชน
  • Zeefedz: ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจบ่อเลี้ยงกุ้ง ด้วย “นวัตกรรมอาหารเสริมชีวภาพ” ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ไร้สารเคมีตกค้าง สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
  • Karen Design: แก้ปัญหาความยากจนของชนเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่แม่ฮ่องสอน สร้างรายได้เสริมชุมชนด้วยงานคราฟต์ “ผ้าทอมือ-โคมไฟจากเปลือกข้าวโพด”
  • CHICK VILLAGE: คอมมูนิตี้ของคนเลี้ยงไก่ ที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ที่สม่ำเสมอ ลดภาระหนี้สินครัวเรือน ผ่านการอัปสกิลเลี้ยงไก่ไข่เพื่อจำหน่ายและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  • สำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบาง: ติดปีกความฝัน “ผู้พิการไทย” สู่เส้นทาง “นักเขียน” เปิดพื้นที่แห่งโอกาสที่พร้อมเปิดให้คนพิการได้แสดงศักยภาพและสร้างสรรค์ผลงานเขียน ต่อยอดสู่สินค้าที่ระลึกต่าง ๆ ในอนาคต

ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรม ตลอดจนร่วมลุ้นกับการประกาศผลผู้ชนะ Incubation Programภายใต้โครงการ Banpu Campions for Change ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/banpuchampions

Page 1 of 18
X

Right Click

No right click