บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสากรรมและอาหารระดับโลก คว้า 4 รางวัล
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CPFTH เป็นบริษัทย่อยที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “CPF” ถือหุ้น 99.99% ชูอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ 3.15% - 4.15% เตรียม เสนอขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2563 นี้ โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ A+ ผ่านธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย) ธนาคารทหารไทย และบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร
นายไพศาล จิระกิจเจริญ ประธานผู้บริหารฝ่ายการเงินของ CPF เปิดเผยว่าตามที่ CPFTH ได้เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่ผู้ลงทุนรายใหญ่ และ/หรือ ผู้ลงทุนสถาบันนั้น ล่าสุดทาง CPFTH ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหุ้นกู้ทั้ง 5 รุ่นแล้ว ดังนี้ หุ้นกู้อายุ 4 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยประมาณ 3.15-3.20% ต่อปี อายุ 7 ปีประมาณ 3.35-3.45% ต่อปี อายุ 10 ปีประมาณ 3.45-3.55% ต่อปี อายุ 12 ปีประมาณ 3.70-3.80% ต่อปี และอายุ 15 ปีประมาณ 4.00-4.15% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนจะกำหนดอีกครั้งในช่วงต้นเดือนสิงหาคม และคาดว่าจะเสนอขายระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคมนี้
ธนาคารผู้จัดจำหน่ายคาดว่าหุ้นกู้ทั้ง 5 รุ่นที่จะออกและเสนอขายน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยกิจการที่มีความมั่นคง มีความน่าเชื่อถือ มีโอกาสและมีศักยภาพในการเติบโต ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในนั้น โดย CPFTH เป็นบริษัทที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของ CPF และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ระดับ A+ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ CPFTH
ทั้งนี้ ทริสเรทติ้ง มองว่าภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยจากผลกระทบของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อบริษัทเพียงเล็กน้อย เนื่องจากสินค้าของบริษัทเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน และทริสเรทติ้งยังมีมุมมองต่อผลประกอบการของบริษัทในปี 2563 ว่าจะได้รับอานิสงส์จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ลดลงและความต้องการอาหาร แช่แข็งที่เพิ่มขึ้น
CPFTH ดำเนินธุรกิจสัตว์บกครบวงจรในประเทศไทย ประกอบด้วยประเภทสัตว์หลัก ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และเป็ด จำแนกเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ 1. ธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) ได้แก่ การผลิตและการจำหน่ายอาหารสัตว์ 2. ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) ได้แก่ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า รวมถึงการแปรรูปเนื้อสัตว์ขั้นพื้นฐาน และ 3. ธุรกิจอาหาร (Food) ได้แก่ การผลิตเนื้อสัตว์แปรรูปกึ่งปรุงสุกและปรุงสุก ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานรวมถึงมีกิจการค้าปลีกอาหารและร้านอาหาร ภายใต้แบรนด์ต่างๆ เช่น ซีพีเฟรชมาร์ท, ธุรกิจห้าดาว, สตาร์คอฟฟี่, ซีพี คิทเช่น รวมถึงร้านอาหารบุฟเฟต์ อาหารทะเล นานาชาติ ภายใต้ชื่อ “ซีพี ไห่หลาย ฮาร์เบอร์” เป็นต้น
โดยไตรมาสแรกของปี 2563 CPFTH มีรายได้จากการขายเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.7 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2562 ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 13% ในไตรมาสแรกของปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับ ระดับ 9% ในช่วงเดียวกันของปี 2562
สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้ของ CPFTH สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อสถาบันการเงินผู้จัดการการจำหน่าย
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ
อาหารอุ่นร้อนพร้อมทานโชยกลิ่นหอมๆมาจากรถ CPF Food Truck ที่ลานกิจกรรมของโรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส เขตบางพลัด
มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN (Labour Protection Network) ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลให้กับแรงงาน สานต่อโครงการ “ช่องทางรับฟังเสียงพนักงาน และอบรมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน” ให้กับพนักงานของซีพีเอฟ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิ LPN กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน หรือ Labour Voices Hotline by LPN จากความร่วมมือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวได้รับรู้สิทธิของตน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมาตรฐานสากล รวมทั้งได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทน สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน การเข้าถึงสิทธิแรงงานต่างๆ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และจัดการอบรมพนักงาน (Worker Training) ของซีพีเอฟ จำนวนมากกว่า 1,800 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 75 เป็นพนักงานต่างด้าว ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นต้น
ในปี 2562 ซีพีเอฟได้รับรายงานจากศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน จำนวน 4 สาย จากพนักงานคนไทยและต่างด้าว เป็นเรื่องการสอบถามข้อมูลและการร้องเรียน โดยสอบถามข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับเงื่อนไขตามกระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MoU) และในส่วนของการร้องเรียนจากการตรวจสอบพบว่ามีสาเหตุมาจากความกังวลและความเข้าใจผิดของแรงงานเรื่องกฎระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
“ปัจจัยที่ทำให้มีข้อร้องเรียนจากแรงงานซีพีเอฟ ผ่านช่องทาง Labour Voices Hotline by LPN ค่อนข้างน้อย เป็นผลจากบริษัทฯ มีล่ามประจำสถานประกอบการฯของบริษัทฯ คอยเป็นผู้ให้คำแนะนำและปรึกษาพนักงานต่างชาติเบื้องต้น รวมถึง การจัดการแก้ไขปัญหาโดยฝ่ายบุคคลและหัวหน้างานอย่างเป็นระบบและทันท่วงที ประกอบกับการจัดอบรมช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น” นายสมพงค์ กล่าว
นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนในองค์กรอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน แรงงานต่างชาติทุกคนเป็นพนักงานของบริษัทฯ ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับพนักงานคนไทย การดำเนินงานร่วมกับ LPN ช่วยสนับสนุนบริษัทฯ ให้เข้าใจความต้องการ ของแรงงานทุกคนและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างรวดเร็ว สร้างความพึงพอใจและความเข้าใจอันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง
“ซีพีเอฟ มีการทำแบบสำรวจการรับรู้ช่องทางการร้องเรียนผ่านศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน ในพื้นที่ 6 โรงงาน ครอบคลุมทั้งพนักงานไทยและต่างด้าว ผลสำรวจพบว่า 75% ของแรงงานมีการรับรู้และทราบช่องทางการร้องเรียนผ่านศูนย์นี้ ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานและลดผลกระทบที่อาจมีต่อธุรกิจ” นายปริโสทัต กล่าว
นอกจากนี้ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ทบทวนและดำเนินกระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ทุกสายธุรกิจในกิจการประเทศไทย ครอบคลุมทุกกลุ่ม ร่วมถึงกลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Group) เช่น ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและศาสนา ผู้บกพร่องทางร่างกาย เป็นต้น โดยให้ความสำคัญ อาทิ เรื่อง สภาพการจ้างงาน สุขภาพและความปลอดภัยในสถานประกอบการ ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรฐานการครองชีพและความปลอดภัยของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ฯลฯ
ซีพีเอฟ ยังยกระดับความปลอดภัยอย่างเข้มข้นสำหรับแรงงานทุกคนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมทั้งจัดการอบรมให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาด และการป้องกันแก่พนักงานต่างด้าว รวมทั้ง ทำแผ่นป้ายแนะนำในภาษาต่างๆ การจัดเพิ่มจำนวนรถตามแนวทาง social distancing เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจและทำงานด้วยความมั่นใจในมาตรการความปลอดภัย จนถึงปัจจุบันไม่มีพนักงานในสายการผลิตติดเชื้อโควิด-19