×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

กรุงเทพฯ/ 2 มีนาคม 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก ครองอันดับ 5 ของบริษัทที่ทุ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุดของโลก ตามข้อมูลของ 2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ซึ่งการศึกษานี้จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีบริษัทจะทุ่มรายได้จากยอดขายราวร้อยละ 10 – 15 ไปกับงานด้าน R&D โดยเฉพาะ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้งบราว 70,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท) ไปในด้านวิจัยและพัฒนา และได้เริ่มดำเนินการวิจัยเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยการลงทุนงบกว่า 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12.7 หมื่นล้านบาท)

ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ได้เปิดเผยเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า บริษัทได้เริ่มศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี 6G แล้ว ซึ่งจะมอบความเร็วที่สูงกว่า 5G ถึง 100 เท่า “ความจริงแล้วเราพัฒนา 5G และ 6G ไปพร้อม ๆ กัน โดยเราเริ่มงานวิจัย ด้าน 6G มานานแล้ว” มร. เหริน กล่าว “แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่เฟสแรก ๆ และเราก็คิดว่าการใช้งาน 6G เชิงพาณิชย์ยังต้องรอไปอีกประมาณ 10 ปี” เขาอธิบาย

ปัจจุบันหัวเว่ยเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกเพื่อมอบบริการที่ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น บริษัทเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้ลงนามในสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 90 ฉบับทั่ว

อันดับที่ 1 ประสบการณ์เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่ครอบคลุม จะเร่งการติดตั้ง 5G ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์ 5G และโซลูชันของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมส่วนใหญ่ทั่วโลก ในปัจจุบัน หัวเว่ยได้ลงนามเซ็นสัญญาร่วมกับผู้ให้บริการระบบการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด 91 แห่งและได้จัดส่งผลิตภัณฑ์ 5G ไปแล้วมากกว่า 600,000 ชิ้น โดยประสบการณ์ในการติดตั้งเครือข่ายโทรคมนาคมที่ผ่านมาทั้งหมดจะถูกนำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถติดตั้งเครือข่าย 5G ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพที่สุด” นายหยาง เชาปิน กล่าว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาย หยาง เชาปิน

นาย หยาง เชาปิน

อันดับที่ 2 พอร์ตโฟลิโอที่รอบด้าน พร้อมมอบประสบการณ์ 5G อันเหนือชั้นอย่างต่อเนื่อง

หัวเว่ยมีพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมเหมาะสมในทุกสถานการณ์ โดยสถาปัตยกรรมเครือข่ายสามชั้นประกอบด้วย สถานีฐานขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อประสิทธิภาพและความครอบคลุมขั้นพื้นฐาน การติดตั้งระบบ Easy Macro ที่ไซต์เสาเครือข่ายสัญญาณเพื่อส่งเสริมความครอบคลุม และโซลูชัน LampSite สำหรับระบบดิจิทัลภายในอาคาร ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความครอบคลุมของเครือข่ายที่ราบรื่นและมอบประสบการณ์ที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Massive MIMO AAU

อันดับที่ 3 โซลูชันอัลตร้าบรอดแบนด์หนึ่งเดียวของอุตสาหกรรม เพื่อการติดตั้งเครือข่ายที่ง่ายยิ่งขึ้น

ในยุค 5G คลื่นความถี่แบบ TDD แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการสร้างประสบการณ์ 5G อย่างเหนือชั้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเซ็กเมนท์ของคลื่นความถี่ที่ไม่ต่อเนื่อง เพราะปัจจัยเรื่องกรรมสิทธิ์ของดาวเทียมหรือการแบ่งสรรปันส่วนที่อาจไม่เท่าเทียมกัน หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโซลูชันอัลตร้าบรอดแบนด์หนึ่งเดียวของวงการอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนคลื่นความถี่แบนด์วิดท์สูงสุดที่ 400 เมกะเฮิรตซ์

อันดับที่ 4 เบลด AAU สุดพิเศษ ครบจบในหนึ่งเดียว ลดความซับซ้อนในการติดตั้ง

นายหยาง เชาปิน กล่าวว่า “ในกระบวนการการพัฒนาระบบการสื่อสารแบบไร้สาย ผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคมเลือกใช้ยูนิตเสาอากาศไร้สายจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนไซต์เครือข่ายสัญญาณและเสาสัญญาณ แต่ตอนนี้ ผู้ให้บริการกลับต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนพื้นที่ติดตั้งเสาอากาศไร้สาย ดังนั้นเสาสัญญาณเบลด AAU ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของหัวเว่ย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของเราในฐานะที่เป็นอุปกรณ์ “เรียบง่ายอย่างเหนือชั้น” ด้วยเป้าหมายที่ช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) และการลงทุนในฮาร์ดแวร์และไซต์เครือข่ายสัญญาณ

อันดับที่ 5 โซลูชันเครือข่ายโทรคมนาคม DSS เชิงพาณิชย์เจ้าแรกของอุตสาหกรรม เพื่อการติดตั้ง FDD NR อย่างรวดเร็ว

ปี 2563 จะเป็นปีแห่งการติดตั้งเครือข่าย 5G เป็นจำนวนมหาศาลทั่วโลก นอกจากการติดตั้งเครือข่าย 5G หลัก
ในย่านคลื่นความถี่
 1-6 เมกะเฮิรตซ์แล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมยังสามารถติดตั้งเครือข่าย 5G ในช่วงคลื่นความถี่ต่ำกว่า เมกะเฮิรตซ์ FDD เพื่อครอบคลุมเครือข่าย 5G อย่างรวดเร็วได้ โดยสำหรับคลื่นความถี่ FDD ใหม่ในขณะนี้ ข้อแนะนำของหัวเว่ยคือการติดตั้งสัญญาณเครือข่าย 5G โดยตรงจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ

อันดับที่ 6 อัลกอริทึมอัจฉริยะ เสริมศักยภาพเครือข่ายชั้นนำ

“หัวเว่ยได้พัฒนาเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ Massive MIMO อย่างรอบด้าน ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยได้จัดทำพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์และอัลกอริทึมที่เหนือชั้นเพื่อเสริมศักยภาพระบบ Massive MIMO ของเราให้ล้ำหน้าอยู่เสมอ ด้านซอฟต์แวร์อัลกอริทึม หัวเว่ยพร้อมด้วยเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ MU-MIMO การระบุข้อกำหนดซอฟต์แวร์ หรือ SRS เทคนิคการประมวลผลสัญญาณแบบ full-channel beamforming 

อันดับที่ เทคโนโลยี 5G สีเขียว ใช้พลังงานน้อยลง

ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารของอุปกรณ์มือถือให้สมบูรณ์และยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี 5G ซึ่งหัวเว่ยพร้อมมอบโซลูชันการประหยัดพลังงานแบบครบวงจร ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ไซต์เครือข่ายรูปแบบใหม่ และระบบการประสานงานทั่วเครือข่ายด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้งาน เพื่อลดการใช้พลังงานในการกระจายสัญญาณ 5G ต่อบิต พร้อมด้วยนวัตกรรมการออกแบบชิปและอัลกอริทึม วัสดุฮาร์ดแวร์คุณภาพสูง และเทคโนโลยีกระจายความร้อนล้ำสมัย 

อันดับที่ โซลูชันแบบคอนเวิร์จ NSA/SA แบบครบวงจร เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลของอุตสาหกรรมในอนาคต

“เทคโนโลยี 5G ไม่เพียงสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้งานโดยตรง แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม จึงทำให้เทคโนโลยี 5G แตกต่างจากเทคโนโลยีกระจายสัญญาณรุ่นก่อนหน้า โดยมาตรฐาน Release 16 จาก 3GPP จะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เทคโนโลยี 5G จะสามารถรับส่งข้อมูลที่มีเสถียรภาพสูงและความหน่วงต่ำ ได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น 

อันดับที่ โซลูชัน SUL E2E (Super Uplink) แบบครบวงจรที่มีเอกลักษณ์ เติมเต็มประสบการณ์และศักยภาพการเชื่อมโยงในอุตสาหกรรม

ระบบ TDD แบบดั้งเดิมจะเน้นที่ความต้องการของเทคโนโลยี enhanced Mobile Broadband (eMBB) ซึ่งทำให้ความสามารถในการดาวน์ลิงก์สูงกว่าอัปลิงก์เป็นอย่างมาก จึงไม่สามารถส่งข้อมูลอัปลิงก์ขนาดใหญ่และมีความหน่วงต่ำ ซึ่งจำเป็นต่อการใช้งานบางอย่างในภาคอุตสาหกรรม เช่น การถ่ายทอดสดแบบ 4K และ 8K เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโซลูชันนวัตกรรม Super Uplink ขึ้น เพื่อประสานการส่งสัญญาณแบบ TDD และสเปคตรัม FDD 

อันดับที่ 10 โซลูชันการจัดแบ่งเครือข่าย ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลในอุตสาหกรรม

เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้น หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันการจัดแบ่งเครือข่ายที่ครอบคลุมตั้งแต่เครือข่ายการรับส่งทางคลื่นวิทยุ core network เครือข่ายคมนาคม ไปจนถึงเครื่องปลายทาง เพื่อให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมและลูกค้าอุตสาหกรรมสามารถส่งมอบบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น พร้อมกับการันตีแบนด์วิดท์สูงและความหน่วงสัญญาณต่ำ ส่งผลให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างไร้กังวล โดยโซลูชันดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้กับหลากหลายสถานการณ์ในแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พอร์ตอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ หรือเทคโนโลยีคลาวด์ AR/AR จึงทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ ในขณะเดียวกัน ยังสร้างโอกาสให้ผู้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมสามารถแสวงหาตลาดใหม่ๆ ได้อีกด้วย

 

AIS เริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รายแรกรายเดียวในไทย ด้วยคลื่นมากสุด
พร้อมเปิดให้บริการ โทรผ่าน 5G ไปต่างแดน และ 5G โรมมิ่งในต่างแดน รายแรกแล้ว
24 กุมภาพันธ์ 2563 : ภายหลังเข้ารับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2600 MHz อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ในวันเดียวกันนั้น เอไอเอสก็สร้างปรากฏการณ์ เปิดเครือข่าย 5G ทั่วประเทศ เป็นรายแรกทันที ล่าสุด วันนี้ (24 กุมภาพันธ์ 2563) เอไอเอสประกาศเริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ อย่างเป็นทางการ รายแรกและรายเดียวในไทย
โดยขณะนี้ AIS มีแผนขยายเครือข่าย AIS 5G อย่างต่อเนื่อง พร้อมเตรียมมอบสิทธิ์ให้ลูกค้าที่ซื้อ 5G Smart Phone จากเอไอเอส  อาทิ Samsung Galaxy S20 Ultra 5G, Huawei  Mate 30 Pro 5G  ซึ่งเตรียมจำหน่ายในช่วงต้นเดือนมีนาคม สามารถใช้ 5G ได้ทันที โดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติม จนถึง 30 มิถุนายน 2563 ในพื้นที่ซึ่งมีเครือข่าย AIS 5G
นอกจากนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การติดต่อต่างประเทศ  เอไอเอสยังเป็นรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ร่วมกับพันธมิตรผู้ให้บริการในต่างประเทศ เปิดให้บริการโทรผ่าน 5G ไปต่างประเทศ เริ่มต้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ร่วมกับ Globe  Telecom และบริการ 5G โรมมิ่ง

มร. เคน หู รองประธานบริหาร หัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวถึง สถานะปัจจุบันของการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ในงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 10 ซึ่งเปิดฉากขึ้น ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวานนี้ (15 ตุลาคม 2562) นอกจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่มีต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่ได้ริเริ่มการใช้โครงข่าย 5G กันแล้ว มร. เคน หู ยังกล่าวถึงความสำคัญของนโยบายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเอื้อต่อการเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ในขั้นต่อไป

“เราได้ขับเคลื่อนจนเกิดความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก 5G ได้สูงสุด เราต้องร่วมมือกันเพื่อพิชิตความท้าทายต่างๆ ที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ แหล่งทรัพยากรต่างๆ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เร็วกว่า 4G แต่จะมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องมีวิธีคิดที่สดใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต” มร. เคน หู กล่าว

ทั่วโลกเดินหน้า 5G เต็มกำลัง

เพียงเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจน ได้เกิดการใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G อย่างมาก ผู้ให้บริการเครือข่ายในกว่า 20 ประเทศ ได้เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รวมกว่า 40 เครือข่าย ภายในปลายปีนี้ คาดว่าจะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 60 ราย

5G เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสความเร็วสูงสุด โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ และตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 ล้านรายสมัครใช้งานเครือข่าย 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศ ภายในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงหกเดือน อัตราการเติบโตดังกล่าวมีผลมาจากบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AR/VR ที่ใช้เทคโนโลยี 5G และการถ่ายทอดสดกีฬาด้วยภาพคมชัดระดับเอชดีแบบ 360º บริการทั้ง 3 รูปแบบนี้ทำให้ผู้ใช้งาน 5G กลุ่มแรกเริ่มใช้ปริมาณดาต้าเพิ่มขึ้นถึง 1.3 กิ๊กกะไบท์ต่อเดือน

 

นอกจากปริมาณการใช้ดาต้าที่เติบโตเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่างๆ ยังมีช่องทางรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น LG U+ ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ได้เปิดตัวบริการด้าน VR/AR ซึ่งรวมอยู่ในแพ็กเกจดาต้า 5Gแบบพรีเมียม และในช่วงเวลาเพียงสามเดือนหลังการเปิดให้บริการ 5G สัดส่วนผู้ใช้งานแพ็กเกจดาต้าแบบพรีเมียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 3.1% เป็น 5.3%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นๆ ยังสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ๆ จากการเริ่มใช้งาน 5G ในระดับอุตสาหกรรม โดย มร. เคน หู กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่น 5G เพื่อช่วยยกระดับทั้งด้านการสื่อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือ ด้านบันเทิง และด้านการผลิต ซึ่งได้เริ่มใช้งานกันไปบ้างแล้ว แม้เรายังบอกไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด ในอนาคต แต่ขณะนี้เราได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าทุกอุตสาหกรรมต่างได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G”

 นโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาคลื่นความถี่และไซท์กระจายสัญญาณ

มร. เคน หู ให้ข้อสังเกตว่า แหล่งจ่ายและต้นทุนของคลื่นความถี่เป็นสองความท้าทายหลักที่เรากำลังเผชิญ “เราหวังว่าภาครัฐจะสามารถจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มากขึ้นและพิจารณารูปแบบการตั้งราคาที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เพราะจะช่วยลดภาระรายจ่ายลงทุนเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายได้”

นอกจากนี้ มร. เคน หู ยังเสนอแนะให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มวางแผนที่จะตอบรับความต้องการในคลื่นความถี่ใหม่ให้ครอบคลุมภายใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ พร้อมชี้ว่า คลื่นความถี่ในช่วง 6GHz เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

“อุตสาหกรรมของเราต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรของไซท์สัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนยังสูงอยู่มาก ในขณะที่ไซท์สัญญาณไม่เพียงพอกับความต้องการเสมอ หน่วยงานกำกับดูแลควรริเริ่มและส่งเสริมให้มีการเปิดให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในรูปแบบของการแบ่งปัน รวมถึงออกแนวทางสำหรับการก่อสร้างไซท์สัญญาณ” มร. เคน หู กล่าวต่อ

 มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองตัวอย่างที่รัฐบาลได้สร้างเสาไฟฟ้าอเนกประสงค์มาตรฐานใหม่ ภายในปี 2020 เซี่ยงไฮ้จะติดตั้งเสาไฟฟ้ารูปแบบใหม่นี้ตลอดระยะทาง 500 กิโลเมตรของถนนสาธารณะ เพื่อเพิ่มแหล่งจ่ายสัญญาณ 5G อีก 30,000 แห่ง คิดเป็น 75% ของสถานีกระจายสัญญาณไร้สายทั่วเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนในยุโรป กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง เพื่อกำหนดความต้องการและระบุข้อบังคับในการใช้แหล่งจ่าย 5G และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะร่วมกัน (เช่น ไฟจราจร ป้ายจราจร และป้ายรถเมล์) เพื่อลดต้นทุนให้ทุกภาคส่วนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกันได้

ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

มร. เคน หู กล่าวปิดท้ายด้วยการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เรายังมีความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองก์ความรู้ของภาคอุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง กรณีศึกษาตัวอย่าง และการพัฒนาให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้ เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมแรงกัน ด้วยการเปิดใจ ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อหาปัญหาที่แท้จริงและค้นหาว่าอะไรที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้ศักยภาพของ 5G ได้สูงสุด”

ในการส่งเสริมนวัตกรรมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น หัวเว่ยได้เปิดศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 5G สำหรับยุโรปเป็นแห่งแรกในเมืองซูริค ศูนย์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและซันไรส์ ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่ช่วยให้ทั้งสองบริษัทสามารถทำงานร่วมกันและพัฒนาโซลูชั่น 5G เฉพาะทางสำหรับภาคอุตสาหกรรม

“เห็นได้ชัดว่าแต่ละประเทศมีจุดแข็งทางเศรษฐกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นขอบเขตที่เราสามารถนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปเสริมโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ ” มร. เคน หู กล่าวสรุป

สำหรับงาน Global Mobile Broadband Forum ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากผู้ให้บริการเครือข่าย อุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ หน่วยงานวิเคราะห์การตลาด และสื่อมวลชน โดยมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G โซลูชั่นเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้ 5G ในระดับผู้บริโภค ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมบริการคลาวด์ AR/VR ผ่าน 5G การถ่ายทอดสัญญาณภาพบนความละเอียด 8K การเล่นเกมผ่านคลาวด์ แมชชีนวิชั่น และโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการควบคุมทางไกล

X

Right Click

No right click