จากการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ตลอดจนการประชุม World Economic Forum 2024 หรือ WEF ที่เพิ่งเกิดขึ้น ตอกย้ำให้เห็นว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหารือแนวทางในการจัดการปัญหานี้ จากรายงานความคืบหน้าในการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake Synthesis Report) ของสหประชาติที่เผยแพร่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นความจริงอันน่าตกใจว่า นโยบายการบริหารของภาครัฐทั่วโลกในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นผลดีนัก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2.6 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตลอดจนการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงปารีสนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้

ท่ามกลางสถานการณ์โลกเดือด แม้นโยบายภาครัฐต่างๆ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเปลี่ยนแปลง แต่แท้จริงแล้วการปรับตัวของภาคเอกชนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินธุรกิจที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีควบคู่ไปกับสร้างโลกที่ยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยเม็ดเงินมหาศาล อีกทั้งยังต้องอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตควบคู่กันไป เช่น การลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้า และสำหรับนักลงทุนเองนั้นก็จำเป็นต้องวางแผนรับมือกับยุคของการเปลี่ยนผ่านนี้เช่นกัน ด้วยการปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ให้สอดคล้องและทันกับการเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจที่เคยดีหรือทำกำไรในอดีต อาจจะไม่สามารถทำแบบเดิมได้อีกต่อไป และหากนักลงทุนไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็จะพลาดโอกาสในการลงทุนเช่นกัน

ทำความรู้จักแนวคิด Rethink Sustainability

“Rethink Sustainability” คือแนวคิดจากลอมบาร์ด โอเดียร์ Lombard Odier ไพรเวทแบงก์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากสวิสเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2339 ผ่านวิกฤตทางการเงินกว่า 40 ครั้ง  ปัจจุบันมีทรัพย์สินภายใต้การจัดการ (Asset Under Management: AUM) มูลค่ารวมกว่า 345 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลอมบาร์ด โอเดียร์ เน้นกลยุทธ์ในการสร้างผลตอบที่ยั่งยืนแก่ลูกค้าผ่านโซลูชั่นการลงทุน โดยใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีการประเมินความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจ วิกฤตทางการเงิน ตลอดจนภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่วิเคราะห์ถึงปัจจัยรอบด้านอย่างครบถ้วน เพื่อมุ่งออกแบบแผนการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และโลกในอนาคต

ลอมบาร์ด โอเดียร์ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนเป็นแนวคิดที่จะส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมในอนาคต  โดยจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ คือ CLIC® Economy ที่มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean)  ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean)  ซึ่งนักลงทุนควรที่จะได้เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการวางแผนการลงทุน พร้อมลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในยุคที่มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกที่ยั่งยืน

แนวคิดเพื่อความยั่งยืนวิถีใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero ถือเป็นความท้าทาย เพราะทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้งานอย่างสิ้นเปลืองจนเกินขอบเขต ทำให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจและประชาชนจะต้องปรับตัวอย่างจริงจัง เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสในการลดภาวะโลกร้อน เพื่อลดอุณหภูมิโลกให้ไม่เพิ่มเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2593 ด้วยความมุ่งมั่นตามข้อตกลงนี้ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รูปแบบเศรษฐกิจทั่วโลกควรจะเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจรูปแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน และ CLIC® Economy 

จากการวิจัยที่ผ่านมาของลอมบาร์ด โอเดียร์ เชื่อว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน ระบบพลังงาน และภาคการผลิต  จะมีการสร้างแนวทางใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้การกำหนดราคาคาร์บอนจะเป็นปัจจัยหลักในการจัดสรรเงินทุนเพื่อปรับแผนการบริหารให้เหมาะสม รวมถึงการหาแนวทางในการจัดการคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) จะเป็นพันธกิจหลักที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ

ปัจจุบันทั่วโลกต่างปรับตัวตามกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อหาแนวทางลดอุณหภูมิโลก รวมทั้งรัฐบาลทั่วโลกต่างก็เพิ่มการสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นผ่านหลากหลายโครงการ เช่น การออกนโยบาย EU Green Deal, การออกกฎหมายลดเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงนโยบายการพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนของประเทศจีนที่มุ่งพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงใน 5 ปี ข้างหน้า

ด้วยเป้าหมายในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ลอมบาร์ด โอเดียร์ คาดการณ์ว่าจะเกิดเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ปรับตัวได้ทันสอดรับกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมนี้จะสามารถสร้างโอกาสการลงทุนมหาศาลและสร้างผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูงในอนาคต

ด้วยแนวคิดที่อ้างอิงได้ตามหลักการวิทยาศาสตร์ และวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า  ลอมบาร์ด โอเดียร์ ได้มีการวางแผนการบริหารพอร์ตการลงทุนตามสภาวะเศรษฐกิจ และเน้นกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นสำคัญ เพื่อขานรับแนวคิดเศรษฐกิจใหม่แห่งอนาคต

ส่งผ่านแนวคิดเพื่อความยั่งยืน จากดูไบสู่ดาวอส  

ธรรมชาติ คือหัวใจสำคัญที่สามารถลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ภายในปีพ.ศ. 2573 ได้ถึงหนึ่งในสาม ลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะผู้นำในการขับเคลื่อนการสร้างความยั่งยืน ได้จัดบรรยายในหัวข้อ re-NATURE Hub  เพื่อเผยแพร่ทิศทางการลงทุนที่สำคัญ เพื่อตอกย้ำบทบาทของภาคการเงิน ภาคเอกชน และภาครัฐ ซึ่งแรงขับเคลื่อนหลักที่จะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสในอนาคต  โดยสอดรับกับสาระสำคัญในการจัดประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ ครั้งที่ 28 (COP28) ณ ดูไบ ซึ่งเป็นการประชุมที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนระบบการจัดการอาหาร การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน

 มร. ฮูแบร์ เคลเลอร์  Senior Managing Partner, Lombard Odier  กล่าวว่า “ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยใช้แนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติจะสามารถช่วยให้เราก้าวข้ามระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันได้ ผ่านการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ไปสู่โลกของ Net Zero ซึ่งเป็นโอกาสการลงทุนที่สำคัญที่สุดของยุคนี้” โดยยังตอกย้ำความสำคัญของแนวคิดด้านความยั่งยืนจากงานประชุม World Economic Forum 2024  ที่เมืองดาวอสเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้นำและผู้บริหารจากทั่วโลกต่างลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ทุกองค์กรต้องปรับการบริหารไปสู่การบริหารบนแนวทางแห่งความยั่งยืนว่า “ธรรมชาติคือสินทรัพย์การลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาล (Nature As A New Asset Class) เมื่อพูดถึงการจัดการความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ โลกได้มุ่งความสนใจไปที่การจัดการคาร์บอนมานานกว่า 20 ปี ซึ่งตอนนี้เราทุกคนกำลังหันกลับไปให้ความสำคัญที่ธรรมชาติ จากในอดีตที่ทรัพยากรถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำที่สุดแต่กลับมีมูลค่ามากที่สุดในยุคปัจจุบัน”

คิดใหม่และเริ่มลงมือทำ เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในไทย

นอกจากเวทีระดับโลกแล้ว  การหารือแนวทางต่างๆ ภายในประเทศก็มีความสำคัญ เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคต การสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย เพื่อมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจไทยไปสู่การสร้างโลกที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง KBank Private Banking ร่วมกับพันธมิตร ลอมบาร์ด โอเดียร์ เชื่อมั่นในพลังของการลงทุน จึงตอกย้ำบทบาทของไพรเวทแบงก์ ซึ่งเป็นตัวแทนของนักลงทุนที่มีศักยภาพในการช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไทยไปสู่ความยั่งยืนได้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้นักลงทุนเองสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคตด้วยโอกาสการลงทุนใหม่ๆ

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “นักลงทุนถือเป็นหนึ่งในผู้นำในการขับเคลื่อนโลก และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมผ่านการกำหนดกลยทุธ์การลงทุนที่เหมาะสม ฉะนั้นนักลงทุนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาลในการลงทุนในอนาคต และจะเป็นทางรอดสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้มุ่งไปสู่ยั่งยืนได้”

KBank Private Banking ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน มองว่าแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยด้วยการลงมือทำ

นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า “เราเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “Rethink Sustainability: A Call to Action for Thailand" ขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 โดยร่วมมือกับพันธมิตรรวบรวมผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าระดับโลกและประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและการวางแผนการลงทุนเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของความยั่งยืนในเชิงความคิดเท่านั้น แต่เป็นงานสัมมนาที่ต้องการจุดประกายให้เกิดการลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง”

ท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับปรับใช้กับการบริหารธุรกิจของท่านจากสัมมนาแห่งปี “Rethink Sustainability: A Call to Action for Thailand” อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของงานได้ที่ : https://www.kasikornbank.com/en/News/Pages/rethink-sustainability-forum.aspx 

ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกทุกมิติมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่การผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการลดคาร์บอน ล่าสุดเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือรถ EV Currency Exchange นำร่องใช้งานจริงแล้วในกรุงเทพฯ และภูเก็ต นอกจากนี้ ยังช่วยให้ลูกค้าของธนาคารได้มีส่วนร่วมในการรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น ด้วยการจัดทำบัตรเครดิต/เดบิตที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล พร้อมทยอยเปลี่ยนบัตรกว่า 20 ล้านใบให้ครบทั้งหมดภายใน 7 ปี ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 770 ตันคาร์บอนฯ หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 51,333 ต้น

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาโลกร้อน จึงเดินหน้านโยบายและปรับการดำเนินงานต่างๆ ภายในองค์กร รวมถึงส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงไลฟ์สไตล์กรีนเพื่อมุ่งสู่ Net Zero Commitment ตามที่ธนาคารได้ประกาศไว้เมื่อปี 2564 โดยด้านการดำเนินงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนรถยนต์ของธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วจำนวน 175 คัน และจะทยอยเปลี่ยนจนครบทั้งหมดภายในปี 2573 มีการทยอยติดตั้งแผงโซลาร์ในอาคารสำนักงานหลักและสาขา โดยตั้งเป้าติดตั้งให้ครบทุกสาขาที่มีศักยภาพในการติดตั้งจำนวน 278 แห่ง ภายใน 2 ปี การปรับเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับกระบวนการทำงานและการให้บริการของธนาคารไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการจัดการขยะในอาคารสำนักงานหลักเพื่อลดปริมาณขยะที่ไปสู่หลุมฝังกลบเป็นศูนย์ รวมทั้งส่งเสริมพนักงานและบุคลากรของธนาคารให้มีความรู้และเกิดพฤติกรรมที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ธนาคารยังมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น ผ่านการใช้บริการของธนาคารที่ใส่ใจเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดตัวนวัตกรรมบริการที่มีเป้าหมายช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 2 โครงการ เป็นธนาคารแรกในไทย ได้แก่ การพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือรถ EV Currency Exchange และการจัดทำและเปลี่ยนบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเป็นบัตรที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งทั้งสองโครงการได้พัฒนาสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย และมีการนำไปให้บริการจริงแล้ว

สำหรับรถ EV Currency Exchange เป็นรถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ขับเคลื่อนได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และใช้แบตเตอรี่ที่ได้พลังงานจากแผงโซลาร์ที่ติดตั้งบริเวณหลังคารถสำหรับการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราในรถได้ต่อเนื่องสูงสุด 10 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟ ปัจจุบันนำร่องเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการแลกเงินแก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเริ่มที่ จ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดแรก และมีแผนขยายจำนวนรถให้ครอบคลุมมากขึ้นในอนาคต

ด้านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตธนาคารกสิกรไทย มีการเปลี่ยนมาใช้บัตรที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งช่วยลดการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ใบละ 42 กรัมคาร์บอนฯ หรือลดลง 62% จากการใช้วัสดุแบบเดิม โดยเริ่มมีการทยอยนำบัตรแบบใหม่นี้มาใช้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2566 ให้แก่ลูกค้าที่ออกบัตรใหม่ บัตรทดแทน และบัตรต่ออายุ ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปลี่ยนบัตรกว่า 20 ล้านใบได้ครบทั้งหมดภายใน 7 ปี ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 770 ตันคาร์บอนฯ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 51,333 ต้น

นายพิพิธกล่าวตอนท้ายว่า ในปี 2567 ธนาคารยังคงเดินหน้าผลักดันลูกค้าให้ร่วม GO GREEN Together อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และการพัฒนา Innovation ใหม่ๆ รวมถึงการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้าง Green Ecosystem ให้เกิดขึ้นจริง และร่วมกันพาประเทศสู่ Net Zero อย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้ที่สนใจร่วมรักษ์โลกไปกับธนาคารสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครใช้บริการ ได้ที่

 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด (KAsset) จับมือ J.P. Morgan Asset Management (JPMAM) สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงนวัตกรรมด้านการลงทุน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการคัดเลือกและจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลกเพื่อยกระดับการลงทุนของไทย พร้อมสร้างความเข้าใจเชิงลึกให้กับผู้ลงทุนไทยเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญกับธุรกิจการบริหารจัดการกองทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสร้างรากฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งให้กับลูกค้า โดยปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าที่มีการลงทุนในกองทุนรวมเกือบ 1 ล้านราย (ณ วันที่ 25 ธ.ค. 66) และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่าง KAsset และ JPMAM ตั้งแต่การบริหารจัดการไปจนถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ตรงความต้องการของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย จะช่วยยกระดับประสบการณ์การลงทุนของลูกค้าได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับความมุ่งหมายของธนาคารในการส่งมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้แก่นักลงทุนไทย อีกทั้งยังเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้ KAsset เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ

นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด หรือ KAsset กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ลงทุนไทยประมาณ 60% กำลังเผชิญปัญหาพอร์ตการลงทุนมีความผันผวน (ที่มา: บลจ.กสิกรไทย ณ วันที่ 25 ธ.ค. 66)  โดยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาดได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัจจัยเหล่านี้ได้นำไปสู่ความผันผวนของตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเมินสถานการณ์ได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้น KAsset จึงมุ่งพัฒนาแผนกลยุทธ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคัดเลือกและจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลก พร้อมปรับรูปแบบการลงทุนให้สอดรับและทันทุกการเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ KAsset ที่จะทำให้พอร์ตการลงทุนของผู้ลงทุนไทยมีความมั่นคงและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นายแดน วัตกินส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ.พี. มอร์แกน แอสเซท แมเนจเม้นท์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ทีมงานของ JPMAM รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ KAsset ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีมายาวนาน เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ลงทุนไทย โดยมองว่าตลาดทุนไทยเป็นตลาดที่มีความคึกคักและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั่วโลกของ JPMAM ทำให้พวกเรามีความพร้อมที่จะนำเสนอโซลูชั่นการลงทุนที่ได้มาตรฐานระดับโลกให้กับผู้ลงทุนไทย และเป็นการเปิดโอกาสในการขยายธุรกิจของ JPMAM ไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังจาก 2 บลจ.ชั้นนำด้านการลงทุน โดย JPMAM เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการลงทุนระดับโลก มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ 2.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ KAsset เป็นผู้นำตลาดกองทุนรวมของไทย มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการกว่า 1.49 ล้านล้านบาท ที่มีความเข้าใจเชิงลึกต่อสินทรัพย์และสถานการณ์การลงทุนในไทย โดยความร่วมมือนี้จะมุ่งเสริมศักยภาพของ KAsset ให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้ข้อมูลเชิงลึกที่เข้าถึงผู้ลงทุนได้ทันสถานการณ์อย่างตรงไปตรงมา และการให้คำปรึกษาอย่างเข้าใจ ตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงิน

ธนาคารกสิกรไทย เปิดยุทธศาสตร์สร้างการเติบโตธุรกิจในระยะยาว ประกาศแยก “บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด” หรือ เคไอวี (KASIKORN INVESTURE: KIV) และ พัชร สมะลาภา เข้าดำรงตำแหน่ง Group Chairman ของ เคไอวี เพิ่มความคล่องตัวในการรุกธุรกิจให้บริการการเงินกับลูกค้ารายย่อย พร้อมใช้ศักยภาพของพันธมิตรร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ของธนาคาร เพื่อให้สามารถลดต้นทุนธุรกิจ และลดต้นทุนความเสี่ยงด้านเครดิต ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของเคไอวี ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ เคไอวี เป็นบริษัทโฮลดิ้งภายใต้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย เพื่อลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคารที่มุ่งเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า (Empower Every Customer’s Life and Business) โดยเคไอวีจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งของธนาคารและพันธมิตร เพื่อสร้างรายได้บนความเสี่ยงที่คุ้มค่า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

“ธนาคารได้ปรับรูปแบบการบริหารจัดการของเคไอวี โดยมีคุณพัชร สมะลาภา เข้าดำรงตำแหน่ง Group Chairman ของ เคไอวี และแยกเคไอวีออกมา เพื่อทำให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร ภายใต้การใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารมั่นใจว่า การปรับครั้งนี้จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย และสร้างรายได้ใหม่ให้กับธนาคาร ทำให้ธนาคารมีกำไรทางธุรกิจที่สูงกว่าธนาคารบริหารจัดการเอง รวมทั้งทำให้ธนาคารมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน”

นายพัชร สมะลาภา Group Chairman ของ บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด กล่าวว่า เป้าหมายของ เคไอวี คือ เพิ่มความสามารถในการให้บริการการเงินกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือ ต้องลดต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) และลดต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) เพื่อให้ยังคงความสามารถในการสร้างกำไรของธุรกิจ การดำเนินงานของเคไอวีอาศัยความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละด้าน รวมกับการใช้โครงสร้างและทรัพยากรของธนาคารกสิกรไทยที่มีอยู่แล้ว เช่น จำนวนลูกค้ากว่า 20 ล้านราย K PLUS เงินทุน ข้อมูล ไอที และสาขา เป็นต้น ซึ่งทำให้เคไอวีมีความเข้าใจลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถให้บริการการเงินที่ครอบคลุมความต้องการของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย เจ้าของร้านค้ารายเล็ก กลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเงินทุนเสริมสภาพคล่อง ให้สามารถใช้บริการการเงินในระบบได้มากขึ้น

ปัจจุบัน บริษัทที่อยู่ในโครงสร้างของเคไอวี ประกอบด้วย 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท

X

Right Click

No right click