September 19, 2024

นางสาววชิรา การสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานความยั่งยืน นางญดาภรณ์ ศรีพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 6 พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงานธนาคารออมสิน ร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต (โครงการปลูกป้องโลก) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการของธนาคารออมสินที่สนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ควบคู่กับการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน

 

โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการจัดสรรพื้นที่ปลูกป่าทดแทน ประกอบด้วย พันธุ์ไม้ป่าชายเลนรวม 3 ชนิด ได้แก่ ต้นตีนเป็ด หยีทะเล และโปรงแดง รวมกว่า 20,000 ต้น ที่บริเวณแปลงปลูกป่าคลองกะลาเส และป่าคลองไม้ตาย ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง โดยมี นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดกิจกรรม และมีนายภาณุวรรณ รามศรี ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 20 หัวหน้าหน่วยงานราชการในพื้นที่ นักเรียน และตัวแทนชาวบ้านรวมกว่า 100 ชีวิต ร่วมกันปลูกป่าชายเลน เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ถ่ายทอดนโยบายการขับเคลื่อนการเป็นธนาคารเพื่อสังคมเชิงลึกให้บุคลากรหน่วยงานพัฒนาสังคมและชุมชนทั่วประเทศ เน้นใช้กลไกการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV : Creating Shared Value โดยทำธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับการช่วยแก้ปัญหาสังคมไปด้วย และนำกำไรจากธุรกิจมาสนับสนุนภารกิจเชิงสังคม ซึ่งทำให้สังคมและธุรกิจเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

 

พร้อมกันนี้ยังได้เยี่ยมชมผลสัมฤทธิ์จากการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนของบุคลากรในสังกัดหน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน สายงานกิจการสาขา 1- 6 และหน่วยงานพัฒนาจากส่วนกลาง ซึ่งถือเป็นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรที่ทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการในการทำงานเพื่อสังคมและชุมชน เพื่อนำองค์ความรู้ถ่ายทอดต่อวิสาหกิจชุมชนที่รับผิดชอบ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานภายใต้แนวทางการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม เพื่อขับเคลื่อนบทบาทธนาคารเพื่อสังคมตามเป้าหมายต่อไป ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร พร้อมแสดงความยินดีแก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ จาก 53 กิจการ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร GSB Franchise Standard 2024 ในโครงการ GSB Smart Franchise ปี 3 ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารออมสิน ร่วมกับ บริษัท จีโนซิส จำกัด บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจแฟรนไชส์ การวางแผน และการจับคู่ธุรกิจจัดขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างเครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ มีรายได้ ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

 

โดยหลักสูตรดังกล่าวมุ่งเน้นการเรียนรู้ทั้งจากทฤษฎี และกรณีศึกษา จากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ขนาดใหญ่มาร่วมแชร์ประสบการณ์จริง อาทิ The Pizza Company Cafe Amazon และบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น เป็นต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพ ยกระดับแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐาน สร้างจุดแข็ง รวมทั้งเพิ่มพูนองค์ความรู้ กลยุทธ์การตลาด และทักษะที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ จะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรม จำนวน 10 กิจการ เพื่อเป็น "10 Selected GSB Smart Franchise" ในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจต่อไป ซึ่งถือเป็นความสำเร็จภายใต้การขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสังคมของธนาคารออมสินในการพัฒนา ยกระดับรายได้ ตลอดจนสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างครบวงจร

สำหรับผลการดำเนินโครงการ GSB Smart Franchise ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา สามารถสร้างองค์ความรู้พื้นฐานธุรกิจแฟรนไชส์ ผ่านหลักสูตร Jump Start Franchise กว่า 4,500 ราย สร้างงานสร้างอาชีพธุรกิจแฟรนไชส์ กว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ สร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ผ่านหลักสูตร GSB Franchise Standard จำนวน 164 กิจการ และมีผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อเป็นเงินกว่า 450 ล้านบาท โดยมีนายอภิวัฒน์ กวีรัตเชวง รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ นายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs Start up ร่วมพิธีมอบใบประกาศนียบัตรดังกล่าว ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

เลือกพื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง ต่อยอดการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม

นางสาววชิรา การสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานความยั่งยืน พร้อมด้วยนางจันทนา พุทธชัยยงค์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 2 และพนักงานธนาคารออมสิน มอบมังคุดและลำไยให้แก่ประชาชนที่บริจาคโลหิต เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นผลผลิตที่ธนาคารออมสินรับซื้อจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดและลำไยในช่วงผลผลิตล้นตลาดตามนโยบายรัฐ อย่างละ 6 ตัน รวม 12 ตัน โดยจะทยอยมอบให้กับหน่วยงานสาธารณกุศล เพื่อส่งต่อให้กับประชาชนต่อไป

อาทิ สภากาชาดไทย สถานสงเคราะห์ 11 แห่ง สภาสังคมสงเคราะห์ และหน่วยงานพันธมิตร เป็นต้น ทั้งนี้ มังคุดและลำไยในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน มีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด มีราคาตกต่ำ ภายใต้บทบาทธนาคารเพื่อสังคม การช่วยเหลือเกษตรกรครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต เกิดผลลัพธ์เชิงบวกให้กับเกษตรกรและสังคมในวงกว้าง ทำให้เกิดทุนหมุนเวียนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

Page 2 of 8
X

Right Click

No right click