รายงาน Digital Lives Decoded ของเทเลนอร์ เอเชีย ระบุว่า 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยนั้นมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล

ซึ่งแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะฟังดูสูง แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียซึ่งอยู่ที่ 93%

มนตรี สถาพรกุล Head of Data Protection แห่งบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)  เผยความเห็นว่า Data Privacy กับ Data Security คือเรื่องเดียวกัน

"ความเป็นส่วนตัวหรือ privacy นั้นหมายถึงการเคารพขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลที่แท้จริงเป็นผู้กำหนด ถ้าคุณเล่าอะไรที่เป็นส่วนตัวกับใครก็ตาม บุคคลนั้นไม่ได้รับอนุญาตจากคุณในการนำเรื่องนั้นๆ ไปบอกต่อกับคนอื่นๆ เช่นเดียวกันกับข้อมูลดิจิทัล คุณในฐานะเจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลนั้นๆ และบริษัทที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลดังกล่าวมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน ที่ทรู เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ถือเป็นส่วนหนึ่งของเจตนารมณ์ของเราในฐานะผู้นำด้านโทรคมนาคม-เทคโนโลยี” มนตรีกล่าว

ปัจจุบัน ทรูมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายมือถือจำนวนกว่า 51 ล้านคน ไม่นับรวมบริการอื่นๆ อาทิ บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ คอนเทนต์ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ โซลูชัน IoT ทำให้ทรูถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในมิติด้านข้อมูลของประเทศไทย

“เมื่อลูกค้าทรูเปิดโทรศัพท์มือถือ จะมีการรับและส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ของพวกเขา ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้หมายรวมถึงเพียงคอนเทนต์อย่างข้อความเอสเอ็มเอสหรือวิดีโอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นในการระบุว่าใครคือผู้ส่งข้อมูลดังกล่าว และส่งจากที่ใดด้วย” มนตรีกล่าว

นี่ถือเป็นความรับผิดชอบใหญ่หลวงสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม กล่าวคือ ผู้ให้บริการต้องดูแลให้การรับส่งข้อมูลนั้นเป็นไปอย่างปลอดภัย และป้องกันไม่ให้ข้อมูลนั้นถูกเข้าถึงโดยบรรดาแฮกเกอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดี ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องบังคับใช้มาตรการในการควบควมดูแลเพื่อให้การเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปตามขอบเขตและเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล

“บิ๊กดาต้านั้นเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากในการช่วยให้เราออกแบบบริการที่ดียิ่งขึ้น และทำให้บริการเหล่านั้นเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ดี เราไม่เคยประนีประนอมเมื่อเป็นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลของลูกค้า เราเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มข้น เราจะเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าเฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น และเราจะเข้าถึงเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็นจริงๆ” เขาอธิบาย

 

การขอ Consent จำเป็นแค่ไหน? ตามมาตรฐานด้านข้อมูลส่วนบุคคลของทรู และกฎหมายของประเทศไทยว่าด้วย พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วน

บุคคล ผู้ใช้บริการโทรคมนาคมสามารถเลือกให้ความยินยอมในด้านความเป็นส่วนตัวกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้ 2 ระดับ ซึ่งการให้ความยินยอมในระดับแรกนั้นมีความจำเป็นเพื่อจุดประสงค์การให้บริการด้านโทรคมนาคม โดยจะจำกัดการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเพื่อจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น

สำหรับการให้ความยินยอมในระดับที่สองถือเป็นทางเลือก โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกให้ความยินยอมในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรับข้อเสนอหรือสิทธิประโยชน์ที่ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันของทรูหรือดีแทคอาจมีการแจ้งเตือนไปยังลูกค้าเกี่ยวกับโอกาสในการแลกสิทธิประโยชน์บางอย่างได้ฟรี โดยขึ้นอยู่กับระดับสถานะ loyalty program และตำแหน่งที่ตั้ง (location) ของผู้ใช้งาน

“เรามีการพิจารณาในสองแง่มุม คือหนึ่ง เราได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากลูกค้าหรือไม่ และสอง การใช้งานข้อมูลลูกค้านั้นนำมาซึ่งประโยชน์สำหรับลูกค้าหรือเปล่า เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็นไปตามจุดประสงค์เหล่านี้ เรามีการกำหนดกลไก (control point) และมีการติดตามทุกครั้งที่มีการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า และดูแลให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์” มนตรีกล่าว

ในการจะเข้าถึงคลังข้อมูลของทรูนั้น บุคคลที่เป็นผู้ใช้งานภายใน (internal user) ต้องสามารถชี้แจงได้ว่าคำร้องขอของตนนั้นเป็นไปตามกฎหมายและวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งมาตรการนี้มีการบังคับใช้กับผู้ใช้งานภายในทุกคน รวมทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ (audit and quality assurance) รวมทั้งยังครอบคลุมถึงกรณีคำขอต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐด้วย

“หน่วยงานภาครัฐไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าโดยตรง และต้องยื่นคำร้องขอการเข้าถึงข้อมูลในกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือผลประโยชน์แห่งชาติ เรามีการประเมินคำร้องขอทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าคำร้องขอนั้นๆ มาจากหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจทางกฎหมาย และคำร้องขอนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด เฉพาะในกรณีดังกล่าว เราจึงจะอนุญาตให้หน่วยงานรัฐเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้” มนตรีกล่าว

 

ข้อมูลส่วนบุคคลคือราคาที่ต้องจ่ายเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ? มนตรียังเล็งเห็นด้วยว่าผู้บริโภคชาวไทยนั้นมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และคาวมแพร่หลายของเทคโนโลยีอย่าง AI, IoT และบิ๊กดาต้า ก็ยิ่งเร่งให้หลายฝ่ายหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นการยกระดับธรรมาภิบาลของข้อมูล (data governance) ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภค

“จุดมุ่งหมายของทรูในการก้าวไปเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคม-เทคโนโลยีนั้น ไม่ได้ถึงเพียงการเป็นผู้นำด้านโทรคมนาคมเท่านั้น แต่เราต้องการเป็นผู้นำด้านบริการดิจิทัลอื่นๆ ด้วย หากการจะไปถึงจุดนั้นได้ เราต้องเริ่มต้นจากการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าของเราก่อน จึงเป็นสาเหตุที่เรามีเจตนารมณ์แรงกล้าในการก้าวไปเป็นผู้นำด้านความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้งานของเราต้องได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัวของตนอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันเราต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งานในการเข้าถึงข้อมูลของพวกเขา และเราจะเข้าถึงข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ในการมอบบริการที่ดีที่สุดและนำเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่านั้น” เขากล่าว

เพื่อให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงในมิติความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ปัจจุบัน มนตรีกำลังประเมินถึงผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ยกตัวอย่างเช่น TrueX ซึ่งให้บริการโซลูชันบ้านอัจฉริยะ หรือบริการ telemedicine จากหมอดี ซึ่งล้วนเป็นบริการที่เข้าไปอยู่ในชีวิตส่วนตัวของลูกค้า

“ถึงแม้จะเป็นประเด็นเรื่อง AI หรือ IoT เราก็ยังคงยึดถือหลักการเดียวกันในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เราต้องดูแลให้การใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจำเป็นในการให้บริการ และสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า หากเรารักษามาตรฐานนี้ไว้ได้ ผมเชื่อมั่นว่าการมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานของเราอย่างแน่นอน” มนตรีทิ้งท้าย

บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 2.5 แสนล้านบาท โดยมีการระบุถึงปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ดังกล่าว ซึ่งร้อยละ 35 มาจากระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) คาด EBITDA เติบโต แซงการเติบโตของรายได้จากการให้บริการจากการมุ่งที่การเติบโตอย่างมีกำไรในการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่ โดยคาดว่าจะสามารถประหยัดกระแสเงินสดได้ในระดับคงที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ปี 2569

นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่นเป็นผลจากการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียเมื่อพิจารณาจากมูลค่าของกิจการ ซึ่งมีฐานความแข็งแกร่งและประสบการณ์จากผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตลาดไทยในการทำธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย รวมถึงมีความครอบคลุมของช่องทางกระจายสินค้า และเทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินกิจการด้านโทรคมนาคมที่เน้นเรื่องผลประกอบการและการสร้างผลกำไร วันนี้เราเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคมเคลื่อนที่ของไทยด้วยยอดผู้ใช้งานมากกว่า 51 ล้านเลขหมาย โดยมีผู้ใช้งานออนไลน์ 3.8 ล้านคน และผู้ใช้งานดิจิทัล 40 ล้านคน เราเปลี่ยนองค์กรของเราจากบริษัทโทรคมนาคมสู่บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำของไทย โดยการผสานธุรกิจด้านการเชื่อมต่อ และความสามารถในการดำเนินการธุรกิจ เข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัย ด้วยการขยายขีดความสามารถของเราไปยังกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มอุตสาหกรรม เราจะสร้างโอกาสใหม่ในการเติบโตทางธุรกิจนอกเหนือบริการเชื่อมต่อด้วยวิสัยทัศน์ของเราในการมุ่งสู่บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำ”

นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการรวมโครงสร้างเสาสัญญาณระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) จะเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานของเรา ในขณะที่เราบูรณาการโดยการปรับลดโครงสร้างพื้นฐานที่ซ้ำซ้อนลง 30% แต่สร้างเครือข่ายที่รองรับสัญญาณเพิ่ม ครอบคลุม กว้างขึ้น และดีกว่าสำหรับลูกค้าของเรา โดยมุ่งเน้นการดำเนินการแบบเจาะลึกในรายละเอียด ลดช่องว่างพื้นที่ใช้งาน พร้อมเพิ่มความแข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยีเสาสัญญาณล้ำสมัยที่ผสานหลากหลายคลื่นความถี่ ทั้งนี้ ในการรวมโครงข่าย เราจะมุ่งเน้นความสำคัญในการยกระดับประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้นด้วยชุดคลื่นความถี่แต่ละชุดที่เรามี การสร้างเครือข่ายที่มีความครอบคลุมที่ทับซ้อน และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ด้วยการดำเนินการจากพันธมิตรระดับโลก เราตั้งเป้าโครงการระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) แล้วเสร็จภายในปี 2568

ทรู คอร์ปอเรชั่นจะมุ่งหน้าสร้างคุณค่าสำหรับลูกค้าของเราด้วยความแตกต่างด้วยข้อเสนอผลิตภันฑ์และบริการที่หลากหลายตรงความต้องการของลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ที่มีความล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับบริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์ด้วยประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ ทั้งนี้ การสร้างรายได้จากบริการ 5G การใช้กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย (Up-selling) และการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) ด้วยข้อเสนอพิเศษ พร้อมทั้งยกระดับการให้บริการลูกค้าแบบพรีเมี่ยมด้วยบริการดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับตัวของข้อเสนอในตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน”

นายนกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “มากกว่า 100 ปัจจัยที่จะสร้างมูลค่าผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการ 2.5 แสนล้านบาท โดย 15 อันดับแรกจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการคิดเป็นร้อยละ 85 ของมูลค่ารวม ค่าใช้จ่ายหลักในการผสานรวมกันจะเกิดขึ้นภายในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทบรรลุผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการสุทธิเป็นบวกในปี 2568 และมีกำไร โดยทรู คอร์ปอเรชั่นคาดว่าจะสามารถรับรู้การประหยัดกระแสเงินสดได้ในระดับคงที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ปี 2569

ด้วยการมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงโครงสร้างของต้นทุนอย่างต่อเนื่อง การใช้สินทรัพย์เพื่อให้ก่อประโยชน์สูงสุด และการเติบโตแบบมีกำไร EBTIDA จะเติบโตเร็วกว่ารายได้จากการให้บริการ โดยคาดว่าอัตรา EBITDA ต่อรายได้จากการให้บริการจะดีขึ้น 11 จุด (Percentage point) ภายในปี 2570 ทั้งนี้ ด้วยผลประโยชน์จากการรวมการจัดซื้อจัดจ้าง และระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) รวมถึงการรวมคลื่นความถี่ และความมีวินัยในการบริหารจัดการเงินลงทุนซึ่งฝังอยู่ในวิถีการทำงานของเรา ค่าใช้จ่ายการลงทุน CAPEX ของทรู คอร์ปอเรชั่นหลังจากการรวมเครือข่ายเสร็จสมบูรณ์คาดว่าจะลดลงครึ่งหนึ่งจากช่วงก่อนควบรวม ทั้งนี้ ในฐานะผู้นำในการให้บริการด้าน เทคโนโลยีที่มีจุดแข็งจากผู้ถือหุ้นของเรา ทรู คอร์ปอเรชั่นพร้อมที่จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าถึงโอกาสใหม่และส่งมอบคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคน”

สำหรับการคาดการณ์ในปี 2566 บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ระบุแนวโน้มสำหรับปี 2566 ซึ่งคิดเป็นระยะเวลา 10 เดือนของการดำเนินงานนับจากวันทีมีการควบรวม

  • รายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) คงที่
  • คาดว่า EBITDA จะมีการเติบโตที่เป็นตัวเลขหลักเดียวในระดับต่ำ-ปานกลาง (low-to-mid single digit)
  • เงินลงทุน หรือ CAPEX ประมาณการณ์ไว้ที่ 25,000 – 30,000 ล้านบาท

คะแนนแทนคูปองรับเงินสด ส่วนลดสูงสุด 50% พร้อมลุ้นโชครางวัลใหญ่ฟรีทุกเดือนที่โลตัสทุกสาขาทั่วประเทศ 

กรุงเทพฯ, (27 มิถุนายน 2566) - ทรูมันนี่ ผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศยกระดับการปกป้องบัญชีลูกค้าด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด เปิดตัวระบบป้องกันการ ดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมแปลกปลอม เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้ได้มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอัจฉริยะภายใต้ความปลอดภัย TrueMoney Secure

 

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการมอบบริการทางการเงินที่ใช้งานง่ายและช่วยเพิ่มคุณค่าในทุกการใช้งานให้กับผู้ใช้ ทรูมันนี่ ยังให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มอบความปลอดภัย ให้ความมั่นใจกับผู้ใช้ใน ทุกการใช้งาน ระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ ที่พัฒนาโดยบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ร่วมกับผู้ให้บริการระบบความปลอดภัยชั้นนำของโลก อาทิ ‘ชิลด์’ (SHIELD) ซึ่งเป็นบริษัทดูแลความปลอดภัยทาง ไซเบอร์ระดับโลก และ ‘โซลอส’ (ZOLOZ) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นและเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนแบบ Biometric ระดับโลก”

ทั้งนี้ ระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ ได้นำความชาญฉลาดของปัญญาประดิษฐ์ (AI - Artificial Intelligence) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Engineering) เพื่อรวบรวม จำแนก และจดจำ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ พร้อมตรวจจับและสั่งการหากมีอะไรผิดปกติ และให้การปกป้องบัญชีผู้ใช้ถึง 3 ชั้น ได้แก่

ชั้นที่ 1 - ตรวจ : ว่าเป็นคุณตัวจริงที่เข้าใช้งานบัญชี

ตรวจ เพื่อยืนยันเข้าใช้งานบัญชีด้วยระบบยืนยันตัวตนหลากหลายรูปแบบ (secure log in) เช่น การเรียกสแกน หน้าเพื่อตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ (Biometric - Face recognition) ถึงมีมิจฉาชีพที่ล่อลวงจนรู้ OTP หรือ Pin Code แต่ก็ไม่สามารถล็อกอินบัญชีคุณได้ เพราะถูกระบบสแกนตรวจใบหน้าป้องกันไว้ นอกจากนี้ ระบบ ‘TrueMoney 3 x Protection’ ยังสามารถตรวจจับค่า IP address หรือ Location หากมีการเข้าใช้งานจากอุปกรณ์ใช้งาน (secure device) ที่แตกต่างไปจากที่ผู้ใช้เจ้าของบัญชีได้ลงทะเบียนหรือใช้งาน

ชั้นที่ 2 - จับ – มัลแวร์หรือแอปต้องสงสัย

จับ มัลแวร์ แอปดูดเงิน และแอปแปลกปลอมที่ไม่ปลอดภัย หากติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ใช้งานทรูมันนี่ และปฏิเสธการ อนุญาตเข้าใช้งาน

ชั้นที่ 3 - หยุด – การทำธุรกรรมที่ผิดปกติ

หยุด หากมีการทำรายการที่ผิดปกติ ระบบ AI จะจำแนกและกำหนดค่าความเสี่ยง (Risk score) เพื่อตรวจสอบ ความผิดปกติจากประวัติการทำรายการย้อนหลัง และให้ลูกค้าทำการยืนยันตัวตนหลากหลายรูปแบบ หรือหยุด ยั้งรายการที่มีความผิดปกติ เพื่อป้องกันการถูกดูดเงินออก

จากข้อมูลล่าสุดเดือน เมษายน 2566 ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ระบุว่า ในช่วง 1 ปีที่ ผ่านมา มีปัญหาภัยออนไลน์แจ้งมายังเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกว่า 247,753 เรื่อง ขณะที่ผลการ อายัดบัญชีที่มีคำร้องทั้งหมด 74,129 บัญชี มีการขออายัด 54,017 บัญชี ยอดเงิน 6.9 พันล้านบาท และอายัดได้ ทัน 449 ล้านบาท หรือเพียง 6.4% ของยอดเงินที่มีการร้องขออายัด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 32,083 ล้านบาท ไม่เพียงเท่านั้นสมาคมธนาคารไทย ยังพบอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีการล่อลวงติดตั้งแอปเพื่อเข้ามาดูด ข้อมูล รวมถึงปลอมเป็นแอปการเงิน เพื่อเข้ามาควบคุมอุปกรณ์และแอปการเงินของผู้เสียหาย (ATO - Account Take Over) เพื่อดูดเงินจากบัญชี ส่งผลให้มีผู้เสียหายจากการตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย ราว 500 ล้านบาท

 

นายอธิปัตย์ พลอยพรายแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบทุจริต บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ทรูมันนี่ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรกๆ ที่เดินหน้าพัฒนาการระบบเทคโนโลยีเพื่อ ปกป้องบัญชี ของลูกค้า ที่ผ่านมาเราได้กำหนดให้มีสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนก่อนโอนและถอนเงินตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ เมื่อปลายปีที่แล้วเรายังได้จับมือกับ SHIELD ประกาศนำ ‘ระบบปฏิบัติ การความปลอดภัยอัจฉริยะสำหรับธุรกรรมการเงินบนอุปกรณ์มือถือ’ (Mobile Fintech Security Intelligence) มาใช้เป็นรายแรกของไทย”

“สำหรับการเปิดตัวระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ ถือว่าเป็นระบบเดียวที่มีในตลาด ขณะนี้ที่สามารถ ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมแปลกปลอมได้ครบวงจร เนื่องจากทรูมันนี่ตระหนักดีว่า ถึงเราจะสร้าง แอปการเงินที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยในระดับสูง แต่มิจฉาชีพก็อาจล่อลวงให้ผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อและ เผลอให้ ข้อมูลสำคัญที่ทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงบัญชีได้ ดังนั้นการสร้างระบบที่สามารถผสานข้อมูลและระบบความปลอดภัย ให้ทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยปกป้องผู้ใช้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการทำธุรกรรม พร้อมช่วยผู้ใช้จำกัดและหยุดความเสียหายแม้พลาดตกเป็นเหยื่อ"

โดยทรูมันนี่ยังมีการให้บริการสายด่วน 1240 กด 6 เพื่อรับแจ้งเหตุต้องสงสัยด้านภัยทางการเงิน และแจ้งอายัดบัญชี ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกเหนือจากการเปิดตัวระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ เมื่อเร็วๆ นี้ ทรูมันนี่ยังได้ ออกแคมเปญเพื่อยกระดับการรับรู้ถึงการที่ทรูมันนี่เป็นแอปที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้จ่าย ออนไลน์ เนื่องจากในผลการสำรวจลูกค้าล่าสุดพบว่า ลูกค้ามองทรูมันนี่เป็นบัญชีใช้จ่ายที่ให้การปกป้องที่ดี (Buffer Account) เนื่องจากสามารถเติมเงินเพื่อใช้จ่ายได้ในยอดที่พอใจ ไม่ต้องกังวลเพราะไม่ต้องแชร์เลขบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเมื่อใช้จ่าย และสามารถเลือกใช้ TrueMoney Mastercard ซึ่งเป็นเวอร์ชวลการ์ดที่ตัดจ่ายเฉพาะเงิน ที่เติมในทรูมันนี่ สามารถเปิดปิดการใช้งานได้เลยในแอป ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ถูกดูดเงินที่มีจนหมด โดยบริษัทฯ ยังได้ออกภาพยนตร์โฆษณาและเตรียมแคมเปญการสื่อสารต่างๆ ในเรื่องนี้ ขอให้ติดตาม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ ภายใต้ TrueMoney Secure และดูภาพยนตร์โฆษณา เปย์ออนไลน์ปลอดภัย ใช้ทรูมันนี่ ได้ที่ https://www.truemoney.com/secure-e-payment/

ทรู คอร์ปอเรชั่น กำหนดเป้าหมายเป็นองค์กรจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี พ.ศ. 2573 เปิดตัวโครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” อำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถนำสมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งาน มาทิ้งได้ที่กล่องจุดรับขยะ e-Waste ทั้งที่ ทรูช้อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค รวม 154 สาขาทั่วประเทศ พร้อมผนึกพันธมิตรชั้นนำจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้ง ออลล์ นาว โลจิสติกส์, โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ในการขนส่งและรีไซเคิล รวมถึงทรูคอฟฟี่, PAUL, เต่าบิน, Sukishi Korean Charcoal Grill, NARS, Ultima II และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเลือก “Drop for Rewards” เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกันได้แล้ววันนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจเร่งสร้าง ทรู คอร์ป สู่การเป็น Telecom-Tech Company อย่างเต็มรูปแบบ คือการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งแบรนด์ทรูและดีแทคต่างเป็นช่องทางจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือและดีไวซ์รวมมากกว่าล้านเครื่องต่อปี บริษัทฯ จึงตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบครบวงจรและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อร่วมลดปริมาณขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ โครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ เป็นผลจากการนำจุดแข็งของเราสององค์กรมาสานต่อและยกระดับให้เกิดการจัดการ e-Waste ที่ขยายจุดรับทิ้งขยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีการจัดการขนส่งขยะไปสู่ระบบการรีไซเคิลที่ถูกวิธีอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การมอบสิทธิพิเศษที่หลากหลายจากองค์กรพันธมิตรของทั้งทรูและดีแทค นี่คือ พันธกิจสำคัญของเรา ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices ในตลาดเกิดใหม่กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน”

ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ หัวหน้าสายงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า “โครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ที่เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และการเป็นองค์กรที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี 2573 รวมถึงเป้าหมายที่ 12 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs ในการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการใช้แล้วทุกชิ้น จะถูกนำไปคัดแยกและรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแน่นอน และครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร ทั้ง TES ผู้นำด้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ออลล์ นาว โลจิสติกส์ ที่ให้การสนับสนุนการขนส่ง e-Waste จากจุดรับทั่วประเทศ รวมถึงอีกหลากหลายแบรนด์ชั้นนำที่จะมามอบสิทธิพิเศษต่างๆ ให้แก่ลูกค้าที่ร่วมโครงการอีกด้วย”

สำหรับลูกค้าทรู-ดีแทค ที่ทิ้ง e-Waste ถูกที่ ดีต่อใจ สามารถเลือก “Drop for Rewards” กับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้แก่ ทรูคอฟฟี่ – อัปไซส์เครื่องดื่มที่ร่วมรายการ PAUL – รับส่วนลด 50% เมนูที่ร่วมรายการ เต่าบิน – รับฟรีเมนูโอริโอ้ปั่น มูลค่า 55 บาท Sukishi Korean Charcoal Grill –  รับฟรีคอร์นด็อกซอสชีส มูลค่า 100 บาท เมื่อรับประทานบุฟเฟ่ต์ Sukishi Overload ขั้นต่ำ Gold tier Gold 699+ บาท หรือ A la carte ขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป NARS – รับฟรีบริการ Touch Up มูลค่า 800 บาท Ultima II –  รับฟรี ULTIMA II Delicate Translucent Powder With Moisturizer 5g NETRAL TT มูลค่า 199 บาท และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ –  ฟรีค่าสมัครสมาชิก M Gen มูลค่า 100 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

X

Right Click

No right click