September 19, 2024

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง และดร.ธนวันต์ สินธุนาวา นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การขับเคลื่อนสถานศึกษาคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) โครงการ Energy Mind Award Season 2 ระหว่าง MEA และสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) พร้อมมอบรางวัลกิจกรรมการประกวดคลิปสั้นหัวข้อ "การอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โครงการ Energy Mind Award Season 2 " โดยมี นายสมบัติ จันทร์กระจ่าง รองผู้ว่าการ MEA เป็นผู้มอบรางวัล

นอกจากนี้ MEA เปิดสตูดิโอให้เยาวชนเยี่ยมชมการทำงานเบื้องหลังถ่ายทำผลิตรายการ และเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าชิดลมที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทันสมัยในการควบคุมระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า ระบบ SCADA/EMS/DMS (Supervisory Control and Data Acquisition/Energy Management System/Distribution Management System) ใช้ในการตรวจสอบสถานะของการจ่ายกระแสไฟฟ้า วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้า การทำงานของระบบควบคุมไฟฟ้า ช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ณ การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานเพลินจิต

 

ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยพัฒนาสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สร้างเสริมนักเรียนให้เป็นเยาวชนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นนักเรียนแกนนำด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังและสร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป

นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เป็นประธานเปิดงานสัมมนาธุรกิจโซลาร์เซลล์ “Healing the Future with MEA” สำหรับลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาลภาครัฐ จากกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี และหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ จำนวนกว่า 130 คน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงาน และพลังงานทดแทน ตลอดจนความสำคัญของงานบริการต่าง ๆ ของ MEA ที่พร้อมดูแลระบบไฟฟ้าให้เพียงพอ มั่นคง และมีเสถียรภาพ ณ ห้องบอลรูม 1 ชั้น 5 โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพมหานคร 

รองผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้า มุ่งขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร โดยให้ความสำคัญกับการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง และปลอดภัย ตลอดจนมีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์กรตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดงานสัมมนา Healing the Future with MEA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสนับสนุน แนวทางการติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก เพื่อการบริหารจัดการพลังงาน การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อให้ความรู้ในด้านการพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนติดตั้ง Solar System ในรูปแบบ Solar Rooftop Solar Carport และ Floating Solar  แนวทางการเชื่อมต่อ Solar System เข้ากับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ MEA รวมถึงความรู้ด้านความปลอดภัย และการดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในโรงพยาบาล ซึ่งมีการให้บริการครอบคลุมดูแลเรื่องการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าตามหลักวิชาการ ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตั้งแต่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าจนถึงระบบไฟฟ้าภายใน โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบริการให้คำปรึกษา หรือแก้ไขระบบไฟฟ้าขัดข้องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งยังเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อยกระดับความพึงพอใจ และมาตรฐานการให้บริการด้านระบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นของ MEA

ทั้งนี้ลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการอื่นที่สนใจบริการ MEA อาทิ บริการติดตั้ง Solar System บริการดูแลตรวจสอบระบบไฟฟ้า และธุรกิจ EV Charger พร้อมให้คำปรึกษาเบื้องต้น โดยสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง ผ่านทาง MEA Call Center 1130 หรือสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียทางการต่าง ๆ ของ MEA ได้ที่ Line: MEA Connect (@MEAthailand) สัญลักษณ์โล่สีเขียวนำหน้าชื่อบัญชีทางการ เลือกเมนู ติดต่อ MEA Call Center Online 1130 ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ได้รับผลคะแนนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตตามเกณฑ์เชิงคุณภาพ "ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต"(Corruption Risk Management Systems : CRMS) ในระดับดีเยี่ยม (Excellent) จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงานงาน ป.ป.ท.) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 โดยคณะทำงานพิจารณาเกณฑ์การประเมินและผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตตามเกณฑ์ประเมินเชิงคุณภาพ "ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต" (Corruption Risk Management Systems : CRMS) ประจำปี 2566 MEA ได้รับผลคะแนนการประเมินในระดับ Excellent : E (ดีเยี่ยม) จากการประเมินดังกล่าวได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนและให้ความสำคัญในการปฏิบัติเพื่อป้องกัน สกัดกั้น ลด และปิดโอกาสการทุจริตให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อไป

เมื่อเร็วๆ นี้ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ได้รับผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดย MEA ได้รับผล 97.05  คะแนน สูงที่สุดอันดับ 1 ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน และเป็น TOP 3 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย

ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งรางวัลนี้ ถือเป็นสิ่งที่ยืนยันความสำเร็จของการดำเนินงาน ภายใต้ค่านิยม CHANGE G: Governance โปร่งใสคุณธรรม จากหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินทั้งสิ้น 8,325 หน่วยงาน

MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่มุ่งเน้นการดำเนินงานด้วยความสุจริตโปร่งใส เป็นธรรม และประพฤติตนเป็นต้นแบบที่ดี รวมทั้งเสริมสร้างวัฒนธรรมในการไม่ยอมให้บุคคลใดกระทำการทุจริต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต โปร่งใส พร้อมส่งมอบคุณภาพงานบริการที่ดีแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ MEA ขอขอบคุณ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายนอกและภายในเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการประเมินผล ITA ในครั้งนี้

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 66 ปี วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ ว่า MEA ได้จัดกิจกรรม ครบรอบ 66 ปี สู่เส้นทางการเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืน “66th Year : To be Sustainable Energy Utility” โดยมีรูปแบบการจัดงานที่ออกแบบโดยคำนึงถึงแนวคิดการเป็นองค์กรลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งตกแต่งสถานที่ด้วยวัสดุที่ไม่สร้างขยะ จัดโซนนิทรรศการวันดินโลก แสดงความสำคัญของดิน “ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่งยืน” พร้อมร่วมบริจาคเงินให้กับ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จำนวน 328,700 บาท และมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน 378,800 บาท รวมถึงผู้เข้าร่วมงานสามารถร่วมสนับสนุนสินค้าจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินกิจการด้วยความตระหนักต่อประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ อาทิ  โครงการ MEA GO (Green Organization) สร้างความตระหนักให้แก่พนักงานในการใส่ใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ผ่านกิจกรรม Zero waste  การนำขยะที่สามารถนำไปแปลงเป็นพลังงาน (Waste to energy) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) การจัดประชุมที่มีการคำนึงถึงการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Green Meeting) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารของ MEA เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  โครงการ Pickup Retrofit นำรถยนต์เก่ามาทดสอบดัดแปลงแทนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อใช้งานภายใน MEA ช่วยลดมลพิษ PM 2.5 ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง  เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในระดับสากล และเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (MEA Organization) ภายในปี 2570  ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านงานบริการให้เข้าถึงและตอบโจทย์ประชาชาชนมากยิ่งขึ้นตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ด้วยระบบการให้บริการออนไลน์ ลดการเดินทางมาติดต่อ ณ ที่ทำการ รวมถึงโครงการ MEA e-Bill ที่รณรงค์ลดการใช้เอกสารกระดาษ ไปแล้วกว่า 12 ล้านแผ่นต่อปี

ในด้านระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของ MEA ยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้านสิ่งแวดล้อม จากการรื้อถอนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพจำนวนมาก โดย MEA ได้ริเริ่มกระบวนการ upcycle ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า (Insulators) ที่หมดอายุการใช้งาน ให้นำไปใช้งานในหลายรูปแบบ อาทิ การนำไปบดหยาบเพื่อทำวัสดุกันลื่นบนถนน (Anti skid road ceramic particles) สำหรับลูกถ้วยที่บดละเอียด สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นรองดูดซึมน้ำประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้นำมาทดสอบนำร่องการใช้งานภายในองค์กร ก่อนขยายพื้นที่การใช้งานไปยังเครือข่ายพันธมิตรและชุมชนอื่น ๆ ส่วนเสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถอนจากโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ได้มาปักเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และชายฝั่งย่านบางขุนเทียน รวมระยะทางกว่า 2,500 เมตร พร้อมสนับสนุนการดำเนินการปลูกป่าชายเลนและดูแลบำรุงรักษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2547 – ปัจจุบัน จนสัมฤทธิ์ผลเกิดเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหลังแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 380 ไร่

สำหรับด้านระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกที่นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV)  มาใช้ในกิจการ และได้นำเทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในองค์กรกว่า 10 ปี มีการต่อยอดสร้างนวัตกรรม PLUG ME EV ระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับพื้นที่อาคารสำนักงาน หรืออาคารชุดที่ต้องการรองรับผู้ใช้งานรถ EV จำนวนมาก ช่วยลดต้นทุนกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า AC ทั่วไปในท้องตลาด รวมถึงการจัดทำตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย และเที่ยงตรง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค หรือ Charge Sure by MEA รวมถึงดำเนินโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน MEA รับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 13,735 ราย คิดเป็นกำลังผลิตกว่า 238 เมกะวัตต์ และมีการติดตั้งระบบ Solar Cell ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมเป็นจำนวนกว่า 84 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ ช่วยส่งผลลดคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 190,000 tonCo2/ปี

เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าสูงสุด MEA ยังมีโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ MEA Energy Mind Award ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อปลูกฝังให้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากร และเยาวชนในสถานศึกษาต่าง ๆ  สร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย ในส่วนของผู้ประกอบการ โครงการ MEA Energy Award  เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้กับอาคารในประเภทต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพอากาศได้มาตรฐาน” ซึ่งได้ดำเนินโครงการปีที่ 7 มีอาคารผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานของ MEA ไปแล้วทั้งสิ้น 313 แห่ง ช่วยให้เกิดผลประหยัด 46.33 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 180.93 ล้านบาทต่อปี ลดคาร์บอนไดออกไซด์ 26,589 tonCo2 ต่อปี ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการที่ MEA กำหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2593 และ กำหนดเป้าหมาย Net Zero Emission การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  ในปี พ.ศ. 2608 ดำเนินการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรขยายไปสู่ภายนอก และเดินหน้าผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามนโยบายของรัฐบาลในอนาคตต่อไป

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click