SCB CIO หนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ตระหนักถึงความสำคัญของ Green Taxonomy พร้อมดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องและมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยสถาบันการเงินมีแนวโน้มนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น สนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ ที่ทำกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ส่วนนักลงทุนสถาบันมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ด้านนักลงทุนรายย่อย หันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขานรับเป้าหมายประเทศไทยมุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ขณะที่ล่าสุด ไทยได้มีการประกาศ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 โดยกิจกรรมเศรษฐกิจเป้าหมายกลุ่มแรก คือ ภาคพลังงานและขนส่งซึ่งก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของทั้งหมด

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภูมิภาคหลักๆ ในโลกได้จัดทำมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(ESG) โดยระบุเงื่อนไขอย่างชัดเจนและโปร่งใสเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการช่วยจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ โดยเฉพาะหมวดธุรกิจที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Green Taxonomy)

โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดเงินตลาดทุนไทย ควรทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการลงทุนในโครงการหรือกองทุน ESG รวมทั้งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินที่ต้องการปล่อยสินเชื่อให้โครงการ ประเมินได้ว่าควรลงทุนในโครงการไหน ด้วยเม็ดเงินเท่าไหร่ และรู้เท่าทันในการดำเนินการด้าน ESG อย่างแท้จริง ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการระดมทุนจัดทำโครงการ ก็จะสามารถชี้แจงและส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุน หรือ สถาบันการเงินทราบได้ว่าโครงการที่กำลังระดมทุนอยู่ มีการดำเนินการอย่างจริงจังและมีผลต่อการบริหารจัดการทางด้าน ESG อย่างไร

ทั้งนี้ SCB CIO วิเคราะห์มาตรฐานด้าน Green Taxonomy ของกลุ่มประเทศต่างๆ ได้แก่ EU Taxonomy . ASEAN Taxonomy และ Thailand Taxonomy พบว่า EU Taxonomy เป็นต้นแบบกฎหมาย Green Taxonomy ของทั่วโลก ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2020 เป็นกฎหมายกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2050เน้นลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้และปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเลอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ หัวใจสำคัญของ EU Taxonomy คือต้องการจัดการปัญหาการฟอกเขียว (Greenwashing) เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดเงินตลาดทุน ลงทุนในสินทรัพย์ที่ยั่งยืนได้อย่างมั่นใจ ทั้งยังกำหนดหน้าที่การเปิดเผยข้อมูลเชื่อมโยงกับ Taxonomy ไว้ให้บริษัทและผู้มีส่วนร่วมในตลาดเงินต้องปฏิบัติตามด้วย

ส่วน ASEAN Taxonomy ไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่มีลักษณะเป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนำไปปรับใช้และดำเนินการจัดทำกฎหมายหรือข้อบังคับ Taxonomy ของประเทศตัวเอง โดยมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกับ EU Taxonomy แต่มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนคำมั่นสัญญาของกลุ่มอาเซียน ในการปฏิบัติตามข้อตกลงปารีส (Paris

Agreement) และข้อตกลงในระดับชาติ ซึ่งไม่ได้ระบุชัดเจนในประเด็นปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเล และป้องกันควบคุมมลพิษ

สำหรับ Thailand Taxonomy มีวัตถุประสงค์การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 6 ข้อ ได้แก่ 1.การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน 4) การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 5) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และ 6) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่ง Thailand Taxonomy มีการระบุกิจกรรมเศรษฐกิจที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน คือ หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเป้าหมายแรกคือ ภาคพลังงานและขนส่ง ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมด

ในส่วนของ ประเทศไทย ได้ให้คำมั่นสัญญาในการประชุม UN Climate Change Conference ครั้งที่ 26 ว่า ไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero ) ภายในปี 2065 ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อ และการลงทุนภายในปี 2050

ทั้งนี้ Green Taxonomy จะทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องพยายามปรับเปลี่ยนหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Taxonomy มากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่มีแนวโน้มต้องมุ่งเน้นนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ เพื่อกิจกรรมเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับTaxonomyและนักลงทุนสถาบัน จะต้องประยุกต์ใช้Taxonomyกับการออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน เช่น ลงทุนในกิจกรรมที่สอดคล้องกับTaxonomy นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG เพราะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป (Sustainable Finance Disclosure Regulation)

ส่วนนักลงทุนรายย่อย เมื่อหันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ให้บริการต้องแก้ไขข้อกำหนดการบริหารพอร์ตลงทุน และการให้คำแนะนำลงทุนโดยพิจารณาเรื่องความยั่งยืน ควบคู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่เน้นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนที่สร้างผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ Taxonomy ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสของบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ในการเข้าถึงนักลงทุนรายย่อยได้มากขึ้น

 

ปัจจุบัน ในประเทศไทย ผู้คนให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นการเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย ทาง บลจ.ซาวาคามิ ประเทศไทย เห็นว่ายังมีผู้คนจำนวนไม่มากที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนระยะยาวที่มุ่งหวังไปถึงการเติบโตของบริษัทที่เข้าไปลงทุน

บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) จึงได้จัดตั้ง “กองทุนรวมผสมซาวาคามิ” ขึ้นมา โดยเป็นกองทุนที่ “ลงทุนตามหลักการลงทุนระยะยาวอย่างแท้จริง” ยึดตามแนวความคิดของบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งแตกต่างจากกองทุนทั่วไป

ทีมการลงทุนของ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) จะทำการวิเคราะห์หลักทรัพย์ และบริษัทในประเทศไทยที่จะเข้าไปลงทุนอย่างละเอียดด้วยความเป็นมืออาชีพ โดยคำนึงถึงแนวคิดการลงทุนของบลจ. รวมทั้งคัดเลือกหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีพื้นฐานดีและคาดหวังในการเติบโตในระยะยาวสอดคล้องไปกับสังคมและเศรษฐกิจไทย เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุน

เนื่องจากบลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) มี “กองทุนรวมผสมซาวาคามิ” เพียงกองทุนเดียว ดังนั้นนักลงทุนจึงมั่นใจได้ว่า เราจะให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะบริหารเงินลงทุนอย่างเต็มที่ที่สุดเพื่อทำให้กองทุนนี้เติบโต เสริมสร้างความมั่งคั่งและมุ่งสู่ความเป็นอิสระทางการเงินของนักลงทุนในประเทศไทย

เนื่องจากหลักทรัพย์ที่บลจ. คัดเลือกขึ้นมาเป็นหลักทรัพย์ของบริษัทที่นำเสนอสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนักลงทุนจะมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นนักลงทุนคุณภาพที่มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของประเทศ

อีกทั้งบริษัทที่กองทุนเข้าไปลงทุน เมื่อได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากนักลงทุนก็จะทำให้มีความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค มีการสร้างงาน และการจ้างงาน มีวิวัฒนาการทางด้านการผลิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมพร้อมไปกับการเจริญเติบโตของบริษัทเหล่านั้นเอง

นักลงทุนทั่วไปที่สนใจใน “กองทุนรวมผสมซาวาคามิ” สามารถเริ่มลงทุนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป หรือออมการลงทุนเป็นประจำแบบถัวเฉลี่ย (DCA) เริ่มต้นตั้งแต่ 1,000บาท ขึ้นไป เพื่อมุ่งสู่ความเป็นอิสระทางการเงินในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของ “กลไกในการสร้างความมั่งคั่งทั้งตนเองและสังคม” หากนักลงทุนท่านใดมีความสนใจในการเป็นนักลงทุนตามแนวคิดของการลงทุนระยะยาวที่แท้จริง สามารถติดต่อ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามช่องทางที่ระบุไว้ด้านล่างได้ทุกวันทำการ

ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลโดยอ้างถึงงบการเงินในไตรมาสที่ผ่านมา 3 ประเด็นนั้น ทาง NUSA ขอชี้แจงในเบื้องต้น ดังนี้

1. รายการเข้าซื้อโรงแรมที่เยอรมนี

ในการเปลี่ยนเป็นเงื่อนไขการซื้อเดิมจากการซื้อทรัพย์สิน (โรงแรม รวมถึงสิทธิในใบรับรองใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งได้ออกให้ไว้โดยถูกต้องตามกฏหมายของประเทศเยอรมัน รวมตลอดถึงสิทธิ ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ตราสินค้าของทรัพย์สินที่ซื้อขาย) เป็นการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท พานาซี แฟร์วาลทุงส์ จึเอ็มบีเฮช จำกัด (PNCV) ผู้ถือหุ้นใน บริษัท บาดิชเชอร์ โฮเทลแฟร์วัลทุงส์ จีเอ็มบีเฮช จำกัด (BHV) (เป็นเจ้าของทรัพย์ตามสัญญาซื้อทรัพย์สินเดิม)

เหตุที่บริษัทฯ ไม่รับเงินมัดจำคืนทันที เนื่องจาก ผู้ขายหุ้นใน PNCV คือบุคคลเดียวกับผู้ขายทรัพย์เดิม และปัจจุบันบริษัทได้รับการโอนกรรมสิทธิในหุ้น PNCV (เจ้าของโรงแรม) มาเป็นของบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2. รายการเกี่ยวกับบริษัท มอร์ มันนี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ในธุรกิจจัดคอนเสิร์ต Rolling Loud Thailand

ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทได้รับชำระค่าหุ้นจำนวน 1.5 ล้านบาทแล้ว ยังคงเหลืออีกจำนวน 57.5 ล้านบาท โดยได้รับแจ้งขอขยายเวลาชำระคืนเงินเพิ่มทุนและเงินมัดจำ จำนวนรวม 57.5 ล้านบาท นั้น เนื่องจากทางมอร์ มันนี่ ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายต่างๆในการจัดคอนเสิร์ต Rolling Loud Thailand 2023 ยังไม่แล้วเสร็จ ทางมอร์ มันนี่จึงขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 90 วัน ทั้งนี้บริษัทยังมีการคิดดอกเบี้ยในเงินส่วนที่ให้มีการขยายระยะเวลาดังกล่าวด้วย

3. ความสามารถของกลุ่มบริษัทในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง กรณีเจ้าหนี้ค่างานก่อสร้างของบริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม จำกัด (Legend Siam) โดย China International Economic and Trade Arbitration Commission มีคำชี้ขาดข้อพิพาทให้บริษัทชำระหนี้ของ Legend Siam ซึ่ง ณุศา ถือหุ้น เพียง 50% นั้น

ข้อพิพาทในการชำระหนี้ข้างต้น ยังไม่เป็นเหตุให้ผิดนัดในมูลหนี้อื่น เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งศาลเป็นที่สิ้นสุด โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างนัดสืบพยานทั้งสองฝ่ายในศาลแพ่ง หากคำพิพากษาสิ้นสุดให้บริษัทชำระหนี้ด้งกล่าว บริษัทฯมีแผนที่จะเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ในวงเงินประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอในการชำระหนี้และการขยายงานในอนาคต ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณา

บริษัทมีความมั่นใจอย่างยิ่ง ว่า ภาระตามข้อพิพาทดังกล่าว มิได้กระทบต่อสภาพคล่องและการชำระคืนหนี้ต่าง ๆ ของบริษัทฯแต่อย่างใด

“บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด” (InnovestX Securities Co., Ltd.) เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินการลงทุนแห่งอนาคตอย่างต่อเนื่อง ร่วมสนับสนุนโครงการแข่งขัน “2022-2023 CFA Institute Research Challenge” ซึ่งจัดขึ้น โดย สมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ (CFA Society Thailand) เวทีเฟ้นหา ‘Thailand Winner’ สุดยอดทีมนักศึกษาดาวรุ่งคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ ความสามารถโดดเด่น

ภายใต้การแข่งขันทดสอบความสามารถ ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างเข้มข้น โดยผู้ชนะในปีนี้ ได้แก่ ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจ (นานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ซึ่งจะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติที่มีผู้เข้าแข่งขันจากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก นับเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่ม Talent ได้พัฒนาขีดความสามารถและเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงิน การลงทุนอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สายอาชีพต่อไปในอนาคต

นายพสุวุฒิ วิไลนิรันดร์ Assistant Managing Director และ Head of Private Fund Management บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด กล่าวว่า “บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ (InnovestX) มุ่งมั่นในการวางรากฐาน และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินการลงทุนแห่งอนาคตอย่างครบวงจรในประเทศไทย โดยหนึ่งในกลไกที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการเงินการลงทุนคือบุคลากรที่มีคุณภาพ เราจึงให้ความสำคัญและส่งเสริมความรู้ด้านการเงินการลงทุน เพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีทักษะที่สามารถรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราจึงได้ร่วมสนับสนุนโครงการ “2022-2023 CFA Institute Research Challenge” เวทีทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ผลักดันนักศึกษาดาวรุ่งนักการเงินการลงทุนรุ่นใหม่ระดับแนวหน้าของประเทศ ด้วยการสนับสนุนเงินรางวัลแก่ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย รวมถึงทีมผู้ชนะ มูลค่ารวม 100,000 บาท พร้อมให้ความรู้ คำแนะนำ แบ่งปันประสบการณ์ให้กับน้อง ๆ โดยนักศึกษาในโครงการจะได้รับการฝึกฝน และการทำวิจัยผ่าน ประสบการณ์จริง ได้โอกาสในการเรียนรู้แบบใกล้ชิดจากกูรูแถวหน้าจากบริษัทมหาชนชั้นนำ และจากที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการเงินการลงทุน รวมถึงโอกาสในการแข่งขันร่วมกับทีมระดับท็อปในเวทีโลกที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา”

“เรามุ่งหวังว่าการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนและผลักดันนักการเงินการลงทุนรุ่นใหม่ในครั้งนี้ จะสามารถช่วยสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ ในตลาดทุนที่มีความซับซ้อน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานและร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนแห่งอนาคตที่แข็งแกร่ง และยั่งยืนให้กับประเทศไทย ต่อไป” นายพสุวุฒิ กล่าวเสริม

 

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click