โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand

ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”

  1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร

เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่

สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง

คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว

โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)

  1. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น

มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป

พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว

  1. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น

การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง

ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)

บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

  1. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ

ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน

หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก

“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม

นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – การแสดงความรักกำลังเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลเมื่อเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยวางแผนที่จะซื้อของขวัญทางออนไลน์เพื่อมอบให้คนรักในช่วงวาเลนไทน์ อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย YouGov ในนามของวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก โดยการศึกษาฉบับนี้1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคก่อนวันวาเลนไทน์ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และการกระทำเช่นใดที่ทำให้คนรักใจละลายได้

หนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการอ่านใจว่าคนรักของคุณต้องการอะไร อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับนี้พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (59%) ที่เลือกบอกคนรักไปเลยตรงๆ ว่าอยากได้อะไร โดยวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือการใช้เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย ซึ่ง 27 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะบอกสิ่งที่ตนปรารถนาโดยการกระซิบใส่สมาร์ตโฟนของคู่รัก และอีก 22 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะบอกใบ้คนรักและหวังว่าพวกเขาจะเข้าใจสิ่งที่อยากสื่อไปในที่สุด

เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อของขวัญแทนใจสำหรับวันวาเลนไทน์จากที่ไหน เกินกว่าครึ่งของของผู้ตอบแบบสอบถาม (57%) วางแผนที่จะซื้อของจากร้านค้าออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เกือบหนึ่งในห้า (20%) ตั้งใจจะซื้อโดยตรงจากร้านค้าบนสื่อโซเชียลอย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก และไลน์

ความรักปี 2567 มาพร้อมสนนราคา จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ราคาและส่วนลด (58%) คือปัจจัยสำคัญให้คนเลือกว่าจะซื้อของขวัญวาเลนไทน์จากที่ใด ตามด้วยความหลากหลายและคุณภาพสินค้า (50%) นอกจากนี้ยังเลือกพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของโปรโมชันหรือแพ็กเกจ (30%) การมีประสบการณ์ที่ดีในการซื้อครั้งก่อนกับร้านค้า (27%) และชื่อเสียงของแบรนด์ (21%)

นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า เกือบเจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (68%) วางแผนที่จะใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ในขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตั้งใจที่จะใช้จ่ายระหว่าง 1,001 ถึง 10,000 บาท และอีก 3 เปอร์เซ็นต์วางแผนที่จะใช้เงิน 10,000 บาทขึ้นไปกับของขวัญและการฉลองวาเลนไทน์ในปีนี้

เมื่อมาดูในส่วนของประเภทของขวัญที่เลือกซื้อสำหรับวันวาเลนไทน์ พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (30%) บอกว่าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าถือ และเครื่องประดับแฟชั่นคือตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับหวานใจของพวกเขา ตามด้วยของขวัญแนวสื่อแทนใจอย่างช็อกโกแลต (25%) และดอกไม้ (12%)

สำหรับหลาย ๆ คน วิธีสื่อความในใจไม่ได้จำกัดเพียงแค่ของขวัญเท่านั้น และความโรแมนติกของจริงยังมีอยู่เมื่อการกระทำที่ชวนให้ใจละลายมากที่สุดคือการได้ใช้เวลาอันมีค่าร่วมกัน (41%) แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คู่ที่เลือกซื้อของแทนใจเพื่อแสดงความรักระหว่างกัน โดยของขวัญวาเลนไทน์หรือโปรโมชันที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ เซ็ตของขวัญคู่รัก (27%) ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง (22%) ตามมาด้วยบริการแกะสลักชื่อบนสินค้าฟรี (15%) และบัตรกำนัลสปาที่โรงแรม (12%)

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 2 พฤษภาคม 2566: วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด (T2P) บริษัทฟินเทคชั้นนำของประเทศไทย เปิดให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบดิจิทัลสำหรับลูกค้าทั่วไปเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยโซลูชัน วีซ่าไดเร็ค (Visa Direct) ลูกค้าสามารถโอนเงินข้ามประเทศเข้าบัตรเดบิตวีซ่าภายในเวลาอันรวดเร็วเกือบจะเรียลไทม์1

ผู้ส่งเงินในประเทศไทย สามารถโอนเงินไปยังผู้รับในต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย เพียงกรอกเลขบัตรเดบิต 16 หลักของผู้รับเงินในแอปพลิเคชัน DeepPocket ของทีทูพี เงินจะถูกโอนไปยังบัตรของผู้รับโดยตรงภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที2 และสามารถนำเงินที่โอนผ่านระบบนี้ไปใช้ได้ในร้านค้าเครือข่ายของวีซ่าที่มีมากกว่า 70 ล้านแห่งทั่วโลก

“เรามีความยินดีที่ได้ร่วมกับ ทีทูพี ในการเปิดตัว วีซ่าไดเร็ค ที่จะทำให้การโอนเงินข้ามประเทศมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยนวัตกรรมโซลูชันการชำระเงินที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การเปิดตัววีซ่าไดเร็คในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยเติมเต็มทั้งด้านความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการที่แปรเปลี่ยนไปของผู้บริโภค ที่มองหาวิธีการเคลื่อนย้ายเงินแบบไร้รอยต่อ และปลอดภัยในทุกที่ทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ” ซีรีน เกย์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร บริษัท ทีทูพี จำกัด กล่าวว่า "จากการเพิ่มขึ้นของการชำระเงินถึงกันได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แบบทันทีในประเทศ (instant domestic peer-to-peer payment) เราจึงอยากทำให้การส่งเงินระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับลูกค้า โดยพัฒนาโซลูชันที่ทั้งสะดวก คล่องตัว และปลอดภัย และเพื่อทำตามคำมั่นสัญญานี้ เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับวีซ่าในการเปิดใช้โซลูชัน วีซ่าไดเร็ค บนแอป DeepPocket ของเรา ที่ช่วยให้สมาชิก

ในครอบครัวสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ในเรื่องของการเงินไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก นอกเหนือจากฟังก์ชันที่ง่ายต่อการใช้งาน แอปพลิเคชันยังแสดงให้เห็นถึงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเรียลไทม์ และช่วยให้ทั้งผู้โอนและผู้รับทราบจำนวนเงินที่แน่นอนซึ่งจะได้รับในบัตรเดบิตของวีซ่าอีกด้วย”

การโอนเงินแบบดิจิทัลกำลังได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากผลการวิจัยของ Money Travel: 2023 Remittance Landscape3 พบว่า ระหว่าง 60-70% ของกลุ่มตัวอย่างในอเมริกาเหนือเคยใช้บริการชำระเงินดิจิทัลผ่านแอปเพื่อโอนหรือรับเงินข้ามประเทศ โดยมีเพียง 10-15% ของกลุ่มตัวอย่างที่ยังพึ่งพาการโอนเงินด้วยเงินสด เช็ค และธนาณัติ

ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศหลักด้านบริการโอนชำระเงินในฝั่งของผู้โอน พบว่า สามในห้าของผู้บริโภคที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (61%) เลือกใช้บริการแบบดิจิทัลเท่านั้นในการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยให้เหตุผลในเรื่องของความสะดวกในการใช้งานและความปลอดภัย (53%) นอกจากนี้ จากการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคฉบับล่าสุดของวีซ่า4 ยังแสดงให้เห็นว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (48%) กล่าวว่าการโอนเงินแบบดิจิทัลเป็นการทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยมากกว่า

สำหรับโซลูชัน วีซ่าไดเร็ค บนแอป DeePocket นี้ ลูกค้าสามารถโอนเงินได้สูงสุดถึง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อการทำธุรกรรมหนึ่งครั้ง5

“สิ่งนี้ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการชำระเงินของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยที่กำลังมองหาวิธีการส่งเงินไปให้คนที่พวกเขารักในต่างแดน วีซ่ายังจะมุ่งมั่นสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา” ซีรีน กล่าวสรุป

- จำนวนดังกล่าวยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

- ความเชื่อมั่นในการเดินทางฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ เป็นผลจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและความอัดอั้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

- การยื่นคำร้องขอวีซ่าในปี 2565(1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) มีจำนวนเพิ่มขึ้นราว 600% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564 เป็นผลจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่คาดคิดจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศกลับมาเปิดให้บริการตามปกติในหลายเส้นทาง

- บริการพิเศษเฉพาะบุคคลเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การยื่นคำร้องแบบบริการพรีเมียม (บริการเสริม) เช่น การยื่นคำร้องขอวีซ่านอกสถานที่ (Visa at Your Doorstep - VAYD) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2562

- ปลายทางที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร (ไม่ได้จัดรียงตามลำดับ)

ประเทศไทยสร้างปรากฎการณ์การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพิ่มขึ้นห้าเท่าในปี 2565 สะท้อนถึงความมั่นใจในการเดินทางที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของวีเอฟเอส โกลบอล ผู้นำระดับโลกด้านบริการเอาต์ซอร์สและบริการเทคโนโลยีสำหรับรัฐบาลและคณะผู้แทนทางการทูต การยื่นคำร้องขอวีซ่าทุกประเภทในปี 2565 (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) เติบโตราว 576% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่คาดคิดจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและการที่สายการบินระหว่างประเทศกลับมาให้บริการตามปกติในหลายเส้นทาง แต่จำนวนดังกล่าวยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

"ปริมาณการยื่นคำร้องขอวีซ่าที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักเดินทางที่ฟื้นกลับมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ ฤดูท่องเที่ยวต่างประเทศช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดน่าจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม และเราเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่วางแผนเดินทางออกนอกประเทศไทยต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเร่งรีบก่อนถึงกำหนดเดินทาง" นายเกาซิค กอช หัวหน้าภูมิภาคออสเตราเลเซีย วีเอฟเอส โกลบอล กล่าว

ดังนั้นบริการพิเศษเฉพาะบุคคลจึงได้รับการตอบรับอย่างดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากการยื่นคำร้องขอวีซ่าในปี 2565 โดยวีเอฟเอส โกลบอล พบว่าบริการพิเศษ เช่น บริการยื่นคำร้องขอวีซ่านอกสถานที่ (Visa at Your Doorstep - VAYD) มี

ผู้ใช้บริการมากขึ้น เพราะทำให้ผู้ยื่นคำร้องสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกสบายทั้งจากที่บ้านหรือสถานที่ใดก็ตามโดยครบถ้วนทุกขั้นตอนการยื่นคำร้องขอวีซ่า บริการพิเศษดังกล่าวรองรับการยื่นคำร้อง ลงทะเบียนข้อมูลไบโอเมตริก และจัดส่งหนังสือเดินทางกลับคืนถึงสถานที่ที่ต้องการ การจองบริการ VAYD ในปี 2565 (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) เพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2562 และเติบโตจากปี 2564 ถึง 27% ทั้งนี้บริการ VAYD พร้อมให้บริการสำหรับการเดินทางไปออสเตรีย โครเอเชีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และสหราชอาณาจักร

"จำนวนนักเดินทางที่ให้ความสนใจบริการพิเศษเฉพาะบุคคลแบบไร้การสัมผัสหลังสถานการณ์โรคระบาดมีเพิ่มมากขึ้น ความกังวลเรื่องสุขภาพกลายเป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งในการเดินทางต่างประเทศ ผู้ยื่นคำร้องจำนวนมากจึงต้องการบริการอย่าง VAYD หรือห้องรับรองพิเศษที่มอบประสบการณ์ด้านการยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สะดวกสบายโดยไม่ต้องยืนรอคิว ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการในยุคดิจิทัลที่ปรับเปลี่ยนรุดหน้าอย่างรวดเร็วทำให้เราคาดว่าบริการพรีเมียมดังกล่าวจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าที่ให้ความสำคัญต่อการเดินทางที่อย่างปลอดภัย" นายกอซ กล่าวเสริม

ทั้งนี้วีเอฟเอสโ กลบอล รับหน้าที่ให้บริการยื่นคำร้องอวีซ่าแก่รัฐบาล 23 ประเทศจากในประเทศไทย ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อินเดีย อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สิงคโปร์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

คำแนะนำการเดินทางในฤดูการท่องเที่ยว

วีเอฟเอส โกลบอล แนะนำให้ผู้ใช้บริการยื่นคำร้องขอวีซ่าตั้งแต่ช่วงเดียวกับที่จองตั๋วเครื่องบินและที่พัก ปัจจุบันหลายประเทศอนุญาตให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้ถึง 90 วัน (3 เดือน) ก่อนวันที่เดินทาง ขณะที่ระเบียบวีซ่าเชงเกนฉบับปรับปรุงที่มีผลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 อนุญาตให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าเชงเกนก่อนวันที่เดินทางได้ถึง 6 เดือน ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ผู้ยื่นคำร้องรีบดำเนินการขอวีซ่าเป็นการล่วงหน้าโดยเร็วที่สุดโดยเฉพาะในปีนี้ที่มีความต้องการเดินทางสูงและมีช่วงเวลานัดหมายที่จำกัด

ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าควรระมัดระวังบุคคลที่คิดค่าธรรมเนียมลูกค้าในการนัดหมายหรือการให้บริการต่างๆ ทั้งที่แอบอ้างชื่อวีเอฟเอส โกลบอล หรือชื่ออื่นใดก็ดี เราไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมสำหรับการนัดหมายแต่อย่างใด หากต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดก็ตาม โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราหรือส่งอีเมลมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สัมผัสกับบริการเสริมเพื่อความสะดวกสบายในการยื่นคำร้องขอวีซ่า ได้แก่

· ห้องรับรองพิเศษ: สัมผัสประสบการณ์ในการยื่นคำร้องขอวีซ่าแบบส่วนตัวที่ทั้งรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย

· บริการกรอกแบบฟอร์ม: ให้เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญคอยช่วยเหลือคุณกรอกคำร้องขอวีซ่าทางโทรศัพท์หรือ ณ ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า

· บริการจัดส่งเอกสาร: เรามีบริการจัดส่งหนังสือเดินทางและเอกสาร ที่ทั้งรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย

· ประกันภัยค่ารักษาพยาบาลระหว่างการเดินทาง: ขอรับความคุ้มครองจากการประกันภัยค่ารักษาพยาบาลระหว่างการเดินทางภาคบังคับซึ่งรวมถึงการครอบคลุมโควิด-19 จากผู้รับประกันภัยชั้นนำระดับโลก

· บริการแจ้งเตือนทาง SMS: แจ้งสถานะล่าสุดของการยื่นคำร้องขอวีซ่าของคุณ

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: https://www.vfsglobal.com/en/individuals/solutions.html

วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศปรับเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสองท่าน

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click