November 08, 2024

ปลุกภาวะผู้นำยุคโลกเปลี่ยน “The New Age Leadership” ถอดสูตรบริหารงานให้ได้ผล บริหารคนให้ได้ใจ

October 07, 2021 2321

แม้สถานการณ์ในประเทศไทยจะกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่ผลกระทบที่ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกับวิถีการทำงาน ความคิด ความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อหัวหน้างาน และบริษัท ซึ่งจะกลายเป็น ความท้าทายใหม่ให้กับผู้นำในการปรับรูปแบบวิธีการบริหารลูกน้องในทีม เพราะจากข้อมูลผลสำรวจพบว่า เมื่อโควิดเริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มฟื้น ความกดดันและความคาดหวังของคนทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดปรากฎการณ์การลาออกของพนักงานมหาศาล ที่เรียกว่า “The Great Resignation” ดังกรณีศึกษาซึ่งมีผลต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสำหรับประเทศไทย ยังคงเป็นคำถามว่า “The Great Resignation” จะส่งผลต่อประเทศหรือไม่ แล้วองค์กร บริษัท หรือ หัวหน้าทีม ต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ ให้ยังอยากจับมือและเดินไปพร้อมกับองค์กร ก่อนที่จะสายเกินเยียวยา

 

คุณนิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์ YourNextU by SEAC (เอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน มาร่วมถอดรหัสว่า องค์กรและหัวหน้าต้องบริหารอย่างไรถึง “ได้ใจ” และ “ได้งาน” ทีมงาน ตามแบบฉบับองค์กรยุคใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับโจทย์ความท้าทายใหม่จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แล้วผู้นำในโลกวันนี้ต้องปรับตัวอย่างไร? แต่เดิมเราจะรู้ว่าการเป็นผู้นำมักจะอยู่ในจุดที่ถูกคาดหวังให้เป็นคนกำหนดทิศทางและให้คำตอบในปัญหาและสถานการณ์ท้าทายต่างๆ แต่ปัจจุบันความเร็วของการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้ผู้นำไม่สามารถใช้ชุดทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมและไม่ได้มีทุกคำตอบเมื่อต้องเผชิญกับการทำงานที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ได้ ผู้นำในยุควันข้างหน้าจึงต้องปรับมุมมอง (Mindset) และความเชื่อเกี่ยวกับรูปแบบการนำทีมที่เคยใช้ได้ผลสำเร็จในอดีต และมุ่งเน้นการลับคมทักษะการนำทีมแบบใหม่ โดยเน้นใช้ทักษะการฟังและการสร้างบทสนทนาที่เน้นให้ทีมงานมีส่วนร่วม (Engage) และสร้างความมั่นใจและแรงบันดาลใจ (Motivation) ให้ทีมงานมองข้ามข้อจำกัดและกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ รวมถึงกระตุ้นให้ทีมงานหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและต่อยอด จากข้อผิดพลาดอย่างสม่ำเสมอ จุดที่จะทำให้ผู้นำยุคข้างหน้าสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างได้ คือต้องไม่เน้นเฉพาะความเก่งในงาน (Hard Skills) เท่านั้น แต่ต้องเป็นผู้นำที่เปิดใจในการปรับตัวและพัฒนารอบด้านให้เก่งในการนำคน รวมถึง Soft Skills ต่างๆ ด้วย การอัพสกิลทักษะภาวะผู้นำในยุคข้างหน้าจะเน้นการสร้างผู้นำแบบที่เรียกว่า “The New Age Leadership” คือ ผู้นำที่กล้ายอมรับว่า เราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เปิดกว้างรับฟังมุมมองความคิดเห็นของทุกคนในทีม และเป็นผู้นำที่เน้นเรื่องการสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมและสร้างแรงขับเพื่อชวนคนในทีมให้กล้าออกไปหาคำตอบในสิ่งที่เราไม่รู้ไปด้วยกัน

หากกล่าวถึง Leadership เป็นเรื่องของภาวะผู้นำที่สามารถสร้างให้เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับตำแหน่ง โดยไม่จำกัดว่า จะต้องเป็นชื่อตำแหน่งงานระบุไว้ใช้เจนว่าเป็น หัวหน้างาน หรือผู้บริหารเท่านั้น แต่ทุกคนสามารถมีทักษะในเรื่องของภาวะผู้นำได้ทั้งสิ้น คนที่มีทักษะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ดีอยู่ในตัว โดยพื้นฐานจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ได้ผลลัพท์ที่แตกต่าง ทั้งที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองและที่ขับเคลื่อนผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการก้าวหน้าทางอาชีพการงานได้มากกว่า โดย SEAC แนะ 3 เทคนิคเพื่อให้พร้อมก้าวสู่การเป็นสุดยอดผู้นำยุคโลกเปลี่ยน “The New Age Leadership” ประกอบด้วย 1. สร้างบรรยากาศและบทสนทนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทีม 2. เน้นการใส่ใจและการทำความเข้าใจทีมงานเพื่อปรับสไตล์การนำให้เข้ากับบริบท ที่เปลี่ยนไป 3. สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวผ่านการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง (lead by example)

นอกจากนี้ SEAC ยังได้เชิญชวนผู้นำองค์กรยุคใหม่ ที่ไม่เพียงสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่ยังสร้างองค์กรที่มีพนักงานเลือดใหม่ที่พร้อมเผชิญวิกฤติและสร้างโอกาสเติบโตก้าวกระโดดสวนกระแสอย่าง คุณวุฒิชัย น้ำใจประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ LINE MAN Wongnai ซึ่งได้มาร่วมแบ่งปันมุมมองและถอดรหัสความหมายของคำว่า ‘ภาวะผู้นำยุคใหม่ (The New Age Leadership)’ ที่สามารถสร้างรากฐานให้องค์กรเข้มแข็งผ่านการทำงาน ที่ไม่เพียงเน้นผลลัพธ์ แต่ได้ใจพนักงานเพื่อสร้างแรงขับในการทำสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

สร้างบรรยากาศและบทสนทนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทีม

ในการบริหารทีมทำงานวันนี้ ซึ่งผู้บริหารไม่อาจมีคำตอบให้ได้กับทุกเรื่อง จึงจำเป็นต้องใช้ ‘ทีม’ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สูงขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับผู้นำคือ ต้องอัพสกิลโดยเน้นเรื่องของการฟังและการสร้างบทสนทนาที่กระตุ้นให้ทีมงานมองเห็นภาพความสำเร็จและเห็นความหมายของการทำสิ่งนี้ โดยอันดับแรกต้องเชื่อมโยงเป้าหมายภาพใหญ่กับคุณค่า (Value) ของสิ่งที่เป็นความสำคัญในระดับทีมงานและในระดับบุคคลเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน (Motivation) อันดับสองคือต้องสร้างบทสนทนา ที่เน้นตั้งคำถามไปที่ความเป็นไปได้ข้างหน้ามากกว่ากล่าวตำหนิหรือบ่นเกี่ยวกับความผิดพลาดหรือข้อจำกัดในอดีต เพื่อชวนให้เห็นโอกาสใหม่ๆ และอันดับสามคือการเน้นชวนคุยให้ทีมงานร่วมกันคิดหาคำตอบและออกไปทดลองมากกว่าเน้นให้คำตอบในสิ่งที่หัวหน้ามองว่าอยากให้ทำ ซึ่ง คุณวุฒิชัย กล่าวเสริมว่า “พูดถึงวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศภายในองค์กรของ LINE MAN Wongnai ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่พาเรามาถึงความสำเร็จในวันนี้ กล่าวคือ เราใช้การสื่อสารพูดคุยกันเยอะ พี่ๆ ก็เคารพรับฟัง น้องๆ ทุกคนกล้าเดินมาคุยเสนอไอเดียกับพี่ๆ ว่าอยากทดลองทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ส่วนใหญ่ไม่มีขั้นตอนมากมาย คุยกันแล้วเราก็บอกว่า งั้นลองเลย น้องก็ทำเลย สิ่งหนึ่งที่พนักงานทุกคนมีเหมือนกันคือ Passion มีใจรัก ทุ่มเทให้กับงาน และพร้อมที่จะรวมพลัง ด้วยการเปิดกว้างเรื่องความคิด ไม่มีผิดไม่มีถูก เพราะพร้อมที่จะ Learning by Doing ไปด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราล้ม เราก็จะรีบลุกขึ้นตั้งหลัก เรียนรู้และเริ่มทำใหม่ ซึ่งการที่เราคุยกันบ่อยๆ ช่วยทำให้สิ่งที่ทำง่ายขึ้น แต่อย่างตอนนี้ที่ต้อง Work From Home เราก็เน้นแชทหากัน โทรหากัน เพื่อนำเสนอไอเดียแบบเร่งด่วน ถ้ามีคนใหม่เข้ามาช่วงนี้ สิ่งสำคัญเราต้องพูดคุยงานกับพนักงานใหม่ ให้มาก ทั้งพูดคุยแนะนำเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้พนักงานใหม่อุ่นใจมากขึ้น โดยเราต้องค่อยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนใหม่กับ คนเก่าตลอดเวลา”

หมดยุค One-Size-Fit-All ผู้นำยุคใหม่ต้องอ่านทีมให้ออก “ใส่ใจ” และ “เข้าใจ”

SEAC ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรมาตลอด 30 ปี เราพบว่า การบริหารทีมทำงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรแบบเป็นหนึ่งเดียว ผู้นำจะขับเคลื่อนผลลัพธ์ได้ต้องใช้ทักษะในสามด้านคือ ทักษะด้านการคิด (Head) ซึ่งเป็นเรื่องของมุมมองและ การกำหนดทิศทาง อีกส่วนคือ เรื่องของการสร้างขวัญและกำลังใจ (Heart) และเรื่องของการขับเคลื่อนและพัฒนาให้ทีมงานสามารถ ลองมือทำ (Hand) ไปพร้อมกัน ซึ่งบริบทการทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้ทีมงานเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน หลายคนต้องปรับตัวมาก ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หลายคนเกิดความเครียดรู้สึกถึงความไม่แน่นอนในสิ่งที่ทำอยู่ บางคนปรับตัวไม่ได้ เกิดสภาวะจิตตก หรือ Burn Out เมื่อทีมงานแต่ละคนอยู่ในสถานการณ์ต่างกัน ต้องรับผิดชอบงานที่ต่างกัน ประเด็นสำคัญคือ การเป็นผู้นำยุคนี้ต้องอ่านลูกน้องให้ออก และปรับรูปแบบที่ใช้ตามแต่สถานการณ์ อย่าใช้รูปแบบของ One-Size-Fit-All เพราะสิ่งที่เราทำ ที่เราให้อาจไม่ตรงกับสิ่งที่ลูกน้องเรากำลังต้องการก็ได้ ดังนั้น การเป็นผู้นำในยุคนี้แทนที่จะเน้นที่สไตล์การนำที่เราเคยใช้ได้ผลดี อาจต้องเน้นการ “ใส่ใจ” และ “ทำความเข้าใจ” ในสิ่งที่ทีมงานต้องการการสนับสนุนจากเราบทโจทย์งานและสถานการณ์ของเค้า ที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงมากกว่าเพื่อปรับสไตล์และวิธีการให้เหมาะกับแต่ละช่วง

ซึ่ง คุณวุฒิชัย กล่าวเสริมว่า “ที่ LINE MAN Wongnai เน้นมากเรื่อง Caring & Listening อย่างตอนช่วงโควิด ทางผู้บริหารและ ทีม People ก็คอยดูว่าพนักงานเราต้องการอะไร ต้อง Work From Home ก็มีการส่งอุปกรณ์การทำงานมาให้ที่บ้าน บางครั้งก็มีส่งการ์ดส่งขนม เพื่อให้กำลังใจ ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจ ที่ทั้งทีม People และพี่ทุกคนพยายามฟังเสียงว่า น้องกำลังอยากได้อะไร กำลังเจอสิ่งที่ยากตรงไหน ซึ่งพนักงานก็รู้สึกได้ พอคนรู้สึกได้ถึงความใส่ใจ ผลลัพธ์ก็สะท้อนกลับมาเป็นพลัง ในการทำงาน เป็น Passion ที่สะท้อนออกมาผ่านการแก้ปัญหาต่างๆ ”

เป็นผู้นำต้องทำก่อน! สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ผ่านการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง (Lead by Example)

กระจกสะท้อนที่ดีที่สุดของ Brand และคนในองค์กรของวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งในยุคแห่งกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนแนวทางการปฏิบัติในตำราต่างๆ ตามไม่ทัน ทำให้วัฒนธรรมการทำงานที่แข็งแรงที่คนในองค์กรพร้อมปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่น ที่จะลองทำสิ่งใหม่ถือเป็นอาวุธสำคัญของหลายๆ องค์กรที่ต้องเร่งสร้าง ซึ่งแน่นอนที่สุด จุดยากของเรื่องนี้คือการที่ผู้นำจะต้องเริ่มก่อน ต้องเริ่มจากปรับวิธีคิดและสร้างความเชื่อใหม่กับตัวเองก่อน จากนั้นจึงทำแบบอย่าง (Role Model) และทำอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง เราสามารถสร้างความเชื่อนี้ ให้กับทีมงานของเราในการทำงานรูปแบบใหม่ได้ คุณวุฒิชัย กล่าวเสริมว่า “อย่าง LINE MAN Wongnai ที่ทุกคนจึงจำเป็นต้องมองเห็นภาพเดียวกัน สิ่งที่พยายามทำคือพี่ๆ เริ่มก่อน ตัวอย่างที่ทำกันแล้วได้ผล คือ การ VDO Conference ที่เราอยากให้คนเปิดกล้องคุยกัน ทางหัวหน้าหรือผู้บริหารทุกคนจะเปิดกล้องเพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีให้กับน้องๆ และพนักงานทุกคน เมื่อเปิดกล้องเราจะรู้ว่าทุกคนเข้าใจหรือมีปฏิกิริยาต่อเรื่องบางเรื่องอย่างไร ซึ่งน้องในทีมเข้าใจ และเริ่มทำตาม จนผู้บริหารระดับ C-level สามารถที่จะ Interactive และ Engagement ระหว่างประชุมได้มากขึ้น ทำให้เราเข้าใจกันเร็วขึ้น อย่างการที่เราเน้นการโทรคุยเร็วๆ เวลามีไอเดียอะไรแล้วอยากลองเลย เราก็ทำสิ่งนี้และเป็นการตั้งบรรทัดฐานนี้กับทีมงานเหมือนกันว่าสามารถทำแบบนี้ได้ ไม่ต้องรอมาคุยกันตอนประชุมแบบเป็นทางการเท่านั้น อีกสิ่งที่สำคัญ คือ เราทุกคนต้องไว้วางใจทีมและองค์กร ทั้งหัวหน้าและลูกน้อง เราถึงจะก้าวไปพร้อมกันสู่การเติบโตกับบริบทที่สำคัญขององค์กร”

 

ดังนั้น คีย์เวิร์ดสำคัญที่ผู้นำองค์กรยุคใหม่ที่ต้องรู้และเร่งปรับตัวเอง เพื่อสร้างทีมให้แข็งแกร่งและขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การปรับความคิด (Mindset) สร้างการสื่อสารที่ชัดเจน เน้นการมีส่วนร่วม (Engaged Communication) พร้อมทั้งใส่ใจในการทำความเข้าใจกับทีมงาน (Listening & Caring) เพื่อปรับวิธีการนำและสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมและองค์กร รวมถึงสร้างพฤติกรรมที่ดีเป็นแบบอย่าง (Lead by Example) เพื่อปลูกฝังวิถีการทำงานแบบใหม่เพื่อให้ทีมงานและองค์กรพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่จะเข้ามาถึง

 พบกับหลักสูตร Redefining The New Age Leadership สำหรับผู้บริหาร ผู้นำองค์กร หัวหน้าทีมทุกระดับที่กำลังมองหาตัวช่วย ในการบริหารงานให้ได้ผล บริหารคนให้ได้ใจ ในโลกการบริหารที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ แถมต้องทำงานไกลกัน YourNextU by SEAC ได้รวบรวมทั้งความรู้ทักษะ และเคล็ดลับในการบริหารทีม อาทิ การพัฒนาบริหารทีม (E3s Leader Series – Engage Empower Execute) วิธีคิดเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Outward Mindset) และหลักสูตรพัฒนาทักษะอื่นๆ ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ที่จำเป็นต่อโลกทำงานปัจจุบันและในอนาคต ไม่ว่าสถานการณ์จะท้าทายเท่าไหร่ จะอยู่ไกลกันแค่ไหน ก็รับมือได้เป็นอย่างดีแน่นอน

Last modified on Saturday, 09 October 2021 01:25
X

Right Click

No right click