November 08, 2024

ช้อปปี้ อีคอมเมิร์ซเบอร์ 1 ในไทย ตอกย้ำความเป็นบริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยอันดับต้นๆ เดินหน้าดัน Shopee Graduate Development Program (GDP) โปรแกรมที่เฟ้นหาผู้มีความสามารถและศักยภาพในการทำงานมาร่วมทีมช้อปปี้ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำและเติบโตไปกับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ช้อปปี้เชื่อว่าประสบการณ์การทำงานจะเป็นมากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียน เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้ ยังได้ลงมือทำและมีผู้เชียวชาญมาช่วยผลักดันให้เติบโตในสายงานอย่างดีที่สุด  

ด้วยความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของโปรแกรม GDP ทั้ง ‘โอกาสในการเรียนรู้’ จากงานในแผนกต่างๆ พร้อมประกบคู่กับเมนเทอร์ในระดับผู้บริหารระดับสูงและ Head of Department ที่จะกลายเป็นเหมือน Co-parenting คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันศักยภาพ ปลดล็อกโอกาสให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งยังได้รับ ‘สวัสดิการที่ดีกว่า’ ทั้งในแง่ของการย้ายทีมในการทำงานทุก 6 เดือน ในระยะเวลา 2 ปีในโปรแกรม การได้เดินทางไปหาประสบการณ์ที่ช้อปปี้ในต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้และปรับตัวในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมใหม่ๆ ซึ่งด้วยเอกลักษณ์เหล่านี้ทำให้ GDP เป็นโปรแกรมที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง 

นางสาวสุชญา ปาลีวงศ์, ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล ช้อปปี้ พูดถึงมุมมองและแนวคิดของโปรแกรม GDP “ที่ช้อปปี้ เรามุ่งเน้นในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อว่าการที่บริษัทจะเติบโตไปในทิศทางที่ดี ที่แข็งแกร่งได้นั้น ทรัพยากรบุคคล คือรากฐานสำคัญมากที่สุด ช้อปปี้ถือเป็นพื้นที่ปลุกปั้นให้เด็กรุ่นใหม่เติบโตอย่างสง่างาม ราวกับเมล็ดพันธุ์ที่ดี ที่มีดินที่ดีคอยหล่อเลี้ยงให้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ที่แข็งแกร่ง อยู่ถูกที่ ถูกเวลา ทั้งในแง่ของ Mindset ที่ตรงกับองค์กร ทั้งกล้าคิด กล้าทำ มีไหวพริบและทัศนคติที่ดี ผ่านแนวคิดหลัก อย่าง ‘ก้าวแรก-ก้าวไว-ก้าวไกล:ไปกับ Shopee GDP’ 

  • ก้าวแรก - ถือว่าสำคัญเพราะเป็นช่วงที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เป็นจุดเริ่มต้นในการหาจุดแข็งจากตัวเองและคนรอบข้าง  
  • ก้าวไว - ‘ก้าวไวกว่าคนอื่น’ เพราะมีผู้บริหารระดับสูงเป็นเมนเทอร์อย่างใกล้ชิด ทั้งมีโอกาสปรับเปลี่ยนงานในหลากหลายแผนกทั้งไทยและต่างประเทศและได้ลงมือทำโปรเจคใหญ่ๆ กับผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้รับประสบการณ์สุดเข้มข้นทั้ง Hard Skills & Soft Skills  
  • ก้าวไกล:ไปกับ Shopee GDP -  ‘ก้าวไปสู่ความสำเร็จ’ หลังจากที่ได้ฝึกปรือวิชาและมีการประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศาตลอด 2 ปีเต็มเด็กรุ่นใหม่ที่ร่วมโปรแกรมนี้จึงพร้อมที่จะเติบโตและก้าวเป็นผู้นำในช้อปปี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 

“เราพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่พร้อมเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่แบบไร้ขีดจำกัด ได้ลองออกจาก Comfort zone เข้ามาร่วมในโปรแกรม GDP คุณอาจจะได้เห็นศักยภาพในตัวที่อาจไม่เคยเห็นมาก่อน และสามารถก้าวเป็นผู้นำในองค์กรของช้อปปี้ อีกทั้งยังสามารถเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ฉะนั้นเราจึงให้ความสำคัญในการคัดสรรบุคลากร รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาขีดความสามารถเพื่อก้าวสู่การเป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม 
อีคอมเมิร์ซอย่างดีที่สุด” สุชญา กล่าวเพิ่มเติม 
เผย 3 สกิล ‘ความเป็นผู้นำ - การปรับตัวในทุกสถานการณ์ - เรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา’ ที่คนทำงานรุ่นใหม่ไม่ควรมองข้าม 

พิม ศิเรมอร ทองปาน, สมาชิกรุ่นแรกในโปรแกรม GDP จากเด็กจบใหม่สู่ผู้นำทีม แชร์มุมมองว่า  “พิมถือเป็นสมาชิกรุ่นแรกในโปรแกรม GDP  พอขึ้นชื่อว่าเป็น สมาชิกของโปรแกรม GDP ก็รู้เลยว่าต้องมีความท้าทายกว่าคนอื่นทั้งในแง่สกิลการทำงานและความเป็นผู้นำซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองหาแถมยังได้ไปหาประสบการณ์ที่ต่างประเทศด้วย  

ตลอด 6 ปีที่ช้อปปี้ของพิม มันส์ ครบ รส มากๆ ค่ะ พิมประทับใจใน Culture และ DNA ขององค์กรที่ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวอยู่ตลอด อีกทั้งโอกาสในการเติบโต เพราะได้ร่วมทำโปรเจคสำคัญๆ ของบริษัท ได้แชร์มุมมองและไอเดียกับผู้บริหารตั้งแต่วันแรกที่เข้าร่วมโปรแกรม  ซึ่งรู้สึกเซอร์ไพรส์มาก ไม่ค่อยเห็นบริษัทอื่นๆ ให้โอกาสกับเด็กจบใหม่แบบนี้ แต่คงเป็นเพราะช้อปปี้เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาบุคลากรเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันพิมบริหารทีมในส่วนของ Online Marketing เป็นอีกความท้าทายที่แตกต่างไปจากเดิม เพราะเราต้องมองความสำคัญของการเป็นผู้นำให้มากขึ้น การกำหนดทิศทางการทำงานของทีมเพื่อให้รู้เสมอว่า เขาทำไปเพราะอะไร เพื่ออะไร สิ่งนี้จะทำให้เขามี ownership กับงานที่ได้รับมอบหมาย และสุดท้ายคือ ความอิสระทางความคิด เราสามารถคิดนอกกรอบได้บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล 

สุดท้ายอยากชวนน้องๆ ที่มีจุดหมายแบบเดียวกับพิมลองก้าวเข้ามาสมัครโปรแกรมนี้ ความเสี่ยงที่สูงที่สุดคือการที่เราไม่ได้ลองทำตั้งแต่ต้นค่ะ” 

แซม-ปุญญวิชญ์ ปุญญาภิบาล, ผู้มองการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเสมือนดวงตาและหูขององค์กรแชร์ประสบการณ์สุดหิน “ผมได้โอกาสเข้าร่วม GDP มาในหลากหลายแผนก ซึ่งหลังจบโปรแกรม ผมก็ยังคงทำงานกับช้อปปี้ รวมกว่า 3  ปีแล้วครับ ปัจจุบันผมดูแลในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนของ SPX Express  
ผมมองว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเสมือนดวงตาและหูขององค์กร ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละสเต็ปและพร้อมที่จะนำมาปรับใช้กับการพัฒนาองค์กรให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

งานหลักของผมเกี่ยวกับ Digitalization และ Automation  และความยากที่สุดคือ Digitalization หรือการแปลงข้อมูลที่ไหลเวียนในองค์กรให้เป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ สำหรับผมมองว่างานวิเคราะห์ข้อมูลมีความท้าทายไม่น้อย เพราะเปรียบเหมือน Data Center ของบริษัท ทุกแผนกที่ต้องการข้อมูลจะต้องเข้ามาหาเราเป็นด่านแรก ซึ่งความยากของงานนี้คือ ความซับซ้อนในแง่ของ Technical Terms ดังนั้นเราต้องเรียนรู้วิธีที่จะต้องสื่อสารจากสิ่งที่ยากให้ออกไปง่ายที่สุดเพื่อให้แต่ละแผนกมีความเข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้องที่สุด  

GDP เสมือนกำไรชีวิต เพราะผมได้รับโอกาสในการทำงานใกล้ชิดและรับคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งได้ดึงศักยภาพของผมออกมาได้อย่างเต็มที่ สะสมประสบการณ์ที่มีคุณค่าและจะช่วยให้ผมเติบโตในสายอาชีพอย่างรวดเร็วที่สุดครับ” 

 

ร้อยละ 80 ขององค์กรไทยที่ว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่สูงขึ้น แต่อีกร้อยละ 94 กำลังประสบกับปัญหาการจ้างงาน

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในประเทศไทยที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงทักษะด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างรายได้ประมาณ75,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย เป็นผลมาจากบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงซึ่งมีรายได้มากกว่าร้อยละ 57 ต่อปี มากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ทักษะดิจิทัลในการทำงาน

การศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Workforce) ของ AWS ที่ดำเนินการโดย Gallup ได้ศึกษาว่าการสร้างบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ทำงาน องค์กร และเศรษฐกิจอย่างไร มีการสํารวจผู้ทํางานมากกว่า 1,000 คน (1,296 คน) และนายจ้าง 359 รายในประเทศไทยในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้จําแนกทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่พิจารณาความสามารถในการใช้อีเมล โปรแกรมประมวลผลคํา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และโซเชียลมีเดีย ทักษะดิจิทัลระดับกลาง ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์แบบลากและวาง (drag-and-drop website design) การแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชัน (troubleshooting applications) และการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านดิจิทัลระดับสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการบำรุงรักษาระบบคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง

ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ทำงานด้านดิจิทัลขั้นสูงในประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 89 ของบุลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับสูง เทียบกับร้อยละ 58 ของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังได้รับผลประโยชน์ด้านอาชีพ โดยร้อยละ 93 ของบุคลากรในไทยที่สำเร็จการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลในปีที่ผ่านมา ได้รับประโยชน์เชิงบวกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น

นายจ้างที่ใช้บุลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีคลาวด์ เห็นการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรมที่สูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74 ขององค์กรในประเทศไทยที่ใช้คลาวด์เป็นหลักรายงานการ

เติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 10 หรือมากกว่านั้น เทียบกับร้อยละ 56 ขององค์กรที่ใช้คลาวด์บางส่วนหรือไม่ใช้เลย

หลายองค์กรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยการศึกษาของ Gallup ได้พิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ 10 อย่าง ได้แก่ AI, edge และ quantum computing, blockchain และสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งร้อยละ 92 ของนายจ้างในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ 5G อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของนายจ้างเชื่อว่าพวกเขาจะนําเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต

“ผู้คนในประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิธีการทํางานไปจนถึงการใช้ชีวิต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในระดับบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก” ดร.โจนาธาน รอธเวลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Gallup กล่าว “เมื่อองค์กรต่าง ๆ ย้ายระบบไอทีไปยังระบบคลาวด์มากขึ้นในทศวรรษหน้า และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น การแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัลจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานใหม่จํานวนมาก โอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ขึ้นอยู่กับการมีบุคลากรที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูงเพื่อรองรับนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของนายจ้างในไทยที่ร่วมทำสำรวจพบว่าพวกเขากำลังมองหาบุคลากรที่ต้องใช้ทักษะดิจิทัล แต่ร้อยละ 94 ระบุว่าการหาบุคลากรที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งอุปสรรคอาจเกิดจากการที่องค์กรไทยร้อยละ 56 กำหนดให้ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีแม้แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักว่าการยอมรับใบรับรองวิชาชีพสามารถช่วยลดปัญหาในการจ้างงานได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของนายจ้างกล่าวว่ามีการยอมรับใบรับรองทักษะด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อใช้แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีได้

จากผลการศึกษาของ Gallup แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มหาศาลจากการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ AWS ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) รวมถึงองค์กรชั้นนำอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารและกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเราได้ฝึกอบรมบุคลากรกว่า 700,000 คนด้วยทักษะด้านคลาวด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และงานของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้” เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและการรับรอง AWS ภูมิภาคอาเซียนกล่าว

“ทักษะดิจิทัลขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่บุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ AWS มุ่งมั่นที่จะขยายโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลของเราสําหรับบุคลากรและนายจ้างทั่วประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะสานต่อความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย เพื่อช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะบุคลากรรวมถึงใช้ประโยชน์จากคลาวด์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนวัตกรรม”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัวโปรแกรม AWS Training and Certification หลายหลักสูตรในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะที่เหมาะสมในการเติบโตต่อไปในโลกดิจิทัล ซึ่งรวมถึง AWS Skill Builder ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่ให้การฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกว่า 600 หลักสูตร รวมถึง 62 หลักสูตรที่มีให้บริการเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี AWS Educate ที่ให้การฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงแบบเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบคลาวด์ และ AWS Academy ที่ให้การฝึกอบรมแก่สถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรการประมวลผลบนระบบคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและเป็นที่ต้องการของสายงานด้านคลาวด์

AWS ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปี 2565 เราได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของไทย เพื่อเร่งพัฒนาทักษะการทํางานของบุคลากรภาครัฐ ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะของ AWS เพื่อให้การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์แก่บุคลากรภาครัฐมากกว่า 1,200 คน เพื่อนําเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ช่วยให้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ มี่มอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสําหรับประชาชนทั่วประเทศ

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของไทยได้ประกาศความร่วมมือด้านทักษะดิจิทัลกับ AWS “MHESI และ AWS มีเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะดิจิทัลในประเทศไทย และพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ" ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “การศึกษาของ Gallup ช่วยตอกย้ำถึงพันธกิจของ MHESI ในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคลาวด์ที่จําเป็นให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS เราตั้งเป้าที่จะยกระดับทักษะให้กับบุคลากรในการใช้ AWS Cloud ในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่งและหน่วยงานวิจัยและการศึกษาที่อยู่ภายใต้ MHESI กว่า 20 แห่งทั่วประเทศไทยภายในต้นปี 2569”

AWS ได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เปิดสอนหลักสูตร AWS Educate และ AWS Academy เพื่อยกระดับบุคลากรของไทยในอนาคต และด้วยความร่วมมือกับสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มหาวิทยาลัยได้จัดบูตแคมป์และงานแฟร์สําหรับนักศึกษากว่า 200 คนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสําหรับการทำงานด้านดิจิทัล

“เมื่อประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นที่ต้องการสูงในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งความต้องการบุคลากรยังมีมากกว่าจำนวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านนี้ ดังนั้น สจล. จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาของ AWS เพื่อมอบเนื้อหาด้านคลาวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับนักเรียนในการทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และพัฒนาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง เราหวังว่าจะทำให้ผู้สําเร็จการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ต่อไปเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคตของในประเทศไทย

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกําลังเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูงเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุก ๆ ประเทศ” รูปา จันดา ผู้อํานวยการฝ่ายการค้า การลงทุน และนวัตกรรมขององค์การสหประชาชาติ ESCAP กล่าว “โปรแกรมฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางดิจิทัลในอนาคต ให้โอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมแก่ผู้คนจากทุกภูมิหลัง และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ”

“Asia Internet Coalition (สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย) เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ยืนยันถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะด้านดิจิทัลที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เป็นการเน้นย้ำถึงความจําเป็นที่ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต้องทํางานร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านดิจิทัลและสนับสนุนการยกระดับทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาหลังจากสถานการณ์โควิด การเชื่อมช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจะช่วยเร่งการรวมดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศ ที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” เจฟฟ์ พายน์ กรรมการผู้จัดการ Asia Internet Coalition กล่าว

AWS มีแผนการลงทุนโดยประมาณมากกว่า 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในเดือนตุลาคม 2565

ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2568 ณ ปัจจุบัน AWS ได้ฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไปแล้วมากกว่า 13 ล้านคน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของ AWS สามารถดูได้ที่ AboutAmazon.com/29million

ดาวน์โหลด “Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Thai Workforce” 

ผลจากการวิเคราะห์ล่าสุดของดีลอยท์ ประมาณการผลกระทบของเมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ทั่วเอเชียมีแนวโน้มสูงถึง 0.8 ถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปีภายใน พ.ศ. 2578 คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.3 ถึง 2.4 ของ GDP

ซึ่งอาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้ในระยะยาว หากมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนในช่วงห้าถึงสิบปีข้างหน้า ทั้งนี้ ความคืบหน้าและความรวดเร็วในการเข้าใช้งานจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่เศรษฐกิจพื้นฐานของแต่ละประเทศอาจนำมาใช้เพื่อเร่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก เมตาเวิร์ส

การวิเคราะห์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน “เมตาเวิร์สในเอเชีย – กลยุทธ์เพื่อการเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ” ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดจากเมตาเวิร์สใน 12 ประเทศทั่วเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น จีนแผ่นดินใหญ่ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม) และเน้นย้ำถึงกลยุทธ์ที่ประเทศต่าง ๆ เลือกใช้เพื่อใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส โดยรายงานฉบับนี้จะอธิบายถึงรูปแบบการก้าวเข้าสู่โลกของเมตาเวิร์สที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ซึ่งส่งผลให้ภูมิภาคนี้เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ผู้คนหลายล้านคนในเอเชียเริ่มมีการใช้งานแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สในระยะแรกแล้ว ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมตาเวิร์สในภูมิภาคเอเชียอยู่ในระดับที่สูง และมีผู้คนกว่าหลายล้านคนใช้งานแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สในระยะแรกเริ่ม ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม พบปะสังสรรค์ สร้างดิจิทัล ทวิน (Digital Twins) ชมคอนเสิร์ต รวมถึงการซื้อสินค้า ตัวอย่างเช่น แอพลิเคชั่น Zepeto ในประเทศเกาหลีใต้มีผู้ลงทะเบียนใช้งานมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมตาเวิร์สเต็มรูปแบบที่พร้อมแสดงผลแบบเรียลไทม์ให้กับผู้ใช้งานกว่าหลายล้านคนทั่วโลกเข้าใช้งานพร้อมๆกัน ยังต้องอาศัยการพัฒนาอีกยาวนาน

เมตาเวิร์สจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย

แม้ว่าการประมาณการช่วงแรกจะชี้ให้เห็นว่า เมตาเวิร์สจะมีศักยภาพสูงในการเติบโตและสร้างรายได้ทั่วโลก แต่ประเด็นเรื่องเวลาและขนาดผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายที่จะคาดการณ์ได้ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับปัจจัยและตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม เมตาเวิร์สถูกมองว่าจะทำให้เกิดตลาดใหม่ โอกาสทางธุรกิจและโอกาสในการจ้างงานใหม่ ๆ ตลอดจนปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การใช้งาน และการทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น หากมีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อผู้คนกว่า 4 พันล้านคนที่ในภูมิภาคนี้

เอเชียถือเป็นภูมิภาคที่น่าจับตามองในการพัฒนาเมตาเวิร์ส

ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ หน่วยงานกำกับดูแลไปจนถึงผู้ประกอบการ วัฒนธรรมไปจนถึงความสามารถด้านดิจิทัล เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียส่งเสริมเมตาเวิร์สในทุกๆ ด้าน โดยภูมิภาคนี้มีจุดเด่นสำคัญหลายประการ ได้แก่

· เอเชียครองซัพพลายเชนของฮาร์ดแวร์ ในส่วนของวัตถุดิบและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ เซมิคอนดัคเตอร์

· มีผู้เล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคนี้มากกว่าพันล้านคน ซึ่งนับเป็นแหล่งผู้เล่นเกมบนมือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

· ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศเศรษฐกิจหลักแห่งแรกที่จัดทำแผนพิมพ์เขียว (Blueprint) ที่ครอบคลุมเพื่อ ส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมเมตาเวิร์ส

· ในด้านระเบียบกฎเกณฑ์ สิงคโปร์ ฮ่องกง อินเดีย และประเทศอื่น ๆ ได้สร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ในเชิงบวกและกำหนดกฎระเบียบในการป้องกันอย่างชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งธุรกิจและผู้บริโภคจะสามารถใช้งานเมตาเวิร์สได้อย่างปลอดภัย

· อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนามเดินหน้าสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมถึงสร้างนวัตกรรมใหม่ ผ่านเทคโนโลยี web3 และบล็อกเชน

· ภูมิภาคนี้มีมรดกทางวัฒนธรรมหลากหลายให้เลือกใช้ในการพัฒนาคอนเทนต์และประสบการณ์ให้มีความน่าสนใจ เช่น ญี่ปุ่นใช้ประโยชน์จากการเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมวิดีโอเกม ในการสร้างอุตสาหกรรม เมตาเวิร์สใหม่

· อินเดีย ฟิลิปปินส์ และปากีสถานเป็นประเทศที่มีบุคลากรที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีระดับโลกอยู่จำนวนมาก

“เมตาเวิร์สเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การพัฒนากลุ่มเทคโนโลยี ทรัพยากรบุคคล และหลักเกณฑ์การกำกับ ดูแลให้ศักยภาพของเมตาเวิร์สมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ของเอเชียเป็นไปได้จริง จะเป็นประโยชน์ต่อ อุตสาหกรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกมากมาย” มร. ดุลีชา กุลสุริยา กรรมการผู้จัดการ Center for the Edge Deloitte Southeast Asia กล่าว

อนาคตที่สดใสของเมตาเวิร์ส ไม่เพียงแต่ต้องการการสนับสนุนจากทางรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่มีบทบาท ในระบบนิเวศทั้งหมดด้วย ในขณะที่เมตาเวิร์สยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาเหมาะสมสำหรับธุรกิจและ ผู้เล่นในการทดลอง หาข้อได้เปรียบในเมตาเวิร์ส รวมถึงมองหาโอกาสที่ส่งเสริมข้อได้เปรียบนั้น” มร. ดุลีชา กล่าวเสริม

เมตาเวิร์สในประเทศไทย

จากการวิเคราะห์ของดีลอยท์ ชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจของเมตาเวิร์สที่อาจเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2578 ในประเทศไทยจะอยู่ที่ 11 ถึง 21 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือร้อยละ 1.3 ถึงร้อยละ 2.4 ของ GDP โดยรวม

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่น่าจับตามองเนื่องด้วยโครงการเมตาเวิร์สที่เกิดขึ้นมาใหม่มากมายในภาคธุรกิจ การที่ภาคธุรกิจเต็มใจรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้บริโภคชาวไทยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มอยู่เสมอ โดยได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์รายสัปดาห์ ผู้ครอบครองสกุลเงินคริปโต และผู้ใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีพื้นฐานทางเทคโนโลยี ที่มีความแข็งแกร่งเป็นทุนเดิม และฟิกซ์บรอดแบนด์ที่เร็วที่สุดในโลกอีกด้วย

ปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยเสริมศักยภาพสำหรับประเทศไทย ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากการเป็นผู้ประกอบการที่ แข็งแกร่ง การส่งเสริมแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว และการสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงช่องทางต่าง ๆ ด้วยการปรับปรุงการเชื่อมต่อในพื้นที่ต่างจังหวัด

ภาคส่วนสำคัญที่น่าจับตามอง ได้แก่

1) การท่องเที่ยว: ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนรายได้ใน GDPคิดเป็น ประมาณร้อยละ 18 ต่อปี การใช้ประโยชน์จากประสบการณ์โลกเสมือนจริงในเมตาเวิร์สเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (The Tourism Authority of Thailand) ได้เริ่มทดลองใช้งาน ด้วยการเปิดตัวโครงการ “Amazing Thailand Metaverse: Amazing Durian” ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวเสมือนจริง

2) บริการเชิงสร้างสรรค์: ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายใหญ่ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการพัฒนาอินฟลูเอนเซอร์จากระบบ AI ที่มีความสมจริง ชื่อว่า “AI-Ailynn” เพื่อแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีของประเทศ นอกจากนี้ ไทยยังได้นำ tokenisation มาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ สำหรับโครงการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น ภาพยนตร์

เมตาเวิร์สนำเสนอแพลตฟอร์มใหม่ในการสร้างมูลค่าจากความร่วมมือของบุคลากรที่มีความสามารถทั้งด้านความสร้างสรรค์ การดำเนินธุรกิจ และด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย ธุรกิจต่างๆ ในไทยควรจะใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีในเมตาเวิร์ส ในการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าที่ไม่เหมือนใคร และจะเป็นประโยชน์ให้กับองค์กร เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม” ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าว

 

อลิอันซ์​เปิดเผยรายงาน Global Wealth Report ฉบับที่ 13 วิเคราะห์สถานการณ์​ทรัพย์สินและหนี้ครัวเรือนในเกือบ 60 ประเทศทั่วโลก

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน “จับตาความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย 2022: Omicron กระทบเศรษฐกิจไทยมากแค่ไหน?

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click