December 22, 2024

 SAP SE (NYSE: SAP) และ Google Cloud ได้ประกาศการขยายความร่วมมืออย่างกว้างขวาง โดยการเปิดตัวข้อเสนอข้อมูลแบบเปิดที่ครอบคลุม ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของภูมิทัศน์ข้อมูลและปลดปล่อยพลังของข้อมูลธุรกิจ ข้อเสนอนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างระบบคลาวด์ดาต้าแบบ end-to-end ที่ข้อมูลถูกดึงมาใช้ได้จากทั่วทั้งองค์กร โดยใช้โซลูชัน SAP® Datasphere ร่วมกับระบบคลาวด์ดาต้าของ Google ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ สามารถตรวจดูพื้นที่ข้อมูลทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ และเพิ่มประสิทธิภาพได้สูงสุดจากการลงทุนในซอฟต์แวร์ Google Cloud และ SAP ของพวกเขา

ข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการสร้างศูนย์รวมรวมข้อมูลที่ซับซ้อน เครื่องมือวิเคราะห์แบบกำหนดได้เอง รวมถึง Generative AI และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มตระหนักถึงความคุ้มค่าจากการลงทุนด้านข้อมูลเหล่านั้น ในขณะที่ข้อมูลที่มาจาก ระบบ SAP โดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร และสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างข้อมูลด้านซัพพลายเชน การพยากรณ์ทางการเงิน การบันทึกทรัพยากรบุคคล ข้อมูลระบบ Omnichannel Retail และอื่น ๆ ได้ โดย SAP Datasphere จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อภารกิจเหล่านี้ เข้ากับข้อมูลทั่วทั้งองค์กร จากหลากหลายแหล่งที่มา ซึ่งความสามารถในการรวมข้อมูลทั้งจากซอฟต์แวร์ SAP และที่ไม่ใช่มาจาก SAP (มาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ) ไว้บน Google Cloud ได้อย่างง่ายดายนั้น ย่อมหมายความว่าองค์กรต่างๆ สามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วด้วยรากฐานข้อมูลที่กำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ และยังคงรักษาบริบททางธุรกิจที่ครบถ้วนไว้ได้

 

Christian Klein ซีอีโอและคณะกรรมการบริหารของ SAP SE

Christian Klein ซีอีโอและคณะกรรมการบริหารของ SAP SE กล่าวว่า "การนำระบบและข้อมูลของ SAP มารวมกับข้อมูลในคลาวด์ของ Google ได้นำเสนอโอกาสใหม่สำหรับองค์กรต่างๆ ให้ได้รับคุณค่าที่มากขึ้นจากดาต้าฟุตปริ้นท์ทั้งหมด โดย SAP และ Google Cloud มีความมุ่งมั่นร่วมกันต่อข้อมูลแบบเปิด และการเป็นพันธมิตรของเราก็ได้ขยายออกไปเพื่อช่วยทลายกำแพงกั้นระหว่างข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบ ฐานข้อมูล และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ลูกค้าของเราไม่เพียงแต่ได้รับประโยชน์จาก AI ของธุรกิจที่สร้างไว้ในระบบของเราเท่านั้น แต่ยังได้รับประโยชน์จากรากฐานข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวด้วย"

 

Thomas Kurian, ซีอีโอของ Google Cloud

Thomas Kurian, ซีอีโอของ Google Cloud กล่าวว่า "ตอนนี้ SAP และ Google Cloud นำเสนอระบบคลาวด์ข้อมูลแบบเปิดที่ครอบคลุมอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับอนาคต AI ขององค์กร. แหล่งทรัพยากรเพียงบางแห่งอาจสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลพอ ๆ กับข้อมูล แต่ด้วยการผสานรวมข้อมูลและระบบ SAP เข้ากับคลาวด์ข้อมูลของเราอย่างลึกซึ้ง ลูกค้าจะสามารถใช้งานความสามารถในการวิเคราะห์ของเราได้เช่นเดียวกับเครื่องมือ AI ขั้นสูงและ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกใหม่จากข้อมูลของพวกเขา" องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Blue Bird Group, JB Cocoa, Kopi Kenangan, Link Net, NTUC Enterprise, Ocean Network Express, Siam Cement Group (SCG) และ Vingroup เป็นต้น ได้ใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของ Google Cloud และ SAP เสนอเพื่อช่วยให้พวกเขาดำเนินธุรกิจอย่างชาญฉลาดและยั่งยืนมากขึ้น และบรรลุผลลัพธ์ที่มีผลกระทบ ข้อเสนอข้อมูลแบบเปิด ใหม่จาก SAP และ Google Cloud ช่วยส่งเสริมโซลูชัน RISE with SAP และจะช่วยให้ลูกค้าสามารถ: · เข้าถึงข้อมูลสำคัญทางธุรกิจแบบเรียลไทม์: การผสานรวมระหว่าง SAP Datasphere และ Google Cloud BigQuery ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญที่สุดได้อย่างง่ายดายแบบเรียลไทม์โดยไม่มีข้อมูลซ้ำซ้อน ข้อเสนอร่วมนี้สามารถรวมข้อมูลจาก ระบบซอฟต์แวร์ SAP เช่น SAP S/4HANA® และ SAP HANA® Cloud ทำให้องค์กรต่างๆ มีมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญที่สุดของตนบนคลาวด์ดาต้าของ Google

· ลดความซับซ้อนของภูมิทัศน์ข้อมูล: SAP และ Google Cloud ได้ร่วมกันสร้างวิศวกรรมการจำลองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีการรวมศูนย์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถรวมข้อมูลจากซอฟต์แวร์ SAP เข้ากับ สภาพแวดล้อม BigQuery ได้อย่างง่ายดาย และใช้ประโยชน์จากความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นนำของ SAP และ Google Cloud ปัจจุบันนี้ ลูกค้าสามารถรวมข้อความค้นหาระหว่าง SAP Datasphere และ BigQuery เพื่อผสมผสานข้อมูลจาก ซอฟต์แวร์ SAP และ ที่ไม่ใช่ของ SAP ซึ่งช่วยขจัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วไปจากแหล่งที่มาที่ครอบคลุมทั้งด้านการตลาด การขาย การเงิน ห่วงโซ่อุปทาน และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่ทำธุรกิจค้าส่ง สามารถเห็นผลิตภัณฑ์ของตนได้อย่างสมบูรณ์ขณะที่พวกเขากำลังดำเนินการจำหน่ายสินค้าและเข้าถึงลูกค้า

· สร้างข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้ด้วย โมเดล AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ขั้นสูงของ Google Cloud: ธุรกิจต่างๆ จะสามารถใช้ บริการ AI และ ML ของ Google Cloud เพื่อฝึกโมเดลบนข้อมูลทั้งจาก ระบบ SAP และ ไม่ได้มาจาก SAP · ทำการวิเคราะห์ขั้นสูง: องค์กรสามารถใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ของโซลูชัน SAP Analytics Cloud ใน Google Cloud เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางการเงินและธุรกิจ พร้อมปรับปรุงความแม่นยำของโมเดล ด้วยการผสานรวมกับข้อมูลใน BigQuery ด้วย SAP Datasphere ลูกค้าสามารถวางแผนด้วยมุมมองเดียวที่ครอบคลุมธุรกิจของตน

· ใช้โซลูชันร่วมกันเพื่อความยั่งยืน: SAP และ Google Cloud กำลังค้นหาแนวทางที่จะรวม SAP Datasphere เข้ากับ ชุดข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่กว้างขึ้น รวมถึงข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดย Google Cloud เพื่อเร่งการเดินทางสู่ความยั่งยืนด้วยข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง

· ใช้ SAP Business Technology Platform (SAP BTP) บนระบบ Google Cloud ทั่วโลก: SAP จะพัฒนาข้อเสนอมัลติคลาวด์โดยขยายการรองรับ SAP BTP และ SAP HANA Cloud บน Google Cloud ระดับภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการสนับสนุน SAP Analytics Cloud และ SAP Datasphere SAP และ Google Cloud ตั้งใจที่จะเปิดตัว SAP BTP ใน 5 ภูมิภาคใหม่ในปีนี้ รวมถึงจะเพิ่มการรองรับเป็น 8 ภูมิภาคภายในปี 2568

ทั้งสองบริษัทยังวางแผนเป็นพันธมิตรกันในการริเริ่มเข้าสู่ตลาดสำหรับโครงการข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดขององค์กร ทำให้ลูกค้าสามารถนำผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากทั้ง SAP และ Google Cloud มาใช้ได้

 Google ประเทศไทย ประกาศเปิดโครงการ “Samart Skills” ภายใต้ธีม Grow with Google โดยจัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะดิจิทัลพร้อมเข้าทำงาน  พร้อมช่วยจับคู่แรงงานกับความต้องการของตลาดแรงงานที่สูง ซึ่งโครงการนี้ Google ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันการศึกษาพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ที่มองหางานในทุกสายอาชีพสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตร Google Career Certificates จนเป็นบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลพร้อมเข้าทำงานทันที

หลักสูตรแบ่งออกเป็น 6 สาขาอาชีพ ที่เป็นที่ต้องการขององค์กรในปัจจุบัน  โดยเป็นหลักสูตรที่ได้พัฒนาและจะได้รับการฝีกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ของ Google เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยผู้สมัครเรียนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อน และผู้เรียนสามารถจบหลักสูตรได้ภายในเวลา 3-6 เดือน พร้อมใบรับรองทักษะอาชีพ สำหรับนำไปใช้เพื่อสมัครงานในตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายงานดิจิทัล นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมโอกาสการจ้างงาน Google ได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรผู้ว่าจ้างซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่างๆ กว่า 30 รายที่ให้การยอมรับคุณวุฒิจากหลักสูตรเหล่านี้และสนใจว่าจ้างผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ “Samart Skills

เมื่อปีที่ผ่านมา รายงานของ AlphaBeta ระบุไว้ว่าการเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี (7.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในปี 2573 ในขณะที่ 78% ของผู้นำธุรกิจไทยได้วาง กลยุทธ์ดิจิทัลให้เป็นกลยุทธ์หลักเพื่อการเติบโต รวมทั้ง จากรายงานของ World Economic Forum ปี 2563 แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 55% ของแรงงานในไทยที่มีความรู้ด้านทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานในอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลของประเทศไทย

นายไมค์ จิตติวาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดด้านแบรนด์ของ Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ e-Conomy SEA Report ที่ Google จัดทำร่วมกับ Temasek และ Bain & Company ในปีที่ผ่านมา ระบุว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเข้าสู่ “ทศวรรษแห่งดิจิทัล” และเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สดใสมากที่สุด โดยคาดว่าในปี 2568 มูลค่าสินค้ารวมในเศรษฐกิจดิจิทัล (GMV) จะแตะที่ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านคน โดยกว่า 67% ของผู้ใช้รายใหม่อาศัยอยู่นอกหัวเมืองหลัก ซึ่งโครงการ “Samart Skills” นี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการ Saphan Digital ที่ได้ฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปแล้วกว่า 100,000 ราย รวมทั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าคนไทยจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างเท่าเทียมและใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด”

นางศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย Country Marketing Manager, Google ประเทศไทย กล่าวว่า

วันนี้ Google ยินดีที่ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ “Samart Skills” เพื่อให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแบบให้เปล่าแก่นักเรียนระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ ในโครงการ “Samart Skills” จำนวนทั้งสิ้น 22,000 ราย โดย Google จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันการอาชีวศึกษากว่า 100 แห่ง รวมทั้งพันธมิตรองค์กรธุรกิจชั้นนำจากภาคเอกชน ได้แก่ เอไอเอส และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการมอบทุนการศึกษาจำนวนดังกล่าว ซึ่งหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูล การสนับสนุนด้านไอที การจัดการโครงการ การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (UX) และ การตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ ได้รวบรวมไว้บน Coursera ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ชั้นนำ นอกจากนี้แล้ว เรายังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการนำหลักสูตรพื้นฐานการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) ของ Google (Google Cloud Computing Foundations) ไปให้นักศึกษาของตนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางเทคนิคในด้านการประมวลผลคลาวด์ โดยนักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตรนี้จะได้รับป้ายรับรองแบบดิจิทัล (skills badge) นับว่าโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยปลดล็อคการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมเพื่อตอกย้ำแนวคิด “Leave No Thai Behind” ของเราแล้ว ยังสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปอย่างมีเสถียรภาพอีกด้วย”

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้เล็งเห็นว่าเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในประเทศเรานั้นมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นนัยยะสำคัญ โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยในปีนี้สูงมากถึง 88% รวมทั้ง จากผลวิจัยของ Google, Temasek และ Bain & Company ได้ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านบาทในปี 2564 ซึ่งโตกว่าปีที่ผ่านมาถึง 51% และยังคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว ส่งผลให้แรงงานที่มีทักษะดิจิทัลเป็นที่ต้องการอย่างมากเพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 ประเทศไทยจะต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลกว่า 1 ล้านคน ดังนั้น เราจำเป็นต้องรีบพัฒนาแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลชั้นสูงให้เร็วยิ่งขึ้น และวันนี้ ผมรู้สึกยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนอย่าง Google ประเทศไทย เพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางทักษะด้านดิจิทัล และสร้างเสริมโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการศึกษาเพื่อตอบโจทย์อาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด และผมขอขอบคุณ Google ประเทศไทย ที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เหล่านิสิต นักศึกษา และคนไทย ในการเพิ่มความรู้และทักษะของตัวเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งยังช่วยจัดหาช่องทางให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่สำเร็จการอบรมแล้วสามารถหางานที่เหมาะสมกับพวกเขาได้อีกด้วย

นายศรัณย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่กลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า “เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมทำงานกับ Google ในการเสริมทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย จากนโยบายของ AIS ในฐานะ Digital Service Provider ที่มุ่งนำดิจิทัลมาเสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลของประชาชน คือ 1 ในหมุดหมายนั้น เราจึงขอยืนยันว่า จะร่วมทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้จากโครงการ Samart Skills ไปสู่ลูกค้า พนักงาน และคนไทย เพื่อเป็นอีกพลังในการสร้างทักษะดิจิทัลให้สัมฤทธิ์ผลอย่างดีที่สุด”

ดร. ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรู มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Google ประเทศไทย ในโครงการ “Samart Skills” ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของกลุ่มทรูในการนำศักยภาพเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลครบวงจรสนับสนุนด้านการศึกษาของไทย เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้สมัครรับทุนการศึกษาของโครงการ “Samart Skills” ผ่าน ทรู ดิจิทัล อคาเดมี จะได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม สัมมนา และโอกาสฝึกงานจริง รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มเติมจากกลุ่มทรู ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้คนไทยมีความรู้ความสามารถและมีทักษะดิจิทัลทัดเทียมกับนานาประเทศ และเป็นพลังสำคัญในขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุค 4.0”

 

ติดตามรายละเอียดโครงการ  https://grow.google/intl/ALL_th/samart-skills/

 

X

Right Click

No right click