November 22, 2024

Coursera Inc. (NYSE: COUR) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นนำ ประกาศเปิดตัวเส้นทางการศึกษาระดับปริญญาแบบใหม่, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 8 หลักสูตร, ใบรับรองความรู้ด้าน GenAI 20 หลักสูตร รวมไปถึงความเชี่ยวชาญพิเศษและเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในงาน Coursera Connect ประจำปี 2024 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2568 การพัฒนาในครั้งนี้สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับ AI ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของประเทศไทย โดยส่งเสริม 'การศึกษา 6.0' ผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ บูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงและถ่ายทอดทักษะที่สำคัญ เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับความต้องการของยุคดิจิทัล

Coursera ยังได้ต้อนรับพันธมิตรมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 รายอย่างเป็นทางการ อาทิ Saïd Business School - มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ IMD Business School รวมไปถึงบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรม 5 บริษัท ได้แก่ Airbus Beyond, Amazon และ Xbox การร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนในไทยสามารถเข้าถึงเนื้อหาคุณภาพสูงที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

 

คุณรากาฟ กุปตา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Coursera กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มุ่งเน้นไปที่การสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลและปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต Coursera มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้โดยมอบทักษะที่จำเป็น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ประกาศนียบัตรและใบรับรองที่เป็นที่ยอมรับระดับโลกซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงให้แก่ผู้เรียนและสถาบันต่าง ๆ โดยเป้าหมายของเราคือการส่งเสริมบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อร่วมพัฒนาและกำหนดทิศทางอนาคตด้านดิจิทัลของประเทศไทย”

โดยประกาศใหม่จาก Coursera ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย:

● เส้นทางการเรียนปริญญาหลักสูตรใหม่จาก University of London (UoL): โปรแกรม International Foundation Programme (IFP) ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะช่วยมอบทักษะพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และการเขียนโปรแกรม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีประสบการณ์การศึกษาหรือการทำงานมาก่อนหรือไม่ก็ตาม และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีแบบออนไลน์ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of London ได้โดยตรง

● ประกาศนียบัตรวิชาชีพใหม่ 8 หลักสูตร ที่จะช่วยให้ผู้เรียนชาวไทยเรียนรู้หรือต่อยอดในสายอาชีพที่มีความต้องการสูง: ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักวิเคราะห์ค่าตอบแทนและสวัสดิการ จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน Payroll จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับจูเนียร์ จาก Amazon ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านวิศวกรรมข้อมูล จาก DeepLearning.AI และ AWS ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านการออกแบบเกม จาก Epic Games ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ iOS และ Android จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับ Program Manager จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร จาก Microsoft ● ใบรับรองวิชาชีพระดับเริ่มต้น 6 หลักสูตรจาก Google ได้แก่ Google Cybersecurity, Google Data Analytics, Google Digital Marketing & E-commerce, Google IT Support, Google Project Management และ Google UX Design โดยหลักสูตรทั้งหมดได้รับการพัฒนาด้วยการอัปเดตจาก GenAI พร้อมมอบการฝึกอบรมด้าน AI ที่สามารถนำไปใช้ได้ได้จริงจากผู้เชี่ยวชาญของ Google

● หลักสูตรความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบใหม่จาก IBM และ Microsoft มอบทักษะ GenAI ที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับบทบาทของแต่ละอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำ AI มาใช้ในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้:

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ IBM ครอบคลุมอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ BI, ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักวิทยาศาสตร์ทางข้อมูล, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะเน้นที่การใช้ศักยภาพของ GenAI ในหน้าที่งานต่าง ๆ

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน Copilot ของ Microsoft ที่จะสอนการผสมผสาน AI ให้เข้ากับงานประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น Microsoft Copilot สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล, การตลาด, การขาย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ● การพัฒนาของ Coursera Coach ที่ใช้ AI เพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นส่วนตัวและโต้ตอบได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ดียิ่งกว่าเดิม:

○ ระหว่างนักเรียนและครูในประเทศไทย โดย Coach จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน โดยให้คำแนะนำส่วนบุคคล คำตอบ และสรุปวิดีโอบรรยายเป็นภาษาท้องถิ่น

○ Coach for career guidance: ภายในสิ้นปี Coach จะช่วยให้ผู้เรียนสำรวจเส้นทางอาชีพและระบุทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้ไปยังเส้นทางการเรียนรู้หรืออาชีพอื่นได้ พร้อมทั้งแนะนำเส้นทางการเรียนรู้ที่ปรับแต่งตามประสบการณ์และเป้าหมายของผู้เรียน

○ Coach for interactive instruction: ปัจจุบันผู้สอนสามารถใช้ Coach เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่สมจริง โดยเริ่มจากบทสนทนาแบบ Socratic หรือการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามด้วยการโต้ตอบแบบข้อความ ผู้สอนสามารถระบุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ สไตล์การสอน และเกณฑ์การประเมินได้ ผ่านการใช้แนวทางการสอนและเนื้อหาหลักสูตรที่ดีที่สุดของ Coursera โดยมี Google Gemini เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ตัวแรกที่ขับเคลื่อนฟีเจอร์นี้\

● เพิ่มหลักสูตรเนื้อหาภาษาไทยถึงสองเท่า: ปัจจุบันมีหลักสูตรที่แปลเป็นภาษาไทยกว่า 4,700 หลักสูตร สำหรับผู้เรียนรายบุคคลและภายในองค์กร โดยจำนวนหลักสูตรภาษาไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,000 หลักสูตรเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

● ความร่วมมือใหม่ครั้งใหม่กับ PWC ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ และเซ็นทรัล รีเทล

คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนา “ทักษะการเรียนรู้” สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับทักษะของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ผ่านแพลตฟอร์ม Coursera ตั้งแต่ปี 2561 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Coursera เพื่อสร้างหลักสูตรภาษาไทย ขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างไกลออกไปนอกแพลตฟอร์ม และยกระดับการศึกษาในประเทศไทยผ่านโครงการ CSR ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียนกว่า 4,000 คน และเร็วๆ นี้ SCB Academy จะเปิดตัวโปรแกรมการเรียนรู้แบบครอบคลุมทั่วประเทศ โดยผสมผสานเวิร์กช็อปแบบโต้ตอบและจัดกิจกรรมในสถานที่จริงตามหลักสูตร “Learning How to Learn” ของ Coursera ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมทักษะที่จำเป็นให้กับผู้สอน นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีแผนที่จะร่วมมือกับดร. บาร์บารา โอ๊คลีย์ เพื่อแปลหลักสูตร “Accelerate Your Learning with ChatGPT” เป็นภาษาไทยภายในปี 2568 โดยใช้ประโยชน์จาก AI เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทย

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความรู้และทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  ในมิติของการศึกษา การเรียนรู้การปรับตัวจึงกลายเป็นทักษะจำเป็น ถือเป็นยุคที่ท้าทาย แต่ก็สร้างโอกาสให้กับคนที่พร้อมปรับตัว และปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเทคโนโลยีมีความสำคัญ ตลาดแรงงานมีความต้องการบัณฑิตวิศวกรรมที่มีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ปรับหลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ, หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์,  หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตยานยนต์, หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ, หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  และหลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (โครงการจัดตั้ง)

ชูจุดแข็งรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน Work-based Education (WBE) หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มุ่งเน้นการผลิตวิศวกรผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานได้จริงและตอบโจทย์เทคโนโลยี อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งด้าน IT, AI, ยานยนต์, หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผ่านการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เรียนจบพร้อมทำงานอย่างมืออาชีพทันที (Ready to Work) ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ทั้ง First S-Curve และ New S-Curve  ขยายโอกาสในการสร้างรายได้และการจ้างงานใหม่ๆ เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)

วิศวกรรมฯ ปัญญาภิวัฒน์ หลักสูตรเจ๋ง ทุนแจ๋ว

ไทเกอร์- วสลักษณ์ พงโศธร  บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปัจจุบันก้าวสู่ วิศวกรเทคนิค บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น เล่าจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในสายวิชาชีพนี้ว่า  ช่วงใกล้จบม.6 ทีมแนะแนว PIM ได้เข้าไปให้ข้อมูลที่โรงเรียนสายปัญญา รังสิต จึงเกิดความสนใจในสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ เพราะพ่อแม่ทำงานด้านยานยนต์และสนใจรูปแบบการสอนของที่นี่ ซึ่งตนเองก็สนใจเรื่องเครื่องยนต์และมองเห็นโอกาสจากรูปแบบการเรียนคือฝึกงานไปด้วย เรียนไปด้วย หรือ Work-based Education  มีเครือข่ายภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ จึงเกิดความตั้งใจที่จะเรียนที่นี่ พร้อมตั้งเป้าหมายการไปฝึกงานและทำงานที่ต่างประเทศ ที่สำคัญคือได้รับทุนการศึกษา 50%   

สำหรับการเรียนตลอด 4 ปีของสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ จะได้เรียนรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม 3 ศาสตร์สำคัญๆ “วิศวกรรมเครื่องกล + วิศวกรรมยานยนต์ + วิศวกรรมการผลิต”  โดย 1.วิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิต และการดูแลรักษาเครื่องจักร รวมถึงการควบคุมและการจัดการการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  2.วิศวกรรมยานยนต์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา และการผลิตยานพาหนะทั้งรถยนต์ รถบัส รถไฟ รถจักรยานยนต์ และยานอวกาศ เฉพาะเรื่องของระบบการเคลื่อนที่และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง และ 3.วิศวกรรมการผลิต เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการจัดการกระบวนการผลิต เมื่อมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว จึงต่อยอดไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ โดยมีการเรียนรู้ในเรื่องของอีโค่คาร์ รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่  นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยานยนต์ ด้วยการนำหุ่นยนต์ ระบบออโตเมชั่น และระบบการผลิตอัจฉริยะ มาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

เรียนแล้วเวิร์ค ทำงานแล้วเวิร์ค

ไทเกอร์เล่าต่อว่า ปี 1 ได้ฝึกงานที่ 7-Eleven เป็นแคชเชียร์ เติมของ สั่งของ จัดสต๊อก สิ่งที่ได้คือฝึกความอดทน มนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการเข้าใจงานบริการ  ปี 2 ฝึกงานที่ บจก.เค้งหงษ์ทอง เป็นการฝึกงานซ่อมบำรุงรถ Mercedes-Benz ทำให้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวิชาที่เรียนมาใช้ลงมือปฏิบัติจริง ปี 3 – ปี 4 มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC ศึกษาเกี่ยวกับถ่านกัมมันตภาพรังสีที่กักเก็บประจุไฟฟ้าในระบบรถยนต์ 3 เดือน แล้วกลับมาทำโปรเจ็คต์ ก่อนจะเดินทางไปฝึกงานที่คิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น 4 เดือน ที่บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd.ในตำแหน่งวิศวกรฝ่ายผลิต เพราะสนใจเรื่องการผลิต ระบบไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติในโรงงาน ที่เลือกโรงงานนี้เพราะทำเกี่ยวกับหุ่นยนต์และมีรุ่นพี่ไปทำงานที่นี่ อีกทั้งบริษัทมีแพลนมาเปิดสาขาที่เมืองไทย ก่อนฝึกงานจบบริษัทก็รับเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรเทคนิค ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยไทเกอร์วางแผนทำงานที่ญี่ปุ่นยาว 5 ปี แล้วกลับเมืองไทยตามที่บริษัทแพลนไว้ ถึงตอนนั้นอาจจะทำธุรกิจของครอบครัวควบคู่ไปด้วย

“มาถึงวันนี้ผมคิดว่าเกินเป้าหมายครับ ตั้งแต่เข้ามาเรียนที่ PIM ก็ได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองผ่านกิจกรรม ผ่านการฝึกงาน เมื่อได้งานที่ ICS Sakabe ประเทศญี่ปุ่น ทั้งครอบครัวก็ดีใจกันมากๆ ขอบคุณซีพี ออลล์ ที่เข้ามาสร้างโอกาสผ่านการศึกษา สนับสนุนความฝันเยาวชน ผมเชื่อว่าบัณฑิตที่จบจาก PIM เป็นคนเก่ง มีความสามารถ พร้อมทำงานได้ทันที” ไทเกอร์บอกเล่าอย่างภูมิใจ

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ให้ความสำคัญกับนโยบาย “สร้างคน” โดยส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชน เพื่อ  “สร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา”  ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ การสร้างคนเป็นเรื่องหนึ่งที่ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอีกหลากหลายช่องทาง ในแต่ละปีจึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงจับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2568 ซีพี ออลล์ ตั้งเป้ามอบทุนการศึกษามากกว่า 37,000 ทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,181 ล้านบาทเพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประกาศคะแนน PISA ของปี 2022 ซึ่งเป็นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนในแต่ละประเทศตามมาตรฐานสากล ผลคะแนน PISA ของไทยในปีล่าสุดเป็นที่น่าตกใจเพราะคะแนนของไทยตกต่ำลงในทุกหมวด ที่สำคัญไปกว่านั้นคือเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2012 จำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนในระดับต่ำกว่าคะแนนพื้นฐานที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบเพิ่มขึ้นถึง 19% ในหมวดคณิตศาสตร์ 32% ในหมวดการอ่าน และ 19% ในหมวดวิทยาศาสตร์ แม้ว่าคะแนน PISA อาจจะไม่ได้เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพการศึกษาได้ดีที่สุดหรือได้ในทุกมิติ แต่ก็นับว่าเป็นวิธีการวัดผลการเรียนการสอนในเชิงเปรียบเทียบได้ดีระดับหนึ่งตามมาตรฐานสากล ทั้งในมิติของการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ และการเปรียบเทียบเพื่อแสดงพัฒนาการของประเทศหนึ่ง ๆ ซึ่งผลการทดสอบคุณภาพการศึกษาของไทยในช่วงที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าไทย “ใช้เงินมากขึ้นกับการศึกษา จำนวนนักเรียนน้อยลง แต่คุณภาพยังพัฒนาไม่ถึงที่สุด” KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ชวนดู 10 เหตุผลว่าทำไมคุณภาพการศึกษาไทยจึงลดลง รากฐานของปัญหาอยู่ที่ไหน และภาครัฐควรจะดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ?

1) การศึกษาไทยเน้นปริมาณ : งบประมาณด้านการศึกษาของไทยไม่ใช่ปัญหา โดยมีงบอุดหนุนต่อนักเรียน 1 คนที่ระดับประมาณ 20% ของรายได้เฉลี่ยประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงประเทศพัฒนาแล้ว แต่มักเป็นการใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ไม่ได้ใช้งานจริง เช่น อุปกรณ์ช่วยการสอนที่ครูอาจไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หรือการเพิ่มเวลาเรียนให้กับเด็กโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพการสอนควบคู่กัน

2) การจัดสรรงบประมาณที่ไม่ตรงจุด : ขาดการวิจัยและพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพบุคลากร วิธีการจัดสรรงบประมาณในปัจจุบันอาจซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ คือ จัดสรรงบประมาณตามจำนวนหัว โดยนำงบทั้งหมดหารด้วยจำนวนนักเรียน แล้วให้งบแก่โรงเรียนตามจำนวนนักเรียนทั้งหมด ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กเสียเปรียบและได้รับเงินอุดหนุนไม่เพียงพอ

3) ครูมีจำนวนไม่เพียงพอ : ครูไทยขาดแคลนกว่า 30,000 คนในโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะการจัดสรรครูที่ขาดประสิทธิภาพ โดยการกำหนดจำนวนครูตามขนาดโรงเรียนทำให้ครูในโรงเรียนเล็กมีภาระหนักเกินความจำเป็น ครู 1 คนต้องรับภาระสอนนักเรียนมากกว่า 1 ห้องเรียนและอาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนครูที่รุนแรงและทำให้คุณภาพโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลตกต่ำลงเรื่อย ๆ

4) ความเหลื่อมล้ำยังสูง : โรงเรียนต่างจังหวัดคุณภาพต่ำ พบว่าคะแนน ONET กรุงเทพฯ สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศประมาณ 23% ในหมวดคณิตศาสตร์ และ 40% ในหมวดภาษาอังกฤษ โรงเรียนใหญ่ในเมืองคุณภาพสูงกว่ามาก ในขณะที่ผลคะแนน PISA ชี้ว่ามีนักเรียนจำนวนมากในไทยที่ไม่ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ สะท้อนว่านักเรียนสัดส่วนใหญ่ในไทยยังมีคุณภาพที่ต่ำกว่าเกณฑ์และเด็กเก่งส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเมือง

5) คุณภาพครูไม่พร้อม : จากตัวเลขการสำรวจความเพียงพอของบุคลากรในรายงานของ PISA ไทยขาดแคลนบุคลากรที่ผ่านมาตรฐานทั้งในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา โดยจากผลสำรวจมีสัดส่วน

ผู้อำนวยการโรงเรียนมากเกิน 40% ที่ตอบคำถามว่าขาดแคลนครูที่ได้มาตรฐาน งานศึกษาของ OECD ยังชี้ให้เห็นว่าคุณภาพครูไทยเป็นปัญหามาจากวิธีการคัดเลือก หลักสูตร และการประเมินผลของครูไทยที่ยังไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ส่งผลให้ครูไทยอาจขาดความเข้าใจหลักสูตรและสอนตามเป้าหมายของหลักสูตรได้ไม่เต็มที่

6) เงินเดือนครูไม่พอ แรงจูงใจไม่ตรงเป้า : ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศเริ่มต้นจากการกำหนดให้เงินเดือนครูอยู่ในระดับที่แข่งขันได้กับวิชาชีพอื่น ในกรณีของไทยเงินเดือนครูยังไม่สามารถดึงดูดผู้มีศักยภาพระดับสูงที่สุดมาทำสายอาชีพนี้ได้มากนักแม้ว่ารายได้ครูจะอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศแล้วก็ตาม ปัญหาที่สำคัญกว่านั้น คือปัญหาด้านแรงจูงใจ เนื่องจากในการพิจารณาขึ้นเงินเดือน น้ำหนักกว่า 70% คือจริยธรรมและผลการปฏิบัติงานมากกว่าทักษะการสอน ทำให้ครูไทยใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่องานนอกห้องเรียน เช่น การอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ หรือการทำรายงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ มากกว่าการพัฒนาคุณภาพการสอน

7) ครูไทยชีวิตแย่ เป็นหนี้สูง : หนี้ของครูเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านบาท เทียบกับหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยที่ 5 แสนล้านบาทเท่านั้น สะท้อนว่าคุณภาพชีวิตครูไทยค่อนข้างอยู่ภายใต้ข้อจำกัดอย่างน้อยในทางการเงิน เมื่อครูอยู่ภายใต้ภาระหรือข้อกังวลของปัญหาในชีวิตส่วนตัวก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอนในห้องเรียน

8) ปัญหาของการประเมินผลการศึกษา : แบบทดสอบที่ใช้วัดมาตรฐานการศึกษาของไทยมีข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเรื่องคุณภาพของแบบทดสอบในหลายประเด็น 1) ข้อสอบ ONET ไม่ส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ถูกตั้งคำถามว่าหลายข้อไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน 2) ข้อสอบวัดความถนัดเฉพาะ เช่น PAT ที่ใช้สำหรับการเข้ามหาวิทยาลัยมีปัญหาในเรื่องความยาก การไม่ยึดโยงกับหลักสูตร และมาตรฐานที่ไม่เท่ากันในข้อสอบแต่ละปี ทำให้การสอบวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 50 คะแนนจาก 300 คะแนน ผลักให้นักเรียนต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชาซึ่งซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในไทย

9) โครงสร้างหลักสูตรและการจัดสรรเวลาเรียน หลักสูตรของไทยเน้นการให้เด็กเรียนเยอะแต่บังคับการศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์น้อย มีลักษณะเน้นสอนเนื้อหาให้ครบถ้วนเป็นหลัก เน้นการประเมินผลจากส่วนกลาง และขาดการสอนทักษะใหม่ ๆ เช่น ความรู้ทางการเงิน ทักษะความรู้ด้านดิจิทัล และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเรียนรู้ เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นยังส่งผลไปถึงการสอนที่ต้องการให้ครบตามเนื้อหาที่เยอะ ทำให้มีการเน้นการท่องจำไม่กระตุ้นให้เห็นความสำคัญและเกิดการคิดวิเคราะห์

10) การศึกษาแบบเก่า ผลิตคนไม่ตรงทักษะที่ต้องการ : โครงสร้างการศึกษาไทยยังเผชิญกับปัญหาผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการของตลาดในหลายมิติ 1) ระดับการศึกษา : คนจบปริญญาตรีทำงานที่ใช้ทักษะต่ำกว่าความสามารถมากถึงประมาณ 34% 2) อุตสาหกรรม : แรงงานในกลุ่มสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญ กฎหมาย ขาดแคลน ในขณะที่ภาคเกษตร ค้าปลีก มีมากเกินไป ซึ่งคนไทยมีความนิยมเรียนสาขาสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ ทำให้ในปัจจุบันคนจบการศึกษาในกลุ่มบริหารธุรกิจมีจำนวนเกินกว่าความต้องการไปถึงประมาณ 35% ของแรงงานจบใหม่

 

5 ปัจจัยโลกเปลี่ยน หากไม่เร่งแก้การศึกษาเศรษฐกิจยิ่งทรุดหนัก

โครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปในอนาคตจะทำให้แรงงานได้รับแรงกดดันมากขึ้น เร่งความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา ในสถานการณ์ปัจจุบันแม้ไทยจะมีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็น Thailand 4.0 แต่กลับมีจำนวนนักศึกษาในกลุ่ม STEM ที่ต่ำ ขาดการสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างจริงจัง KKP Research ประเมินว่าแนวโน้มสำคัญอย่างน้อย 5 ข้อที่จะยิ่งสร้างความท้าทายต่อระบบการศึกษาไทยและแรงงานไทยในปัจจุบัน คือ 1) การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีแบบใหม่จะทำให้แรงงานไทยมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น เช่น ขาดทักษะด้านการเขียนโปรแกรม 2) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี Automation ที่จะมาทดแทนงานที่ทำซ้ำ ๆ และงานที่ไม่ต้องใช้การคิดวิเคราะหฺ์ ทำให้แรงงานไทยส่วนหนึ่งไม่สามารถปรับตัวเพื่อหางานใหม่ได้ 3) ไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุเร็วที่สุดในอาเซียนทำให้ไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต 4) Deglobalization กับเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคต่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบจากการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ 5) ประเทศคู่แข่งเริ่มมีการพัฒนาศักยภาพแรงงานได้เหนือกว่าไทย

ไทยจะทำอย่างไรต่อไป ?

งานศึกษาของ PISA ชี้ให้เห็นหลายปัจจัยที่มีความสำคัญต่อผลการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งไม่สามารถสำเร็จได้จากเฉพาะการใช้จ่ายด้านการศึกษาที่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาในเด็กเล็กซึ่งจะส่งผลบวกต่อความสามารถในการเรียนรู้ในระยะยาวมากกว่า ความทั่วถึงในการสอนของครูที่ควรจะสะท้อนออกมาในแง่ของผลการเรียนของนักเรียนในห้องเรียนเดียวกันที่ไม่ควรแตกต่างกันมาก จำนวนครูที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต้องมีจำนวนมากเพียงพอ จำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนควรอยู่ในระดับต่ำเพื่อให้เกิดดูแลเอาใจใส่ได้อย่างทั่วถึง และความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาต้องไม่แตกต่างกันมากระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนห่างไกล

KKP Research ประเมินว่าไทยยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริมการศึกษาอย่างจริงจังและต้องเร่งดำเนินการ การสนับสนุนการศึกษาไม่สามารถบรรลุได้จากการเพิ่มงบประมาณเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีการใช้จ่ายที่ตรงจุด ควบคู่ไปกับการพัฒนาเชิงคุณภาพเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน คือ 1) แก้ไขปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กเสียเปรียบ เพิ่มประสิทธิภาพของโรงเรียนขนาดเล็กผ่านการกระจายอำนาจสู่ระดับท้องถิ่น และพิจารณาควบรวมโรงเรียนหากจำเป็น 2) ออกแบบกลไกให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการสอนเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด การประเมินผลในระดับอาจารย์และผู้บริหารการศึกษาต้องยึดโยงกับผลลัพธ์ด้านการศึกษาของนักเรียน 3) ปรับปรุงระบบคัดเลือกและเตรียมการสอนบุคลากรที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ 4) ปรับปรุงหลักสูตรการสอนให้มีความทันสมัย และระบุถึงวิธีการและเป้าหมายของหลักสูตรอย่างชัดเจน 5) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

 

รายละเอียดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการบุกเบิกโรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาด (Riyadh School of Tourism and Hospitality) ได้รับการเปิดเผยภายในงานวันท่องเที่ยวโลก (WTD) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด โดยมีการประกาศก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้เป็นครั้งแรกในปี 2564 ซึ่งร่วมก่อตั้งโดยกระทรวงการท่องเที่ยวของซาอุดีอาระเบียและโครงการกิดดียะห์ (Qiddiya) ภายใต้ความร่วมมือกับองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO)

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดได้รับการคาดหวังให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งแรกของโลกที่จะรวมการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวในทุก ๆ ด้านที่จำเป็นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบรรดาผู้นำด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมรุ่นต่อไปจากทั่วโลก และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้มีทักษะด้านการท่องเที่ยว

พัฒนาการใหม่ ๆ นี้ได้รับการประกาศในระหว่างการแถลงข่าวซึ่งจัดโดย ฯพณฯ อาเหม็ด อัล คาตีบ (Ahmed Al-Khateeb) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของซาอุดีอาระเบีย และคุณซูรับ โปโลลิคาชวิลี (Zurab Pololikashvili) เลขาธิการ UNWTO นอกรอบกิจกรรมงานวันท่องเที่ยวโลก โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดจะจัดตั้งขึ้นที่กิดดียะห์ ศูนย์กลางโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านความบันเทิงของซาอุดีอาระเบีย โดยจะมีที่ตั้งชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยปรินซ์เซสนูเราะห์ (Princess Nourah University) โดยโรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดตอกย้ำจุดยืนของซาอุดีอาระเบียในฐานะผู้นำในการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก และเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้มีทักษะทั่วโลกเพื่อเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคต โรงเรียนจะเปิดรับผู้เรียนตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 และตั้งเป้ารับผู้เรียนให้ได้มากกว่า 25,000 คนต่อปีภายในปี 2573

ในปัจจุบัน มีสถาบันการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการเรียนการสอนทั้งในสายวิชาการและสายอาชีพที่ครอบคลุมทุกด้านของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในสถาบันเดียว ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงจะเปิดหลักสูตรบุกเบิกแบบผสมทั้งสายวิชาการและสายอาชีพ และจะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้รวบรวมคนระดับหัวกะทิ เทคโนโลยีล้ำสมัย สิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ล่าสุด และคณาจารย์ชั้นนำเพื่อสร้างโปรแกรมแบบองค์รวมที่ช่วยให้ผู้เรียนพร้อมประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว

คณะกรรมการบริหารของโรงเรียนจะประกอบด้วยผู้นำที่มาจากสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ไปจนถึงสาขาการลงทุนและเทคโนโลยีการศึกษา (Ed-Tech) นอกจาก ฯพณฯ อาเหม็ด อัล คาตีบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งซาอุดีอาระเบียแล้ว กรรมการท่านอื่นยังรวมถึงคุณอับดุลลอฮ์ อัลดาวูด (Abdullah AlDawood) กรรมการผู้จัดการกิดดียะห์, คุณซูรับ โปโลลิคาชวิลี เลขาธิการ UNWTO, คุณเซบาสเตียง บาแซง (Sebastian Bazin) ซีอีโอบริษัทแอคคอร์ โฮเทลส์ (Accor Hotels), คุณเจอร์รี อินเซอริลโล (Jerry Inzerillo) ซีอีโอเครือหน่วยงานกำกับดูแลด้านการพัฒนาอัดดิรอียะฮ์เกต (Ad Diriyah Gate Development Authority), คุณมอร์แกน พาร์คเกอร์ (Morgan Parker) และคุณไค เรอมเมลต์ (Kai Roemmelt) ซีอีโอของยูดาซิตี (Udacity) และจะมีการประกาศรายชื่อกรรมการเพิ่มเติมให้ทราบต่อไป

ฯพณฯ อาเหม็ด อัล คาตีบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า "ความสำเร็จของภาคการท่องเที่ยวนั้นขยายไปไกลกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั่วโลกในการจัดหาทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ให้กับผู้นำด้านการท่องเที่ยวในอนาคต"

"โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดคือของขวัญจากซาอุดีอาระเบียต่อโลก ด้วยหลักสูตรบุกเบิกที่จะนำเสนอหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่ครอบคลุมทุกด้านของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม โรงเรียนแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของซาอุฯ ในการมอบการศึกษาที่ก้าวหน้าและครอบคลุมซึ่งเสริมศักยภาพให้กับบุคคลทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่เราลงทุนปลุกปั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวรุ่นใหม่ เราไม่เพียงแต่รักษาอนาคตของอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมมรดกแห่งความเป็นเลิศที่จะขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรือง กระตุ้นการเติบโตของประชาชนแต่ละคน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในปีต่อ ๆ ไปอีกด้วย"

นอกจากนี้ คุณซูรับ โปโลลิคาชวิลี เลขาธิการ UNWTO กล่าวเสริมว่า "พัฒนาการล่าสุดของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดถือเป็นก้าวสำคัญในการแสวงหาภาคการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเข้มแข็งมากขึ้น การศึกษาคือรากฐานของความก้าวหน้า และการลงทุนในทักษะและความรู้ของผู้นำการท่องเที่ยวในอนาคตถือเป็นการเสริมสร้างรากฐานการเติบโตและการพัฒนาของอุตสาหกรรม"

ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนสร้าง GDP ของปี 2566 เป็นมูลค่าถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์นั้น มีการคาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวจะจ้างงาน 430 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2576 โดยเกือบ 12% ของประชากรทำงานในภาคธุรกิจนี้ ซาอุดีอาระเบียมีภาคการเดินทางและการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในตะวันออกกลางตามข้อมูลของสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (WTTC) และได้ฝึกอบรมพลเมือง 80,000 คนภายในปี 2565 สำหรับภาคดังกล่าว และมุ่งมั่นที่จะลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในด้านการศึกษาและการฝึกอบรม

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของซาอุฯ ในการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเป็นเจ้าภาพงาน WTD 2023 ภายใต้ธีม "การท่องเที่ยวและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" (Tourism and Green Investments) ผู้เข้าร่วมงานจะสำรวจบทบาทสำคัญของการท่องเที่ยวและความร่วมมือระดับโลกในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรือง การเชื่อมโยงวัฒนธรรม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

“เอ็ดดูพลอยส์” (EduPLOYS) ผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อเสริมทักษะและความรู้ อย่างครบ วงจร ชู “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์, “ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย สินค้าบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาเรือธง ตอบรับดีมานด์กำลังซื้อตลาดของเล่นเสริมพัฒนาการที่ยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทยคาดการณ์ปี 2566 ตลาดจะโตกว่า 10 % มูลค่าตลาดรวม 4,000-5,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ EduPLOYS กับกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย ผ่านกิจกรรมการแข่งขัน “เอ็ดดูพลอยส์ ครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ ชิงแชมป์ประเทศไทย” ที่มีการแข่งขันตลอดทั้งปี พร้อมผลักดันยกระดับ “EdSport เกมกีฬาทางปัญญา” ให้กลายเป็นกีฬาสากลระดับชาติ

 

นางสาวลักษณ์สิดี พลอยแสงงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ดดูพลอยส์ เกมแอนด์ทอย จำกัด หรือ EduPLOYS เปิดเผยว่า EduPLOYS เดินหน้าสร้างการรับรู้และทำการตลาดผลิตภัณฑ์เรือธงในกลุ่มสินค้าบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ได้แก่ “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษา อังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย อย่างต่อเนื่อง ตอบรับกระแสความต้องการของตลาดจากการเปิดภาคการศึกษาใหม่ และจากกระแสการจับจ่ายของกลุ่มผู้ปกครองที่ต้องการรัดเข็มขัด โดยมองหาของเล่นที่คุ้มค่า ในราคาที่จับต้องได้ รวมถึงเป็นของเล่นที่เล่นได้สนุก ทั้งช่วยเสริมทักษะความรู้ เป็นของเล่นที่สามารถเล่นได้หลากหลายวัย รองรับสมาชิกในครอบครัวให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้

สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์เด็กไทย ได้คาดการณ์ว่าปี 2566 ตลาดของเล่นเด็กจะเติบโตกว่า 10 % มูลค่าตลาดรวม 4,000-5,000 ล้านบาท และมองว่ากลุ่มผู้ปกครองยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลลูกและนิยมซื้อของเล่นเด็กที่เสริมพัฒนาการ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสของ “เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย ที่จะสามารถเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ปกครอง และทุกคนที่กำลังมองหาของเล่นที่ตอบโจทย์ ทั้งในด้านความสนุกสนาน เสริมทักษะความรู้ และราคาเข้าถึงได้ทุกคน

“EduPLOYS เดินกลยุทธ์แผนการตลาดในระยะยาว โดยหนึ่งพันธกิจของบริษัท ฯ นั่นคือการผลักดันยกระดับ “EdSport เกมกีฬาทางปัญญา” ให้กลายเป็นกีฬาสากลระดับชาติ ด้วยการจัดกิจกรรมการแข่งขัน “เอ็ดดูพลอยส์

ครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ ชิงแชมป์ประเทศไทย” ที่มีการแข่งขันตลอดทั้งปี โดยจัดทัวร์นาเมนท์การแข่งขันตั้งแต่ในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้และปลุกกระแสความนิยมให้กับสาธารณะชนว่าการเล่นแข่ง เอแม็ท” (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ,“ครอสเวิร์ดเกม” เกมต่อศัพท์ภาษา อังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย ไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลายในยามว่าง แต่เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนทักษะ บ่มเพาะความชำนาญในการคิดวิเคราะห์วางแผน และคอยเก็บเกี่ยวประสบการณ์จนมีความเชี่ยวชาญ เหมือนกับกีฬาชนิดอื่นเช่นเดียวกัน และเยาวชนหรือผู้เล่นที่ชนะและเชี่ยวชาญก็เปรียบเสมือนนักกีฬา โดยเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ EduPLOYS กับกลุ่มผู้บริโภคทุกวัย และเกิดความคุ้นเคยใกล้ชิดระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้เล่นเกมกระดานตั้งแต่เด็ก จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังสามารถเล่นได้” นางสาวลักษณ์สิดี กล่าวสรุป

 

สำหรับสินค้า เอแม็ท (A-MATH) เกมต่อเลขคำนวณคณิตศาสตร์ ถือเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาที่ประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย ประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวิธีการเล่น ด้วยการผสมตัวเลขให้เกิดเป็นสมการคณิตศาสตร์ วางเชื่อมกับสมการที่อยู่บนกระดานเพื่อสร้างสมการใหม่ ก็จะได้รับคะแนน เมื่อจบเกมสรุปคะแนนที่ได้ ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 รุ่นได้แก่ รุ่นอนุบาล, รุ่นประถม และรุ่นทั่วไป โดยวิธีการเล่นจะโดนออกแบบ มาให้เหมาะสมแก่พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

ครอสเวิร์ดเกม เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ “คำคม” เกมต่อศัพท์ภาษาไทย เป็นเกมกระดานที่ช่วยเสริมทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาไทย, ความจำ, ความช่างสังเกต, การคิดวิเคราะห์และการวางแผน ซึ่งมีวิธีการเล่นโดยผสมตัวอักษรให้เกิดเป็นคําศัพท์ วางเชื่อมกับคําศัพท์ที่อยู่บนกระดาน เพื่อสร้างคําศัพท์ใหม่ก็จะได้คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 รุ่นได้แก่ รุ่นอนุบาล รุ่นประถม และรุ่นทั่วไป เช่นกัน

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click