สถาบันการบิน (DAA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พัฒนาหลักสูตรด้านการบิน ‘ภาษาอังกฤษ-พรีเมียม เซอร์วิส-Human Factor’ and CRM ยกระดับทักษะคนการบิน เจาะลึกวิธีมัดใจลูกค้ากลุ่ม VIP VVIP กำลังซื้อสูง นำร่องยกทีมผู้เชี่ยวชาญ รุกตลาดสายการบินต่างประเทศครั้งแรก LANEXANG AIRWAYS INTERNATIONAL สปป.ลาว เตรียมลุยต่ออุตสาหกรรมค้าปลีก
นางสาวสุนันทา พาสุนันท์ ผู้จัดการแผนกลยุทธ์และการตลาด สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU Aviation Academy : DAA) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการบินในไทย และภูมิภาคเอเชียขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น และการเปิดเส้นทางบินใหม่ โดยจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นช่วงตุลาคม 2566-มีนาคม 2567 มากเป็น 367,032 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 16.86% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งเป็น เที่ยวบินระหว่างประเทศ 203,731 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 163,301 เที่ยวบิน ขณะที่จำนวนผู้โดยสารรวม 61.22 ล้านคน เพิ่มขึ้น 23.78% แบ่งเป็น ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 36.82 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 24.40 ล้านคน (ข้อมูลจาก บมจ. ท่าอากาศยานไทย) ส่งผลให้แผนการพัฒนาบุคลากรของแต่ละสายการบินต่อจากนี้จะดำเนินไปอย่างเข้มข้นเพื่อรับมือกับธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
“ทางสถาบันฯ มองเห็นถึงโอกาสด้านการพัฒนาบุคลากรด้านงานบริการของอุตสาหกรรมการบิน จึงนำศักยภาพของทีมผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพัฒนาหลักสูตรอบรม เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการยกระดับทักษะบุคลากรที่มีอยู่แล้ว และการคัดสรรบุคลากรใหม่ที่มีความสามารถไปร่วมงานได้อย่างตรงความต้องการมากที่สุด” นางสาวสุนันทา กล่าว
เปิดหลักสูตรเข้มข้น DAA
นางสาวสุนันทา กล่าวว่า การบริการที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี ทาง DAA ได้พัฒนาหลักสูตร English for Aviation personnel โดย อาจารย์ศศิธร นวมมณีรัตน์ ประสบการณ์พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินเอมิเรตส์ แอร์ไลน์ (Emirates airline) มากกว่า 7 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าหลักสูตรธุรกิจการบิน วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (CADT DPU) มีเป้าหมายของการอบรมเป็นการพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษในบริบทการบิน ศัพท์เฉพาะทางการบิน รวมถึงทักษะการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความแม่นยำและชัดเจน โดยผู้ร่วมอบรมมาจากแต่ละส่วนงาน ได้แก่ นักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน รวมไปถึง ฝ่ายประกันคุณภาพ(Quality Assurance), ฝ่ายการเงิน (Finance), ฝ่ายบุคคล (Human Resource) และ ฝ่ายการตลาด (Marketing)
อีกหลักสูตรก็คือ HUMAN FACTORS and Crew Resource Management (CRM) โดย นางสาวสุนันทา พาสุนันท์ ประสบการณ์พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines) และสายการบิน ไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion air) มากกว่า 14 ปี โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการ DAA โดยหลักสูตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดจากกรมการบินพลเรือนสากล ( International Civil Aviation Organization : ICAO) ที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้จะมุ่งเน้นการเข้าใจตัวเองและเข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และคำนึงถึงความปลอดภัยต้องมาก่อน รวมถึงทักษะในการประเมินสถานการณ์ และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์ ซึ่งทักษะเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ผู้โดยสารกอดอก อาจสื่อได้หลายแนวทาง ทั้งเบื่อ หนาว หรือ กำลังโกรธ ดังนั้นผู้ให้บริการควรหมั่นสังเกต และเรียนรู้วิธีการรับมืออย่างถูกต้อง เพื่อสร้างความประทับใจในการให้บริการ
บริการขั้นกว่า มัดใจ VIP
หลักสูตร Premium Inflight Service โดย ดร.วิลาศ ดวงกำเนิด อดีตผู้จัดการกองฝึกอบรมระดับพื้นฐานฝ่าย ฝึกอบรมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทยจากัด(มหาชน) ประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการบินมากกว่า 35 ปี โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรธุรกิจการบิน วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (CADT DPU) หลักสูตรนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มมาตรฐานการให้บริการบนเครื่องบินให้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในด้านการบริการระดับพรีเมียม เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับให้แก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้ หลักสูตรยังเน้นการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การบริหารจัดการสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน และการบริการที่เน้นความประทับใจและความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
การฝึกอบรมนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานสากลและยกระดับคุณภาพการบริการบนเครื่องบิน เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสายการบินให้เป็นที่จดจำในระดับภูมิภาคและนานาชาติ โดยหลักสูตรนี้ เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่ DAA พร้อมให้บริการอบรมกับธุรกิจการบิน และต่อยอดถึงธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับงานบริการในปี 2568 เช่น ธุรกิจค้าปลีก
ทั้งสามหลักสูตรนี้ DAA ได้ให้บริการอบรมกับทาง LANEXANG AIRWAYS INTERNATIONAL สปป.ลาว อย่างต่อเนื่องระหว่างเดือน สิงหาคม - ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา และนอกเหนือจากนั้น DAA DPU ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากกรมการบินพลเรือนของ สปป.ลาว (Department of Civil Aviation of LAO P.D.R) ในการจัดอบรมให้กับสายการบิน LANEXANG AIRWAYS INTERNATIONAL การได้รับโอกาสไปร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำงานในครั้งนี้ได้สร้างผลตอบรับที่น่าประทับใจกับทั้งสองหน่วยงาน คาดว่าจะมีความร่วมมือครั้งใหม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการบินในภูมิภาคต่อไป
“ลูกค้าจะมีความคาดหวังถึงการบริการที่ดี โดยเฉพาะลูกค้าระดับ VIP ด้วยแล้วก็จะยิ่งความคาดหวังสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้จะว่าด้วยเรื่องของการประเมินสถานการณ์ การรับมือปัญหา การแก้ไขสถานการณ์ด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการรับมือเมื่อต้องอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น การปฏิเสธและขอโทษ แบบไหนที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจและยอมรับได้ แต่หากมีการสื่อสารที่ผิดพลาดออกไป อาจเป็นการขยายความไม่พอใจให้มากกว่าเดิม รวมไปถึงการเจรจาในภาวะไม่ปกติ เช่น ผู้โดยสารมีอาการมึนเมา เป็นต้น” นางสาวสุนันทา กล่าวในตอนท้าย
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คว้าโอกาสอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกเติบโตดีต่อเนื่อง เร่งติวเข้มเซอร์วิสระดับลักซ์ชัวรีผ่านหลักสูตรและโครงการจัดอบรม เพิ่มศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ด้วยเสน่ห์จากบริการที่เหนือชั้น พร้อมเติมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม วางเป้าดึงดูดคนรุ่นใหม่เดินเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินมากขึ้นในอนาคต
อาจารย์ปวรรัตน์ สุภิมารส รักษาการคณบดี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลกฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งตัวเลขผลประกอบการของธุรกิจสายการบินที่เติบโตเป็นบวก การเปิดเส้นทางบินใหม่ พร้อมกับจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นในจุดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เช่น ไต้หวันและฮ่องกง ไปจนถึงการเปิดรับบุคลากรเข้าทำงานในหลายตำแหน่งงาน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ส่งผลให้ในภาพรวมทุกอย่างเริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยสอดรับกับรายงานการวิจัยตลาดของ Data Bridge Market Research ที่คาดการณ์อุตสาหกรรมการบินในเอเชียแปซิฟิก (APAC) ว่าเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดจากจำนวนผู้โดยสารทางอากาศเพิ่มมากขึ้น และการเพิ่มขนาดฝูงบินของสายการบินต่าง ๆ โดยคาดว่าการเติบโตขึ้นนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องถึงปี 2028
ติดปีก ‘ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส’ คนธุรกิจการบิน
อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าวว่า นอกจากการแข่งขันกันเปิดเส้นทางบิน และเพิ่มเที่ยวบินมากขึ้นของธุรกิจสายการบินแล้ว อีกหนึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นเป็นการแข่งขันกันนำเสนอบริการที่แตกต่างและเป็นพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งทาง CADT DPU มองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นนี้พร้อมทั้งได้ยกระดับการเรียนการสอนไปในแนวทางที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการบิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการให้บริการในระดับลักซ์ชัวรีให้กับนักศึกษาและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน
โดยวิทยาลัยฯ และ DAA สถาบันฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับรองให้เป็น Authorized Training Center (ATC) ของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เตรียมนำเสนอความเป็น “ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส” เข้าไปในการเรียนการสอน และจัดอบรม เพื่อยกระดับงานบริการที่มีความเป็นพิเศษและแตกต่างในทุกมิติ ตั้งแต่ท่าทาง การแต่งกาย บุคลิก การสื่อสาร และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรม และนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรปริญญาตรีทั้ง 2 สาขา ได้แก่ สาขาธุรกิจการบิน และสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและการอำนวยการบิน
“การให้บริการเป็นจุดเด่นคนไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อเพิ่มการอบรมและพัฒนา พร้อมสร้างทัศนคติที่ดีด้านบริการเข้าไปจะยิ่งทำให้เป็นข้อได้เปรียบ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน และนักศึกษา ได้มีทักษะที่โดดเด่น และเป็นที่ต้องการของตลาดงานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต อีกทั้งยังเป็นทักษะที่เอไอ หรือ Artificial Intelligence ไม่สามารถสัมผัสความรู้สึกระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ได้ดีเท่ากับการบริการโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเพิ่มมุมมองด้านลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษาตามแนวทางของอุตสาหกรรมการบินที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี ค.ศ.2050” อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าว
ชูจุดแข็ง-ผนึกพันธมิตร ปูทางความสำเร็จสายอาชีพ
นอกจากการเพิ่มทักษะด้านบริการที่เหนือชั้นแล้ว CADT DPU ได้ให้ความสำคัญการสร้างอุปกรณ์การเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) เช่น อุปกรณ์ฝึกการอพยพจากเครื่องบินกรณีฉุกเฉิน (Slide Drill), ห้องฝึกปฏิบัติการบนเครื่องบิน (Airbus300-600) และ เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง Flight Simulator (Cessna 172 และ Boeing 737-800NG) เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในอุตสาหกรรมการบินที่มากขึ้น
ในขณะเดียวกันได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาไปฝึกงานในสถานที่ปฏิบัติงานจริง โดยล่าสุดมีการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพกับบริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด (เวียตเจ็ทไทยแลนด์) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานปฏิบัติงานจริงในตำแหน่งต่าง ๆ ของทางสายการบินเวียตเจ็ทไทยแลนด์
ทั้งนี้ CADT DPU ได้วางเป้าหมายการเติบโตไปพร้อมอุตสาหกรรมบินของไทยและทั่วโลก ด้วยการผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง และมีความพร้อมสำหรับการทำงานในสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดงาน เช่น กราวด์ เซอร์วิส และ นักบิน เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://cadt.dpu.ac.th/ และ https://www.daatraining.com/
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดสอนหลักสูตรการบัญชีดิจิทัล (บัญชีบัณฑิต) ตอบโจทย์คนวัยทำงานหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่สาขาบัญชี และมีความประสงค์จะได้รับคุณวุฒิทางด้านบัญชี ไปขึ้นทะเบียนเป็นนักทำบัญชี เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพด้านบัญชี อาทิ ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เป็นต้น โดยหลักสูตรนี้ได้รับความนิยมสูงในวัยทำงาน วัยเกษียณ รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เหตุหลักสูตรมีความยืดหยุ่นสูง จบได้ภายใน 1.5 ปี
ดร.ณัฐพัชร์ นวลมณีฐิติ รองคณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า หลักสูตรการบัญชีดิจิทัล (บัญชีบัณฑิต) มุ่งเน้นผลิต “นักบัญชีดิจิทัล” ได้ถูกออกแบบให้ตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจ โดยเปิดรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชา โดยผู้ไม่ได้จบสายบัญชีมาก็เรียนได้ หลักสูตรนี้เปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์มานานกว่า 10 ปี โดยปรับหลักสูตรให้ผู้เรียนสามารถจบ Course Work ได้เร็วขึ้นภายใน1.5 ปี ปัจจุบันผู้สมัครเรียนมาจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ อาทิ ทนายความ สถาปนิก นักกฎหมาย และผู้บริหารระดับ CFO (Chief Financial Officers) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการมีทักษะและความรู้ด้านบัญชีในทุกธุรกิจ
ดร.ณัฐพัชร์ กล่าวว่า สำหรับจุดเด่นของหลักสูตร คือ เน้นการเรียนการสอนด้านบัญชีดิจิทัล และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Accounting Software) เพื่อตอบโจทย์ยุค Digital Transformation เช่น การนำเสนอข้อมูลทางบัญชีง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว ด้วยโปรแกรม Power BI for Data Analytics หรือสรุปข้อมูลให้เข้าใจง่ายด้วยการใช้งาน Dashboard ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ การเรียนยังมีความยืดหยุ่นสูง มีการเรียนการสอนแบบ Hybrid Working การเรียนบัญชีในช่วงแรกทุกคนอาจรู้สึกว่ายาก เนื่องจากเป็นการเรียนข้ามศาสตร์ ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจะปูพื้นฐานด้านบัญชีขั้นต้นให้กับผู้เรียน พร้อมสอดแทรกความรู้ด้านภาษีอากร ก่อนที่จะยกระดับไปสู่การเรียนบัญชีชั้นสูง และต่อยอดไปยังรายวิชาอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในคลาสเรียนจะเน้นการสอนแบบผ่อนคลายและไม่เร่งรัดจนเกินไป
“เพื่อเพิ่มทักษะด้านบัญชีดิจิทัลให้ผู้เรียน วิทยาลัย CIBA ได้ร่วมมือกับแพลตฟอร์มบัญชีชั้นนำ อาทิ SAP ERP, Express Software, FlowAccount, PEAK, NEXTTO, รวมทั้งการนำ Optical character recognition (OCR) และ POS on Mobile มาใช้ในการเรียนการสอน และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนเสริม ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีล่าสุดในวงการบัญชี ดังนั้น ผู้เรียนทุกคนจะมีสกิลด้านบัญชีดิจิทัลอย่างแน่นอน” ดร.ณัฐพัชร์ กล่าว
นางสาวเดือนเพ็ญ หอมนิยม ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ซีทีเอส โลจิสติกส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตนมีประสบการณ์การทำงานด้านการเงินและการบัญชีมานาน แต่ยังไม่มีคุณวุฒิด้านบัญชี จึงตัดสินเรียนสาขานี้เพิ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี เพราะวางแผนสำหรับการประกอบอาชีพอิสระหรืออาชีพเสริมภายหลังเกษียณอายุ สำหรับบรรยากาศในห้องเรียน อาจารย์ทุกท่านจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรมเวิร์กชอปมากกว่าเรียนทฤษฎี และปรับสไตล์การสอนให้เข้ากับวัยทำงาน ทำให้การเรียนบัญชีเป็นเรื่องที่สนุก
“ส่วนตัวรู้สึกโชคดีมากที่กลับมาเรียน เพราะหลักสูตรนี้ตอบโจทย์มาก เรียนได้ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ ที่สำคัญอาจารย์จะสอนการทำบัญชีบนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ซึ่งสอดรับกับการทำบัญชีในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้อัพเดทเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้ในการทำงานด้วย อยากฝากถึงผู้ที่อยู่ในสายวิชาชีพบัญชี ถ้ามีเวลาอยากให้มาเรียนสริมทักษะความรู้ เพราะอาชีพนี้มีความมั่นคงในตลาดแรงงาน และยังสามารถประกอบอาชีพอิสระได้” นางสาวเดือนเพ็ญ กล่าว
นายชวณัฐ คุ้มทรัพย์อนันต์ Finance Manager บริษัท บ้านกรองทอง จำกัด กล่าวว่า เหตุผลหลักที่ตัดสินใจเรียนการบัญชีที่วิทยาลัย CIBA DPU เพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง หลักสูตรตอบโจทย์ที่ต้องการ และมีความยืดหยุ่นในการรับสมัครเรียน สามารถเข้าศึกษากลางภาคเรียนได้ ส่วนหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาด้านบัญชี สำหรับข้อดีของการเรียนหลักสูตรนี้ คือ ได้เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม SAP ซึ่งเป็นระบบ ERP (Enterprise resource Planning) ชั้นนำระดับโลก ที่สำคัญการเรียนมีความสะดวกเพราะใช้ Google Classroom เป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
“ผู้บริหารด้านการเงินและบัญชีจำเป็นต้องมีคุณวุฒิทางบัญชี เพราะการมีทักษะด้านนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการสื่อสารกับบุคลากรด้านบัญชีในองค์กร ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรและความก้าวหน้าในวิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญที่ได้สร้างเครือข่ายจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มาจากหลายสาขาอาชีพด้วย” นายชวณัฐ กล่าวในตอนท้าย
สำหรับผู้สนใจหลักสูตร สามารถดูรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/
บริษัท เฮลท์ เอดูเคชั่น แอนด์ อคาเดมิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT) จัดงาน H.E.A.T. International Congress 2024 Wellness Management งานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้าน Health and Wellness ระหว่างวันที่ 15 – 17 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล กรุงเทพมหานคร
โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวเปิดงาน H.E.A.T. International Congress 2024 Wellness Management โดยงานนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์การแพทย์ และการบริหารธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเวลเนส ผ่านงานอบรมเชิงวิชาการ และเชิงปฏิบัติการที่จะช่วยเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับเวชศาสตร์ชะลอวัย เวชศาสตร์ความงาม และแพทย์แผนไทย โดยมี พญ. พักตร์พิไล ทวีสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชศาสตร์ความงาม ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ประธานกิตติมศักดิ์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) และ ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอำนวย ประธานกรรมการบริษัท เฮลท์ เอดูเคชั่น แอนด์ อคาเดมิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นประธานเปิดงาน
ผศ. ดร.นพ.พัฒนา เต็งอำนวย ประธานกรรมการบริษัท เฮลท์ เอดูเคชั่น แอนด์ อคาเดมิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันโดยธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะเติบโตเฉลี่ยที่อัตราร้อยละ 20.9 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งของประเทศไทยซึ่งมีศักยภาพสูง เป็นศูนย์กลางของเอเชียด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ทันสมัย มีคลินิกเสริมความงาม และคลินิกด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยชั้นนำ ที่พร้อมให้บริการลูกค้าต่างชาติจำนวนมาก และยังมี Soft Power ด้าน Wellness ที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์ ทั้งเรื่องของ สปา แพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย และอาหารไทยที่มีคุณประโยชน์ทางยาและส่งเสริมสุขภาพ อย่างไรก็ตามปัญหาของธุรกิจด้านสุขภาพในเมืองไทย คือ ผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งศาสตร์ชะลอวัยและการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งยังขาดแนวคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสินค้าประสบการณ์ Wellness ที่สอดคล้องกับเทรนด์ความต้องการของ Wellness Tourist ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Ambient Wellness การจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ อันได้แก่ การออกแบบ วัสดุที่ใช้ และการจัดสถานที่ อาหาร เครื่องดื่ม อากาศ สถานที่ออกกำลัง รวมไปถึงเรื่องของ Sustainable Wellness ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคธุรกิจไทยในธุรกิจบริการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้าน Wellness Marketing ให้แก่ผู้ประกอบการ และ SME ในธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ให้สามารถดำเนิน ธุรกิจแบบมืออาชีพ มีระบบในการบริหารจัดการ นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือยกระดับการให้บริการ เป็นต้น ตลอดจนการ พัฒนารูปแบบการให้บริการด้วยการประยุกต์เรื่องการดูแลสุขภาพเข้ากับ Soft Power อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างโดดเด่นให้กับบริการ
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า สำหรับงาน H.E.A.T. International Congress 2024 Wellness Management ในปีนี้ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 8 เนื้อหาภายในงานมีความเข้มข้นยิ่งใหญ่ ครอบคลุม Wellness Economy ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจบริการด้านสุขภาพ เพื่อขยายโอกาสสร้างความร่วมมือกันเชิงธุรกิจระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนมุ่งสู่เป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไทยในฐานะศูนย์กลาง Health and Wellness Tourism ระดับโลก ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยน พัฒนาองค์ความรู้ จุดประกายความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ในด้านสุขภาพระดับนานาชาติ รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก จัดการกับความท้าทายที่เร่งด่วน และ ร่วมกันติดตามแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ผ่านการแลกเปลี่ยนในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้
“พวกเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์ความรู้การจัดการด้านการดูแลสุขภาพ และส่งเสริมสุขภาพทั่วโลก การการประชุมครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ส่งเสริมเครือข่ายวิชาชีพ แต่ยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งภาควิชาการและภาควิชาชีพ อันจะสามารถพัฒนานโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างความพร้อมร่วมกันในการจัดการด้านสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการดูแลสุขภาพเชิงรุกด้วยศาสตร์ชะลอวัย (Proactive Anti-Aging) มากขึ้น โดยเปลี่ยนจากแนวทางด้านสุขภาพเชิงรับมาเป็นกลยุทธ์ที่เน้นการป้องกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีและอายุยืนยาวขึ้น” ดร.ดาริกา กล่าว
ด้าน พญ. พักตร์พิไล ทวีสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย และเวชศาสตร์ความงาม ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ประธานกิตติมศักดิ์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัย CIMw ได้บรรยายในหัวข้อ Wellness beyond Physical Health ว่า หากพูดถึงคำจำกัดความของคำว่า Wellness มีสองด้านที่สำคัญ ประการแรก เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา และมุ่งเน้นเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่เหมาะสม ประการที่สอง การรักษาสุขภาพที่เน้น "สุขภาพแบบองค์รวม" ซึ่งขยายไปไกลกว่าสุขภาพกายและมิติอื่น ๆ ที่ทำงานอย่างกลมกลืนไปด้วยกัน เรื่องสุขภาพคือเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งผลลัพธ์ของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป็นเรื่องขององค์รวม
“พื้นฐานของการเกิดโรคเป็นผลจากความเครียด ร้อยละ 75-90 โดยความเครียดสามารถเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแปรปรวน ความเมื่อยล้า น้ำตาลในเลือดสูง และภาวะเมทาบอลิกซินโดรม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ โรคเบาหวาน รวมถึงภาวะมีบุตรยาก น้ำหนักเพิ่ม ผมร่วง ฯลฯ ดังนั้นเราจึงต้องจัดการความเครียด ด้วยการบำรุงร่างกายด้วย “การฝึกสติ” หรือ Mindfulness การออกกำลังกาย การดูแลด้านโภชนาการ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น” พญ. พักตร์พิไล ระบุ
ผู้สนใจงานประชุมวิชาการนานาชาติ H.E.A.T. International Congress สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.heatantiaging.com
วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ประกาศวิชั่น ‘ผู้นำ’ ผลิตบุคลากรด้าน ‘เวลเนสและไลฟ์สไตล์ เมดิซีน’ ที่มีคุณภาพ และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขับเคลื่อนผ่านการประชุมวิชาการระดับชาติ SMART จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 Harmony in Healthcare สุนทรียภาพทางสุขภาพและความงาม ผลักดันผลงานวิจัยเติบโตแบบก้าวกระโดด กางแผนเปิด 10 หลักสูตรใหม่ปี 2568 ปั้นบุคลากรคุณภาพสอดรับอุตสาหกรรมในอนาคต
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า การประชุมวิชาการระดับชาติ SMART ครั้งที่ 6 Harmony in Healthcare : สุนทรียภาพทางสุขภาพและความงาม จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2562 จนถึงปีปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดผลงานวิชาการ พร้อมทั้งเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ ประสบการณ์ด้านวิชาการให้สามารถนำผลงานไปประยุกต์ใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อประเทศ
“บทบาทของ DPU มุ่งขับเคลื่อนการเรียนการสอนด้านเวชศาสตร์ความงาม ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพมาเป็นเวลา 15 ปี จากวันนั้นที่คนยังให้ความสำคัญและพูดถึงกันน้อย จนถึงวันนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าอุตสาหกรรมด้านนี้เติบโตขึ้นมาก ซึ่ง DPU จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม และเตรียมเปิด 10 สาขา ในปี 2568 ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เช่น คอสเมติกส์ เพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับธุรกิจที่จะขยายตัวในอนาคต” ดร.ดาริกา กล่าว
‘Wellness & Lifestyle Medicine’ เทรนด์มาแรงในอนาคต
จาก เฮลท์ แอนด์ เวลเนส ในภาพใหญ่เริ่มเคลื่อนไปสู่การใส่ใจดูแลที่มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เทรนด์ของ เวลเนส (Wellness) และ ไลฟ์สไตล์ เมดิซีน (Lifestyle Medicine) ซึ่งเป็นแนวทางของการดูแลรักษาสุขภาพเติบโตเป็นอย่างมากทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นแนวทางของการป้องกัน และ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดย ดร.ดาริกา กล่าวว่า “แนวโน้มของการดูแลสุขภาพ ไม่ได้มองในมุมของการเป็นโรคภัยไข้เจ็บ หรือ Sickness เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการดูแลควบคู่กันไปกับ Wellness ด้วย”
พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน ประธานกิตติมศักดิ์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw)มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวในงานประชุมวิชาการระดับชาติ SMART ครั้งที่ 6 ว่า เวชศาสตร์ชะลอวัย ไม่ใช่ความงาม แต่เป็นการมีสุขภาพดีจนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิต ซึ่งการที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากซึ่งคนกลุ่มนี้ยังมีความรู้ ความสามารถ และหากมีสุขภาพดีจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
SMART ยกระดับงานวิชาการ-บุคลากรด้าน Wellness
ผศ.นพ.มาศ ไม้ประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า การจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ SMART ครั้งที่ 6 : “Harmony in Healthcare :สุนทรียภาพทางสุขภาพและความงาม” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2567 ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในปีนี้เป็นการเติบโตก้าวกระโดด โดยปีนี้มีผลงานวิชาการมากถึง 40 ชิ้นงาน ขยับจาก 20 ผลงานในปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย บทความด้านวิทยาการชะลอวัยและพื้นฟูสุขภาพ, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช, ด้านนวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์, สังคมศาสตร์ และ ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ด้านผู้ร่วมงานจากที่ได้รับการตอบรับจาก 200 คนในปีที่ผ่านมา เป็น 350 คนในปีนี้
“จากประสบการณ์การทำงาน 30 ปีที่ผ่านมา ได้เห็นคลื่นเศรษฐกิจที่ขยับตัวขึ้นลงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ก็พบว่าธุรกิจสุขภาพเป็นธุรกิจที่อยู่รอดได้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร อีกทั้งเทรนด์ของการรักษาใหม่ ๆ ที่คนไม่ใช่แค่รักษาโรค แต่ต้องการชะลอการเกิดโรค และ ใช้ชีวิตให้นานที่สุด ซึ่ง ทาง CIMw เตรียมเปิดสอนในสาขาใหม่ ๆ ในปีหน้า เพื่อพัฒนาบุคลากรให้รองรับการขยายตัวของธุรกิจ พร้อมกับเป้าหมายการเป็นผู้นำในการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพและความงามที่มีคุณภาพและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” ผศ.นพ.มาศ กล่าว
คนดังจองที่นั่งร่วมคลาสเรียน รับกระแสธุรกิจสุขภาพมาแรง
กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า (เกรซ) นักศึกษาชั้นปีที่1 หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า เหตุผลของการตัดสินใจสมัครเรียน เพราะอาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้รู้จริง อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยรุ่นแรกๆ ที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ ซึ่งส่วนตัวไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาก่อน เมื่อได้มาเรียนปรับพื้นฐานทำให้เข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น
“บางคนมีความกลัว มีกำแพงว่าถ้าไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีความรู้ด้านนี้โดยตรงจะเรียนในสาขานี้ได้หรือไม่ ขอบอกว่า เกรซเรียนได้ ทุกคนก็สามารถเรียนได้ เพราะศาสตร์การชะลอวัยเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและสำคัญมากในอนาคต เราไม่อยากทำงานหาเงิน เพื่อมารักษาตัวเองในตอนที่อายุมากขึ้น”
ณภศศิ สุรวรรณ (มายด์) ในฐานะศิษย์เก่า หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า การเรียน Anti-Aging สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้มาก โดยปัจจุบันทำธุรกิจด้านสุขภาพความงาม เช่น อาหารเสริม ครีมกันแดด คลินิกกายภาพบำบัด
“อยากเห็นทุกคนมีสุขภาพที่ดีด้วยวิธีดูแลตัวเองแบบองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นการนอนให้เพียงพอ โดยเฉลี่ยจะนอนวันละ 7 ชั่วโมง ทานอาหารที่มีคุณภาพ และทานโปรตีนเสริม รวมทั้งออกกำลังกาย และ สร้างพลังบวกให้กับตัวเอง ซึ่งทุกอย่างมาจากที่อาจารย์สอน และ เราก็อยากจะเสนอความจริงใจในธุรกิจเพื่อให้คนที่มารับบริการได้สิ่งที่ดีกลับไป”
สำหรับการเรียนการสอน วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ในปัจจุบันมีเปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งล้วนตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคตด้านเวลเนส ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://cim.dpu.ac.th ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook: วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ College of Integrative Medicine CIMw DPU