ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมเสวนากับ ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล กรรมการหอการค้าไทย และ ผศ.ดร.นพพร เรืองวานิช ผู้อำนวยการหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ “ทักษะและคุณสมบัติสำหรับผู้ส่งออก การเป็นผู้ส่งออกที่ประสบความสำเร็จต้องเป็นคนอย่างไร” ในหลักสูตร TOP X Executive Program รุ่นที่ 2 โดย EXIM BANK ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและขยายสู่ตลาดโลก อาทิ การก้าวข้ามความกลัวและกล้าออกจาก Comfort Zone การสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งด้วยนวัตกรรม การแสวงหาตลาดใหม่ การปรับธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Environmental, Social and Governance : ESG) ตลอดจนบทบาทของ EXIM BANK ในการเติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจ SMEs ไทยให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 20 เมื่อเร็วๆ นี้
บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ผศ. ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัยเผยผลวิจัยเกี่ยวกับบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่าน แอปพลิเคชัน โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีต่อ ประเด็นต่างๆ ทั้งประโยชน์ของบริการ ผลกระทบ ตลอดจนนโยบายของภาครัฐในการกำกับดูแลบริการ ดังกล่าว ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 411 คน รวมถึงการจัดสนทนา กลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) กับกลุ่มผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ (ป้ายเหลือง) และ บุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน (ป้ายดำ) พร้อมนำเสนอแนวทางที่ภาครัฐควรนำมาพิจารณา ในการกำกับดูแลบริการดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดกับทุกภาคส่วน ทั้งคนขับ ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน ภาครัฐ ตลอดจนสังคมโดยรวมควบคู่ไปกับส่งเสริมการสร้างราย ได้และกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคยุคดิจิทัล โดยผลการสำรวจระบุว่า
ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีคำสั่งปิดแอปพลิเคชันเรียกรถมอเตอร์ไซค์ รับจ้างที่ให้บริการโดยบุคคลทั่วไปนั้น 94% ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว
นอกจากประชาชนผู้ใช้บริการแล้ว สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ สำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมกับกลุ่มผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ (ป้ายเหลือง) และบุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน (ป้ายดำ) ผ่านการทำสนทนากลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) โดย
นอกจากนี้ ผศ. ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว ยังได้นำเสนอแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลบริการ เรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย โดยให้ทรรศนะว่า “ในเเง่มุมของประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเเละสังคมโดยเฉพาะในโลกยุคดิจิทัล เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ ในสังคมได้ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจ เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆ และสร้าง การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม แม้ปัจจุบันกฎหมายหรือข้อบังคับบางอย่างอาจจะไม่รองรับต่อ ความเปลี่ยนเเปลงของโลก เเต่สิ่งที่ภาครัฐควรทำคือ การปรับปรุงเเก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้ ทุกภาคส่วนของประเทศสามารถใช้ประโยชน์ได้จากเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้”
“ในกรณีของการบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันนั้น ส่วนตัวมองว่าภาครัฐไม่ควรที่จะ เดินถอยหลังเข้าไปเปลี่ยนเเปลงในสิ่งที่ดีอยู่เเล้ว โดยนำกฎหมายที่ถูกร่างขึ้นในยุคสมัยเดิมบังคับใช้ กับเรื่องในปัจจุบัน โดยไม่ได้พิจารณาถึงสภาพเเวดล้อมทางเศรษฐกิจเเละสังคมที่เปลี่ยนเเปลงไป เช่นภาครัฐไม่ควรเข้าไปกำหนดหรือบังคับห้ามไม่ให้คนขับป้ายดำต้องหยุดการให้บริการ ในทางกลับกัน ภาครัฐควรที่จะช่วยให้คนขับเหล่านี้สามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย โดยมีแผนหรือกระบวนการ ต่างๆ รองรับ ซึ่งอาจจะทำในรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยทยอยปรับกฎระเบียบให้เป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่าย และอนุโลมให้รถป้ายดำสามารถวิ่งรับ-ส่งในระบบเเอปได้ไปก่อนจนกว่าทุกฝ่ายจะตกลง หาทางออกกันได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ก็ควรหาทางส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มคนขับวิน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือกลุ่มที่ตามไม่ทันเทคโนโลยี สามารถปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน เหล่านี้ได้ จะได้มีรายได้เสริมและก้าวทันเศรษฐกิจดิจิทัล”