December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

CSR

BENJA-WINS ดี 5 ฝ่าย : แนวคิดบริหารธุรกิจยั่งยืน

July 14, 2017 3740

“อยู่ที่ไหนต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์ เก่ง ดี แต่ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่มีความหมาย” คือคำกล่าวแสดงเจตนารมณ์ ความมุ่งมั่น และยังเป็น Motto สำคัญของ Benja-Wins องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการเสริมสร้างความร่วมมือและเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการ ไทย และ ญี่ปุ่น ในประเทศไทย

 

ฮิเดโตชิ อูเมกิ ประธานและผู้ก่อตั้ง บริษัท เบญจ-วินส์ จำกัด (Benja-Wins Co.,Ltd) ได้บอกเล่าถึงความเป็นมาของ Benja-Wins ว่า “ตลอดเวลาการทำงานของผมกว่า 20 ปีทั้งในประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งมาทำงานในประเทศไทย ผมเพียรพยายามในการหาคำตอบตลอดเวลาว่า อะไร? หรือ สิ่งไหน? คือคีย์สำคัญที่ทำให้กิจการจำนวนมากมายของญี่ปุ่นสามารถดำรงอยู่อย่างยาวนานนับร้อย นับพันปี โดยมีเป้าหมายในเรื่องคือ การค้นหาแนวทาง หากเพื่อว่าเราจะสามารถหยิบจับเคล็ดลับที่ซุกซ่อนอยู่ มาประยุกต์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย” 

 

ด้วยความมุ่งมั่นและความต้องการที่จะหาคำตอบ ในที่สุดผู้บริหารลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ฮิเดโตชิ อูเมกิ ก็ค้นพบคำตอบ กิจการโดยส่วนใหญ่ที่ยั่งยืนอยู่มายาวนานในประเทศญี่ปุ่น ล้วนเกิดจากการบริหารกิจการบนรากฐานของความเชื่อในปรัชญา

 

 

ปรัชญาญี่ปุ่น คือสินทรัพย์อันมีคุณค่า และเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมที่ถมทับ และสืบทอดต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น และไม่เคยสูญหายไปไหน “คนญี่ปุ่น” ถูกหล่อหลอมทั้ง แนวความคิด จิตวิญญาณ และแนวทางในการปฏิบัติตน และเพื่อเป็นการกระจายแนวคิด แนวปรัชญาการบริหารกิจการของญี่ปุ่นมายังคนไทย ตลอดจนผู้ประกอบการไทย บนเป้าหมายที่มุ่งหวังว่า ภูมิปัญญาที่เคยเป็นแก่นสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับสังคม และเศรษฐกิจญี่ปุ่น จะมีส่วนร่วมสร้างความมั่งคั่งให้กับสังคมไทยด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่ของการก่อตั้ง Benja-Wins พร้อมด้วยกิจกรรมทางธุรกิจที่ประกอบไปด้วย การผลิตหนังสือเพื่อส่งเสริมสาระประโยชน์ทางความรู้ความคิด ดั่งเช่น หนังสือซามูไร-ซากุระ ที่จัดพิมพ์ทั้งภาษาไทย และ 2 ภาษา (ไทย-ญี่ปุ่น) จนมาถึง หนังสือ SAMPO-YOSHI/BENJA-WINS โดยหนังสือทั้ง 2 เล่ม ได้ทำการถ่ายทอดเรื่องราวของ ปรัชญาญี่ปุ่น อันได้แก่ “บูชิโด” (วิถีนักรบ) และ “ซัมโป โยชิ” (ดี 3 ฝ่าย) ซึ่งเป็นแนวคิดแนวทางการค้าขายอันนำมาสู่ความยั่งยืน นอกจากนั้น BENJA-WINS ยังดำเนินกิจกรรมธุรกิจในรูปแบบการจัดสัมมนา ในหัวข้อ “บริหารธุรกิจ คิดแบบญี่ปุ่น” อย่างต่อเนื่อง และไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ทำในรูปแบบ CSR เพราะต้องการส่งเสริมความรู้ และส่งเสริมความร่วมมือเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระหว่าง SMEs ไทย และ SMEs ญี่ปุ่น ร่วมกัน 

  

ความหมายของ BENJA–WINS

ฮิเดโตชิ อูเมกิ เล่าถึง ประสบการณ์ที่ทำงานแห่งแรกคือ ITOCHU (บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ในหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องดูแลการตลาดของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนที่จะมาเป็นซีอีโอ ของบริษัท โตโย บิซิเนส เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทย จนกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบญจ-วินส์ ขึ้นนั้น นอกจากประสบการณ์และความเข้าใจในการทำธุรกิจและการตลาดกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมค้าปลีกในญี่ปุ่นเป็นอย่างดีแล้ว เขายังได้เรียนรู้ และซึมซับในปรัชญาอันเป็นรากฐานของการก่อตั้งกิจการของ อิโตชู นั่นคือ ซัมโป โยชิ (SAMPO YOSHI) หรือ ดี 3 ฝ่าย อันเป็นปรัชญาของพ่อค้าโอมิ เมื่อกว่า 300 ปีที่ยึดเป็นแนวทางในการค้าขาย ภายใต้การคิดคำนึงถึงผลประโยชน์ของ 3 ฝ่ายอันได้แก่ ผู้ขายดี ผู้ซื้อดี และสังคมดี ซึ่งปรัชญา ซัมโป โยชิ คือสิ่งที่ อิโต จูเบ ผู้ก่อตั้ง ITOCHU ยึดถือและปฏิบัติ จนได้รับการขนานนามอย่างยอมรับและนับถือกันว่า เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการดำเนินชีวิต และบริหารธุรกิจบนแนวทางของปรัชญา “ซัมโป โยชิ อย่างเข้มแข็ง และมั่นคง” ด้วยความเชื่อมั่นบนแนวปรัชญา “ซัมโป โยชิ” ที่เป็นจุดเริ่ม และนำมาสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของหลายกิจการในประเทศญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่ ITOCHU ได้สร้างแรงบันดาลใจและ พลังผลักดัน ให้ ฮิเดโตชิ อูเมกิ ตัดสินใจก่อตั้ง บริษัท เบญจ์-วินส์ จำกัด (Benja-Wins Co.,Ltd) ขึ้น ภายใต้การประยุกต์และต่อยอดในแนวทางจาก ดี 3 ฝ่ายในอดีต โดยพัฒนาแนวคิดว่าในปัจจุบัน แนวทางการบริหารธุรกิจจะยั่งยืนได้ พึงควรคำนึงถึง การดี 5 ฝ่าย นั่นก็คือ ผู้ขายดี, ผู้ซื้อดี, สังคมดี, พนักงานดี, และหุ้นส่วนดี ที่ ฮิเดโตชิ อูเมกิ ขนานนามแนวคิดนี้ว่า คือ เบญจ์-วินส์ Benja–Wins และนั่นคือ เคล็ดลับ และคำตอบของการบริหารกิจการอย่างยั่งยืน ที่เขาค้นหาจนค้นพบในที่สุด 

 

 

เรื่องและภาพ : กองบรรณาธิการ

X

Right Click

No right click