November 24, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

ดอยซ์แบงก์ (Deutsche Bank) ประเดิมธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงค่าเงินกับบริษัทต่างชาติเป็นรายแรก ภายใต้เกณฑ์ NRQC ใหม่ของธปท.

February 01, 2021 1752

ธนาคารดอยซ์แบงก์ ประเทศไทย (XETRA: DBKGn.DB / NYSE: DB) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกของการให้บริการบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (Onshore hedgeหรือการบริหารความเสี่ยงค่าเงินให้แก่นิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด ภายใต้เกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องการผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทสำหรับนิติบุคคลที่อยู่นอกประเทศให้สามารถทำธุรกรรมเงินบาทได้คล่องตัวขึ้น ภายใต้ โครงการ Non-resident Qualified Company หรือ NRQC

ธนาคารดอยซ์แบงก์ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและสามารถให้บริการเป็นธนาคารแรกแก่ลูกค้านิติบุคคลต่างประเทศ ในระยะเวลาเพียง3สัปดาห์หลังจากธปท.ประกาศกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับนิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ภายใต้โครงการ NRQC เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564

กฎเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวอนุญาตให้บริษัทที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยสามารถเข้าถึงสภาพคล่องสกุลเงินบาท  ภายในประเทศได้คล่องตัวขึ้น โดยไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง

 น.ส.ธีรดา ทัพพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายค้าตราสารหนี้และตราสารอนุพันธ์  ธนาคารดอยซ์แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า เรามีความยินดีที่ได้เป็นธนาคารแห่งแรกในไทยที่ให้บริการ Onshore hedge แก่นิติบุคคลต่างประเทศให้สามารถเข้าถึงตลาดแลกเปลี่ยนเงินในไทย บริการนี้จะช่วยให้ลูกค้าของเรา ที่เป็นบริษัทในต่างประเทศ สามารถเข้าถึงการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินบาทในต้นทุนที่ถูกลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ภายใต้โครงการ NRQC ใหม่”

 บริษัทที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสามารถลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงได้ โดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายในประเทศไทยเป็นอัตราอ้างอิง เพราะโดยทั่วไปแล้วอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยงค่าเงินในประเทศจะถูกกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ในตลาดต่างประเทศ

 “เรามั่นใจว่าเกณฑ์ NRQC ใหม่นี้จะช่วยดึงดูดให้บริษัทต่างๆ ที่มีถิ่นฐานนอกประเทศไทย หันมาทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตลาดแลกเปลี่ยนเงินในประเทศมากขึ้น และถือเป็นมิติใหม่ของตลาดการค้าเงินสกุลเงินบาทในประเทศไทย” น.ส.ธีรดา กล่าวเพิ่มเติม จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 10% จากจุดสูงสุดในปี 2563 ทำให้บริษัทต่างประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความผันผวนของค่าเงินบาท มีต้นทุนในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ทุกธุรกิจต้องบริหารจัดการต้นทุนอย่างเข้มงวดเพื่อเร่งการฟื้นตัวจากโควิด โครงการ NRQC ของ ธปท. ช่วยให้บริษัทที่ทำการค้าขายและลงทุนโดยตรงในประเทศไทย สามารถเข้าถึงสภาพคล่องในสกุลเงินบาทจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินในประเทศได้คล่องตัวมากขึ้น และปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงค่าเงินที่จากเดิมต้องพึ่งพาอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดนอกประเทศมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนตลาดในประเทศได้อย่างง่ายดาย หรือจะปรับเปลี่ยนในทางกลับกันก็ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือขั้นตอนป้องกันความเสี่ยงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

X

Right Click

No right click