November 08, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

คาร์ดเอกซ์ (CardX) เผยผลประกอบการครึ่งปีแรกเติบโตต่อเนื่อง โดยหมวดธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโตสูงสุด เรียงตามยอดการใช้จ่าย 5 อันดับแรก ได้แก่ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต ประกันภัย การศึกษา โรงแรม และดีพาร์ทเมนท์สโตร์ สะท้อนคนไทยเน้นการเลือกซื้อเฉพาะสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากกว่าการจับจ่ายกับสินค้าที่มีความฟุ่มเฟือย สอดคล้องไปกับเหตุจูงใจด้านสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2567 อยู่ที่ 5-8% พร้อมขานรับนโยบายเร่งด่วนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น้ำท่วม มุ่งสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อช่วยลดภาระ และเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ รวมถึงแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไปพร้อมกัน โดยยังคงให้ความสำคัญกับการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อย่างต่อเนื่อง

จากการศึกษาแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของไทยจาก SCB EIC พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในการจับจ่าย แม้ว่าหลายภาคส่วนจะมีการเร่งปรับตัว พร้อมมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวได้อย่าวรวดเร็ว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังปรับลดลงต่อเนื่องตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ ภาระหนี้ครัวเรือนยังคงกดดันสภาวะการใช้จ่ายในปัจจุบัน ยังผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไป การจับจ่ายใช้สอยในแต่ละครั้งของผู้คนในปัจจุบัน เริ่มมีการวางแผนมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจภาพรวมในสถานการณ์ครึ่งปีหลัง จะมีการปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังเร่งดำเนินการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายของปีในภาพรวม

นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด (CardX) เปิดเผยว่า “พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบัน หลายครอบครัวเลือกที่จะจับจ่ายซื้อของด้วยความรอบคอบ วางแผนการใช้จ่าย และเลือกซื้อของใช้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ลดการใช้จ่ายกับสินค้าที่ฟุ่มเฟือย โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ทั้งด้านการใช้งานและราคา อีกทั้งยังมองหาโปรโมชัน หรือส่วนลดที่คุ้มค่าต่อการซื้อของในแต่ละครั้งมากที่สุด สะท้อนผ่านการจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเครดิตของคาร์ดเอกซ์ โดยหมวดธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มีอัตราเติบโตสูงสุดในช่วงครึ่งปีแรกเทียบกับปีที่แล้ว เติบโตระหว่าง 8%-17% ได้แก่ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต (+17%) ประกันภัย (+12%) การศึกษา (+11%) โรงแรม (+9%) และดีพาร์ทเมนท์สโตร์ (+8%) ตามลำดับ ซึ่งมีการเติบโตสอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจที่คาร์ดเอกซ์ ที่มุ่งผลักดันการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ผ่านแคมเปญ โปรโมชันต่างๆ รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในทุกภาคส่วนที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี "

 

โดยผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมา ถือว่ามีการเติบโตอย่างมั่นคงเป็นที่น่าพอใจจากการเดินกลยุทธ์ของบริษัทที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการขยายระบบนิเวศด้านพันธมิตร เพื่อร่วมกันนำเสนอสิทธิพิเศษที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลอดทั้งปี โดยในช่วงปลายปีที่กำลังจะมาถึงนี้ จะเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองและการท่องเที่ยว คาร์ดเอกซ์ ได้เตรียมแผนการตลาดที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงนี้อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นที่ธุรกิจช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว และ ร้านอาหาร เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าในช่วงเทศกาลแห่งความสุขที่กำลังจะมาถึง นอกจากนี้ คาร์ดเอกซ์ ยังคงเดินหน้าขานรับมาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเฉพาะมาตรการในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ อย่างเหมาะสม อาทิ

1. มาตรการเร่งด่วนสำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อช่วยลดภาระ และเสริมสภาพคล่องของลูกหนี้ โดยการผ่อนปรนเงื่อนไขบางประการ อาทิ การพักชำระหนี้สูงสุด 3 รอบบัญชี โดย คาร์ดเอกซ์ยังคงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าแต่ละราย พร้อมทั้งสร้างความเป็นไปได้ทางการเงินอย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

2. มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต ให้ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 8 ออกไปอีก 1 ปี จนถึงสิ้นปี 2568 เพื่อช่วยลดภาระการจ่ายชำระหนี้และรักษาสภาพคล่องให้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และให้เครดิตเงินคืน เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ปิดจบเร็วขึ้น โดยครึ่งปีแรก ลูกหนี้ที่ผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำมากกว่าหรือเท่ากับ 8% จะได้รับเครดิตเงินคืนเทียบเท่ากับการลดดอกเบี้ย 0.5% ของยอดค้างชำระ และ 0.25% สำหรับครึ่งปีหลังของปี 2568

“คาร์ดเอกซ์ เข้าใจสถานการณ์ที่ท้าทายในขณะนี้ พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ลูกค้าของคาร์ดเอกซ์ ยังสามารถใช้โปรโมชันผ่อนสินค้า รวมถึงรายการส่งเสริมการขายร่วมกับเครือข่ายร้านค้าและพันธมิตรอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับทุกท่าน เพื่อให้ทุกความจำเป็นทางการเงินเป็นไปได้ด้วยบัตรเครดิตและสินเชื่อจากคาร์ดเอกซ์ โดยเรายังคงให้ความสำคัญกับการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อย่างต่อเนื่อง และเน้นย้ำการให้ความรู้ทางด้านการเงิน พร้อมทั้งการวางแผน และสร้างความเข้าใจเรื่องการเป็นหนี้ และวินัยทางการเงิน พร้อมส่งเสริมการกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว” นายสารัชต์ กล่าวเสริม

ในส่วนของผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก 2567 ที่ผ่านมา ยอดสินเชื่อรวมครึ่งปีแรก อยู่ที่ 103,000 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 2.9 ล้าน บัญชี สำหรับครึ่งปีหลัง 2567 ทางคาร์ดเอกซ์ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 5-8% เพราะธุรกิจในขณะนี้ยังคงเผชิญปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทาย และยังต้องระมัดระวังอยู่ตลอด โดยกลยุทธ์หลังจากนี้ จะยังคงเน้นการเติบโตและกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มลูกค้าเดิม ควบคู่ไปกับการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีรายได้สูงขึ้น และเฝ้าระวังหนี้เสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตลอดครึ่งปีหลัง

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อเป็นแอปพลิเคชันรองรับการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ซึ่งออกโดย ธปท. นำร่องเปิดให้ผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัด ทดลองใช้งานแอปฯ ผ่านฟีเจอร์การเติม สแกนจ่าย โอน แลกคืน CBDC ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคาร รวมถึงความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรในการรองรับการให้บริการในทุกมิติ เพื่อร่วมกันศึกษาและวางโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมการเงินแห่งอนาคตให้กับประเทศไทยต่อไป

 

ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารมุ่งมั่นนำขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรของธนาคารมาใช้ในการสนับสนุนและผลักดันโครงการสกุลเงินดิจิทัล (CBDC) ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยได้พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อทดสอบการใช้งานฟีเจอร์พื้นฐาน ได้แก่ การเติม-จ่าย-โอน-แลกคืน CBDC โดยได้เริ่มทดสอบการใช้งานที่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาและเริ่มขยายบริเวณทดสอบมายังร้านค้าโดยรอบธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ และจะมีการทดสอบใช้งานไปจนถึงประมาณไตรมาส 3 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัดร่วมกับธนาคาร เป็นพนักงาน SCB และพนักงานในกลุ่ม SCBX ทั้งสิ้นกว่า 3,000 ราย ซึ่งกลุ่ม Whitelist จะสามารถดาวน์โหลดแอป CBDC SCB ได้จาก App Store หรือ Play Store เพื่อลงทะเบียนใช้งาน และแอปฯ นี้จะลงทะเบียนใช้งานได้เฉพาะกลุ่ม Whitelist เท่านั้น ผู้ใช้งานจะสามารถเติม CBDC ผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้เชื่อมต่อกับแอป SCB EASY และสามารถแลก CBDC กลับคืนเป็นเงินในบัญชี

ดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาทดสอบ โดย 1CBDC มีมูลค่าเท่ากับ 1 บาทเสมอ โดยการทดสอบในครั้งนี้อยู่ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร”

“นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ร่วมกับ ธปท. และผู้ให้บริการ CBDC รายอื่น ทดลองพัฒนานวัตกรรมต่อยอดบนระบบ CBDC เพื่อศึกษาแนวทางการรองรับโจทย์ในภาคธุรกิจ (Innovation Track) โดย Innovation Track นี้เป็นเพียงการทดสอบในระบบปิดเท่านั้น และไม่มีการนำไปใช้งานกับผู้เข้าร่วมโครงการและร้านค้า โดยปัจจุบัน Retail CBDC เป็นโครงการเพื่อศึกษาตามที่ ธปท.ย้ำเสมอว่า “Pilot to Learn, Not Pilot to Launch”

การทดสอบในครั้งนี้เป็นการทดสอบในวงจำกัดโดยมีผู้ใช้งานและร้านค้าที่เป็นกลุ่ม Whitelistรวมทุกผู้ให้บริการ CBDC ประมาณ 10,000 คน และยังไม่มีแผนที่จะออกใช้งานจริง” ดร.ชาลี กล่าวทิ้งท้าย

ธนาคารได้พัฒนาประสบการณ์การใช้งาน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC โดยมีรายละเอียดดังนี้

· กำหนดให้มีการคัดกรองเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมทดสอบเท่านั้น

· กำหนดให้มีการยืนยันตัวตนผู้เข้าร่วมทดสอบ (KYC) และการเติมเงินผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน SCB EASY รวมถึงกำหนดการแลกคืน CBDC เข้าบัญชี SCB ที่เชื่อมต่อไว้ตอนทำการสมัครเท่านั้น สร้างความมั่นใจด้านมาตรฐานความปลอดภัย โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการสมัครเปิดบัญชีธนาคาร

· แอปพลิเคชัน CBDC SCB สามารถดูธุรกรรมการเงินย้อนหลังได้

· มีฟีเจอร์โอน CBDC ให้กับผู้เข้าร่วมทดสอบด้วยกันผ่าน My QR รวมถึงสามารถบันทึก QR Code เพื่อสะดวกต่อการทำธุรกรรม

· กำหนดให้มีขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่ได้มาตรฐานเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร และมีช่องทางการติดต่อโดยตรงของโครงการ

· ธนาคารมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้งาน CBDC ภายในธนาคารเพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการใช้จ่ายจริง เพื่อสนับสนุนโครงการของธปท. ให้บรรลุเป้าหมายการทดสอบ

สกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง (Retail CBDC) คือ เงินในรูปแบบธนบัตรที่ถูกพัฒนาให้กลายสภาพเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ทำให้การถือ Retail CBDC เทียบเท่ากับการถือธนบัตร ไม่มีความเสี่ยง นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินครั้งสำคัญที่จะเชื่อมโยง และเพิ่มโอกาสต่อยอดเพื่อรองรับนวัตกรรมทุกมิติ เช่น Open DLT Blockchain หรือ Programmable Payment ได้ในอนาคต ลดการแลกเปลี่ยนผ่านตัวกลาง ช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจของไทย เข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรวจสอบได้ และมีต้นทุนที่ถูกกว่าในปัจจุบัน

ตามที่ปรากฎข่าวพบผู้เสียหายจากการใช้งานสายชาร์จปลอมแล้วถูกดูดข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชีนั้น

นางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ธนาคารดอยซ์แบงก์ ประเทศไทย (XETRA: DBKGn.DB / NYSE: DB) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกของการให้บริการบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (Onshore hedgeหรือการบริหารความเสี่ยงค่าเงินให้แก่นิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด ภายใต้เกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องการผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทสำหรับนิติบุคคลที่อยู่นอกประเทศให้สามารถทำธุรกรรมเงินบาทได้คล่องตัวขึ้น ภายใต้ โครงการ Non-resident Qualified Company หรือ NRQC

ธนาคารดอยซ์แบงก์ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและสามารถให้บริการเป็นธนาคารแรกแก่ลูกค้านิติบุคคลต่างประเทศ ในระยะเวลาเพียง3สัปดาห์หลังจากธปท.ประกาศกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับนิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ภายใต้โครงการ NRQC เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564

กฎเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวอนุญาตให้บริษัทที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยสามารถเข้าถึงสภาพคล่องสกุลเงินบาท  ภายในประเทศได้คล่องตัวขึ้น โดยไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง

 น.ส.ธีรดา ทัพพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายค้าตราสารหนี้และตราสารอนุพันธ์  ธนาคารดอยซ์แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า เรามีความยินดีที่ได้เป็นธนาคารแห่งแรกในไทยที่ให้บริการ Onshore hedge แก่นิติบุคคลต่างประเทศให้สามารถเข้าถึงตลาดแลกเปลี่ยนเงินในไทย บริการนี้จะช่วยให้ลูกค้าของเรา ที่เป็นบริษัทในต่างประเทศ สามารถเข้าถึงการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินบาทในต้นทุนที่ถูกลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ภายใต้โครงการ NRQC ใหม่”

 บริษัทที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสามารถลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงได้ โดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายในประเทศไทยเป็นอัตราอ้างอิง เพราะโดยทั่วไปแล้วอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยงค่าเงินในประเทศจะถูกกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ในตลาดต่างประเทศ

 “เรามั่นใจว่าเกณฑ์ NRQC ใหม่นี้จะช่วยดึงดูดให้บริษัทต่างๆ ที่มีถิ่นฐานนอกประเทศไทย หันมาทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ตลาดแลกเปลี่ยนเงินในประเทศมากขึ้น และถือเป็นมิติใหม่ของตลาดการค้าเงินสกุลเงินบาทในประเทศไทย” น.ส.ธีรดา กล่าวเพิ่มเติม จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 10% จากจุดสูงสุดในปี 2563 ทำให้บริษัทต่างประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความผันผวนของค่าเงินบาท มีต้นทุนในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ทุกธุรกิจต้องบริหารจัดการต้นทุนอย่างเข้มงวดเพื่อเร่งการฟื้นตัวจากโควิด โครงการ NRQC ของ ธปท. ช่วยให้บริษัทที่ทำการค้าขายและลงทุนโดยตรงในประเทศไทย สามารถเข้าถึงสภาพคล่องในสกุลเงินบาทจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินในประเทศได้คล่องตัวมากขึ้น และปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงค่าเงินที่จากเดิมต้องพึ่งพาอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดนอกประเทศมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนตลาดในประเทศได้อย่างง่ายดาย หรือจะปรับเปลี่ยนในทางกลับกันก็ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือขั้นตอนป้องกันความเสี่ยงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

X

Right Click

No right click