การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าโอกาสในการสร้างรายได้ของเซมิคอนดักเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อรันเวิร์กโหลดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 20.9% จากปี 2565 หรือคิดเป็นมูลค่า 53.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อลัน พรีสต์ลีย์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การพัฒนา Generative AI และการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของ AI-Based Applications ที่หลากหลายในดาต้าเซ็นเตอร์, โครงสร้างพื้นฐาน Edge และอุปกรณ์ปลายทาง จำเป็นต้องติดตั้งหน่วยประมวลผลกราฟิกประสิทธิภาพสูง (GPU) และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งนี้กำลังขับเคลื่อนการผลิตและการใช้งานชิป AI”

การ์ทเนอร์พบว่าตลอดช่วงเวลาของการคาดการณ์ รายได้จากเซมิคอนดักเตอร์ AI จะยังเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก โดยในปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 25.6% หรือคิดเป็นมูลค่า 67.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ดูตารางที่ 1) และภายในปี 2570 รายได้ชิป AI คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวของตลาดในปี 2566 โดยมีมูลค่าถึง 119.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 อุตสาหกรรมและองค์กรด้านไอทีจำนวนมากจะปรับใช้ระบบที่มีชิป AI ตามปริมาณเวิร์กโหลดงานที่ใช้ AI ในองค์กรที่เติบโตสูงขึ้น หากพิจารณาตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ประเมินว่า ภายในสิ้นปี 2566 มูลค่าของชิปประมวลผลในแอปพลิเคชันที่ใช้งาน AI (AI-Enabled Application) ในอุปกรณ์ต่าง ๆ จะแตะ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นจาก 558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565

ความต้องการด้านการออกแบบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดสำหรับรองรับการดำเนินการปริมาณเวิร์กโหลดงานที่ใช้ AI อย่างคุ้มค่าส่งผลให้มีการใช้งานชิป AI ที่ออกแบบเองเพิ่มขึ้น พรีสต์ลีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับองค์กรหลาย ๆ แห่ง การปรับใช้ชิป AI ที่ออกแบบเองสำหรับใช้งานในสเกลใหญ่ ๆ จะเข้ามาแทนที่สถาปัตยกรรมชิปในปัจจุบัน รวมถึง discrete GPUs สำหรับใช้ในปริมาณเวิร์กโหลดงานที่ใช้ AI ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคนิค Generative AI”

Generative AI ยังกระตุ้นความต้องการระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการพัฒนาและการนำไปใช้ โดยมีผู้จำหน่ายหลายรายที่เสนอระบบ GPU ที่มีประสิทธิภาพสูง และอุปกรณ์เครือข่ายซึ่งมองว่าเป็นประโยชน์ระยะสั้น แต่ในระยะยาว การ์ทเนอร์คาดว่าจะมีการใช้ชิป AI ที่ออกแบบเองเพิ่มขึ้น

เมื่อผู้ให้บริการคลาวด์ขนาดใหญ่ (หรือ Hyperscaler) มองหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการปรับใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้

จากสถิติฐานผู้เรียนและยอดผู้สมัครเรียนเพิ่มขึ้น 400% นับตั้งแต่ช่วงโควิด  Coursera มุ่งขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าธุรกิจและสถาบันอุดมศึกษากว่า 40 ราย

คอร์สเซรา (Coursera) (NYSE: COUR) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นนำ ประกาศหลายโครงการความร่วมมือและการปรับเสริมหลักสูตรพร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เรียนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนระดับบุคคลและระดับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในไทยได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง

คอร์สเซราได้เปิดตัวแคตตาล็อกเนื้อหาการเรียนรู้จำนวนมากในภาษาไทย รวมถึงหลากหลายฟีเจอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อนำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ออนไลน์ตามความต้องการเฉพาะบุคคลได้มากขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ (Interactive) กับบทเรียนได้มากขึ้นด้วย สามารถรับชมวิดีโอเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ได้ที่นี่ โดยปัจจุบันผู้เรียนชาวไทยสามารถเข้าถึงหลักสูตรชั้นนำอย่าง The Science of Well-Being จาก Yale University, Excel Skills for Business: Essentials จาก Macquarie University, Programming for Everybody จาก University of Michigan และ What is Data Science? จากไอบีเอ็มซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ คอร์สเซรายังได้ประกาศเปิดตัวกลุ่ม

ลูกค้าองค์กรและสถาบันอุดมศึกษารายใหม่ เนื่องจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศเปิดรับการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับพนักงานขององค์กรและนิสิตนักศึกษา ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของคอร์สเซราที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยผู้เรียนมากกว่า 800,000 คนจากประเทศไทยได้ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรของคอร์สเซรากว่า 1.5 ล้านหลักสูตร ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงสี่เท่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด

 

นายเจฟฟ์ มาจจิออนคัลดา (Jeff Maggioncalda) ประธานกรรมการบริหารของคอร์สเซรา กล่าวว่า "โอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจำเป็นต้องอาศัยการบ่มเพาะแรงงานบุคลากรที่มีทักษะ ความคล่องตัว และมีความสามารถที่หลากหลาย ภารกิจของเราคือการช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพระดับเวิลด์คลาสได้จากทั่วโลก และวันนี้ถือเป็นก้าวแห่งการพัฒนาครั้งสำคัญเมื่อเรานำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้เพื่อลดช่องว่างด้านภาษาและการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนนับล้านรายทั่วประเทศ ด้วยหลักสูตรที่แปลโดย AI มากกว่า 2,000 หลักสูตรที่เปิดสอนเป็นภาษาไทยในขณะนี้ ผู้เรียนชาวไทยสามารถเข้าถึงบทเรียนที่สอนโดยนักการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกได้อย่างหลากหลายและสะดวกสบาย ซึ่งจะช่วยติดอาวุธเพิ่มศักยภาพให้พวกเขาด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในโลกดิจิทัลที่มี AI เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญได้”

ไฮไลต์สำคัญ ได้แก่

● ปัจจุบันมีหลักสูตรภาษาไทยมากกว่า 2,000 หลักสูตร รวมถึงหลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย เช่น การเรียนรู้ของเครื่องภายใต้การดูแลการถดถอยและการจำแนกประเภทจาก DeepLearning.AI และ Stanford รวมถึง ตลาดการเงินจาก Yale และวิธีการเรียนรู้ Deep Teaching Solutions ตอนนี้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการอ่านหลักสูตร คำบรรยายในวิดีโอบรรยายบทเรียน ไปจนถึงแบบทดสอบ การประเมิน คำแนะนำในการทบทวนบทเรียน และคำแนะนำสำหรับการอภิปราย ซึ่งเป็นภาษาไทยทั้งหมด ผู้เรียนจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่แปลแล้วได้ในเบื้องต้นเมื่อลงทะเบียนในหลักสูตร Coursera for Business และ Coursera for Government โดยจะเผยแพร่แก่ผู้เรียนทุกคนก่อนสิ้นปี 2566 นี้ ● Coursera Coach (เบต้า) สำหรับสมาชิก Coursera Plus - ผู้ช่วยการเรียนรู้เสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งให้ข้อเสนอแนะรายบุคคล รวมถึงตอบคำถาม และสรุปวิดีโอการบรรยายและแหล่งข้อมูล ผู้สอนจะสนับสนุนผู้เรียนด้วยการโต้ตอบเป็นภาษาไทย

● ปลั๊กอิน Coursera ChatGPT – นำเสนอการค้นหาบทเรียนแบบส่วนตัวในแคตตาล็อกบทเรียนของคอร์สเซรา ทำให้ผู้เรียนที่ใช้ GPT-4 สามารถแนะนำเนื้อหาและข้อมูลประจำตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยพัฒนาทักษะในสาขาวิชาหรือสาขาอาชีพที่กำหนด

● การสร้างหลักสูตรโดยใช้ AI - เครื่องมือสร้างหลักสูตรที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งผู้เรียนที่เป็นมนุษย์ต้องทำการป้อนคำแนะนำหรือคำถามที่ต้องการเข้าไป จะสร้างเนื้อหาโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบาย การอ่าน การบ้าน และอภิธานศัพท์ ลูกค้าองค์กรและมหาวิทยาลัยยังสามารถใช้ฟีเจอร์นี้สำหรับการเขียนงานหรือหลักสูตรแบบเป็นความลับ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญภายในเพื่อสร้างหลักสูตรที่กำหนดเองและผสมผสานเข้ากับเนื้อหาที่แนะนำจากเหล่าพันธมิตรที่เข้าร่วมในคอร์สเซรา ซึ่งขณะนี้ฟีเจอร์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำร่องปรับใช้เบื้องต้นกับลูกค้าที่ได้รับการคัดเลือก

● ความร่วมมือใหม่และการขยายความร่วมมือกับลูกค้า Coursera for Business 7 ราย ได้แก่ Egg Digital, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท Card X จำกัด, กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) รวมลูกค้าองค์กรในไทยในปัจจุบันทั้งหมด 27 ราย

● ความร่วมมือใหม่และการขยายความร่วมมือกับลูกค้าของ Coursera for Campus 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การศึกษาทั่วไปและ คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมลูกค้าสถาบันอุดมศึกษาในไทย 15 ราย

● นวัตกรรมแพลตฟอร์มเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ โดย 44% ของผู้เรียนชาวไทยใช้อุปกรณ์ดีไวซ์พกพาเพื่อเข้าถึงบทเรียนของคอร์สเซรา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดหลักสูตร ติดตามความคืบหน้าและแบบทดสอบ จดบันทึกพร้อมไฮไลต์ และเชื่อมต่อเข้าถึงปฏิทินการเรียน ซึ่งปรับให้เหมาะสมสำหรับการใช้ข้อมูลน้อยได้อย่างง่ายดาย

ด้วยความต้องการการเรียนรู้ออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น คอร์สเซรามีเป้าหมายที่จะช่วยลดช่องว่างทักษะดิจิทัลของไทยเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงจะมีส่วนช่วยให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ของไทยเพิ่มมูลค่าประมาณ 75.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ทักษะดิจิทัลยังส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แรงงานในไทยที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงสถาปัตยกรรมคลาวด์และการพัฒนาซอฟต์แวร์ จะได้รับเงินเดือนสูงขึ้น 57% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ทักษะเหล่านี้ในการทำงาน

 

“เทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น Generative AI กำลังเข้ามาพลิกโฉมวิธีการที่เราเรียนรู้ สอน และทำงานไปอย่างสิ้นเชิง” นายรากาฟ กุปตา (Raghav Gupta) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของคอร์สเซรา กล่าว “ด้วยจำนวนงานที่ใช้ทักษะดิจิทัลและการทำงานทางไกลที่เพิ่มมากขึ้น เรามุ่งมั่นที่จะเสริมศักยภาพให้กับผู้เรียนชาวไทยและสถาบันการศึกษาด้วยคุณภาพเนื้อหาบทเรียนและนวัตกรรม AI เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลกับพื้นที่เมือง และสร้างสังคมทักษะแรงงานที่มีความสามารถร่วมกัน" รายงานผลลัพธ์ของผู้เรียนประจำปี 2566 ของคอร์สเซรา เผยว่า ผู้เรียนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้พูดถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนบนคอร์สเซรา โดย 86% กล่าวว่าได้ประโยชน์ด้านอาชีพ และ 97% กล่าวว่าได้ประโยชน์ส่วนบุคคลด้วยฐานผู้เรียนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในไทยที่ปัจจุบันสามารถให้บริการเนื้อหาภาษาไทยได้แล้ว คอร์สเซราจึงถือเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั้นนำที่ช่วยส่งมอบทักษะจำเป็นแห่งอนาคตเพื่อบ่มเพาะความสามารถของเยาวชนไทย

ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 คอร์สเซรามอบหลักสูตรภาษาไทยฟรี จำนวน 5 หลักสูตรแก่ผู้เรียนชาวไทยทั่วประเทศ อย่าพลาดโอกาสในการลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านลิงก์นี้ https://www.coursera.org/promo/thai-aug-2023

การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการ Contact Center (CC) และ CC Conversational AI รวมถึงผู้ช่วยลูกค้าแบบเสมือนจริง หรือ Virtual Assistant ทั่วโลก ในปี 2566 จะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 16.2% จากปี 2565

 

เมแกน มาเรค เฟอร์นันเดซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "อัตราการเติบโตของการลงทุนระยะสั้นใน CC และ CC Conversational AI รวมถึง Virtual Assistants คาดว่าจะลดลง เนื่องจากความผันผวนของธุรกิจทำให้รอบการตัดสินใจลงทุนกินเวลานานขึ้น โดยในการลงทุนระยะยาว Generative AI และการเติบโตของ Conversational AI จะเร่งการเปลี่ยนแพลตฟอร์ม Contact Center เนื่องจากหัวหน้าทีมที่ดูแลด้านประสบการณ์ลูกค้า (CX) มองหาแนวทางเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการและการมอบประสบการณ์ลูกค้าโดยรวมไปพร้อมกัน”

 

ตลาดบริการ Conversational AI และ Virtual Assistant ทั่วโลก เป็นกลุ่มบริการที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในตลาด Contact Center โดยกระตุ้นการเติบโตถึง 24% ในปี 2567 (ดูตารางที่ 1) ซึ่งความสามารถของ Conversational AI กำลังได้รับการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากผู้มีอำนาจตัดสินใจในธุรกิจกำลังวางแผนรวมบริการ Conversational AI เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อลดการพึ่งพาตัวแทนให้บริการลูกค้า ขณะที่ปริมาณการโต้ตอบของฝ่ายบริการลูกค้าที่ทำงานผ่านเทคโนโลยี AI ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยการโต้ตอบส่วนใหญ่นี้ถูกเสริมประสิทธิภาพด้วย CC AI แทนที่การโอนถ่ายไปยังตัวแทนเสมือนทั้งหมดแบบเดิม การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ในปี 2566 3% ของการโต้ตอบจะได้รับการจัดการผ่าน CC AI และเพิ่มขึ้นเป็น 14% ในปี 2570

ตารางที่ 1 คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายใน Contact Center และ CC Conversational AI และ Virtual Assistant ของผู้ใช้ทั่วโลก (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

 

ยอดใช้จ่าย ปี 2565 ยอดการเติบโต ปี 2565 (%) ยอดใช้จ่าย ปี 2566 ยอดการเติบโต ปี 2566 (%) ยอดใช้จ่าย ปี 2567 ยอดการเติบโต ปี 2567 (%)

16,077 17.6 18,690 16.2 23,171 24.0

ที่มา: การ์ทเนอร์ (กรกฎาคม 2566)

การ์ทเนอร์คาดว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์จะก่อให้เกิดข้อจำกัดด้านงบประมาณในปี 2566 ส่งผลให้โครงการเปลี่ยนหรืออัปเกรดระบบ Contact Center แบบตั้งอยู่ในองค์กรชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ในโครงการที่ต้องพบปะลูกค้าถูกมองว่าจะเป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์การรักษาและสร้างรายได้

“นั่นหมายความว่าเมื่อการลงทุนด้านไอทีหลายด้านลดลงจากการตัดงบประมาณ ส่งผลให้การบริการลูกค้าและการริเริ่มสนับสนุนเพิ่มศักยภาพในบริการเพื่อสร้างความต่างแก่ประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับหรือการปรับปรุงการดำเนินงานในบริการลูกค้าอาจได้รับการลงทุนง่ายขึ้นแบบซื้อเข้ามาใช้ (Buy-In) ซึ่งปัจจัย

เหล่านี้ช่วยเสริมให้โครงการ Contact Center as a Service (CCaaS) ได้รับเงินทุนจากงบประมาณที่จัดสรรไว้สำหรับการทำดิจิทัลทรานฟอร์มเมชันขององค์กรมากขึ้น” มาเรค เฟอร์นันเดซ กล่าวเพิ่มเติม

การ์ทเนอร์คาดว่าการลงทุน CCaaS จะเติบโตรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้มีอำนาจตัดสินใจใช้ความสามารถของ Contact Center บนคลาวด์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานบริการลูกค้าให้ทันสมัย ซึ่งรวมถึงการนำไปใช้ในระบบ Contact Center ที่มีตัวแทนดูแลลูกค้าหลายพันราย ที่มีการนำ CCaaS ไปใช้ได้ช้า ในฐานะที่ CCaaS เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงให้ทันสมัย โซลูชัน CCaaS จะใช้เพื่อสนับสนุนช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายยิ่งขึ้น และจะนำเสนอแดชบอร์ดขั้นสูง การวิเคราะห์ การกำหนดเส้นทาง การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร (Workforce Optimization หรือ WFO) เพิ่มความรู้และข้อมูลเชิงลึก รวมถึงความสามารถการสนทนาของ AI

ทุกเทคโนโลยีมีศักยภาพในการใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ และเป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี generative AI เช่น ChatGPT ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในแวดวง AI ซึ่ง Sam Altman ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT เองได้แสดงความกังวลในแถลงการณ์ฉบับล่าสุด1 โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ AI และให้นำไปใช้งานอย่างเหมาะสมและโปร่งใสพร้อมได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่อง AI ประหนึ่งการให้ความสำคัญในเรื่องความท้าทายระดับโลก อย่างเรื่องการจัดการกับโรคระบาดและสงครามนิวเคลียร์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษยชาติ

โดยความกังวลและข้อเสนอแนะข้างต้นเป็นการกระตุ้นและเน้นยำให้บริษัทต่าง ๆ พิจารณาเชิงรุกถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของ generative AI เป็นโอกาสสำหรับองค์กรที่จะต้องเริ่มตื่นตัวในเรื่องการปกป้องระบบและข้อมูลของตนเมื่อเผชิญกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านี้

นอกจากนี้เรายังได้พบว่า ผู้ประสงค์ร้ายอาศัยช่องทางเหล่านี้สร้างประโยชน์แก่ตนเอง ตัวอย่าง ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการเปิดตัว ChatGPT เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์ได้นำเครื่องมือไปแชร์และใช้2 บนฟอรัมดาร์กเว็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่สามารถใช้โดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด เพื่อสร้างมัลแวร์ที่ซับซ้อนขึ้นมาใหม่ สำหรับคนหลายล้านคน ChatGPT นั้นเป็นเสมือนวิศวกรคนหนึ่งที่บริษัทจ้างทำงาน –– หรือเปรียบเสมือนพนักงานที่มีศักยภาพคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรู้และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สั่งงานได้ตลอด จัดการข้อมูลที่เราเสนอได้อย่างมหาศาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่ากลัว อีกหนึ่งตัวอย่างการใช้งานจริงอีกเคส คือ นักเทคโนโลยีอาวุโสท่านหนึ่งของเราขอให้ ChatGPT ช่วยค้นหาซอฟต์แวร์เพื่อเจาะไปยังช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ และปรับเปลี่ยนเพื่อให้ไม่สามารถถูกตรวจจับหรือต้นพบได้ด้วยซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เขาใช้เวลาเพียงสองนาทีกับหกคำถามเพื่อให้ได้รหัสที่ "ซับซ้อน" ที่เขาต้องการ เพื่อทดสอบขอบเขตความปลอดภัยของบริษัท เขาอาจใส่โค้ดลงบนอุปกรณ์ที่ถูกควบคุมผ่านเข้ามายังระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัท ใช้โค้ดเพื่อในเครือข่าย จากนั้นจึงวิ่งจากที่นึง เครื่องนึง ในระบบเครือข่ายไปยังอีกเครื่องนึงไปมาอย่างอิสระภายในองค์กรเพื่อหาเป้าหมายที่แท้จริง และเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม นักเทคโนโลยีอาวุโสของเราในสถานการณ์นี้ได้รับอนุญาตให้ทำการทดลองโดยระบุตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย “white hat” เท่านั้น สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้าง ChatGPT มีวิธีป้องกันใครก็ตามที่ใช้แพลตฟอร์มอย่างโจ่งแจ้งเพื่อจุดประสงค์ที่เป็นอันตรายหรือไม่

แม้ว่าเราจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการใช้งาน แต่ก็คาดการณ์ได้ไม่ยากถึงความเป็นไปได้ที่จะเห็นผู้ไม่หวังดีที่ใช้ประโยชน์จาก generative AI ในการสร้างความเดือดร้อน

· การระบาดของฟิชชิ่งที่เพิ่มขึ้นและน่ากลัวยิ่งขึ้น: ดังตัวอย่างข้างต้นที่แสดงให้เห็นว่า ChatGPT สามารถดำเนินการที่ซับซ้อนได้ ตัวอย่าง สามารถเขียนอีเมลฟิชชิ่งได้ง่ายพอ ๆ กับเขียนเพลงหรือภาคนิพนธ์ (term paper) และสามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างน่าเชื่อถือ3 มากกว่าผู้โจมตีจำนวนมาก กี่ครั้งแล้วที่คุณถูกล่อลวงให้คลิกอีเมล จนกระทั่งสังเกตเห็นการสะกดผิดหรือข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าผู้เขียนเขียนได้ไม่ดี แต่แล้วข้อผิดพลาดเหล่านั้นจะหายไปโดยอัตโนมัติโดย ChatGPT

· การโจมตีแบบ Deepfake: ผู้โจมตีอาจสร้างโน้ตที่ดูเหมือนว่ามาจาก CEO ของคุณหรืออาจสร้างข้อความที่คล้ายมากจนคุณแยกไม่ออก เช่นเดียวกับที่คุณสามารถขอให้ ChatGPT เขียนบทกวีในสไตล์ของ Henry David Thoreau อีกหนึ่งตัวอย่างคือ บริษัทญี่ปุ่นตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วย Deepfake Audio ในปี 2021

เมื่อผู้จัดการสาขาถูกหลอกให้โอนเงิน 35 ล้านดอลลาร์4 ไปยังบัญชีปลอม หลังจากได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่ฟังดูเหมือนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท

· ระบบออโตเมชัน: การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องทำงานที่น่าเบื่อมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เหมาะสำหรับ generative AI ดังนั้น ผู้ใช้ทั้งที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายจึงกำลังตรวจสอบวิธีการใช้ generative AI เพื่อทำให้งานเป็นไปโดยอัตโนมัติ ปัจจุบัน นักพัฒนาจำนวนมากใช้เครื่องมือ generative AI เช่น GitHub Copilot เพื่อจัดการงานการเขียนโปรแกรมระดับทั่วไปต่างๆ และแปลโค้ด5 เป็นภาษาอื่นสำหรับการปรับใช้ข้ามแพลตฟอร์ม ดังที่ Giovanni Vigna, Sr. Director Threat Intelligence ของ VMware กล่าว เทคนิคดังกล่าวอาจถูกใช้โดยการดำเนินการบิดเบือนข้อมูลอย่างมืออาชีพแทนการจ้างผู้เขียนเพื่อโพสต์หลอกลวง

· การโจมตีแบบ Live off the land: ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป้าหมายของการโจมตีคือการเจาะเข้าไปในเครือข่ายและหลบเลี่ยงการตรวจจับเนื่องจากพวกเขามองหาเป้าหมายที่มีค่า ตามปกติแล้ว การโจมตีจะใช้โปรโตคอลเดียวกันกับที่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายใช้ในการทำงาน เช่น Remote Desktop Protocol (RDP) ที่พวกเขาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ใช้มักถูกใช้ในการโจมตีซึ่งนับเป็นหนึ่งใน "พฤติกรรมเครือข่ายที่สังเกตบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวจากเครื่องนึงไปยังอีกเครื่องนึงไปเรื่อยแบบ lateral จนกว่าจะเจอเป้าหมายที่แท้จริง"6

· ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา: ChatGPT เชื่อมโยงกับการรั่วไหลของข้อมูลที่ถูกกล่าวหา โดยพนักงานแชร์ข้อมูลลับขององค์กรกับ ChatGPT ซึ่งเป็นการเปิดข้อมูลให้กับผู้ใช้ OpenAI แหล่งที่มา7 ระบุว่าสิ่งนี้ "รวมถึงซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์ที่รับผิดชอบในการวัดอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์"

แล้วบริษัทต่าง ๆ จะทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการโจมตีที่เสริมประสิทธิภาพด้วย AI สำหรับผู้เริ่มต้น พวกเขาจำเป็นต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี ในการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ “71 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการโจมตีเปิดเผยช่องโหว่ที่พวกเขาไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามี ดังนั้นการมองเห็นและการรับรู้ถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ดี8 แม้ว่าคุณจะหลีกเลี่ยงการโจมตีมาได้หลายต่อหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่เมื่อ generative AI มีมากขึ้น โอกาสในการตกเป็นเป้าหมายของคุณก็จะเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ในองค์กรควรจะพูดคุยอย่างเปิดเผยในเรื่องภัยคุกคามต่างๆต่อกันและกันมากขึ้น เพื่อให้สามารถรวบรวมความรู้ร่วมกันและป้องกันการโจมตีครั้งใหม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของคุณจะพร้อมมากขึ้นหากองค์กรและภาคส่วนต่าง ๆ แบ่งปันข่าวกรองภัยคุกคาม

สุดท้าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้ generative AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นเดียวกับนักเทคโนโลยีอาวุโสท่านหนึ่งของเราที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ที่ใช้ ChatGPT เพื่อรับรู้และจัดหมวดหมู่ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ เราสามารถใช้ AI รูปแบบอื่น ๆ เพื่อตรวจจับร่องรอยเล็กน้อยที่ผู้โจมตีที่มีความสามารถทิ้งไว้ และช่วยตรวจสอบระบบสำคัญต่าง ๆ เพื่อหาช่องโหว่โดยอัตโนมัติ ส่งสัญญาณเตือน และดำเนินการที่เหมาะสม

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัวคลินิก AI

X

Right Click

No right click