December 13, 2024

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ และยังช่วยรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ต่างๆด้วย หากแต่ปริมาณน้ำบนโลกนี้เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกเพียงร้อยละ 3 เป็นน้ำจืด ถ้าหากแบ่งในปริมาณน้ำจืดนี้เป็น 100% พบว่าเป็นธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งมากถึง 70% ส่วนอีก 29% เป็นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล และมีเพียง 1% เป็นน้ำผิวดิน

การเก็บกักน้ำไว้บนผิวดินเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ กลายเป็นทั้งเรื่องที่จำเป็นและเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก วันนี้พามารู้จักกับหนึ่งในตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในภาคเกษตร ที่ โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาตั้งแต่ปี 2520 ด้วยการพลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้งให้เกษตรกรทั้ง 50 ราย ได้มีอาชีพเลี้ยงหมูเป็นอาชีพหลัก และมีการเพาะปลูกพืชสวนพืชไร่เป็นอาชีพเสริม จนถึงปัจจุบันที่นี่กลายเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ มีสวนผลไม้ สวนยาง แปลงผักปลอดสาร ฟาร์มเห็ด สุดแต่ความถนัดของเกษตรกรช่วยสร้างรายได้เสริมให้ตลอดปี

สำหรับการเลี้ยงหมูและการเพาะปลูกพืช ของเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ซึ่งมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก และที่ผ่านมาที่นี่ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรจึงร่วมกับทีมงานของธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่ช่วยสนับสนุนทั้งการผลิตหมูและทุกๆกิจกรรมของเกษตรกร ด้วยการร่วมกันคิดหาวิธีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมคือ “ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)”

ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด เล่าว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน ถือเป็นนวัตกรรมด้านสังคมที่เกษตรกรร่วมกับซีพีเอฟดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำใช้ ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อน้ำมาใช้มากถึง 50,000 คิว ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละ 1,000,000 บาท ส่งผลกระทบต่อรายของได้เกษตรกร ทุกคนได้ร่วมคิดหาวิธีที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับทั้งการเลี้ยงหมูและปลูกพืชได้ทั้งปี จึงเกิดเป็นแนวคิดการทำ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ของหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ ที่ใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน ด้วยการขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร

“เมื่อก่อนพอฝนตกจะเกิดน้ำท่วมขังและไหลทิ้งออกนอกพื้นที่ ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ธนาคารน้ำใต้ดิน คือสถานที่เก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไปกักเก็บไว้ใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำให้ได้มากที่สุด จากบ่อที่ทุกคนร่วมใจกันประดิษฐ์ขึ้นมา ในรูปแบบนวัตกรรมทางธรรมชาติ จัดการน้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินให้ลงไปเก็บไว้ใต้ดิน มีการเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายธนาคารน้ำ ร่วมกับแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เป็นการนำความรู้พื้นฐานการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งด้าน วิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา สังคม ชุมชน และธรรมชาติ ทิศทางการไหลของน้ำ การหมุนของโลกมาผนวกกัน เมื่อมีธนาคารน้ำใต้ดิน พอถึงฤดูแล้งระดับน้ำใต้ดินจะเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรสามารถนำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ได้เพียงพอตลอดฤดูกาล” ภักดี กล่าว

ธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เริ่มดำเนินการในปี 2563 หลังจากทีมงานได้ศึกษาดูงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเชิญวิทยากรของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ มาให้ความรู้กับเกษตรกร พร้อมวางแผนสำรวจตำแหน่งที่จะทำธนาคารน้ำใต้ดินในหมู่บ้าน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของซีพีเอฟทำการสำรวจข้อมูลปริมาณน้ำใต้ดินเบื้องต้น จนเริ่มสร้างธนาคารน้ำใต้ดินรูปแบบบ่อปิดบริเวณรอบสำนักงานและพื้นที่ส่วนกลาง และทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดที่บ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน โดยน้ำที่นำมาเก็บมาจากหลายแหล่ง ทั้งน้ำฝนที่ตกลงมา และน้ำจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ต่อมาในปี 2564 ต่อยอดสู่ธนาคารน้ำใต้ดินรูปแบบรางระบายน้ำบริเวณถนนภายในหมู่บ้านฯ และในปี 2565 ผลักดันสู่แหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจได้มาศึกษาดูงาน

ปัจจุบันที่นี่มีธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดบริเวณพื้นที่ส่วนกลางรวม 31 บ่อ แบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อปิด 30 บ่อ และแบบรางระบายน้ำ 1 บ่อ ส่วนธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดบริเวณรอบหมู่บ้านมีทั้งหมด 64 บ่อ แบ่งออกเป็นรูปแบบบ่อปิด 9 บ่อ และรูปแบบรางระบายน้ำจำนวน 55 บ่อ ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขังและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ภายในฟาร์ม ส่วนธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บ่อเดิม ความจุ 37,000 ลบ.ม. โดยทำการขุดบ่อเพิ่มเติมเพื่อเก็บกักน้ำให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เชื่อมต่อจากบ่อเดิม อีก 1 บ่อ มีความจุ 17,000 ลบ.ม. ทำให้สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้มากกว่า 18 เดือน จึงช่วยแก้ไขทั้งปัญหาภัยแล้ง การขาดน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังทั้งภายในและภายนอกฟาร์ม เพิ่มปริมาณระดับน้ำบาดาลในพื้นที่เก็บไว้ใช้อนาคต และเพิ่มความอุมดมสมบูรณ์ของพื้นดินสำหรับปลูกพืช ความสำเร็จนี้ได้ถูกต่อยอดไปยังฟาร์มหมูของธุรกิจสุกรซีพีเอฟภาคตะวันออกอีก 6 แห่ง รวมถึงขยายผลไปยังธุรกิจสุกรใน ซี.พี.ลาว ด้วย

“ธนาคารน้ำใต้ดินเปรียบเสมือนการฝากน้ำไว้กับดิน เป็นการเก็บน้ำส่วนเกินเพื่อเติมน้ำที่ขาด ช่วยแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งทุกปี และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำได้ถึงปีละ 1 ล้านบาท เกษตรกรและทีมงานซีพีเอฟทุกคนภูมิใจที่ ได้มีโอกาสเปิดรับผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานธนาคารน้ำใต้ดินของเราและนำไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้ และให้คำปรึกษาเรื่องการทำธนาคารน้ำแก่หน่วยงานต่างๆ และยังได้ไปร่วมงานสัมมนาบริหารจัดการน้ำนานาชาติด้วย” ภักดี กล่าว

หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าพิสูจน์ ทำให้เห็นแล้วว่าน้ำบาดาลและแหล่งน้ำใต้ดินมีความสำคัญ และเป็นแหล่งขุมทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ หากมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 038-557-081

การเลี้ยงหมูแบบอิสระของพ่อแม่ ถือเป็นภาพชินตาที่ ชมพูนุท บุญทิม หรือ ใบพลู เห็นและสัมผัสมาตั้งแต่เกิด

ซีพี นำเอกลักษณ์เฉพาะของเนื้อไก่ส่วนหลังตัดแต่งพิเศษ หรือ ชิคเก้นริบ ที่กินง่าย อร่อยได้ในรูดเดียว

แบรนด์ซีพี (CP Brand) ในกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ

จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ 100% ปราศจากการรุกป่า ไม่เผาตอซัง

Page 5 of 9
X

Right Click

No right click