กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้ามอบประสบการณ์ใหม่แบบไร้ขีดจำกัดด้านการให้ความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่งให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ (SCB Wealth) อย่างต่อเนื่อง ปูพรมเสริมแกร่งความรู้ด้วยซีรีส์สัมมนา SCB Investment Talk 2019 ประเดิมด้วยงานสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ภายใตคอนเซ็ปต์ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารการลงทุนของคุณ สู่กระบวนทัศน์การลงทุนยุคใหม่…Empowering You to the New Investment Paradigm” ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจด้านกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้น และเตรียมพร้อมรับมือตลาดผันผวนกับกองทุนเด่นปี 2019 พร้อมแท็คทีมบลจ.พันธมิตร นำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลายในรูปแบบของ Open Architecture Platform ที่ได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษจากทีม SCB CIO Office เพื่อให้อิสระลูกค้าได้เลือกลงทุนตามต้องการ เป็นการสร้างประสบการณ์ในการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าแบบไร้ขีดจำกัดแบบมืออาชีพ สำหรับลูกค้า SCB Wealth โดยเฉพาะ โดยมี นางสาวศลิษา หาญพานิช (กลาง) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ผลิตภัณฑ์การลงทุนและเงินฝาก ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด นายสุกิจ อุดมศิริกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด นายพจน์ หะริณสุต (ซ้าย) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และนายยุทธพล ลาภละมูล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด ร่วมเปิดงานสัมมนา เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้
Key point
Implication
โดย : จิรายุ โพธิราช (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
Economic Intelligence Center (EIC)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
EIC Online: www.scbeic.com
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมจ่ายเงินปันผลพร้อมกัน 5 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว ซีเล็คท์ (ชนิดจ่ายเเงินปั) (SCBLTSED) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เพิ่มผลมั่นคง(ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBPMO) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งจะจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 18 ตุลาคม 2561 นอกจากนี้ยังมีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล พร็อพเพอร์ตี้ (SCBGPROP) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBNK225D) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น LOW VOLATILITY (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBLEQ) โดยจะจ่ายในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 นี้ รวมมูลค่ากว่า 33 ล้านบาท
โดยกองทุน SCBLTSED จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.1000 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 เป็นการจ่ายปันผลครั้งแรก นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนหุ้นไทยที่มีประสบการณ์ยาวนาน มีกองทุนภายใต้การบริหารที่ได้รับการจัดอันดับมอร์นิ่งสตาร์ 5 ดาว และ 4 ดาว เน้นสร้างผลตอบแทนเหนือตลาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีข้อจำกัดการลงทุน มีการใช้กลยุทธ์ที่ผสมผสานหลากหลายโมเดลการลงทุนให้เหมาะสมตามสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในแต่ละโมเดลการลงทุนมีการคัดเลือกหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นว่ามีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้สูงที่สุด โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 5.26% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)
กองทุน SCBPMO จะจ่ายปันผลในอัตรา 0.6300 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 3.6200 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541) มีนโยบายการลงทุนเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต โดยมี net exposure ในตราสารดังกล่าว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 4.00% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561)
สำหรับกองทุน SCBGPROP จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.2396 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ไปแล้ว 0.1556 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0840 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 4 รวมจ่ายปันผล 0.4896 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 0.54% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF WORLD REAL ESTATE SECURITIES FUND ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งมีนโยบายเน้นบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนใน REIT ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ภายใต้การบริหารจัดการของ BlackRock Investment Management (UK) Limited ทั้งนี้กองทุนหลักเน้นลงทุนใน REITs และหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้กองทุนมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงแรม และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการกระจายลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ มากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก
ส่วนกองทุน SCBNK225D จะจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - วันที่ 30 กันยายน 2561 ในอัตรา 0.3843 บาทต่อหน่วย มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ไปแล้ว 0.3033 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.0810 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผล 2.7713 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556) โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 15.81% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Nikkei 225 Exchange Traded Fund (กองทุนหลัก) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บริหารงานโดย Nomura Asset Management Co.,Ltd. จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และลงทุนในสกุลเงินเยน (JPY) มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 และตราสารทุนที่กำลังจะมาเป็นส่วนประกอบของดัชนีนิคเคอิ 225 ในสัดส่วนการลงทุนเดียวกับจำนวนหุ้นในดัชนีนิคเคอิ 225 (Nikkei 225 Index หรือ Nikkei Stock Average)
และกองสุดท้ายกองทุน SCBLEQ จะจ่ายในอัตรา 0.1736 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 - วันที่ 30 กันยายน 2561 นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 0.8338 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559) โดยมีผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 8.41% (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Low Volatility Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) I สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บริหารโดย AllianceBernstein L.P เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักลงทุนในตราสารทุนที่โดยพื้นฐานมีความผันผวนคาดการณ์และความเสี่ยงขาลงคาดการณ์ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโดยรวม ซึ่งจัดการกองทุนจะคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าพอร์ตการลงทุนโดยการใช้แบบจำลองเพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ รวมถึงใช้หลักการวิเคราะห์ และประสบการณ์ด้านการลงทุนที่ยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำที่สุด ในขณะที่มีคุณภาพด้านปัจจัยพื้นฐานดีที่สุด โดยจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในตลาดที่พัฒนาแล้วเป็นหลัก
Event
Analysis
เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า โดย IMF ปรับการเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2019 ลดเหลือ 6.2% (จากเดิม 6.4%) จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการควบคุมภาคธนาคารเงาและระดับหนี้ในบางภาคส่วนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลง โดยตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจล่าสุด อาทิ การบริโภคภายในประเทศ การลงทุน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวลดลง ในขณะที่ การส่งออกจะเริ่มชะลอตัวชัดเจนในปี 2019 เนื่องจากภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ เรียกเก็บมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2019 นอกจากนี้ เงินหยวนยังมีความเสี่ยงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อาจลดลงและความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
กลุ่มประเทศ EM เฉพาะในภูมิภาคเอเชียยังมีปัจจัยพื้นฐานโดยรวมแข็งแกร่ง แต่ความเสี่ยงต่อการเติบโตเพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EM เอเชียยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะสร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจกลุ่ม ASEAN-5 (มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจาก 5.3% ในปี 2018 เป็น 5.2% ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบสงครามการค้า ภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผนวกกับวิกฤตการเงินในตุรกี อาร์เจนตินา จะยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสินทรัพย์ในกลุ่มประเทศ EM และยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศ EM เอเชียได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศ EM เอเชียที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลังสูงต่อเนื่อง เช่น อินโดนีเซีย ที่เริ่มประสบปัญหาภาวะเงินทุนไหลออกและค่าเงินอ่อนค่า
Implication
โดย :
ทีมเศรษฐกิจมหภาค (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
Economic Intelligence Center (EIC)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
EIC Online: www.scbeic.com
พิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด SME Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ในขณะนี้ จะเป็นการผสมผสานกลยุทธ์การนำเครือข่ายพันธมิตรเสริมศักยภาพให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผนวกกับการกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Industry Focus) เพื่อสร้างโซลูชั่นครบวงจรให้กับเอสเอ็มอีในแต่ละอุตสาหกรรม
โดยธนาคารได้เปิดตัวโครงการ “รวมพลังตัวจริงหนุนเอสเอ็มอี – ชี้ทางรอดธุรกิจโรงแรม” ซึ่งเป็นโครงการที่นำทั้งสองกลยุทธ์ดังกล่าวเข้ามาพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยธนาคารจะดึงพันธมิตรชั้นนำที่มีจุดแข็งและมีความเชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรม เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมส่งเสริมความรู้ มอบโซลูชั่นครบวงจร และเปิดโอกาสสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการและจับคู่ธุรกิจ
การเริ่มต้นที่ธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและเล็กเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการเติบโตสูง การท่องเที่ยวยังคงเป็นแหล่งที่มาของรายได้หลักของประเทศไทยในปัจจุบันและในอนาคต โดยเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม และแผนการตลาดจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ยังคงเน้นบทบาทของเมืองหลักและเมืองรอง รวมทั้งแคมเปญที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนในท้องถิ่น (Go Locals) อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นโรงแรมที่พักขนาดเล็กขนาดกลางเกิดขึ้นมากมายในประเทศ และถือเป็นเสน่ห์ของการท่องเที่ยวที่กลายเป็นจุดขายที่มีเอกลักษณ์ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ การ
ด้วยลักษณะเฉพาะด้านของธุรกิจโรงแรมในปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรที่เข้าใจปัญหาและมีศักยภาพที่จะร่วมกันช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ที่จะมาให้ความรู้ในเรื่องขั้นตอนการขอใบอนุญาตก่อสร้าง ใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร กรมการปกครองที่ดูแลในเรื่องใบอนุญาตโรงแรมโดยตรงมาให้คำแนะนำในประเด็นต่าง ๆแบบครบถ้วนโดยเฉพาะการเตรียมเอกสารซึ่งจะช่วยลดเวลาในการใบอนุญาตได้กว่าครึ่งหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมี Google Thailand ที่จะมาแนะนำให้เอสเอ็มอีเข้าสู่โลกออนไลน์ผ่าน Google My Business เพราะจากข้อมูลมี SMEs เพียง 13 เปอร์เซ็นต์ที่มีเว็บไซต์ของตัวเอง การเปิดตัวสู่โลกออนไลน์จะเป็นช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากอีกระดับหนึ่ง
Site Minder ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่องการบริหารจัดการด้านการขายบนโลกออนไลน์ ด้วยเครื่องมือที่ครบวงจรทั้งด้านการขาย การบริหารจัดการที่พัก รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่มีเป้าหมายอยากกระจายความเจริญไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สอดคล้องกับแนวคิดของไทยพาณิชย์ที่ต้องการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วประเทศ
ทั้งนี้ งาน SCB SME “รวมพลังตัวจริงหนุนธุรกิจเอสเอ็มอี -ชี้ทางรอดธุรกิจโรงแรม” ครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน ในวันที่ 13, 20 และ 27 กันยายน 2561 ณ SCB Payment Sphere, SCB Business Center Siam Square ซอย 1 อาคาร Too Fast Too Sleep ชั้น 4 ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 02 722 2222
โดยหลังจากนี้ไทยพาณิชย์จะขยายกิจกรรมเช่นนี้ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของธนาคารทั้ง 7 กลุ่ม ประกอบด้วย ธุรกิจขนส่งสินค้า ธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภาครัฐ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภาคเอกชน ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง และธุรกิจโรงแรม โดยเป็นโครงการระยะยาวที่จะมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เบื้องต้นวางแผนที่จะจัดโครงการจำนวน 84 ครั้งครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมเป้าหมายในทุกภูมิภาค