November 25, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก U.S. Green Building Council (USGBC) สหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วย “LEED Zero Waste Certification” และ “TRUE Certification ในระดับ Platinum” โดยถือเป็นแห่งแรกในอาเซียนที่ได้รับการรับรองทั้งสองมาตรฐาน โดยอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอาคารสำนักงานที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) สะท้อนถึงการให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายกีรติ โกสีย์เจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานบริหาร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาตลาดทุนเพื่อทุกภาคส่วน “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone”  โดยล่าสุด อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านการรับรองมาตรฐานอาคารสำนักงานที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประจำปี 2565 จาก U.S. Green Building Council (USGBC) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นการสะท้อนความมุ่งมั่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงพนักงานที่ร่วมขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยดำเนินการลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบให้เป็นศูนย์

(Zero Waste to Landfill) ตั้งแต่ปี 2563 มีการจัดการขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามหลัก 3R (Reduce-Reuse-Recycle) พร้อมขยายความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการจัดหาคู่ค้า สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมีความยินดีอย่างยิ่งที่มีส่วนในการให้คำปรึกษาแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ได้รับมาตรฐานการรับรองในครั้งนื้ ด้วยคะแนนประเมินระดับ Platinum ตามมาตรฐานการรับรองจาก USGBC ทั้งนี้ SCG ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาโลกร้อน จึงนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ESG 4 Plus มาใช้ในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม คือ 1) มุ่งเน้น NET ZERO  2) GO Green 3) Lean เหลื่อมล้ำ และ 4) ย้ำร่วมมือ  ทั้งนี้ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด มีเป้าหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย NET ZERO ซึ่งการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน “LEED Zero Waste” และ “TRUE Certification ในระดับ Platinum”  เป็นอาคารแห่งแรกในอาเซียนในครั้งนื้ นับเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และก้าวสำคัญของบริษัทที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนเพื่อเป็นแนวทางให้กับองค์กรต่างๆ ต่อไป

การรับรองมาตรฐานดังกล่าวจะมอบให้กับอาคารที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยยึดหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นอกจากนี้อาคารที่ได้การรับรองจะต้องใช้ประโยชน์จากขยะที่เกิดขึ้นมากกว่าร้อยละ 90 โดยหลีกเลี่ยงการจัดการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง การฝังกลบ และการทำลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ และมีการปนเปื้อนของขยะน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยพิจารณาขยะทุกประเภท ด้วยความร่วมมือกับคู่ธุรกิจในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์, การรับสินค้าคืนหลังการใช้งาน (Product Take back program) การนำบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิล รวมถึงการเพิ่มมูลค่าด้วยการ upcycling

อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้อาคารได้การรับรอง คือความชัดเจนทางด้านนโยบาย และการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร และพนักงาน ซึ่งพนักงานและคู่ธุรกิจของอาคารตลาดหลักทรัพย์ได้รับการอบรมและมีส่วนร่วมในด้าน zero waste ยิ่งไปกว่านั้น อาคารตลาดหลักทรัพย์ยังมีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการจัดการขยะตลอดทั้ง supply chain เป็นต้น

ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ระดับดีเยี่ยม (Gold Level) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รางวัล Thailand energy award ประเภทอาคารที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ (Zero energy building) จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และรางวัล ASEAN Energy Award  จาก ASEAN Center of Energy (ACE) และยังได้รับการรับรองอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมมาตรฐานสากล LEED Platinum: Operation and Maintenance (O+M) ระดับสูงสุด จาก U.S. Green Building Council (USGBC) อีกด้วย 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แถลงแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2565 – 2567

บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) (FPI) เติบโตมาจากธุรกิจการค้าอะไหล่รถยนต์เก่าที่มีราคาแต่ละชิ้นหลักพันหรือหลักหมื่นบาท มาถึงทุกวันนี้

หลังจากบริษัทย่อยของกลุ่มเจมาร์ท บริษัท เจเวนจอร์ส ประกาศทำ ICO (Initial Coin Offering) ในชื่อ JFin Coin โดยเริ่มเสนอขาย Pre-Sale วันแรก เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 น. ผ่าน TDAX ตลาดแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลของคนไทยเหรียญที่นำมาเสนอขายครั้งนี้ทั้งหมดจำนวน 100 ล้านโทเคน ที่ราคา 6.60 บาท หรือคิดเป็นเงิน 660 ล้านบาทสามารถขายได้หมดในเวลาเพียง 55 ชั่วโมง และเตรียมเข้าซื้อขายในตลาดรองไม่เกิน 2 เมษายนที่จะถึงนี้ เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่วงการการเงินและฟินเทคในประเทศไทยต้องบันทึกไว้

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีใหม่นี้เริ่มจาก Bitcoin เหรียญชื่อดังเจ้าแรกเป็นต้นมา ผู้ที่สนใจวงการนี้ในประเทศไทย ก็เริ่มขยับตัวตามกันมา ในช่วงแรกยังคงอยู่ในวงแคบๆ ไม่โด่งดังเท่าไรนัก จนกระทั่งราคา Cryptocurrencies ในตลาดโลกพุ่งสูงทำสถิติกันเป็นรายวัน ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในฝั่งผู้ลงทุน และกลุ่มที่ต้องการทำเหมือง (Miner) ขุดเหรียญต่างๆ จนปัจจุบันตลาด Cryptocurrencies ในไทยมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น จำนวนเหรียญที่อยู่ในตลาดแลกเปลี่ยนหลายล้านเหรียญ คือเครื่องยืนยันในเรื่องนี้รวมถึงงานพูดคุยสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่มีให้เห็นอยู่แทบจะทุกสัปดาห์

ตาม White Paper ของ JFin Coin ระบุว่า จะนำเงินที่ได้ไปใช้พัฒนา Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) เป็นแพลตฟอร์มการให้บริการกู้ยืมแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี Blockchain แน่นอนว่าเจ้าของโครงการย่อมมีความยินดีที่ ICO ของตนได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) กล่าวหลังจากการ Pre-Sale สิ้นสุดเนื่องจากมีผู้จองซื้อโทเคนหมด 100 ล้านโทเคนว่า “ขอขอบคุณหน่วยงานต่างๆ ที่ให้โอกาสเราในการอธิบาย และคำแนะนำต่างๆ การทำ ICO ครั้งนี้ เราถือเป็นกลุ่มบริษัท
จดทะเบียนรายแรกที่ทำเรื่องนี้ ผมเข้าใจดีว่าย่อมมีอุปสรรคในด้านการอธิบายความเข้าใจ และมีหลากหลายความคิดเห็น แต่ด้วยความตั้งใจของผมและทีมงานที่มุ่งหวังให้ ICO นี้เกิดขึ้นให้ได้ในประเทศไทย ที่ผมทำธุรกิจมาตั้งแต่ต้น”

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่งผลให้เห็นการออกตัว ICO อีกหลายรายติดตามมา บางรายก็ไปออกขายในต่างประเทศ บางรายเสนอขายในประเทศ แต่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดเท่าที่ควร แต่ก็เห็นได้ว่ามีหลายธุรกิจที่มองว่า ICO คือช่องทางหนึ่งในการระดมทุนสำหรับกิจการ

ความใหม่ของ ICO เป็นหนึ่งในความท้าทายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หนึ่งในหน่วยงานหลักของภาครัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับ Cryptocurrency ก็ออกข่าวเตือนเกี่ยวกับการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ICO มาเป็นระยะในช่วงที่เกณฑ์การกำกับดูแลยังไม่ออกมาอย่างเป็นทางการ โดย ก.ล.ต. เตือนและให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า “การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ICO และ Cryptocurrencies จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมาก เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้มีความเสี่ยงในหลายแง่มุม หากผู้ลงทุนไม่เข้าใจอย่างแท้จริงจะเสียหายได้โดยง่ายนอกจากนี้ อาจมีผู้ฉวยโอกาสในการสร้างกระแสโดยนำโครงการที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนมาเป็นจุดขาย หรือโครงการที่ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนที่จะสามารถรองรับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว และ/หรือนำเรื่องเทคโนโลยีมาบังหน้า เพื่อหลอกลวงประชาชนให้ลงทุน
ผู้ที่ได้รับการชักชวนหรือคิดที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล จำเป็นต้องทำความเข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งสินทรัพย์ที่จะลงทุน ตัวกิจการ สิทธิของผู้ลงทุน และโครงสร้างของโทเคนที่จะได้รับจากการลงทุน และประเมินความเหมาะสมเทียบกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนก่อนลงทุนเสมอ ตลอดจนระวังความเสี่ยงจากการที่ผู้ให้บริการไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่ในการกำกับดูแลความเสี่ยงและไม่มีการกำหนดมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์และอื่น ๆ

อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนควรตระหนักว่า การกำกับดูแลจะช่วยลดความเสี่ยงได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น เช่น ป้องกันการหลอกลวง แชร์ลูกโซ่ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ยังคงมีอยู่ เช่น ความเสี่ยงทางธุรกิจของกิจการ ความเสี่ยงจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผันผวน ตลอดจนความเสี่ยงจากการที่ระบบเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลอาจถูกโจรกรรมไซเบอร์ และที่สำคัญที่สุด ควรตระหนักว่า หากเกิดความเสียหาย มีโอกาสสูงที่จะไม่สามารถเรียกร้องจากใครได้ ดังนั้น ถ้าไม่เข้าใจ อย่าลงทุน เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้เหมาะกับทุกคน”

โดย ก.ล.ต. เตรียมออกเกณฑ์กำกับดูแล ICO ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนในประเทศไทยคาดว่าจะออกมาภายในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาแล้ว 2 รอบ

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีประกาศไปยังสถาบันการเงินให้งดทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrencies ก็เป็นอีกหนึ่งดาบที่หยุดความร้อนแรงของวงการสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยไปได้ระดับหนึ่ง

ฝั่งผู้ให้บริการอย่าง TDAX ต้องออกประกาศในหน้า ICO Portal ว่า “เนื่องจากความไม่แน่นอนต่อกฎเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. อาจจะประกาศออกมาในเร็วๆ นี้ ทางเราได้ทำการระงับการดำเนินการของ ICO portal ไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีความชัดเจนต่อสถานการณ์นี้มากขึ้น” ทำให้ ICO ที่เตรียมจะขายใน TDAX ต้องรอต่อไปจนกว่าจะมีความชัดเจน

ผลกระทบจากปรากฏการณ์ ICO ที่เปิดตัวกันอย่างร้อนแรงจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องติดตามดูท่าทีจากหน่วยงานกำกับดูแล ในการออกเกณฑ์การควบคุมดูแลที่ความชัดเจน ป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนจากผู้ที่คิดใช้เครื่องมือนี้เพื่อหลอกลวง และป้องกันการใช้เครื่องมือทางการเงินใหม่นี้ในทางที่ผิด โดยต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเคลื่อนตัวไปได้ทุกแห่งตราบที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เราจะมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ในระดับใด และทำอย่างไรให้ประเทศไทยปรากฏตัวอยู่บนแผนที่ของเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้เราเสียโอกาสได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้  

X

Right Click

No right click